ส่วนราชการ | น. หน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นและกำหนดให้เป็นส่วนราชการเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น. |
กรม ๓ | ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง ในระดับรองจากกระทรวงและทบวง ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล |
กรมท่ากลาง | น. ส่วนราชการในสังกัดกรมพระคลัง ที่ตั้งขึ้นภายหลังกรมท่าซ้าย กรมท่าขวา ทำหน้าที่รวมงานการติดต่อกับชาติตะวันตกเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ สเปน ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา. |
กรมท่าขวา | น. ส่วนราชการในสังกัดกรมพระคลัง ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ กับชาติที่อยู่ทางด้านขวาหรือทางตะวันตกของอ่าวไทย เช่น อินเดีย อิหร่าน รวมทั้งชาติที่เข้ามาติดต่อทางด้านนั้น. |
กรมท่าซ้าย | น. ส่วนราชการในสังกัดกรมพระคลัง ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศกับชาติที่อยู่ทางด้านซ้ายหรือทางตะวันออกของอ่าวไทย เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี รวมทั้งชาติที่เข้ามาติดต่อทางด้านนั้น. |
กระทรวง ๒ | (-ซวง) น. ส่วนราชการสูงสุดของราชการบริหารส่วนกลางมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า |
กระทรวง ๒ | ส่วนราชการที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็นกระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไปแพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า (สามดวง). |
กอง ๒ | ส่วนราชการที่รองจากกรม. |
การคลัง | ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการคํ้าประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ. |
ข้าราชการ | ผู้ปฏิบัติราชการในส่วนราชการ |
เงินทดรองราชการ | น. เงินที่กระทรวงการคลังจ่ายและอนุญาตให้ส่วนราชการมีไว้ตามจำนวนที่เห็นสมควร เพื่อทดรองเป็นค่าใช้จ่าย |
จดหมายเหตุ | น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน. |
เจ้าสังกัด | น. ส่วนราชการที่หน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานอื่นสังกัดอยู่ เช่น กระทรวงยุติธรรมเป็นเจ้าสังกัดของกรมราชทัณฑ์ สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. |
ต้นสังกัด | น. ส่วนราชการที่ข้าราชการนั้น ๆ สังกัดอยู่ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นต้นสังกัดของข้าราชการตำรวจทุกคน. |
ทนายเรือน | น. พนักงานฝ่ายในมีหน้าที่ติดต่อกับส่วนราชการต่าง ๆ ในพระราชวัง. |
ทบวง | (ทะ-) น. ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลางที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่สูงกว่ากรม โดยมีทบวง ๒ ประเภท คือ ทบวงที่มีฐานะเทียบเท่ากับกระทรวง และทบวงที่มีฐานะต่ำกว่ากระทรวงซึ่งต้องอยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง. |
ทบวงการเมือง | น. ส่วนราชการและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมีอำนาจหน้าที่ในทางปกครอง เช่น กระทรวง ทบวง กรม เทศบาล. |
แผนก | ส่วนราชการที่รองมาจากกอง เช่น แผนกสารบรรณ แผนกคลัง. |
รถหลวง | น. รถของส่วนราชการ. |
รัฐมนตรีเจ้าสังกัด | น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง นายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมและไม่สังกัดกระทรวง. |
รัฐวิสาหกิจ | (รัดถะวิสาหะกิด, รัดวิสาหะกิด) น. กิจการที่รัฐเป็นผู้ลงทุนหรือถือหุ้นข้างมาก, (กฎ) องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจซึ่งรัฐเป็นเจ้าของ หรือกิจการของรัฐ หรือบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ ๕๐. |
ราชการบริหารส่วนกลาง, ราชการส่วนกลาง | น. การปกครอง ดูแล และการปฏิบัติภารกิจของรัฐในฐานะเป็นศูนย์กลางของการบริหารราชการแผ่นดิน โดยจัดแบ่งองค์กรในการปฏิบัติหน้าที่เป็นสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม เช่น ราชบัณฑิตยสถาน. |
ส่วนหน้า | น. เรียกเขตที่มีการรบ ว่า พื้นที่ส่วนหน้า, เรียกส่วนราชการที่แยกออกไปเพื่ออำนวยความสะดวกในการควบคุมบังคับบัญชาในการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติงานพิเศษ เช่น เรียกกองบัญชาการทหารสูงสุด ว่า กองบัญชาการทหารสูงสุดส่วนหน้า. |
สังกัด | น. ส่วนราชการที่มีหน่วยงานย่อย ๆ ขึ้นอยู่ เช่น กรมการศาสนาอยู่ในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม, โดยปริยายหมายถึงที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เช่น เขาเป็นคนไม่มีสังกัด คือ เป็นคนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หมายถึง คนที่เร่ร่อนพเนจร. |
หนังสือราชการ | น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่ หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการ หนังสือที่หน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐาน และเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ. |