palmitic acid | กรดปาล์มิติก, กรดไขมันชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C15H31COOH ผลึกสีขาวละลายได้ในแอลกอฮอล์และอีเทอร์ มีอยู่ในน้ำมันปาล์ม ไขปลาวาฬ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
folic acid | กรดโฟลิก, วิตามินบี 9, วิตามินชนิดหนึ่งในกลุ่มของวิตามินบีรวม สูตรเคมีคือ C19H19N7O6 เป็นผลึกสีเหลือง ละลายในน้ำได้เล็กน้อย ถ้าขาดวิตามินชนิดนี้จะทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงไม่เจริญเต็มที่ เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
uric acid | กรดยูริก, กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งสูตรเคมีคือ C5H4O3N4 พบในเลือดและน้ำปัสสาวะของสัตว์ที่กินเนื้อ สำหรับคนถ้ามีกรดนี้เกิดขึ้นมากและขับถ่ายไม่ทันจะสะสมตามข้อ เกิดอาการปวดซึ่งเรียกว่า โรคเกาต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
indole acetic acid (IAA) | กรดอินโดลแอซีติก(ไอเอเอ), ออกซินชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C10H9O2N เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืช [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ascorbic acid | กรดแอสคอร์บิก, วิตามิน C สูตรเคมีคือ C6H8O6 ถ้าร่างกายขาดวิตามินชนิดนี้จะทำให้เหงือกบวม เลือดออกตามไรฟัน ฟันไม่แข็งแรง กระดูกอ่อน และเส้นเลือดเปราะ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
glucose | กลูโคส, น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว สูตรเคมีคือ C6H12O6 พบในผลไม้ น้ำผึ้ง และเลือด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
guanine | กวานีน, เบสที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ สูตรเคมีคือ C5H5N5O มีอยู่ใน DNA และ RNA [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cholesterol | คอเลสเตอรอล, สารประกอบอินทรีย์ประเภทสเตอรอยด์ สูตรเคมีคือ C27H45OH พบในเลือด เนื้อเยื่อประสาท สมอง ตับ และต่อมหมวกไต [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
carotene | แคโรทีน, สารไฮโดรคาร์บอนชนิดไม่อิ่มตัวมีในพืชทั่วไป สูตรเคมีคือ C40H56 มีสีเหลือง ส้ม หรือแดงส้ม เมื่อกินเข้าไปจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามิน A ในตับ ถ้าร่างกายขาดวิตามินชนิดนี้จะทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับตา เช่น นัยน์ตามัว หรือตาบอดกลางคืน ถ้าเด็กขาดวิตามินชนิดนี้จะทำให้ร่าง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cellulose | เซลลูโลส, สารอินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมากที่สุด อยู่ในผนังเซลล์ของพืชทุกชนิด สูตรเคมีคือ (C6H10O5)n เป็นพอลิเมอร์ของน้ำตาลกลูโคส ใช้ในอุตสาหกรรมเส้นใยสังเคราะห์ และพลาสติกบางชนิด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cytosine | ไซโทซีน, สารประกอบอินทรีย์พวกเบสชนิดหนึ่ง มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ สูตรเคมีคือ C4H5N3O พบใน DNA และ RNA [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cyanocobalamin [ cobalamin ] | ไซยาโนโคบาลามิน, วิตามินบี 12, วิตามิน B12 สูตรเคมีคือ C63H90CoN14O14P เป็นผลึกสีแดงเข้ม ละลายได้ในน้ำและแอลกอฮอล์ ถ้าร่างกายขาดวิตามินชนิดนี้จะทำให้เกิดโรคโลหิตจางชนิดเพอร์นิเซียสแอนีเมียซึ่งเซลล์เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างผิดไปจากปกติ และมีเฮโมโกลบินน้อย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
tryptophan | ทริปโตเฟน, กรดอะมิโนที่จำเป็นชนิดหนึ่งของร่างกาย สูตรเคมีคือ C11H12N2O2 มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
nicotine | นิโคติน, สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C10H14N2 ไม่มีสี เป็นสารมีพิษละลายได้ในน้ำ มีอยู่ในใบยาสูบ ใช้เป็นยาฆ่าแมลง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
niacin [ nicotinic acid ] | ไนอะซีน, วิตามินบี 3, วิตามิน B ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C6H5NO2 เป็นผลึกสีขาว ละลายได้ในน้ำร้อนและแอลกอฮอล์ ถ้าร่างกายขาดวิตามินนี้จะทำให้ผิวหนังแห้งและอักเสบเมื่อถูกแสงแดด ทางเดินอาหารขาดน้ำย่อย ประสาทหลอน คลุ้มคลั่ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
biotin | ไบโอทิน, วิตามินบี 7, วิตามิน B ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C10H16O3N2S ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสำหรับเลี้ยงจุลินทรีย์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
pyridoxine | ไพริดอกซิน, วิตามินบี 6, วิตามิน B6 สูตรเคมีคือ C8H11NO3 เป็นผลึกรูปเข็มไม่มีสี ถ้าร่างกายขาดวิตามินชนิดนี้จะทำให้เกิดการบวม คันผิวหนัง ผมร่วง ปวดตามมือตามเท้า ประสาทเสื่อม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
riboflavin | ไรโบเฟลวิน, วิตามินบี 2, วิตามิน B2 สูตรเคมีคือ C17H20N4O6 ผลึกสีส้ม ละลายได้ในน้ำ เป็นเอนไซม์เกี่ยวกับการสันดาปสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตและกรดอะมิโน รวมทั้งการสร้างโปรตีน ถ้าขาดวิตามินนี้ จะทำให้เป็นแผลตามมุมปาก ลิ้นบวม อ่อนเพลีย ระบบย่อยอาหารไม่ทำงาน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alanine | อะลานีน, กรดอะมิโนชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ CH3CHNH2COOH [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
salicylic acid | กรดซาลิซิลิก, กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C6H4OH.COOH เป็นผลึกสีขาวมีจุดหลอมเหลว 159 °C ใช้เป็นยาระงับเชื้อและใช้เตรียมแอสไพริน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
butanoic acid | กรดบิวทาโนอิก, กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C3H7COOH เป็นของเหลว มีจุดเดือด 163.3 °C ใช้ในการเตรียมกลิ่นสังเคราะห์ เช่น เมื่อรวมกับเมทิลแอลกอฮอล์จะได้สารมีกลิ่นเหมือนมะละกอสุก เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
benzoic acid | กรดเบนโซอิก, กรดอินทรีย์สูตรเคมีคือ C6H5COOH เป็นของแข็งสีขาว จุดหลอมเหลว 122 °C กรดนี้หรือเกลือของกรดนี้ใช้เป็นสารกันบูด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
propionic acid | กรดโพรพิออนิก, กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ CH3CH2COOH เป็นของเหลวไม่มีสี เกลือแคลเซียมหรือเกลือโซเดียมของกรดนี้ใช้เป็นสารกันบูด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
stearic acid | กรดสเตียริก, กรดไขมันชนิดหนึ่งสูตรเคมีคือ C17H35COOH เป็นผลึกสีขาว ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ในแอลกอฮอล์และอีเธอร์ พบในไขมันพืชและสัตว์ ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำยา เครื่องสำอาง เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
acetic acid | กรดแอซีติก, กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ CH3COOH มีชื่อสามัญว่า กรดน้ำส้ม ใช้เป็นสารปรุงอาหาร เป็นตัวทำละลายและใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น พลาสติก สี การถ่ายรูป เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hydrocyanic acid | กรดไฮโดรไซยานิก, กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ HCN เป็นพิษมาก พบในมันสำปะหลังดิบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
glycerol | กลีเซอรอล, สารประกอบอินทรีย์พวกแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C3H8O3 เป็นของเหลวข้น ไม่มีสี มีจุดเดือด 290oC ละลายน้ำได้ เป็นองค์ประกอบสำคัญของไขมันหรือน้ำมัน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลีเซอริน ใช้ในอุตสาหกรรมทำยา เครื่องสำอาง สบู่ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
galactose | กาแลกโทส, น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว สูตรเคมีเหมือนน้ำตาลกลูโคส คือ C6H12O6 แต่สูตรโครงสร้างของโมเลกุลต่างกัน น้ำตาลชนิดนี้ได้จากการสลายตัวด้วยน้ำของวุ้นอะการ์หรือน้ำตาลแลกโทส [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
glycine | ไกลซีน, กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C2H5NO2 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
calcium hydroxide [ slaked lime ] | แคลเซียมไฮดรอกไซด์, สารประกอบชนิดหนึ่ง สูตรเคมี คือ Ca(OH)2 เป็นของแข็งสีขาว ละลายน้ำได้เล็กน้อย มีชื่อสามัญว่าปูนขาว ได้จากแคลเซียมออกไซด์หรือปูนดิบทำปฏิกิริยากับน้ำ ใช้ในการทำปูนซีเมนต์ ใช้แก้ดินเป็นกรดหรือดินเปรี้ยว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
calcium oxide [ quicklime ] | แคลเซียมออกไซด์, สารประกอบชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ CaO เป็นของแข็งสีขาว มีชื่อสามัญว่าปูนดิบ ได้จากการเผาหินปูนด้วยอุณหภูมิสูงกว่า 650°C [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
silica | ซิลิกา, สารประกอบชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ SiO2 จุดหลอมเหลว 1, 700°C จุดเดือด 2, 230°C เป็นของแข็งไม่มีสี ในธรรมชาติอยู่ในรูปของทราย ควอตซ์ และหินบางชนิด ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องแก้ว เครื่องดินเผา และทำผงขัด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
saccharin | แซ็กคาริน, สารประกอบชนิดหนึ่งมีสูตรเคมี C6H4SO2CONH เป็นผลึกสีขาว แยกสลายที่อุณหภูมิ 224°C มีความหวานประมาณ 550 เท่าของน้ำตาล ทราย แต่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร ใช้เป็นน้ำตาลเทียม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
soda ash | โซดาแอช, ชื่อสามัญของโซเดียมคาร์บอเนตชนิดไม่มีน้ำผลึก (Na2CO3) อาจเตรียมได้จากกระบวนการแอมโมเนีย -โซดา หรือโซลเวย์โดยใช้เกลือหินเป็นวัตถุดิบ ใช้ในอุตสาหกรรมทำแก้ว สบู่ และกระดาษ ถ้ามีสูตรเคมีเป็น Na2CO3 .10H2O เรียกว่า โซดาซักผ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cyclamate | ไซคลาเมต, น้ำตาลเทียมชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C6H11NHSO3Na เป็นผลึกสีขาวมีความหวานประมาณ 30 เท่าของน้ำตาลทราย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
thymine | ไทมีน, สารประกอบอินทรีย์พวกเบสชนิดหนึ่งมีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ สูตรเคมี คือ C5H6N2O2 พบใน DNA [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
thiamine | ไทอามีน, วิตามินบี 1, วิตามิน B1 สูตรเคมีคือ C12H17ON4S เป็นผลึกสีขาว ละลายได้ดีในน้ำและแอลกอฮอล์ มีมากในยีสต์ เมล็ดข้าวที่ไม่ขัดสี ตับ ไข่ นม และผลไม้ ถ้าร่างกายขาดวิตามินนี้จะเป็นโรคเหน็บชา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
borax | บอแรกซ์, สารประกอบของธาตุโบรอน สูตรเคมีคือ Na2B4O7 . 10 H2O เป็นสารพิษที่มีผลต่อระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ ใช้ประโยชน์ในการทำแก้วชนิดใส ทำยาฆ่าวัชพืช ทำสารยับยั้งการเป็นสนิม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
monosodium glutamate | ผงชูรส, สารปรุงแต่งอาหาร ชื่อทางเคมีคือ Monosodium L - glutamate monohydrate สูตรเคมีคือ HOOCCH2CH2CH(NH2)COONa . H2O เป็นผลึกรูปเข็ม มีสีขาวด้าน ละลายได้ในน้ำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
pentyl alcohol [ amyl alcohol ] | เพนทิลแอลกอฮอล์, แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ CH3(CH2)3CH2OH ไม่มีสี เป็นอันตรายต่อร่างกาย มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า amyl alcohol [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fructose | ฟรักโทส, น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวชนิดหนึ่ง สูตรเคมีเหมือนน้ำตาลกลูโคสคือ C6H12O6 แต่สูตรโครงสร้างแตกต่างกัน น้ำตาลชนิดนี้พบในน้ำผลไม้ และน้ำผึ้งเป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
phenolphthalein | ฟีนอล์ฟทาลีน, สารเคมีชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C20H14O4 ผลึกสีขาว ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ใช้เป็นอินดิเคเตอร์ ฟีนอล์ฟทาลีนในสารละลายที่มี pH ต่ำกว่า 8.3 จะไม่มีสีและในสารละลายที่มี pH สูงกว่า 10.4 จะมีสีชมพูแก่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
morphine | มอร์ฟิน, สารแอลคาลอยด์ที่ได้จากฝิ่น สูตรเคมีคือ C17H19NO3 เป็นผลึกไม่มีสี จุดหลอมเหลว 254oC มีสมบัติช่วยระงับความเจ็บปวด ทำให้นอนหลับ และเป็นยาเสพติด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
methane | มีเทน, สารประกอบไฮโดรคาร์บอนพวกแอลเคน สูตรเคมีคือ CH4 เป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก๊สธรรมชาติ แก๊สมีเทนอาจได้จากการหมักมูลสัตว์และนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
methanol [ methyl alcohol ] | เมทานอล, แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ CH3OH จุดเดือด 64.6°C ไม่มีสี ละลายได้ในน้ำและตัวทำละลายบางชนิด แอลกอฮอล์ชนิดนี้เป็นพิษต่อร่างกาย ถ้าดื่มเข้าไปอาจทำให้ตาบอดหรือเสียชีวิตได้ ใช้เป็นเชื้อเพลิงและตัวทำละลาย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
methyl bromide | เมทิลโบรไมด์, สารเคมีชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ CH3Br เป็นแก๊สไม่มีสีหนักกว่าอากาศ ใช้เป็นยาพ่นฆ่าแมลง และใช้สังเคราะห์สารอินทรีย์อื่น ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
methyl violet [ gentian violet ] | เมทิลไวโอเลต, สารเคมีชนิดหนึ่ง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เจนเชียนไวโอเลต สูตรเคมี คือ C25H30CIN3 ใช้เป็นอินดิเคเตอร์ ยาระงับเชื้อ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
methyl orange | เมทิลออเรนจ์, สารเคมีชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C14H14N3NaO3S ผลึกสีส้มละลายได้ในแอลกอฮอล์ สารละลายของเมทิลออเรนจ์ .01% ใช้เป็นอินดิเคเตอร์ซึ่งมีช่วงการเปลี่ยนสีในสารละลายที่มี pH 3 - 4 เมื่ออยู่ในสารละลายที่มี pH ต่ำกว่า 3 จะมีสีแดงและสูงกว่า 4 จะมีสีเหลือง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
uracil | ยูราซิล, สารประกอบอินทรีย์พวกเบสชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C4H4N2O2 พบใน RNA [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
urea | ยูเรีย, สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมี คือ NH2CONH2 เป็นของแข็งสีขาว มีจุดหลอมเหลว 130oC ละลายน้ำได้ดี ใช้ทำปุ๋ยไนโตรเจน ในร่างกายสัตว์ยูเรียเกิดขึ้นจากกรดอะมิโนที่เปลี่ยนแปลงไปในกระบวนการเมแทบอลิซึมของโปรตีน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |