กะพง ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Musculista senhousia (Benson) ในวงศ์ Mytilidae เปลือกบางรูปยาวรี สีเขียวหรือเขียวอมเหลือง มีลายเป็นเส้นสีนํ้าตาล อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลที่เป็นเลนปนทราย โดยยึดติดกันเองเป็นกระจุกหรือแผ่เป็นแผ่นใหญ่. |
คราง ๒ | (คฺราง) น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่บางชนิดในสกุล Scapharcaวงศ์ Arcidae ลักษณะคล้ายหอยแครงแต่ขนาดใหญ่กว่า ด้านนอกเปลือกมักมีเส้นคล้ายขน เช่น ชนิด S. inequivalvis (Bruguière), แครงขน ก็เรียก. |
แครง ๑ | (แคฺรง) น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิดในวงศ์ Arcidae ด้านนอกเปลือกมีสันและร่องจากขั้วเปลือกถึงขอบเปลือก เลือดหอยแครงเมื่อถูกกับอากาศเป็นสีแดง อาศัยตามชายฝั่งทะเลที่พื้นเป็นโคลน เช่น ชนิด Anadara granosa (Linn.) |
งาช้าง ๒ | น. ชื่อหอยทะเลหลายชนิดในชั้น Scaphopoda เปลือกลักษณะคล้ายงาช้าง ส่วนมากสีขาว เช่น ชนิด Dentalium aprinumLinn ., D. longitrorsumReeve, ฟันช้าง ก็เรียก. |
จอบ ๓ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Pinnidae เปลือกค่อนข้างบางเปราะ รูปคล้ายซองใส่ใบพลูใช้กินกับหมาก ปลายด้านหนึ่งแผ่บานออก อีกด้านหนึ่งเรียวลง สีนํ้าตาลหรือสีเทา เช่น ชนิด Pinna bicolorGmelin, Atrina vexillum (Born), ซองพลู ก็เรียก. |
จั่น ๓ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวพวกหอยเบี้ยชนิด Cypraea moneta Linn . ในวงศ์ Cypraeidae เปลือกสีนวล หลังโค้งนูน ตามขอบช่องเปลือกที่อยู่ด้านท้องเป็นรอยหยัก เรียกว่า เบี้ยจั่น ในสมัยโบราณใช้แทนเงิน, เบี้ยจักจั่น ก็เรียก. |
จุกพราหมณ์ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด Cymbiola nobilis (Lightfoot) ในวงศ์ Volutidae เปลือกหนา พื้นผิวด้านนอกเรียบสีน้ำตาลอ่อนมีลายเส้นหยักสีนํ้าตาลไหม้เข้ม เปลือกม้วนเป็นวงซ้อนกันปลายยอดเป็นจุกเหมือนมวยผมของพราหมณ์. |
จุ๊บแจง ๑ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด Cerithidea obtusa (Lamarck) ในวงศ์ Potamididae เปลือกขรุขระ รูปค่อนข้างยาว ปลายแหลม สีเทาอมดำหรือน้ำตาล. |
เจดีย์ ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิด ในวงศ์ Turritellidae เปลือกม้วนเป็นวงซ้อนกันเป็นเกลียวสูงหลายชั้น ยอดแหลมคล้ายเจดีย์ มักเป็นสีน้ำตาล เช่น ชนิด Turritella terebra (Linn.). |
เฉลียบ ๒ | (ฉะเหฺลียบ) น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ ในวงศ์ Isognomonidae เปลือกแบน อาจยาวหรือค่อนข้างกลม สีน้ำตาลเข้มหรือเทาเข้ม เช่น ชนิด Isognomon isognomum (Linn.). |
แฉลบ ๓ | (ฉะแหฺลบ) น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Placuna ephippium (Philipsson) ในวงศ์ Placunidae เปลือกแบนค่อนข้างกลม โค้งเล็กน้อยคล้ายอานม้า สีนํ้าตาลเข้มหรือม่วงเข้ม, อานม้า ก็เรียก. |
ตลับ ๒ | (ตะหฺลับ) น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Veneridae เปลือกหนารูปคล้ายสามเหลี่ยม ส่วนใหญ่ผิวเรียบ เป็นมัน มีสีและลวดลายต่าง ๆ กัน เช่น ชนิด Meretrix meretrix (Linn.). |
