เบย | เลย เป็นคำแผลงที่มาจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือพิมพ์ข้อความ เนื่องจากแป้นตัวอักษร ล ลิง และ บ ใบไม้ อยู่ใกล้กัน จึงทำให้เกิดการพิมพ์ผิดได้บ่อยครั้ง จนเป็นที่เข้าใจกันว่าถ้าพิมพ์ว่า เบย จะหมายความถึง เลย และยังแฝงถึงความรู้สึกเล่นๆ สนุกๆ ไม่จริงจัง กรณีที่พบบ่อย เช่นคำว่า จังเลย อาจแผลงได้เป็น จุงเบย เช่น เจ๊บจุงเบย (เจ็บจังเลย), ฮาจุงเบย (ฮา จังเลย) |
|
| ลิขสิทธิ์ | ไม่ควรวม 'ประดิษฐกรรม (invention)' ในความหมายของ ลิขสิทธิ์ เพราะ invention เป็นพื้นฐานความหมายของ 'patent (สิทธิบัตร)' นั่นหมายความว่า เมื่อคนไทยใช้คำว่า ลิขสิทธิ์ จะเกิดความสับสนว่า พูดถึง copyright หรือว่า patent. ปัญหาเกิดขึ้นได้. | ลิขสิทธิ์ | ข้อสังเกต ไม่ควรมีเนื้อหาข้างล่าง ในส่วนต้นของคำ 'ลิขสิทธิ์' เพราะ ไม่ใช่ definition / คำแปล / คำจำกัดความ: ไม่ควรวม 'ประดิษฐกรรม (invention)' ในความหมายของ ลิขสิทธิ์ เพราะ invention เป็นพื้นฐานความหมายของ 'patent (สิทธิบัตร)' นั่นหมายความว่า เมื่อคนไทยใช้คำว่า ลิขสิทธิ์ จะเกิดความสับสนว่า พูดถึง copyright หรือว่า patent. ปัญหาเกิดขึ้นได้. |
| ใจนักเลง | (adj) chivalrous (ไม่สับสนกับ cavalier ซึ่งมาจากรากศัพท์เดียวกันแต่หมายความว่าเต๊ะจุ๊ย) |
| หมายความ | ก. มุ่งจะกล่าวถึง. | หมายความว่า | ก. ตีความว่า, แปลความว่า. | กก ๔ | ก. แนบไว้กับอก โดยปรกติเป็นอิริยาบถนอน เช่น กกกอด กกไข่ กกลูก, โดยปริยายหมายความว่า เก็บนิ่งไว้นานเกินควร เช่น เอาเรื่องไปกกไว้. | กกุธภัณฑ์ | (กะกุดทะ-) น. สัญลักษณ์สำคัญแห่งความเป็นพระมหากษัตริย์ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่าเบญจราชกกุธภัณฑ์ ทั้งนี้ บางสมัยใช้เครื่องราชกกุธภัณฑ์แตกต่างกัน เช่น ใช้ฉัตรแทนพระมหาพิชัยมงกุฎ.(ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า
ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ในจดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง.วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัดใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็นแส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่าวาลวีชนี หมายความเป็นแส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาลของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี). | กงเกวียนกำเกวียน | ใช้เป็นคำอุปมาหมายความว่า เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทำแก่เขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกำเกวียน. | กด ๔ | ก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กำลังดันให้ลง, โดยปริยายหมายความว่า แกล้งกักไว้ เช่น กดคดี | ก้น | น. ส่วนเบื้องล่างของลำตัวของคนหรือส่วนท้ายของลำตัวของสัตว์, โดยปริยายหมายความถึงบริเวณก้นด้วย เช่น ล้างก้น | ก้มหัว | ก. น้อมหัวลงเพื่อแสดงกิริยาเคารพ, โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร. | กรง | ในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมในพระกรงทอง (เห่กล่อม). | กรอบ ๑ | (กฺรอบ) น. สิ่งที่ประกอบตามริมวัตถุมีรูปภาพเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า ขอบเขตกำหนด เช่น ทำงานอยู่ในกรอบ. | กร่อย | (กฺร่อย) ว. ไม่จืดสนิทหรือไม่หวานสนิท เพราะมีรสเค็มเจือ, โดยปริยายหมายความว่า หมดรสสนุกหรือหมดความครึกครื้น เช่น การแสดงที่ไม่สนุกทำให้คนดูรู้สึกกร่อย. | กระชาก | ก. ดึงเข้ามาโดยเร็วและแรง เช่น กระชากผม, โดยปริยายหมายความว่า กระตุกโดยแรง เช่น ออกรถกระชาก, พูดกระแทกเสียงดังห้วน ๆ ในความว่า พูดกระชากเสียง, มักใช้เข้าคู่กับคำ กระโชก เป็น กระโชกกระชาก. | กระฎุมพี | น. คนมั่งมี, พ่อเรือน, มักนิยมใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่กระฎุมพี หมายความว่า ชนชั้นต่ำ. | กระต้วมกระเตี้ยม | ว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กิริยาเดินหรือคลาน), โดยปริยายหมายความว่า ชักช้า เช่น เธอมัวแต่กระต้วมกระเตี้ยมอยู่นั่นแหละ เดี๋ยวก็ไม่ทันรถไฟหรอก, ต้วมเตี้ยม ก็ว่า, ใช้ว่า กระด้วมกระเดี้ยม ก็มี. | กระตุก | ก. ดึงเข้ามาโดยเร็วทันที เช่น กระตุกเชือก, ดึงเข้ามาโดยเร็วทันทีแล้วผ่อนออก เช่น กระตุกสายป่านว่าว, โดยปริยายหมายความว่า สะดุด, ไม่ราบรื่น, เช่น เครื่องยนต์กระตุก | กระตุ้น | ก. ใช้มือหรือสิ่งใด ๆ กระแทกเบา ๆ ให้รู้ตัว เช่น กระตุ้นม้า, โดยปริยายหมายความว่า เตือนหรือหนุน เช่น กระตุ้นให้รีบทำงาน, ช่วยเร่ง เช่น ใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจที่หยุดเต้นให้เต้นต่อไป. | กระโตกกระตาก | ก. ส่งเสียงให้เขารู้อย่างไก่กำลังออกไข่, โดยปริยายหมายความว่า เปิดเผยข้อความที่ต้องการปิดบัง. | กระทุ้ง | ก. เอาสิ่งที่มีลักษณะยาวกระแทก เช่น เอาสามเกลอกระทุ้งดิน เอาศอกกระทุ้งสีข้าง, ทุ้ง ก็ว่า, โดยปริยายหมายความว่า หนุนให้กระทำหรือกล่าวแสดงออกมา เช่น กระทุ้งให้ร้องเพลง. | กระทุ่ม ๒ | โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง (แช่งน้ำ). | กระเท่เร่ | ว. เอียงทื่ออยู่, เอียงไปมาก, มักพูดเข้าคู่กับ เอียง เป็น เอียงกระเท่เร่, โดยปริยายหมายความว่า ลำเอียงมาก. | กระเทือน | ก. มีอาการสั่นไหวเพราะถูกกระทบ เช่น นั่งรถที่แล่นไปตามทางขรุขระก็รู้สึกกระเทือน เสียงระเบิดทำให้บ้านกระเทือน, โดยปริยายหมายความว่า เป็นทุกข์กังวล เช่น เขาว่าลูกก็กระเทือนไปถึงแม่ ใครจะว่าอย่างไร ๆ ก็ไม่กระเทือน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ กระทบ เป็น กระทบกระเทือน, สะเทือน ก็ว่า. | กระพี้ | ว. โดยปริยายหมายความว่า ไม่เป็นแก่นสาร. | กระเย้อกระแหย่ง | (-แหฺย่ง) ก. ขะเย้อแขย่ง, เขย่งแล้วเขย่งอีก, โดยปริยายหมายความว่า พยายามจะให้ได้สิ่งที่สุดเอื้อม. | กราน ๒ | (กฺราน) ใช้เข้าคู่กับคำอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า คํ้า, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลำพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี. | กร่ำ ๓ | (กฺรํ่า) ว. ใช้ประกอบกับอาการเมาเหล้าว่า เมากรํ่า หมายความว่า เมามากตลอดเวลา. | กริบ | โดยปริยายหมายความว่า เงียบไม่มีเสียงดัง เช่น เงียบกริบ ย่องกริบ. | กรึ่ม | (กฺรึ่ม) ว. ใช้ประกอบกับอาการเมาเหล้าว่า เมากรึ่ม หมายความว่า เมาเหล้าตลอดทั้งวัน. | กรุ่น | (กฺรุ่น) ว. อาการของไฟที่ยังไม่ดับแต่ไม่ถึงกับลุกโพลง เช่น ไฟติดกรุ่นอยู่, โดยปริยายหมายความว่า ยังเหลืออยู่บ้าง, มีเรื่อย ๆ อยู่, เช่น ควันกรุ่น หอมกรุ่น | กรุ่ม | โดยปริยายหมายความว่า สบายเรื่อย ๆ ไป เช่น มีเงินตรากินกรุ่มเป็นภูมิฐาน (นิ. เดือน) | กรุย ๑ | โดยปริยายหมายความว่า เปิดทางให้สะดวก. | กลไก | (กน-) น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่าบุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสำเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง | กลบ | (กฺลบ) ก. เอาสิ่งซึ่งเป็นผงโรยทับข้างบนเพื่อปิดบัง เช่น