กล้องส่องทางไกล | น. กล้องโทรทรรศน์, กล้องสำหรับส่องดูของไกลให้เห็นใกล้. |
เถรส่องบาตร | น. คนที่ทำอะไรตามเขาทั้ง ๆ ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราว. |
แว่นส่องหน้า | น. สิ่งที่ทำด้วยโลหะขัดจนเป็นเงา ใช้ส่องหน้าในสมัยก่อนที่จะมีกระจกเงา. |
ส่อง | ก. ฉายแสง เช่น แดดส่อง ไฟส่อง ส่องไฟ แสงจันทร์ส่อง ตะวันส่องหน้า, ฉายแสงดู เช่น ส่องสัตว์ในป่า ส่องทาง ส่องกบ |
ส่อง | เพ่งมอง เช่น ส่องกล้อง, เล็ง เช่น ส่องปืน |
ส่อง | ยิง เช่น ถูกส่องด้วยปืนลูกซอง. |
ส่องกระจก | ก. ดูภาพตนเองในกระจกเงา, โดยปริยายหมายความว่า ให้สำรวจดูฐานะหรือข้อบกพร่องของตน (มักใช้ในอาการที่ดูหมิ่น) เช่น กลับไปส่องกระจกดูเงาตัวเองเสียบ้าง. |
ส้อง | น. ซ่อง, ประชุม. |
สอดส่อง | ก. ตรวจดูทั่ว ๆ ไป, เอาใจใส่ดูแล, เช่น รัฐบาลที่ดีจะต้องสอดส่องดูแลทุกข์สุขของราษฎร. |
โสมส่องแสง | น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงเถา หน้าทับสองไม้ แต่งขยายขึ้นจากเพลงลาวดวงเดือน หรือ ลาวดำเนินเกวียน. |
กระจกเงา | น. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สำหรับส่องหน้าเป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย |
กล้อง ๑ | (กฺล้อง) น. วัตถุลักษณะยาวกลวงตลอด, เรียกของใช้บางอย่างที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น กล้องเป่าแล่น กล้องส่อง |
กล้องโทรทรรศน์ | น. กล้องสำหรับส่องดูของไกลให้เห็นใกล้, กล้องส่องทางไกล ก็เรียก. |
กล้องระดับ | น. กล้องสำรวจชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องวัดระดับชนิดฟองนํ้าที่ใช้ประกอบกับกล้องส่องเพื่อใช้หาระดับสูงตํ่าของพื้นที่. |
กล้องสนาม | น. กล้องส่องทางไกล มี ๒ ตา. |
กล้องสลัด | กล้องส่องทางไกล มีตาเดียว. |
กะรุน | น. แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุอะลูมิเนียมกับออกซิเจน แต่มักมีสิ่งอื่นผสมอยู่ทำให้มีสีต่าง ๆ เช่น ถ้าเป็นสีแดง เรียกว่า ทับทิม, ถ้าเป็นสีนํ้าเงิน เรียกว่า พลอยสีนํ้าเงิน, ถ้าเป็นสีเขียว เรียกว่า เขียวส่องหรือ เขียวมรกต. |
ไขแสง | ก. เริ่มส่องแสง เช่น พระอาทิตย์ไขแสง. |
คันฉ่อง | น. เครื่องใช้ทำด้วยโลหะ ขัดจนเป็นเงา มีด้าม ใช้สำหรับส่องหน้า |
คันฉาย ๑ | น. เครื่องส่องหน้า, กระจกเงา. |
แครง ๔ | (แคฺรง) ว. งามพรายแพรว, หมดจด, ผ่องใส, เช่น ธก็ทรงพสตรพาสแครง ดุจแสงสังข์ใสสุทธ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อนนธกทำด้วยไหมประไพแครงเครื่องฟ้า (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), พายคํ่าจำรัสแครง ใสส่อง (ทวาทศมาส). |
จำหัน ๒ | โบราณเขียนเป็น จำหนน ก็มี เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า (ม. คำหลวง มหาราช). |
จำหาย ๒ | ก. ส่อง เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า (ม. คำหลวง มหาราช). |
ฉ่อง | ส่อง เช่น คันฉ่อง. |
ฉาย ๒ | ก. ส่องแสงออกไป |
ชี่ | น. ยาย้อมฟัน ทำจากกะลามะพร้าวเผาไฟแล้วบดให้ละเอียด ใช้สีเพื่อให้ฟันดำเป็นมัน เช่น เอาชี่สีฟันเป็นมันขลับ กระจกส่องเงาวับดูจับแสง (ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วบวชเณร), สี้ ก็เรียก. |
โชดก | น. ผู้รุ่งเรือง, ผู้สว่างไสว, ผู้ส่อง. |
โชตกะ | (โชตะกะ) น. ผู้รุ่งเรือง, ผู้สว่างไสว, ผู้ส่อง. |
เดือนมืด | น. เรียกคืนที่ไม่มีดวงจันทร์ส่องแสง ว่า คืนเดือนมืด. |
เดือนหงาย | น. เรียกคืนที่มีดวงจันทร์ส่องแสงสว่าง ว่า คืนเดือนหงาย. |
ตรณี | (ตะระนี) น. เรือ เช่น เห็นนางนวลศรีมีโฉม ดังโสมส่องหล้าราศี เนาเรือเหนือสรัสปัทมี ตรณีจันทร์นวลชวนชม (กนกนคร). |
ตรีพิธพรรณ | ชื่อโคลง ๔ ประเภทหนึ่งที่เลื่อนคำรับสัมผัสในบาทที่ ๒ จากคำที่ ๕ มาเป็นคำที่ ๓ ส่วนข้อบังคับอื่น ๆ เหมือนโคลงสี่สุภาพทุกประการ เช่น ข้าขอประณตน้อม กายวจี จิตนา ต่อพระตรีไตรรัตน์ โรจน์เรื้อง เป็นประทีปส่องศรี โลกชัชวาลนา กำจัดมืดมนธ์เปลื้อง สัตว์พ้นสงสาร (หลักภาษาไทยของพระยาอุปกิตศิลปสาร, ในจินดามณีเรียกตรีเพชรทัณฑี). |
ตะลุง ๑ | น. ชื่อมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์ เรียกว่า หนังตะลุง |
ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย | ก. กำหนดจุดมุ่งหมาย เช่น ล้าต้าต้นหนก็มุ่งมอง ตั้งเข็มส่องกล้องสลัด (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
ตาเป็นสับปะรด | ว. ตาของพรรคพวกที่คอยสอดส่องดูแลเหตุการณ์อยู่รอบข้าง. |
ทรรปณ์, ทรรปณะ | (ทับ, ทับปะนะ) น. แว่นส่องหน้า, กระจกเงา, ทัปนะ ก็ใช้. |
ทัปนะ | (ทับปะนะ) น. แว่นส่องหน้า, กระจกเงา, ทรรปณ์ หรือ ทรรปณะ ก็ใช้. |
โทรทรรศน์ | น. กล้องส่องดูสิ่งที่อยู่ไกลให้เห็นใกล้ เรียกว่า กล้องโทรทรรศน์, กล้องส่องทางไกล ก็เรียก. |
บริราช | (บอริราด) ก. ส่องแสงทุกด้าน, ฉายรัศมีโดยรอบ. |
บังเงา | ว. เรียกหญิงหากินที่ในเวลากลางคืนมักยืนแอบอยู่ตามเงามืดที่แสงไฟส่องไปไม่ถึง ว่า นางบังเงา. |
บังเพลิง | น. เครื่องส่องแสงไฟที่มีเครื่องกำบังไม่ให้เห็นผู้ส่อง. |
เพลิงฟ้า | น. ไฟที่ใช้แว่นส่องจุดด้วยแสงแดด. |
ยกกระบัตร | น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี |
แยงตา | ก. อาการที่แสงส่องสวนตรงมายังนัยน์ตา เช่น แสงอาทิตย์แยงตา. |
ร่ม | น. บริเวณที่แดดส่องไม่ถึง เช่น ร่มไม้ |
ระยับ | ว. พราวแพรว, วับวาบ, (ใช้แก่แสงหรือรัศมี) เช่น ผ้ามันระยับ, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ระยิบ เป็น ระยิบระยับ เช่น ดาวส่องแสงระยิบระยับ. |
ลายน้ำ | น. ลวดลายหรือภาพในเนื้อกระดาษที่ทำขึ้นพร้อม ๆ กับกระดาษจะมองเห็นได้ชัดเมื่อยกกระดาษนั้นขึ้นส่องกับแสงสว่าง. |
วิภาส | ก. ส่องสว่าง, มีแสงสว่าง. |
แว่น ๑ | น. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และเรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า |
แว่นแก้ว | น. แผ่นแก้วกระจกใช้ส่องขยายให้เห็นชัด. |