ตะโกรม | (-โกฺรม) น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Ostreidae ลักษณะเหมือนหอยนางรม แต่มีขนาดใหญ่กว่า เปลือกขรุขระ สีขาวคล้ำ เช่น ชนิด Crassostrea iredalei (Faustino), C. belcheri (Sowerby), นางรมใหญ่ ก็เรียก. |
ตางัว ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิด ในวงศ์ Turbinidae เปลือกหนา ค่อนข้างกลม ก้นหอยสั้น ผิวขรุขระ แผ่นปิดช่องเปลือกกลมหนา ด้านนอกโค้ง เรียก เบี้ยตางัว ใช้สำหรับเล่นหมากรุก เช่น ชนิด Turbo marmoratus Linn., T. bruneus (Röding). |
ทราย ๒ | (ซาย) น. ชื่อหอยกาบคู่หลายชนิด มีรูปเปลือกแตกต่างกันไป ที่เป็นหอยน้ำจืด เช่น ชนิด Corbicula javanica (Mousson) ในวงศ์ Corbiculidae ที่เป็นหอยทะเล เช่น ชนิด Asaphis violascens (Forsska&npsp;ํl) ในวงศ์ Psammobiidae. |
นมนาง ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวชนิด Trochus niloticus Linn. ในวงศ์ Trochidae เปลือกเป็นรูปกรวยคว่ำ ฐานกว้าง ปลายยอดแหลม ผิวขรุขระ มีลวดลายสีม่วงบนพื้นสีอ่อน คล้ายหอยนมสาวแต่มีขนาดใหญ่กว่า เมื่อขัดผิวเปลือกออกจะเห็นเป็นมุก ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ. |
นมสาว ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิด ในวงศ์ Trochidae เปลือกเป็นรูปกรวยคว่ำ ฐานกว้าง ปลายยอดแหลม ผิวขรุขระ สีและลายแตกต่างกันตามแต่ละชนิด มีขนาดเล็กกว่าหอยนมนาง เมื่อขัดผิวเปลือกออกจะเห็นเป็นมุก ใช้ทำเป็นเครื่องประดับ. |
นางรม ๑ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิดในวงศ์ Ostreidae รูปเปลือกค่อนข้างกลม ยาวรี หรือบิดเบี้ยวตามพื้นที่ที่ติดอยู่ ส่วนใหญ่มีสีเทา เปลือกล่างเป็นแอ่งคล้ายรูปถ้วยยึดติดกับวัสดุที่ใช้เป็นอาหาร เช่น ชนิด Saccostrea forskali (Gmelin), อีรม ก็เรียก. |
เบี้ย ๑ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในวงศ์ Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังโค้งนูน ด้านท้องแบน ช่องเปลือกยาวและแคบ เป็นลำราง ตามขอบทั้ง ๒ ข้างเป็นรอยหยัก เรียกรวม ๆ ว่า หอยเบี้ย, เปลือกหอยเบี้ยที่ใช้เป็นเงินตราในสมัยก่อนมี ๒ ชนิด ได้แก่ ชนิด Cypraea moneta Linn. เรียก เบี้ยจั่นหรือเบี้ยจักจั่น ชนิด C. annulus Linn. เรียก เบี้ยแก้วหรือเบี้ยนาง มีอัตรา ๑๐๐ เบี้ย เป็น ๑ อัฐ คำว่า เบี้ย จึงเป็นคำเรียกแทนเงินติดมาจนทุกวันนี้ เช่น เบี้ยประชุม เบี้ยประกัน เบี้ยเลี้ยงชีพ. |
เบี้ยแก้ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวพวกหอยเบี้ย ในวงศ์ Cypraeidae เปลือกสีน้ำตาลเข้ม ด้านหลังมีลายเป็นวงกลมสีอ่อน มี ๒ ชนิด ได้แก่ เบี้ยแก้ใหญ่หรือเบี้ยอีแก้ (Cypraea mauritiana Linn.) ใช้ขัดผ้าให้เรียบเป็นมันและเบี้ยแก้เล็ก (C. caputserpentis Linn.) ใช้ทำยาหรือเครื่องราง. |
เป๋าฮื้อ ๑ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยว หลายชนิด ในวงศ์ Haliotidae เปลือกแบนค่อนข้างกลมหรือรี ผิวขรุขระ ใกล้ขอบเปลือกมีรูเรียงเป็นแถว สีเขียวหรือสีน้ำตาล ด้านในเป็นมุก เช่น ชนิด Haliotis asinina Linn. เป็นอาหารทะเลที่มีราคาแพง ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์, โข่งทะเล ก็เรียก. |
พอก ๓ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ ในวงศ์ Veneridae รูปเปลือกค่อนข้างกลม สีนวล ผิวเปลือกมีสันลักษณะเป็นเส้นทั้งในแนวตั้งและแนวนอน เช่น ชนิด Periglypta puerpera (Linn). |
พิมปะการัง | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Pholas orientalis Gmelin ในวงศ์ Pholadidae เปลือกบางเปราะค่อนข้างยาว สีขาวคล้ำ ผิวขรุขระสามารถใช้เปลือกเจาะพื้นที่เป็นดินโคลนให้เป็นรูเพื่อผังตัวอยู่ได้, พิม พิมการัง หรือ พิมพการัง ก็เรียก. |
เพรียง ๓ | (เพฺรียง) น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Teredinidae ลำตัวกลมยาวอ่อนนุ่มคล้ายหนอน เปลือกเล็กมากคลุมอยู่เฉพาะหัว เจาะกินเนื้อไม้ ที่แช่อยู่ในน้ำ เช่น ชนิด Lyrodus pedicellatus (Quatrefages), หนอนเพรียง หรือ เพรียงเรือ ก็เรียก. |
มือเสือ ๓ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Tridacnidae เปลือกหนาหนักสีขาวคล้ำหรือสีนวล บางชนิดมีลายเป็นเส้นสีน้ำตาล เปลือกมีสันและร่องทำให้ขอบเปลือกหยักเป็นลอน พบตามพื้นท้องทะเลบริเวณที่มีแนวปะการัง เช่น ชนิด Tridacna squamosa Lamarck, T. Crocea Lamarck, Hippopus hippopus (Linn.). |
มุก | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิดในวงศ์ Pteriidae เปลือกแบน ค่อนข้างกลมสีเทาอมดำหรือสีน้ำตาล ผิวเปลือกมีแผ่นบาง ๆ คล้ายเกล็ดปกคลุม ด้านในเป็นมุก สร้างไข่มุกได้ เช่น ชนิด Pinctada margaritifera (Linn.). |
แมลงภู่ ๑ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Mytilidae เปลือกยาวรี สีเขียวคล้ายสีของแมลงภู่ เช่น ชนิด Perna viridis (Linn.) เกาะติดตามเสาหรือวัตถุอื่นตามชายฝั่ง. |
ลาย ๓ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Veneridae เปลือกเรียบ พื้นสีน้ำตาลอมเหลือง หรือเหลืองเข้ม มีลายเป็นเส้นหยักสีน้ำตาลหรือสีเทาเข้ม อาศัยตามพื้นที่เป็นทรายปนโคลน เช่น ชนิด Paphia undulata (Born). ใช้เป็นอาหาร. |
สังข-, สังข์ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิด เช่น สังข์รดน้ำหรือสังข์อินเดีย (Turbinella pyrumLamarck) ในวงศ์ Turbinellidae เปลือกสีขาว รูปทรงงดงาม ใช้สำหรับหลั่งน้ำพระพุทธมนต์หรือน้ำเทพมนตร์, สังข์แตร [ Chalonia tritonis (Linn.) ] ในวงศ์ Cymatiidae เปลือกมีสีและลวดลายสวยงาม ใช้เป่าในงานพิธีของชาวเกาะแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้, ลักษณนามว่า ขอน เช่น สังข์ ๒ ขอน. |
เสียบ ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด เช่น ชนิด Donax faba Gmelin ในวงศ์ Donacidae เปลือกรูปสามเหลี่ยมมีสีและลายหลากหลายแตกต่างกัน ฝังตัวอยู่ตามหาดทรายในระดับนํ้าขึ้นนํ้าลง นำมาดองนํ้าปลา, ชนิด Phaxas attenuates (Dunker) ในวงศ์ Cultellidae เปลือกยาว ปลายมนทั้ง ๒ ด้าน ฝังตัวอยู่ตามหาดเลน นำมาประกอบเป็นอาหารสดหรือตากแห้งก็ได้. |
หนาม ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิด ในวงศ์ Muricidae เปลือกมีหนามสั้นหรือยาวโดยรอบ เช่น ชนิด Murex TrapaRöding. |
หลอด ๒ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Solenidae เปลือกประกบกันเป็นรูปทรงกระบอก มีช่องเปิดทั้งด้านหน้าและด้านท้าย มีสีเขียว เขียวอมเหลือง น้ำตาลอมเหลือง ฝังตัวอยู่ใต้พื้นที่เป็นโคลน เช่น ชนิด Solen strictus Gould ดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงครามได้ชื่อเพราะมีหอยชนิดนี้ชุกชุม. |