เอาขี้เถ้าไปกลบขี้แมว, เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็มหรือไม่ให้เห็นร่องรอย, โดยปริยายหมายความว่า ปิดบัง เช่น กลบความ, ทดแทน เช่น ให้เอาสินไหมมากลบทรัพย์นั้นเสีย (กฎ. ราชบุรี). | กลมดิก | ว. กลมทีเดียว, กลิ้งไปได้รอบตัว, โดยปริยายหมายความว่า กลิ้งกลอก. | กลอนสด | น. กลอนที่ผูกและกล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยไม่ได้คิดมาก่อน, โดยปริยายหมายความว่า ข้อความที่กล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยมิได้เตรียมตัวมาก่อน เช่น พูดกลอนสด. | กล่อม ๒ | โดยปริยายหมายความว่า เหมาะเจาะ เช่น นํ้าหอมกล่อมกลิ่นดอกไม้กลั่น (ขุนช้างขุนแผน). | กล่อมเกลา | (-เกฺลา) ก. ทำให้เรียบร้อย, ทำให้ดี, โดยปริยายหมายความว่า อบรมให้มีนิสัยไปในทางดี. | กล่อม ๓ | (กฺล่อม) ก. ร้องเป็นทำนองเพื่อเล้าโลมใจหรือให้เพลิน, โดยปริยายหมายความว่า พูดให้น้อมใจตาม หรือทำให้เพลิดเพลิน เช่น กล่อมใจ กล่อมอารมณ์. | กล้อมแกล้ม | พูดอ้อมแอ้มพอให้ผ่านไป, พูดไม่สู้ชัดความเพื่อให้เสร็จไป, โดยปริยายหมายความว่า ทำพอให้ผ่าน ๆ ไป | กลั่น | (กฺลั่น) ก. คัดเอาแต่ส่วนหรือสิ่งที่สำคัญหรือที่เป็นเนื้อแท้ด้วยวิธีต้มให้ออกเป็นไอ แล้วใช้ความเย็นบังคับให้เป็นของเหลว เช่น กลั่นนํ้า เรียกน้ำที่ได้จากกรรมวิธีเช่นนั้น ว่า น้ำกลั่น, โดยปริยายหมายความว่า คัดเอา เลือกเอา. | กลาง | (กฺลาง) น. ส่วนที่ไม่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง, โดยปริยายหมายความว่า ในที่หรือเวลาระหว่าง เช่น กลางฝน กลางทาง | กลิ้ง ๑ | โดยปริยายหมายความว่า พลิกแพลงเอาตัวรอด, จับไม่ติด, เช่น คนคนนี้กลิ้งได้รอบตัว. | กลิ่น ๑ | (กฺลิ่น) น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยจมูก คือ เหม็น หอม และอื่น ๆ, บางทีใช้หมายความว่า เหม็น เช่น แกงหม้อนี้เริ่มมีกลิ่น, โดยปริยายหมายความว่า ลักษณะไม่น่าไว้วางใจ เช่น เรื่องนี้ชักมีกลิ่น การประมูลครั้งนี้เริ่มส่งกลิ่น. | กวาด | (กฺวาด) ก. ทำให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น โจรกวาดทรัพย์สิน คลื่นสึนามิกวาดคนและสิ่งของลงทะเล | ก่อน | ว. ใช้บอกลำดับเวลา หมายความว่า เดิม เช่น แต่ก่อนที่ผ่านมา วันก่อน เดือนก่อน, ลำดับแรก เช่น ก่อนอื่น หยุดก่อน รอก่อน. | ก่อน | บ. ใช้นำหน้าคำนามบอกเวลาหรือสถานที่ หมายความว่า ยังไม่ถึงเวลานั้นหรือสถานที่นั้น เช่น คุณต้องมาก่อนเที่ยง บ้านเขาอยู่ก่อนบ้านผม. | ก่อน | สัน. ใช้นำหน้าประโยคเพื่อบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่ถึงเวลานั้น เช่น คุณต้องเอารถไปคืนก่อนเขาตื่น. | ก้อย ๑ | โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักตํ่าสูง ในความว่า ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ. | กะชึ่กกะชั่ก | ว. เสียงดังอย่างเสียงรถจักรไอน้ำเวลาจะเริ่มเคลื่อนที่, โดยปริยายหมายความว่า ติด ๆ ขัด ๆ, ไปไม่สะดวก. | กะทิ ๑ | ว. โดยปริยายหมายความว่า ที่เก่งหรือดีเด่นเป็นพิเศษ เรียกว่า หัวกะทิ. | กะปริบ | (-ปฺริบ) ก. กะพริบ, มักใช้ซํ้าคำว่า กะปริบ ๆ หมายความว่า กะพริบถี่ ๆ เช่น ทำตากะปริบ ๆ, ปริบ ๆ ก็ว่า. |
| เครื่องราชอิสริยาภรณ์ | สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบําเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสําหรับพระราชทานเป็น บำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราช-อิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำ ความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด [ศัพท์พระราชพิธี] | ไขพระวิสูตร | คำราชาศัพท์ แปลว่า เปิดม่านโดยวิธีไข ใช้มือเลิกม่าน ใช้คู่กับ ปิดพระวิสูตร หมายความว่า ปิดม่าน [ศัพท์พระราชพิธี] | Radioactive waste | กากกัมมันตรังสี, วัสดุที่อยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลว หรือ แก๊ส ที่เป็น หรือประกอบด้วย หรือปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตรังสีที่มีค่ากัมมันตภาพรังสีสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งผู้ครอบครองวัสดุนั้นไม่ประสงค์จะใช้งานอีกต่อไป และให้หมายความรวมถึงวัสดุอื่นใดที่คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ กำหนดให้เป็นกากกัมมันตรังสีด้วย <br>(ดู clearance level ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] | กะโหลก | น.ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าวหรือตาลเป็นต้น เรียกว่า กะโหลกมะพร้าว กะโหลกตาล, ภาชนะที่ทำด้วยกะโหลกมะพร้าวโดยตัดทางตาออกพอเป็นช่องกว้างเพื่อใช้ตักน้ำ; กระดูกที่หุ้มมันสมอง; โดยปริยายหมายความถึงวัตถุที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น กะโหลกหุ่นหัวโขน; เรียกพรรณไม้บางชนิด เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ที่มีผลโต เนื้อหนากว่าปกติ เช่น ลำไยกะโหลก ลิ้นจี่กะโหลก, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ กระโหลก [คำที่มักเขียนผิด] | Break of Diplomatic Relations | การตัดความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อสองรัฐตัดความสัมพันธ์ทางการทูตซึ่งกันและกัน เพราะมีการไม่ลงรอยกันอย่างรุนแรง หรือเพราะเกิดสงคราม จึงไม่มีหนทางติดต่อกันได้โดยตรง ดังนั้น แต่ละรัฐมักจะขอให้มิตรประเทศที่เป็นกลางแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐอีกฝ่ายหนึ่ง ช่วยทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในอีกรัฐหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ช่วยดูแลคนชาติของรัฐนั้น ตัวอย่างเช่น ในตอนที่สหรัฐอเมริกากับคิวบาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกดัน สหรัฐอเมริกาได้ขอให้คณะผู้แทนทางการทูตของสวิส ณ กรุงฮาวานา ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในประเทศคิวบา ในขณะเดียวกัน สถานเอกอัครราชทูตเช็คโกสโลวาเกียในกรุงวอชิงตัน ก็ได้รับการขอจากประเทศคิวบา ให้ช่วยพิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนในสหรัฐอเมริกาถึงสังเกตว่า การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มิได้หมายความว่าความสัมพันธ์ทางกงสุลจะต้องตัดขาดไปด้วย มาตรา 45 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติว่า ?ถ้าความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองรัฐขาดลง หรือถ้าคณะผู้แทนถูกเรียกกลับเป็นการถาวรหรือชั่วคราวก. แม้ในกรณีการขัดแย้งกันด้วยอาวุธ รัฐผู้รับจะต้องเคารพและคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทนด้วยข. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการพิทักษ์สถานที่ของคณะผู้แทน รวมทั้งทรัพย์สินและบรรณสารของคณะผู้แทน ให้แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่รัฐผู้รับก็ได้ค. รัฐผู้ส่งอาจมอบหมายการอารักขาผลประโยชน์ของคนและคนชาติของตน แก่รัฐที่สามซึ่งเป็นที่ยอมรับได้แก่รัฐผู้รับก็ได้ [การทูต] | Functions of Diplomatic Mission | ภาระหน้าที่ต่าง ๆ ของคณะผู้แทนทางการทูต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง หน้าที่ที่ปฏิบัติเป็นประจำของผู้แทนทางการทูตนั้น ได้แก่ หน้าที่การเจรจา การสังเกต และการคุ้มครอง อย่างไรก็ดี มีบางประเทศได้มอบอำนาจให้ผู้แทนทางการทูตของตนปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล และกิจกรรมเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ด้วย ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญใด ๆ กับการทูตเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ว่า1. นอกจากประการอื่นแล้ว การหน้าที่ของคณะผู้แทนทางการทูตประกอบด้วยก. ทำหน้าที่แทนรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับข. คุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่งและของคนชาติของรัฐผู้ส่งในรัฐผู้รับ ภายในขีดจำกัดอันกฎหมายระหว่างประเทศได้อนุญาตให้ค. เจรจากับรัฐบาลของรัฐผู้รับง. สืบเสาะให้แน่ด้วยวิถีทางทั้งมวลอันชอบด้วยกฎหมายถึงสถาวะและพัฒนาการในรัฐ ผู้รับ แล้วรายงานไปยังรัฐบาลของรัฐผู้ส่งจ. ส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ตลอดจนพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ2. ไม่มีข้อความในอนุสัญญานี้ ที่จะหมายความได้ว่าเป็นการห้ามไม่ให้คณะผู้แทนทางการทูตปฏิบัติหน้าที่ทางกงสุล [การทูต] | Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] | Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] | Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] | Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] | Unfriendly Act | การกระทำที่ไม่เป็นมิตร กล่าวคือ เมื่อรัฐหนึ่งประกาศว่า จะถือว่าการปฏิบัติบางอย่างของอีกประเทศหนึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เป็นมิตร นั่นหมายความว่า เป็นการเตือนว่าการกระทำเช่นนั้นอาจนำไปสู่สงครามได้ [การทูต] | เชื้อเพลิง | เชื้อเพลิง, หมายความรวมถึง ถ่านหิน หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงสังเคราะห์ ฟืน ไม้ แกลบ กากอ้อย ขยะและสิ่งอื่น ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [พลังงาน] | โรงกลั่น | โรงกลั่น, โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง สถานที่ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และหมายความรวมถึงโรงแยกก๊าซและโรงงานอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียมและสารละลายด้วย [พลังงาน] | ไอน้ำมันเชื้อเพลิง | ไอน้ำมันเชื้อเพลิง, ไอน้ำมันเบนซิน และให้หมายความรวมถึง ไอของน้ำมันเชื้อเพลิงอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด [พลังงาน] | การมีน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในครอบครอง | การมีน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในครอบครอง, การมีไว้ในครอบครองไม่ว่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น และไม่ว่าจะเป็นกรณีมีไว้เพื่อจำหน่าย เพื่อขนส่ง เพื่อใช้หรือเพื่อประการอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการทิ้งหรือปรากฏในบริเวณ ที่อยู่ในความครอบครองด้วย [พลังงาน] | คลังน้ำมันเชื้อเพลิง | คลังน้ำมันเชื้อเพลิง, สถานที่ที่ใช้ในการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงตามปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้หมายความรวมถึงบริเวณที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตให้เป็นเขตคลังน้ำมันเชื้อเพลิงตลอดจนสิ่งก่อสร้าง ถังท่อและอุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่รวมถึงสถานที่ใช้ในการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตในโรงกลั่นหรือผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง [พลังงาน] | น้ำมันเชื้อเพลิง | น้ำมันเชื้อเพลิง, ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่นและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ หรือสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น และให้หมายความรวมถึงสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [พลังงาน] | ผู้ค้าน้ำมัน | ผู้ค้าน้ำมัน, ผู้กระทำการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยซื้อนำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือได้มาไม่ว่าด้วยประการใดเพื่อจำหน่าย และให้หมายความรวมถึงผู้กลั่นหรือผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ได้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม [พลังงาน] | พลังงาน | พลังงาน, ความสามารถในการทำงานซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งที่อาจให้งานได้ ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสิ้นเปลือง และให้หมายความรวมถึงสิ่งที่อาจให้งานได้ เช่น เชื้อเพลิง ความร้อนและไฟฟ้า เป็นต้น [พลังงาน] | พลังงานสิ้นเปลือง | พลังงานสิ้นเปลือง, ตามกฎหมายอนุรักษ์พลังงานหมายความรวมถึงพลังงานที่ได้จากถ่านหิน หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน น้ำมันดิบ น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ และนิวเคลียร์ เป็นต้น [พลังงาน] | พลังงานหมุนเวียน | พลังงานหมุนเวียน, หมายความรวมถึง พลังงานที่ได้จากไม้ ฟืน แกลบ กากอ้อย ชีวมวล น้ำ แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ ลม และคลื่น เป็นต้น [พลังงาน] | สถานีบริการ | สถานีบริการ, สถานที่สำหรับจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนโดยวิธีเติมหรือใส่ลงในที่บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของยานพาหนะ โดยใช้มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด ที่ติดตั้งไว้เป็นประจำ และให้หมายความรวมถึงสถานที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง [พลังงาน] | สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง | สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง, สถานที่ที่ใช้ในการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อให้บริการน้ำมันเชื้อเพลิงแก่ยานพาหนะ และให้หมายความรวมถึงบริเวณที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตให้เป็นเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตลอดจนสิ่งก่อสร้าง ถัง ท่อ และอุปกรณ์ หรือ เครื่องมือต่าง ๆ ในบริเวณนั้น [พลังงาน] | Parts per hundred of rubber | หน่วยการผสมยางโดยคิดสัดส่วนปริมาณสารต่างๆ เมื่อเทียบกับยาง 100 ส่วน (โดยน้ำหนัก) เรียกเป็น phr หรือ pphr (part per hundred of rubber) ใช้ในการออกสูตรยาง เช่น เติมกำมะถัน 2.5 phr หมายความว่า ถ้ามียาง 100 ส่วน จะเติมกำมะถัน 2.5 ส่วน [เทคโนโลยียาง] | law of conservation of mass | กฎทรงมวล, กฎเกี่ยวกับมวลของสารซึ่งกล่าวว่า ผลรวมของมวลสารทั้งหมดภายในระบบปิดมีค่าคงตัวหมายความว่า มวลสารจะไม่สูญหายไปหรือเกิดขึ้นใหม่ ในปฏิกิริยาเคมี มวลของสารก่อนเกิดปฏิกิริยาจะเท่ากับมวลของสารหลังเกิดปฏิกิริยา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | Tangram | แทนแกรม, ภาพต่อที่เก่าแก่ของจีนโบราณ ใช้เล่นเป็นเกม ซึ่งได้รับความนิยมในช่วงศตวรรษที่ 19 เรียกว่า ฉีเฉียวตู ซึ่งหมายความว่า แบบแผนกลอันแยบยล ประกอบด้วยรูปเรขาคณิต 7 ชิ้น 5 ใน 7 ชิ้น เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก อีก 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และอีกชิ้นเป็ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
| Had I but known. | ถ้าเพียงข้ารู้ก่อน หมายความว่าไง Aladdin (1992) | -No! That I wouldn't figure it out? -No. | เธอคิดว่าฉันจำเธอไม่ได้หรือ ไม่ ฉันหมายความว่า ฉันหวังว่าเธอจะจำไม่ได้ Aladdin (1992) | I mean, I hoped you wouldn't. | ไม่นะ ฉันไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น Aladdin (1992) | No, but I hope she is, though. I mean, I pray to God she is. | ไม่ แต่ผมหวังว่าเธอเป็น ผมหมายความว่า ผมภาวนาให้เธอเป็น Basic Instinct (1992) | You mean you don't trust me. | คุณหมายความว่า คุณไม่ไว้ใจฉันเหรอ? Basic Instinct (1992) | What do you mean? | หมายความว่ายังไงครับ? Basic Instinct (1992) | Why it's getting worse. I mean, I was really excited. | ทำไมมันแย่ลงไปอีก ฉันหมายความว่า ฉันตื่นเต้นมาก Basic Instinct (1992) | What do you mean? | หมายความว่าไง? Basic Instinct (1992) | Did she mean it when she told him she wanted help? | เธอหมายความว่าอย่างนั้นรึเปล่า ตอนที่เธอบอกเขาว่าต้องการความช่วยเหลือ? Basic Instinct (1992) | If things went well, then she meant it. | ถ้าทุกอย่างมันไปในทางที่ดี เธอก็หมายความอย่างนั้น Basic Instinct (1992) | If not, she didn 't. | ถ้าไม่ใช่ เธอก็ไม่ได้หมายความอย่างนั้น Basic Instinct (1992) | Bill, what do you mean? | หมายความว่าไง? The Bodyguard (1992) | What do you mean? Like me, a girl? | หมายความว่าไง The Bodyguard (1992) | What do you mean? | หมายความว่าอย่างไร Wuthering Heights (1992) | What are you saying? | คุณหมายความว่าไงคะ Wuthering Heights (1992) | How do you mean- a change? | หมายความว่าอย่างไร การเปลี่ยนแปลง Wuthering Heights (1992) | Excuse me. | พี่ครับ ที่ว่าหนังสือพิมพ์ หมายความว่าไงครับ Hero (1992) | Keep digging. Keep investigating. | นี่พี่ไม่ได้หมายความว่าจะอยู่อย่างสงบสุขน่ะเหรอครับ Hero (1992) | Jake, he don't mean no harm. | เจค เขาไม่ได้หมายความ.. The Lawnmower Man (1992) | If, in fact, that occurs, it would mean... he is one of the select few... who has been in every Wrestlemania... all seven of them. | ..นั่นหมายความว่า.. ..เขาเป็นหนึ่งในไม่กี่คน.. ..ที่อยู่ในทุกสมรภูมิของเวสท์มาเนีย.. The Lawnmower Man (1992) | What the fuck does that mean? | แล้วมันหมายความว่ายังไง? The Lawnmower Man (1992) | But it means that you and Julie will have to be in charge once I'm gone. | ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ลูกกับจูลี่จะต้องดูแลบ้าน The Cement Garden (1993) | - What d'you mean? | - หมายความว่าไง? The Cement Garden (1993) | What do you mean? | หมายความว่าไง? The Cement Garden (1993) | Remember. This doesn't mean that I like you. | จำไว้ นี่ไม่ได้หมายความว่า ฉันชอบนายนะเว้ย Cool Runnings (1993) | If that's a children's book, that mean's it's too advanced for the likes of you. | ถ้ามันคือการ์ตูนเด็ก นั่นหมายความว่า มันสูงกว่าสมองนาย Cool Runnings (1993) | What are you trying to say? | นายหมายความว่าไง? Cool Runnings (1993) | - What you mean, "busted"? - The '72 Games. | - หมายความว่าไง โดนจับได้? Cool Runnings (1993) | I mean, you don't know him like I do, you know. | ฉันหมายความว่า นายไม่รู้หรอกว่าพ่อฉันเป็นยังไง Cool Runnings (1993) | Uh, what exactly does it mean? | แล้วมันหมายความว่าอะไร? Cool Runnings (1993) | "Cool runnings" means "Peace be the journey." | " คูล รันนิ่ง " หมายความว่า " การเดินทางที่สงบ " Cool Runnings (1993) | - But it doesn't mean that I like you. | ไม่ได้หมายความว่าฉันชอบนายนะ Cool Runnings (1993) | - What do you mean? | - นายหมายความว่ายังไง? Hocus Pocus (1993) | The address, you mean? | - - ที่อยู่คุณหมายความว่าอย่างไร - In the Name of the Father (1993) | - How do you mean? | - - คุณหมายความว่าอย่างไร? In the Name of the Father (1993) | And I said, "Wait, what do you mean 'everything'? | ฉันก็พูดว่า "เดี๋ยวก่อนค่ะ แม่หมายความว่ายังไงที่พูดว่าทุกอย่าง The Joy Luck Club (1993) | What does it say? What does it mean? It say... | เขาเขียนมาว่ายังไง มันหมายความว่ายังไงคะ The Joy Luck Club (1993) | - What do you mean? | - เธอหมายความว่ายังไง The Joy Luck Club (1993) | What you mean? You so ashamed to be with your mother? | ลูกหมายความว่าไง ลูกอายมากที่อยู่กับแม่หรือไง The Joy Luck Club (1993) | - That's not what I said. | - หนูไม่ได้หมายความว่าแบบนั้น The Joy Luck Club (1993) | - What do you mean? | - แม่หมายความว่ายังไง The Joy Luck Club (1993) | Really, I meant what I said. I want to hear what you want. | จริงๆนะ ผมหมายความอย่างที่พูดจริงๆ ผมอยากได้ยินสิ่งที่คุณต้องการ The Joy Luck Club (1993) | - What do you mean? - I mean, I'd like to hear your voice. | - คุณหมายความว่ายังไง + ผมหมายถึงผมอยากจะได้ยินเสียงคุณ The Joy Luck Club (1993) | Mom, what does it mean? | แม่ หมายความว่ายังไงคะ The Joy Luck Club (1993) | What does it mean, Mommy? | มันหมายความว่ายังไงคะ แม่ The Joy Luck Club (1993) | What do you mean, disappoint? | - ลูกหมายความว่ายังไงที่ว่าผิดหวัง The Joy Luck Club (1993) | You only one who can... | - ป้า... หมายความว่า The Joy Luck Club (1993) | What does it mean What does it mean | มันหมายความว่าอะไร / หมายความว่าอะไร The Nightmare Before Christmas (1993) | What does it mean What does it mean | มันหมายความว่าอะไร / หมายความว่าอะไร The Nightmare Before Christmas (1993) | What does it mean | หมายความว่าอะไร The Nightmare Before Christmas (1993) |
| การมอบหมายความรับผิดชอบ | [kān møpmāi khwām rapphitchøp] (n, exp) EN: delegation of responsibility | การตีความหมายความฝัน | [kān tīkhwāmmāi khwām fan] (n, exp) EN: interpretation of dreams FR: interprétation des rêves [ f ] | กฎหมายความมั่นคงภายใน | [Kotmāi Khwām Mankhong Phāinai] (n, prop) EN: Internal Security Act (ISA) ; ISA 2008 ; security law FR: Acte de sécurité intérieure [ m ] ; Loi de sécurité intérieure [ f ] ; Loi sur la sécurité intérieure [ f ] | กฎหมายความปลอดภัย | [kotmāi khwām pløtphai] (n, exp) EN: safety law | หมายความ | [māikhwām] (v) EN: mean FR: signifier ; vouloir dire | หมายความว่า | [māikhwām wā] (v) EN: mean ; imply ; indicate ; signify | มันหมายความว่าอย่างไร | [man māikhwām wā yāngrai] (xp) EN: What does it mean ? FR: Qu'est-ce que ça signifie ? |
