เป็นหน้าเป็นตา | ว. เป็นที่เชิดหน้าชูตา เช่น บ้านนี้มีลูกชายเก่งและขยัน เป็นหน้าเป็นตาของวงศ์ตระกูล. |
หน้าเป็น | ว. อาการที่ทำหน้ายิ้มหรือหัวเราะอยู่เรื่อย ๆ เช่น ถูกดุแล้วยังทำหน้าเป็นอยู่อีก, ช่างหัวเราะ เช่น เขาเป็นคนหน้าเป็น. |
กระจกเงา | น. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สำหรับส่องหน้าเป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย |
กระแตวับ | ก. หน้าเป็น เช่น แต่ล้วนตัวตอแหลกระแตวับ (อภัย). |
กระบอก ๑ | รูปตันที่กำเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้านหนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็นวงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่ รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้นจนปลาย. (อ. cylinder). |
กลับ | (กฺลับ) ก. ตรงกันข้ามกับภาวะเดิมหรือทิศทางเดิม เช่น กลับหน้าเป็นหลัง กลับบ้าน, เปลี่ยนเป็นตรงกันข้าม เช่น นึกว่าเป็นคนดี กลับเป็นคนร้าย, คืนมาสู่ภาวะเดิม เช่น กลับมีอีก, พลิกหน้าเป็นหลัง เช่น กลับปลา, เปลี่ยน เช่น กลับชาติ กลับใจ, ทำตรงกันข้ามกับที่คาดหมายหรือที่ควรจะเป็น เช่น เราพูดด้วยดี ๆ เขากลับ ด่าเอา. |
กะบังหน้า | น. กรอบหน้าเป็นเครื่องประดับ. |
ข้าวปั้น | ชื่ออาหารแบบญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง ทำจากข้าวญี่ปุ่นซึ่งปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำส้ม เกลือ เป็นต้น ปั้นเป็นก้อนขนาดพอคำ มีหน้าเป็นปลาดิบสด ปลาหมึก กุ้ง ไข่ เป็นต้น กินกับซอสญี่ปุ่น. |
คาดหน้า | ก. หมายหน้าเป็นเชิงดูหมิ่น. |
งึก ๆ | ว. อาการที่พยักหน้าเป็นการรับรู้, หงึก ๆ ก็ว่า. |
ทะลิ่น | ก. ทะเล้น, หน้าเป็น. |
ทะเล้น | อาการที่ทำหน้าเป็นหรือหลอกล้อโดยไม่เหมาะแก่บุคคลหรือไม่ถูกกาลเทศะ เช่น อย่ามาทะเล้นกับแม่นะ. |
นรสิงห์ | (นอระ-) น. คนที่เก่งกล้าดุจราชสีห์, อวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์ มีหน้าเป็นสิงห์ตัวเป็นมนุษย์. |
ฝ้า | ว. ขุ่นมัวไม่ผ่องใส (ใช้แก่ผิว) เช่น กระจกฝ้า เพชรเป็นฝ้า, เรียกหน้าที่มีลักษณะเป็นจุดหรือรอยผื่นสีคลํ้า ๆ ว่า หน้าเป็นฝ้า. |
พยักยิ้ม | ก. แสดงกิริยาพยักพเยิดพร้อมทั้งยิ้มอยู่ในหน้าเป็นเชิงเย้ยหยัน. |
พะยูน | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Dugong dugon (Müller) ในวงศ์ Dugongidae ลำตัวอ้วนกลม เรียวยาวไปทางหาง มีขนเฉพาะที่บริเวณใกล้ปาก รยางค์คู่หน้าเป็นแผ่นคล้ายใบพายไม่เห็นเป็นนิ้ว รยางค์คู่หลังไม่โผล่ให้เห็น หางเป็นแฉกแผ่กว้างแบนลง ตัวอาจยาวได้ถึง ๓ เมตร สีเทาดำแกมฟ้า อาศัยอยู่ในทะเลชายฝั่ง กินพืชนํ้าพวกหญ้าทะเล เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง, เงือก วัวทะเล หมูนํ้า หรือ ดูกอง ก็เรียก. |
ภควัม | (พะคะ-) น. พระเครื่องรางชนิดหนึ่ง มีพระพักตร์ควํ่าและปิดทวารทั้ง ๙ คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑, โดยปริยายใช้เรียกคนที่ทำหน้าควํ่าหน้างอไม่รับแขก ว่า ทำหน้าเป็นภควัม หรือ หน้าควํ่าเป็นภควัม |
มัน ๕ | เป็นเงา, ขึ้นเงา, เช่น เหงื่อออกหน้าเป็นมัน. |
แม่กระชังหน้าใหญ่ | น. ผู้ที่ชอบแสดงตัวออกหน้าเป็นหัวเรือใหญ่, มักพูดเข้าคู่กับ แม่หญิงแม่หญัง เป็น แม่หญิงแม่หญัง แม่กระชังหน้าใหญ่. |
เรไร ๑ | น. ชื่อตั๊กแตนหนวดยาวหลายชนิด หลายสกุล ในวงศ์ Tettigoniidae วัดจากหัวถึงปลายปีกยาวประมาณ ๑๐ เซนติเมตร ส่วนใหญ่สีเขียวหรือน้ำตาล เพศผู้มีด้านบนของโคนปีกคู่หน้าเป็นสันขรุขระ เมื่อสีกันทำให้เกิดเสียงกังวาน กินหญ้า เช่น ชนิด Mecopoda elongata (Linn). |
ลีลา | ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาทขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าวเพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี |
ลูกเต๋า | น. ลูกเหลี่ยมมี ๖ หน้า แต่ละหน้าเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีแต้ม ใช้ในการเล่นพนันมีลูกเต๋า สกา และไฮโล เป็นต้น, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า ขนมเปี๊ยะลูกเต๋า. |
ลูกบาศก์ | น. ลูกเหลี่ยมมี ๖ หน้า แต่ละหน้าเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส, เรียกลูกเต๋าที่ใช้ทอดในการเล่นสกา. |
เลนส์ | น. วัตถุโปร่งใสซึ่งมีพื้นหน้าเป็นผิวนูนหรือเว้า โดยทั่วไปมักทำด้วยแก้ว มีสมบัติหักลำแสงที่ผ่านไปให้ลู่เข้าหรือถ่างออกได้ |
สังโยค | ตัวพยัญชนะ ๒ ตัวที่เรียงกัน ตัวหน้าเป็นตัวสะกด ตัวหลังเป็นตัวตาม พยัญชนะที่เป็นตัวสะกด เรียกว่า พยัญชนะสังโยค เช่น มนุสฺส สตฺต พุทฺธ รฏฺ. |
แสก ๒ | น. ชื่อนกขนาดกลาง ในวงศ์ Tytonidae ลักษณะคล้ายนกเค้า ใบหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยม ตาอยู่ทางด้านหน้าของหัว ขณะที่นกส่วนใหญ่ตาอยู่ทางด้านข้าง กินสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ โดยเฉพาะหนู ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ แสก [ Tyto alba (Scopoli) ] พบอาศัยหลบพักตามต้นไม้หรือชายคา ทำรังตามชายคา และ แสกแดง (Phodilus badius Horsfield) ชนิดนี้ไม่พบอาศัยตามบ้านเรือน ทำรังตามโพรงไม้ในป่า. |
หงึก ๆ | ว. อาการที่พยักหน้าเป็นการรับรู้, งึก ๆ ก็ว่า. |
หน้าเฉยตาเฉย, หน้าตาเฉย | ว. อาการที่วางหน้าเป็นปรกติ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ทั้ง ๆ ที่ตนกระทำความผิด หรือบางครั้งกระทำความผิดโดยไม่เจตนา เช่น เขาหยิบฉวยของผู้อื่นไปอย่างหน้าเฉยตาเฉย. |
หน้าทะเล้น | ว. อาการที่ทำหน้าเป็นหรือหลอกล้ออย่างไม่เหมาะแก่บุคคลหรือไม่ถูกกาลเทศะ เช่น ว่าแล้วยังทำหน้าทะเล้น. |
เหอะ ๒ | ขรุขระ เช่น หน้าเป็นสิวเหอะ. |
อัศวมุข, อัศวมุขี | ว. มีหน้าเป็นหน้าม้า. |
อัสมุขี | ว. มีหน้าเป็นหน้าม้า. (ม. ร่ายยาว มหาพน). |