| e.g. | (abbrev) ตัวอย่างเช่น, มาจากภาษาละตินว่า exempli gratia ซึ่งหมายความว่า เพื่อแสดงเป็นตัวอย่าง (for the sake of example), Syn. for example | ayurveda | (n) อายุรเวช (มาจากสันสกฤต หมายความว่าความรู้ (เวช) เกี่ยวกับชีวิต (อายุร)) | sevenish | ราวๆหนึ่งทุ่ม เช่น I'll call for you at sevenish. ฉันจะแวะไปรับเธอช่วงหนึ่งทุ่ม (การเติม -ish ตามหลังตัวเลขบอกเวลา หมายความว่า โดยประมาณ, ราวๆเวลานั้น), Syn. about 7 o'clock | non-commissionable | (adj) [ ท่องเที่ยว, โรงแรม ] เป็นราคาที่ไม่สามารถให้ค่าตอบแทน (commission) ได้แล้ว เช่น การจองโรงแรมปกติอาจจะมีค่าตอบแทนให้แก่บริษัทท่องเที่ยวที่จองให้ลูกค้า แต่ถ้าราคามีการระบุว่า non-commissionable หมายความว่า บริษัทท่องเที่ยวนั้นๆ จะไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือส่วนลดใดๆ แล้วในกรณีนี้ |
| eureka | (int) คำอุทานที่หมายความว่า ค้นพบแล้ว | import | (vt) มีความหมายว่า (คำทางการ), See also: หมายความถึง, แสดงถึง, Syn. convey, denote, imply | mean | (vt) หมายความว่า, See also: แปลว่า, แสดงว่า, Syn. imply, indicate, denote, signify | refer to | (vt) หมายความว่า, See also: หมายว่า, มีความหมายว่า, Syn. allude to, mean | westernize | (vt) เปลี่ยนกฎหมายความคิดและปฏิบัติให้เหมือนยุโรป&อเมริกา, Syn. occidentalize |
| * | เครื่องหมาย asterisk (ดอกจัน) เป็นอักขระตัวหนึ่ง มีอยู่บนแผงแป้นอักขระ เมื่อนำมาใช้ในคำสั่งระบบดอส สัญลักษณ์ * จะใช้แทนตัวอักษรใด ๆ ก็ได้ กี่ตัวก็ได้ (wildcards) ใช้เมื่อต้องการอ้างถึงชื่อแฟ้มข้อมูล เช่นถ้าใช้ A*.* หมายความถึง แฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร A และจะมีนามสกุลอะไรก็ได้ หรือถ้าใช้ *.COM ก็หมายความ ถึงแฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีนามสกุล COM ถ้าใช้ *.* ก็จะหมายถึงทุกแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ในสารบบ หรือในจานบันทึก ดู wildcards ประกอบ | access time | ช่วงเวลาเข้าถึง (ข้อมูล) หมายถึง เวลาที่ใช้ในการที่หัวอ่าน (บางทีเรียกหัวเข็ม) ของหน่วยบันทึกจะสามารถอ่านแฟ้มข้อมูล หรือดึงข้อมูลออกมาจากที่เก็บข้อมูล เช่น จากจานบันทึก หรือฮาร์ดดิสก์ หากใช้เวลาเข้าถึงข้อมูลน้อย ก็หมายความว่า อ่านได้เร็ว ดู direct access, indirect access, random access, sequential access, immediate access ประกอบ | alpha test | การทดสอบรอบแรกหมายถึง การนำเอาโปรแกรมสำเร็จที่เขียนเสร็จใหม่ ๆ ไปให้ "กลุ่มลูกค้าประจำ" ทดลองใช้ดูก่อน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ให้ช่วยเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นให้ เพื่อจะดูว่าโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นใช้ได้ดีหรือไม่ ยังขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง หรือมีปัญหาในเรื่องใด โดยปกติแล้ว การทดลองนำไปใช้ครั้งแรกนี้ จะยังมีเรื่องที่ต้องแก้ไขอีกมาก โปรแกรมดังกล่าวจะมีข้อความบ่งบอกไว้ว่า เป็น alpha version หมายความว่า รุ่นทดสอบรอบแรก ดู beta version ประกอบ | arithmetic statement | ข้อความสั่งคำนวณ <คำแปล>หมายถึง คำสั่งที่กำหนดให้คอมพิวเตอร์ นำค่าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหรือนำค่าเหล่านั้นไปทำการคำนวณ เมื่อได้ผลจากการคำนวณแล้วจึงนำไปเก็บในตำแหน่งที่ซี่งกำหนดไว้ เช่น score = A+B หมายความว่า ให้นำค่า A+B ได้ผลเท่าใด นำไปเก็บไว้ที่ score | ascii file | แฟ้มข้อมูลแอสกี <คำแปล>หมายถึงแฟ้มข้อมูลที่ไม่ใช่โปรแกรม มีตัวอักขระที่ใช้เป็นรหัสแอสกีทั้งหมด บางที เรียกว่า " text file " แฟ้มแอสกี (ASCII file) มีลักษณะเฉพาะคือเป็นแฟ้มที่ไม่มีรูปแบบในการจัดหน้า ข้อความจะยาวไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการขึ้นบรรทัดใหม่ นอกจาก จะเริ่มระเบียนใหม่ โปรแกรมเวิร์ด สตาร์ (WordStar) เป็นผู้นำคำนี้มาใช้ก่อน (ตรงข้ามกับ document file ซึ่งหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดรูปหน้าไว้แล้ว) ส่วนมากจะใช้ศัพท์นี้เมื่อต้องการเปลี่ยน (convert) แฟ้มข้อมูลของโปรแกรมหนึ่งเป็นอีกโปรแกรมหนึ่ง เช่นจาก Word Perfect เป็น Microsoft Word ในกรณีเช่นนี้ อาจจะมีเมนูให้เลือกได้ว่าจะเปลี่ยนเป็น text file หรือ ASCII file หรือไม่ ซึ่งก็หมายความว่าเปลี่ยนเป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกีทั้งหมด ทำให้สามารถใช้ร่วมกันได้ ภายใต้ระบบปฏิบัติการเดียวกัน นิยมใช้กันมากในระบบสื่อสารและถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล | asterisk | (แอส'เทอริสคฺ) n. เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) , สิ่งที่มีลักษณะคล้ายดาว. -vt. ใส่เครื่องหมายดอกจันทร์หรือดาว ดอกจัน <คำแปล>* <เครื่องหมาย>เป็นอักขระตัวหนึ่ง มีอยู่บนแผงแป้นอักขระ เมื่อนำมาใช้ในคำสั่งระบบดอส สัญลักษณ์ * จะใช้แทนตัวอักษรใด ๆ ก็ได้ กี่ตัวก็ได้ (wildcards) ใช้เมื่อต้องการอ้างถึงชื่อแฟ้มข้อมูล เช่นถ้าใช้ A*.* หมายความถึง แฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร A และจะมีนามสกุลอะไรก็ได้ หรือถ้าใช้ *.COM ก็หมายความ ถึงแฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีนามสกุล COM ถ้าใช้ *.* ก็จะหมายถึงทุกแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ในสารบบ หรือในจานบันทึก ดู wildcards ประกอบ | byte | (ไบทฺ) n. หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่ากับ 1 อักขระหรือ 8 บิต, ข้อมูลจำนวน 8 บิต, ชุดของบิต (bit) ซึ่งคอมพิวเตอร์จัดไว้สำหรับเก็บข้อมล 1 ชุด คอมพิวเตอร์ต่างชนิดจะจัดชุดของบิตไว้ไม่เท่ากัน เช่น เครื่อง IBM 360 จัดบิตไว้เป็นชุด ๆ ละ 8 บิต เรียกว่า ไบต์ โดยปกติ ใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของหน่วยความจำ หรือจานบันทึกว่า มีขนาดเก็บได้กี่ตัวอักษร หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น วัดกันเป็นกิโลไบต์ (kilobyte) เรียกว่า K byte เท่ากับประมาณ 1 พันไบต์ หรือหนึ่งพันตัวอักษร, เมกะไบต์ (mega byte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านไบต์ , กิกะไบต์ (gigabyte) เท่ากับประมาณ 1 พันล้านไบต์ และเทราไบต์ (terabyte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านล้านไบต์เช่น เราอาจพูดว่า ฮาร์ดดิสก์ในเครื่องนี้มีขนาดความจุ 2 กิกะไบต์ (หมายความว่าสามารถเก็บข้อความได้สองพันล้านตัวอักษร) อนึ่ง หน่วยวัดที่นิยมใช้มีดังนี้ 1 KB (kilobyte) = 1, 024 ไบต์ 1 MB (Megabyte) = 1, 048, 576 ไบต์ (หรือ 1, 024 Kbytes) 1 GB (gigabyte) = 1, 073, 741, 824 ไบต์ (หรือ 1, 024 Mbytes) 1 TB (terabyte) = 1, 099, 511, 627, 776 ไบต์ (หรือ 1, 024 Gbytes) | bytes per inch | ไบต์ต่อนิ้วใช้ตัวย่อว่า BPI เป็นหน่วยวัดความจุของตัวอักขระในเทปหรือแถบบันทึก (tape) หมายความว่า ขนาดความยาวของแถบบันทึก 1 นิ้ว จะบรรจุตัวอักขระได้เท่าใดอาจต่างกันได้ตั้งแต่ 200 ถึง 1600 ไบต์ต่อนิ้ว และอาจมีการปรับให้มากหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ (บางทีใช้กับความยาวของแทร็กของพื้นผิวของจานบันทึก (disk) ด้วย | cd | abbr. ธาตุ cadmium, แผ่นซีดี ย่อมาจาก compact disk แปลตามตัวอักษรว่า จานบันทึกอัดแน่น มีลักษณะเป็นแผ่นจานกลม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ซม. ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล จานบันทึกนี้มีความจุสูงมาก (ประมาณ 600ล้านตัวอักษร) ปัจจุบันมีอุปกรณ์ใช้อ่านข้อมูลจากจานบันทึกนี้ได้ แต่การบันทึกข้อมูลลง ยังทำไม่ได้ง่าย ๆ ต้องมีเครื่องพิเศษเฉพาะ บันทึกได้ทั้งข้อมูลธรรมดา เพลง ภาพยนตร์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มาก เพราะราคาถูก ความจุสูง แต่ยังติดขัดในปัญหาบางประการในเรื่องการบันทึกข้อมูลลง ดู CD ROM ประกอบ 2. ย่อมาจากคำ Change Directory เป็นคำสั่งในระบบดอสที่สั่งให้เข้าไปในสารบบ (directory) ใดสารบบหนึ่ง หรือออกจากสารบบใดสารบบหนึ่ง เช่น C:/>CD <ชื่อสารบบ> \ (หมายความว่าให้เข้าไปในสารบบชื่อนั้น) C:> CD\ (หมายความว่า ให้ออกจากสารบบที่อยู่) | class a/class b | ชั้นเอ/ชั้นบีเป็นการกำหนดคุณภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคณะกรรมการคมนาคมของรัฐบาลกลางสหรัฐ (Federal Communications Commission) ที่ใช้กำหนดระดับของพลังงานไฟฟ้าแรงสูงที่จะใช้ในคอมพิวเตอร์ ถ้าเป็น Class A แปลว่า อนุญาตให้ใช้ในที่ทำงานได้ ถ้าเป็น Class B หมายความว่า ใช้ในที่ทำงานก็ได้ ที่บ้านก็ได้ (ถ้าหากนำคอมพิวเตอร์ Class A มาใช้ที่บ้านอาจไปรบกวนการรับวิทยุหรือภาพทางโทรทัศน์ของบ้านอื่น) | computer aided software e | วิศวกรรมซอฟต์แวร์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CASE (อ่านว่าเคส) หมายความถึง การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำซอฟต์แวร์ | computer aided system eng | วิศวกรรมระบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CASE (อ่านว่าเคส) หมายความถึง การสร้างโปรแกรมระบบโดอาศัยคอมพิวเตอร์ช่วย | direct access | การเข้าถึงโดยตรงหมายถึง การเข้าถึงข้อมูลโดยใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลได้เร็วเท่ากันหมด ไม่ขึ้นกับตำแหน่งที่เก็บ หมายความว่า ไม่ว่าข้อมูลจะเก็บอยู่ที่ส่วนใดของสื่อที่ใช้บันทึก หัวอ่าน (read head) ก็จะเจาะตรงลงไปอ่านได้เลย เช่น การอ่านข้อมูลจากจานบันทึก ซึ่งผิดกับการอ่านข้อมูลจากแถบบันทึก (tape) ที่ต้องอ่านเรียงไปตามลำดับตั้งแต่ต้นเทปไปจนกว่าจะถึงข้อมูลที่ต้องการทุกครั้ง ทำให้ช้ากว่ากันมากดู indirect access เทียบ | en dash | (เอ็นแดช) หมายถึงเครื่องหมาย - (ที่เรียกว่า dash) มีขนาดความกว้างเท่ากับอักษร N ในทางคอมพิวเตอร์มีความหมายว่า "ถึง" เช่น หน้า 50 - 55 หมายความว่า ตั้งแต่หน้า 50 ถึง 55 เป็นต้น | eprom | (อีพร็อม) ย่อมาจาก erasable programmable read-only memory แปลว่า หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดโปรแกรมได้และลบได้ หมายความถึงชิป (chip) ชนิดหนึ่งใช้เก็บข้อมูลหรือลบทิ้งได้ แต่การเก็บหรือการลบข้อมูลในนั้นต้องใช้แสงอุลตราไวโอเล็ต (ultraviolet) เท่านั้น หน่วยความจำชนิดนี้จะเก็บข้อมูลไว้ได้แม้ว่าจะไม่ใช้ไฟฟ้า ดู EEPROM และ PROM ประกอบ | erasable storage | หน่วยเก็บที่ลบได้ <คำแปล>หมายถึง สื่อเก็บข้อมูลที่สามารถบันทึกข้อมูลใหม่ทับข้อมูลเก่าได้ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือ จานบันทึก (diskette) เมื่อบันทึกข้อมูลใหม่ ข้อมูลเก่าจะถูกลบออกไปเอง ส่วนบัตร (card) เป็นหน่วยเก็บที่ลบไม่ได้ หมายความว่า ใช้ได้ครั้งเดียวก็ต้องโยนทิ้ง | fixed storage | หน่วยเก็บข้อมูลที่เปลี่ยนไม่ได้หมายถึงสื่อที่เก็บข้อมูลครั้งหนึ่งแล้ว นำมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หมายความว่า จะนำมาลบแล้วบันทึกใหม่อย่างจานบันทึกหรือแถบบันทึกไม่ได้ เมื่อนำมาบันทึกใหม่ไม่ได้ ส่วนมากจึงมักใช้บันทึกแฟ้มข้อมูลที่อ่านได้อย่างเดียว (read only) บางทีหมายถึงรอม (ROM) | immediate access | หมายถึง การเข้าถึงข้อมูลโดยใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลได้เร็วเท่ากันหมด ไม่ขึ้นกับตำแหน่งที่เก็บ หมายความว่า ไม่ว่าข้อมูลจะเก็บอยู่ที่ส่วนใดของสื่อที่ใช้บันทึก หัวอ่าน (read head) ก็จะเจาะตรงลงไปอ่านได้เลย เช่น การอ่านข้อมูลจากจานบันทึก ซึ่งผิดกับการอ่านข้อมูลจากแถบบันทึก (tape) ที่ต้องอ่านเรียงไปตามลำดับตั้งแต่ต้นเทปไปจนกว่าจะถึงข้อมูลที่ต้องการทุกครั้ง ทำให้ช้ากว่ากันมากมีความหมายเหมือน direct access | insert key | แป้นแทรก <คำแปล>เป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีคำว่า Insert หรือ Ins อยู่บนแป้น การกดแป้นนี้จะทำให้สามารถพิมพ์ตัวอักษรแทรกเข้าไปโดยที่ตัวอักษรที่อยู่ถัดไปจะถอยให้ (ถ้าไม่กดแป้นนี้ อักษรตัวใหม่ที่พิมพ์จะทับตัวเก่า ทำให้ตัวเก่าหายไป) อย่างไรก็ตาม แป้นนี้เป็นแป้นเปิด/ปิด (on/off) หมายความว่า กดแป้นนี้ครั้งแรก จะเปลี่ยนให้เป็นภาวะแทรก แต่ถ้ากดอีกครั้งหนึ่ง ก็จะเปลี่ยนกลับไปเป็นภาวะเดิม คือภาวะพิมพ์ทับ บางทีใช้ Ins keyดู insert mode ประกอบ | interleaving | แทรกสลับสลับหมายถึง อัตราส่วนของการบันทึกข้อมูลลงในแต่ละเซ็กเตอร์ (sector) กับเซ็กเตอร์ ที่ข้ามไปของจานบันทึกแบบแข็ง (hard disk) เช่น ถ้าจานแข็งยี่ห้อหนึ่งกำหนดไว้ 3:1 หมายความว่า จานนี้บันทึกข้อมูลหนึ่งเซ็กเตอร์แล้วข้ามไปสามเซ็กเตอร์ จึงจะบันทึกข้อมูลใหม่ | kilo instructions per sec | พันคำสั่งต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า KIPS เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยวัดเป็นจำนวนคำสั่ง (หน่วยเป็นพัน) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการ (execute) ได้ใน 1 วินาที เช่น คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ทำงานได้ 50 กิปส์ หมายความว่า ทำงานได้เร็วห้าหมื่นคำสั่งในหนึ่งวินาที ปัจจุบัน นิยมใช้หน่วยวัดเป็นมิปส์หรือ MIPS (ล้านคำสั่งต่อวินาที) เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นมาก | kilobyte | (กิโลไบต์) ใช้ตัวย่อว่า KB มีค่าเท่ากับ 1, 024 (2 ยกกลง 10) ไบต์ เช่น ถ้าพูดว่าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำ 64 เคไบต์ หมายความว่า มีเนื้อที่ในหน่วยความจำ 65, 536 ไบต์ สามารถเก็บตัวอักขระได้ 65, 536 ตัวอักขระ | kips | (กิปส์) ย่อมาจาก kilo instructions per second พันคำสั่งวินาที เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยวัดเป็นจำนวนคำสั่ง (หน่วยเป็นพัน) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการ (execute) ได้ใน 1 วินาที เช่นคอมพิวเตอร์นี้ทำงานได้ 50 กิปส์ หมายความว่า ทำงานได้เร็วห้าหมื่นคำสั่งในหนึ่งวินาที ปัจจุบัน นิยมใช้หน่วยวัดเป็นมิปส์หรือ MIPS (ล้านคำสั่งต่อวินาที) เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นมากดู MIPS เปรียบเทียบ | logical operator | ตัวดำเนินการตรรกะหมายถึง สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม การสร้างแผ่นตารางจัดการ หรือการสร้างฐานข้อมูลเพื่อแสดงถึงสัมพันธภาพระหว่างรายการสองรายการ ตัวดำเนินการดังกล่าวมีด้วยกัน 3 ตัวคือ AND, OR, และ NOT เช่น จะเขียนโปรแกรมสั่งให้เครื่องค้นหา (จากแฟ้มข้อมูลใหญ่ ๆ) คนที่มีรายได้สูงกว่าห้าแสนบาทต่อปี AND ใช้รถเบนซ์รุ่นใหม่สุด (หมายความว่า ต้องมีคุณสมบัติทั้งสองอย่าง) ดู OR เปรียบเทียบ | megabyte | (เมก' กะไบท์) n. 220 ไบต์หรือ 1, 048, 576 ไบต์ : ย่อว่า MB, ใช้ตัวย่อว่า MB (เอ็มบี) เท่ากับหนึ่งบ้านไบต์ ใช้บอกขนาดของหน่วยความจำ เช่น คอมพิวเตอร์ ขนาด 16 เมกะไบต์ หมายความว่า มีขนาดหน่วยความจำ 16 ล้านไบต์ หรือบอกความจุของสื่อ เช่น จานแม่เหล็ก หรือจานบันทึก ว่ามีความจุ 1.2 เมกะไบต์ ก็หมายความว่า เก็บข้อมูลได้ 1.2 ล้านตัวอักษร เป็นต้น | mtbf | (เอ็มทีบีเอฟ) ย่อมาจากคำ mean time between failure ได้แก่อายุการใช้งานเฉลี่ยของอุปกรณ์บางชนิด เช่น เครื่องพิมพ์ ถ้าเป็นขนาด MTBF 35000 ก็หมายความว่า เมื่อใช้พิมพ์ออกมา 35, 000 แผ่น ก็จะถึงคราวหมดอายุของมันแล้ว | netbios | (เน็ตไบออส) ย่อมาจาก Network Basic Input / Output System หมายความถึงไบออสที่ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดเกี่ยวกับชนิดของอุปกรณ์นำเข้าและแสดงผล ตลอดจนหน่วยความจำที่จะใช้ในเครือข่าย เพื่อช่วยไบออสของแต่ละเครื่องที่มีอยู่แล้วอีกทีหนึ่ง ดู Bios ประกอบ | network basic input / out | ไบออสเครือข่ายใช้ตัวย่อว่า NetBIOS (อ่านว่า เน็ตไบออส) หมายความถึงไบออสที่ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดเกี่ยวกับชนิดของอุปกรณ์นำเข้าและแสดงผล ตลอดจนหน่วยความจำที่จะใช้ในเครือข่าย เพื่อช่วยไบออสของแต่ละเครื่องที่มีอยู่แล้วอีกทีหนึ่ง ดู BIOS ประกอบ | off-line | นอกสายไม่เชื่อมตรงถ้าใช้กับเครื่องปลายทาง (terminal) หมายความว่า ไม่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย หรือคอมพิวเตอร์อื่นใดเลย ถ้าใช้กับอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์ ก็หมายความว่าไม่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เช่นกัน ดู on line เปรียบเทียบ | parameter | พารามิเตอร์ตัวแปรเสริมหมายถึง ค่า ซึ่งอาจจะเป็นจำนวนเลข หรือตัวอักขระ ที่ใช้ในการสร้างสมการหรือคำสั่ง (statement) ข้อความที่จะเห็นบนจอภาพบ่อย ๆ เช่น "parameter missing" หมายความว่า ใส่ข้อความไม่ครบ เช่น ให้ย้ายแฟ้มข้อมูล A แต่ไม่บอกว่าย้ายไปที่หน่วยบันทึกใด (เช่น จะให้ไปที่ a : หรือ b:) | parent/child | แม่/ลูกหมายถึง ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างแฟ้มข้อมูลหรือสารบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ที่เรียกว่าแบบแม่/ลูก หมายความว่า ลงมาเป็นชั้น ๆ | path name | เส้นบอกทางหมายถึง เส้นบอกทางไปยังที่ที่ใช้เก็บแฟ้มข้อมูล โดยต้องเริ่มต้นด้วยหน่วยบันทึก (drive) คั่นด้วยเครื่องหมาย : ตามด้วยเครื่องหมาย \ หลังจากนั้นเป็นชื่อ สารบบ (directory) และอนุสารบน (subdirectory) ถ้ามี คั่นด้วย \ แล้วจึงถึงชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ เช่นตัวอย่างC:\PROGRAMS\GRAPHICSชA"ข้อความนี้ หมายความว่า แฟ้มข้อมูลชื่อ AAA อยู่ในอนุสารบนชื่อ GRAPHICS ในสารบบใหญ่ที่ชื่อ PROGRAM และอยู่ในหน่วยบันทึก C: อนึ่ง ในระบบวินโดว์ ทุกครั้งที่จะบันทึกแฟ้มข้อมูลลงในจานบันทึก หรือเรียกแฟ้มข้อมูลมาแสดงหรือสั่งพิมพ์ ฯ จะต้องแจ้งเส้นบอกทางไปยังแฟ้มข้อมูลนั้นให้ชัดเจน ถ้าเป็นแมคอินทอช จะไม่ใช้ระบบการเก็บแฟ้มข้อมูลแบบนี้ | peer-to-peer | เพียทูเพียหมายถึง วิธีการจัดเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง ที่กำหนดให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทุกเครื่องเหมือนกันหรือเท่าเทียมกัน หมายความว่า แต่ละเครื่องต่างมีโปรแกรมหรือมีแฟ้มข้อมูลเก็บไว้เอง การจัดแบบนี้ทำให้สามารถใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ แทนที่จะต้องใช้จากเครื่องบริการแฟ้ม (file server) เท่านั้น วิธีการจัดอีกลักษณะหนึ่ง ที่เรียกว่า client-server นั้น คือการกำหนดให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นเครื่องบริการแฟ้ม หรือเป็นที่เก็บโปรแกรมและแฟ้มทั้งหมด คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะเรียกใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลจากกันไม่ได้ ต้องเรียกจากเครื่องบริการแฟ้มเท่านั้น ดู file server ประกอบ | pipeline | การทำงานแบบสายท่อหมายถึง วิธีการเชื่อมโยงสองโปรแกรมหรือกว่านั้นเข้าด้วยกัน โดยกำหนดให้ผลที่เกิดจากการประมวลผลในโปรแกรมแรก เป็นตัวกำหนดเรียกโปรแกรมที่สอง (หมายความว่า โปรแกรมที่สองจะเป็นโปรแกรมใด ขึ้นกับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในโปรแกรมแรก) การประมวลผลในโปรแกรมที่สองก็จะเรียกโปรแกรมต่อไป วิธีการนี้ใช้ในระบบยูนิกซ์ (UNIX) และ ดอส (DOS) | portrait orientation | พิมพ์แนวตั้งหมายถึง ทิศทางของการวางกระดาษพิมพ์ หรือทิศทางที่จะให้ภาพพิมพ์ออกมาจากเครื่องพิมพ์ในแนวตั้ง หมายความว่า ความกว้างน้อยกว่าความยาว ตรงข้ามกับ "แนวนอน"ดู landscape orientation เปรียบเทียบ | radix | (เร'ดิคซฺ) n.เลขฐานของระบบเลขหรือlogarithmsหรืออื่น ๆ , ราก, รากศัพท์, สมุฎฐาน, มูลฐาน, จำนวนสัญลักษณ์ที่ใช้บอกว่าเลขในระบบนั้น ๆ ว่ามีสัญลักษณ์โดด ๆ กี่ตัว เช่น ระบบฐานสิบมีสัญลักษณ์ 10 ตัว ระบบฐานสิบหกมีสัญลักษณ์ 16 ตัว เป็นต้น ในการเขียน มักจะต้องบอกฐานกำกับไว้ด้วยเสมอและมีวิธีเขียนหลายแบบ (ถ้าเป็นเลขฐาน 10 จะไม่ต้องเขียนฐานกำกับ) เช่น101 (8) หมายความว่า 101 เป็นเลขฐานแปด (101) 2 หมายความว่า 101 เป็นเลขฐานสองมีความหมายเหมือน base numberดู number system ประกอบ pl. radices, radixes, Syn. root, a radical | random access | การเข้าถึงโดยสุ่มการเข้าถึงข้อมูลที่บันทึกไว้โดยสุ่มหมายความว่าเข้าถึงได้ทุก ๆ จุดได้โดยทันทีทันใด เป็นต้นว่า การเข้าถึงข้อมูลที่เก็บในจานบันทึก ซึ่งจะใช้เวลาเท่ากันหมดไม่ว่าเก็บไว้ที่จุดไหน ต่างกับการเข้าถึงข้อมูลที่เก็บไว้ในแถบบันทึกหรือเทป ถ้าข้อมูลที่ต้องการอยู่ตอนปลาย ก็จะต้องรอให้เทปเดินหน้าไปจนถึงจุดนั้นเสียก่อน การเข้าถึงข้อมูลโดยวิธีนี้ จะมีหัวอ่าน/บันทึก (read head) ต่อกับก้านโลหะที่เคลื่อนเข้า/ออกได้ เหนือจานที่หมุนรอบแกนอีกทีหนึ่ง เปรียบเทียบ) ถ้าเปรียบกับการฟังเพลงจากจานเสียงและเทป จะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าเป็นเทปหรือแถบบันทึก หากจะฟังเพลงที่อยู่ในลำดับท้าย ๆ ก็จะต้องรอให้เทปหมุนผ่านเพลงในลำดับแรก ๆ ไปก่อน แต่ถ้าเป็นจานเสียง เราต้องการฟังเพลงใด ก็สั่งได้ทันทีดู sequential access เปรียบเทียบ | resolution | (เรซซะลู'เชิน) n. ความแน่วแน่, ความเด็ดเดี่ยว, การยืนหยัด, การตัดสินใจแล้ว, มิติ, การลงมติ, การแก้ปัญหา, การยุบลงของส่วนที่บวมหรืออักเสบ , ความคมชัดหมายถึง ความละเอียดของภาพ โดยจะนับจุดเล็ก ๆ ในภาพนั้น ยิ่งมีมากจุดต่อนิ้วก็ยิ่งแสดงว่าภาพนั้นมีความคมชัด เช่น อาจใช้วัดประสิทธิภาพของเครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) ว่า สามารถพิมพ์ได้ 300 - 600 จุดต่อนิ้ว เป็นต้น ถ้าเป็นชนิดดีมากควรจะพิมพ์ได้ถึง 2, 400 จุดต่อนิ้ว ส่วนความละเอียดของจอภาพ มักจะวัดทั้งความกว้างและยาว เช่น 320 X 200 แสดงว่าจุดมีขนาดใหญ่ แต่ถ้าเป็น 1240 X 800 แสดงว่าจุดมีขนาดเล็ก หมายความว่า ภาพคมชัดกว่า เมื่อใช้อธิบายถึงภาพสี คำ resolution ใช้บอกจำนวนสีที่สามารถแสดงได้ในแต่ละครั้ง ถ้าความคมชัดต่ำ จะแสดงสีได้ครั้งละมาก ๆ ซึ่งทำให้มีความรู้สึกเหมือนกับว่า ภาพนั้นมีความคมชัดมาก ภาพที่มีความคมชัดมากจริง ๆ จะแสดงสีได้น้อยสีในคราวเดียวกัน โดยปกติ มักใช้คำ high res และ low res เป็นคำย่อว่า ความคมชัดมากหรือน้อยดู high resolutution และ low resolution ประกอบ, Syn. resolve, determination | sans serif | แซนเซอริฟ <คำอ่าน>เป็นแบบอักษร (font) ภาษาอังกฤษแบบหนึ่งที่ไม่มีส่วนงอนโค้งของส่วนปลายสุดของตัวอักขระ ส่วนงอนโค้งนี้ในภาษาอังกฤษ เรียกกันว่า serif ฉะนั้น sans serif ก็หมายความว่าปราศจากส่วนนี้ (sans เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ปราศจาก) แบบอักษรชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นตัวตรง ๆ เหมาะสำหรับใช้พิมพ์ชื่อเรื่อง พาดหัวตัวโต ๆ ว่ากันว่าให้อ่านง่าย ในระบบวินโดว์ของพีซี กรอบสนทนาทั้งหมดใช้แบบอักษรนี้ ฉะนั้น ต้องระวังอย่าลบแบบอักษรนี้ออกจากหน่วยความจำโดยเด็ดขาด ดู serif เปรียบเทียบ | secondary key | กุญแจรองในการสั่งค้นหาหรือเรียงลำดับข้อมูล จะต้องมีการกำหนดว่าจะใช้ตัวอักษรใด ข้อความใดเป็นตัวกำหนด ที่เรียกว่า " กุญแจ " (key) ตัวที่สำคัญเป็นอันดับแรก เรียกว่า "กุญแจหลัก" (primary key) ส่วนตัวสำคัญรองลงมา ก็เรียกว่า " กุญแจรอง " (secondary key) เช่น กำหนดให้อายุ 20 ปี เป็นกุญแจหลัก และเป็นชาย เป็นกุญแจรอง ดังนี้ก็หมายความว่า ต้องการหาชายที่มี 20 ปี เป็นต้น ดู primary key เปรียบเทียบ | tab key | (แป้นพิมพ์) แป้นตั้งระยะหมายถึง แป้นพิมพ์แป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ โดยปกติจะอยู่ริมด้านซ้ายสุดของแถวที่สองจากข้างบน อาจมีคำ tab บนแป้น บางทีมีเครื่องหมายลูกศรแทน การกดแป้นนี้ จะทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) เลื่อนไประยะหนึ่ง (แล้วแต่จะมีการกำหนดไว้) อาจเป็น 5- 10 ช่องว่าง มักใช้เมื่อต้องการย่อหน้าหรือต้องการจัดคอลัมน์ให้ตรงกัน (ไม่ควรกดคานเคาะ) นอกจากนั้น ในกรอบสนทนา การกดแป้นนี้หมายความว่า ให้กระโดดจากช่อง (ที่จะให้เติมข้อความ) ที่ 1 ไปช่องที่ 2 ไปช่องที่ 3....ต่อไป | what you see is what you | what you see is what you get ได้อย่างที่เห็นใช้ตัวย่อว่า WYSIWIG (อ่านว่า วิซิวิก) เป็นสมรรถนะอย่างหนึ่งของโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกรมการจัดพิมพ์ ซึ่งมีการนำภาพและข้อความ (text) มาผสมกัน หมายความว่า ถ้ามองเห็นบนจอภาพอย่างไร สั่งพิมพ์ออกมา ก็จะได้ผลอย่างที่เห็นนั้น ทั้งนี้เป็นเพราะเมื่อก่อนนี้ โปรแกรมไม่สามารถสั่งให้แสดงผลบนจอภาพได้ เช่น ถ้าสั่งให้พิมพ์ตัวเข้ม ตัวเอน ฯ จะไม่สามารถมองเห็นได้บนจอภาพ แต่จะเห็นเมื่อสั่งพิมพ์ลงกระดาษแล้ว เท่านั้น ปัจจุบัน โปรแกรมใหม่ ๆ จะมีลักษณะ " ได้อย่างที่เห็น " หมดแล้ว | wysiwyg | (วีซิวิก) ย่อมาจาก what you see is what you get แปลตามตัวว่า "ได้อย่างที่เห็น" เป็นสมรรถนะอย่างหนึ่งของโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกรมการจัดพิมพ์ ซึ่งมีการนำภาพและข้อความ (text) มาผสมกัน หมายความว่า ถ้ามองเห็นบนจอภาพอย่างไร สั่งพิมพ์ออกมา ก็จะได้ผลอย่างที่เห็นนั้น ทั้งนี้เป็นเพราะเมื่อ ก่อนนี้ โปรแกรมไม่สามารถสั่งให้แสดงผลบนจอภาพได้ เช่น ถ้าสั่งให้พิมพ์ตัวเข้ม ตัวเอน ฯ จะไม่สามารถมองเห็นได้บนจอภาพ แต่จะเห็นเมื่อสั่งพิมพ์ลงกระดาษแล้ว เท่านั้น ปัจจุบัน โปรแกรมใหม่ ๆ จะมีลักษณะ "ได้อย่างที่เห็น" หมดแล้ว |
| denote | (vt) แสดง, ชี้แนะ, บ่งชี้, หมายความว่า | import | (vt) นำเข้า, หมายความ, แสดงนัย |
| apem | เป็นโหลดหรือ ฟังก์ชั่นในวงการ DotA ย่อมาจาก "All Pick Easy Mode" คำอธิบายเพิ่มเติม เป็นโหลดที่พวก noob, grean, kak ชอบใช้กัน แต่ไม่ได้หมายความว่า โหมดอื่นจะไม่มีนะ | avalon | (n) เกาะที่เชื่อว่าเป็นเกาะสวรรค์ทางตะวันตกที่กษัตริย์อาเธอร์ได้ทรงไปประทับอยู่ภายหลังจากการบาดเจ็บสาหัสจากการสู้รบและทรงสวรรคตที่นั่น บางครั้งใช้แสดงความหมายแฝงหมายความว่า เป็นที่พักพิงใจและกายเมื่อมีความทุกข์ระทม island paradise in Celtic mythology: in Celtic mythology, an island paradise in the west. King Arthur is said to have been taken to Avalon after being apparently mortally wounded. (Encarta Wold English Dictionary), Syn. แดนสุขาวดี | inw | [เทพ] (n, adv) ใช้กันในวงการ DotA มีความหมายว่า ฝีมือการเล่นระดับเทพ(ไม่ได้หมายความว่าจะ grean ไม่ได้นะ) เช่น พี่ชายคนนั้นเล่น inwจังเลยอ้ะ หรือ แม่ง inw อย่าไปท้ามันนะฮ้ะ | แหล่ม | (n) แหล่ม : หมายความแหล่ม อะฮ้า ใช่แล้วความแหล่ม มันดูแปลกๆ ในสายตาคนปกติ ไม่ธรรมดา |
| 予実 | [よじつ, yojitsu] มาจาก2คำคือ 予測+実績=予実 หมายความว่า เป็นการเปรียบเทียบผลการทำงานว่า Plan กับ Actual มีข้อแตกต่างกันหรือไม่ | 歩留まり | [ぶどまり, budomari] อัตราของดีต่อของเสีย เช่น ผลิตงาน 100 ชิ้น มีงานเสียเกิดขึ้น 2 ชิ้น หมายความว่า 歩留まり(Yield) = 98% |
| bedeuten | (vt) |bedeutete, hat bedeutet| หมายความ, แปลว่า, หมายถึง | aushalten | (vt) |hält aus, hielt aus, hat ausgehalten| ทน, อดทน (ในด้านลบ ซึ่งต่างจาก sich gedulden ที่อาจหมายความได้ทั้งด้านลบและบวก) เช่น Ich halte den Geruch nicht mehr aus. ฉันทนกลิ่นนี้ไม่ได้แล้ว | was | อะไร (ขึ้นต้นประโยคคำถาม) เช่น Was bedeutet das? มันหมายความว่าอะไร | Ich habe den Sprung ins kalte Wasser gewagt. | กล้าเสี่ยงที่จะทำอะไรบางอย่าง (แปลตามตรง ฉันกล้าที่จะกระโดดลงไปในน้ำเย็น ในที่นี้ไม่ใช้น้ำร้อนเพราะว่าถ้าโดดลงไปในน้ำร้อน เราก็จะพอเดาผลได้ คือตัวเราเองจะโดนต้มสุก แต่การกระโดดลงไปในน้ำเย็นนั้น เราไม่รู้ว่าเราจะหนาวจนตาย แข็งจนตาย หรือรอดชีวิตได้ เพราะในน้ำเย็นอาจจะต้องใช้เวลาก่อนที่เราจะแข็งเป็นน้ำแข็ง ดังนั้นในที่นี้จึงหมายความว่าเป็นการเสี่ยงในการทำอะไรบางอย่าง โดยที่ไม่รู้ผลลัพธ์ที่ตามมา) |
|
add this word
You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |