Volatile organic compounds | สารประกอบอินทรีย์ระเหย [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
protein | โปรตีน, โปรตีน [ โปฺร- ] น. สารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนของไนโตรเจน มีโมเลกุลขนาดใหญ่ประกอบด้วยกรดแอมิโนหลายชนิดเชื่อมโยงกัน เป็น สารประกอบที่สำคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดซึ่งจําเป็นต้องใช้เพื่อสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย. (อ. protein)., Example: <p>ลำดับเบสภายในดีเอ็นเอเป็นตัวกำหนดชนิดของโปรตีนที่สร้าง โดยลำดับเบสถอดรหัสเป็น messenger RNA (mRNA) โดยกระบวนการที่เรียกว่า transcription หลังจากนั้นลำดับเบสทีละ 3 เบสที่เรียงติดกันของ mRNA แปลรหัสเป็นกรดอะมิโนแต่ละตัวกระบวนการนี้เรียกว่า translation ในกระบวนการนี้อาศัย ribosome (จับกับ mRNA ในขณะเกิดการแปลรหัส) transfer RNA (RNA ที่มีหน้าที่ลำเลียงกรดอะมิโนเข้าสู่ ribosome เพื่อมาเชื่อมต่อเป็นโปรตีนตามรหัสของ mRNA) หลังจากผ่านกระบวนการแปลรหัสได้โปรตีนที่เซลล์ต้องการ <br> <br>แหล่งข้อมูล<br> สุดสงวน ชูสกุลธนะชัย. “ดีเอ็นเอ: รหัสแห่งชีวิต” ในดีเอ็นเอ : ปริศนาลับรหัสชีวิต. หน้า 19-38. ปทุมธานี : ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, 2546. [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
คาร์โบไฮเดรต | ชื่อกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ คาร์โบไฮเดรท [คำที่มักเขียนผิด] |
Organic compounds | สารประกอบอินทรีย์ [TU Subject Heading] |
Organochlorine compounds | สารประกอบอินทรีย์คลอรีน [TU Subject Heading] |
Volatile organic compounds | สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย [TU Subject Heading] |
Organic Compound | สารประกอบอินทรีย์, Example: สารที่มีคาร์บอนอยู่สองอะตอมหรือมากกว่า คาร์บอนนี้จะเชื่อมต่อกันเป็นโซ่โดยมีไฮโดรเจนเชื่อมต่อกับคาร์บอนด้วย [สิ่งแวดล้อม] |
Volatile Organic Componds, VOCs | สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย, วีโอซี, Example: สารอินทรีย์ซึ่งระเหยง่ายทำให้เกิดมลพิษอากาศ โดยตรงหรือโดยผ่านปฏิกิริยาทางเคมีหรือแสอาทิตย์ [สิ่งแวดล้อม] |
Chemical Oxygen Demand | ซีโอดี, ซีโอดี คือปริมาณออกซิเจนที่จำเป็นสำหรับปฏิกิริยาเคมีที่ใช้ในการย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ในน้ำเสียค่าซีโอดีที่สูงกว่าแสดงว่า ปฏิกิริยาการย่อยสลายนั้นต้องการปริมาณออกซิเจนมากกว่า ค่าซีโอดีสามารถใช้เป็นตัววัดทางอ้อมของปริมาณสารประกอบอินทรีย์ในน้ำ [เทคโนโลยีชีวภาพ] |
Compounds, Non-Nitrogenous-Organic | สารประกอบอินทรีย์ที่ไม่มีไนโตรเจ็น [การแพทย์] |
indole acetic acid (IAA) | กรดอินโดลแอซีติก(ไอเอเอ), ออกซินชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C10H9O2N เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืช [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cholesterol | คอเลสเตอรอล, สารประกอบอินทรีย์ประเภทสเตอรอยด์ สูตรเคมีคือ C27H45OH พบในเลือด เนื้อเยื่อประสาท สมอง ตับ และต่อมหมวกไต [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
carotenoid | แคโรทีนอยด์, สารประกอบอินทรีย์พวกหนึ่งที่มีสีเหลือง ส้ม หรือแดงทับทิม มีในพืช และเนื้อเยื่อบางชนิดของสัตว์ สารแคโรทีนอยด์ที่สำคัญได้แก่ แคโรทีน ไลโคปีน และอนุพันธ์อื่น ๆ ของสารทั้ง 2 นี้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
chitin | ไคทิน, สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่มีองค์ประกอบคล้ายคาร์โบไฮเดรต แต่มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบด้วย พบในเขาสัตว์ เปลือกหุ้มภายนอกของสัตว์จำพวกอาร์โทรพอดและผนังเซลล์ของเชื้อราบางชนิด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cytosine | ไซโทซีน, สารประกอบอินทรีย์พวกเบสชนิดหนึ่ง มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ สูตรเคมีคือ C4H5N3O พบใน DNA และ RNA [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
nicotine | นิโคติน, สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C10H14N2 ไม่มีสี เป็นสารมีพิษละลายได้ในน้ำ มีอยู่ในใบยาสูบ ใช้เป็นยาฆ่าแมลง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
organic acid [ carboxylic acid ] | กรดอินทรีย์, สารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่คาร์บอกซิล (-COOH) อยู่ในโมเลกุล เช่น กรดแอซีติก (CH3COOH) กรดฟอร์มิก (HCOOH) เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
glycerol | กลีเซอรอล, สารประกอบอินทรีย์พวกแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C3H8O3 เป็นของเหลวข้น ไม่มีสี มีจุดเดือด 290oC ละลายน้ำได้ เป็นองค์ประกอบสำคัญของไขมันหรือน้ำมัน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลีเซอริน ใช้ในอุตสาหกรรมทำยา เครื่องสำอาง สบู่ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
thymine | ไทมีน, สารประกอบอินทรีย์พวกเบสชนิดหนึ่งมีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ สูตรเคมี คือ C5H6N2O2 พบใน DNA [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
tar | น้ำมันดิน, ของผสมของสารประกอบอินทรีย์มีลักษณะเป็นของเหลวข้น ได้จากการกลั่นลำดับส่วนน้ำมันดิบ หรือการกลั่นทำลายวัตถุที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เช่น ไม้ ถ่านหิน เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
freon | ฟรีออน, สารประกอบอินทรีย์พวกคลอโรฟลูออโรคาร์บอนสลายตัวยาก ไม่มีสี และไม่ติดไฟ ทำให้เป็นของเหลวหรือเป็นไอได้ง่าย ใช้เป็นสารทำให้เกิดความเย็นในเครื่องทำความเย็นหรือทำให้เกิดแรงดันในกระป๋องสเปรย์ต่าง ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
uracil | ยูราซิล, สารประกอบอินทรีย์พวกเบสชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C4H4N2O2 พบใน RNA [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
urea | ยูเรีย, สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมี คือ NH2CONH2 เป็นของแข็งสีขาว มีจุดหลอมเหลว 130oC ละลายน้ำได้ดี ใช้ทำปุ๋ยไนโตรเจน ในร่างกายสัตว์ยูเรียเกิดขึ้นจากกรดอะมิโนที่เปลี่ยนแปลงไปในกระบวนการเมแทบอลิซึมของโปรตีน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
lipid | ลิพิด, ไขมัน, สารประกอบอินทรีย์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยธาตุ C, H, O เป็นส่วนใหญ่ไม่ละลายน้ำแต่ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น ขี้ผึ้ง ไขมันสัตว์ น้ำมันที่สกัดจากพืช เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
organic compound [ carbon compound ] | สารประกอบอินทรีย์, สารประกอบที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่อยู่รวมกับธาตุไฮโดรเจนและธาตุอื่น ๆ ธาตุใดธาตุหนึ่ง หรือหลายธาตุ คือ O, N, S, และเฮโลเจน โดยสร้างพันธะกับคาร์บอนด้วยพันธะโคเวเลนต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
inorganic compound | สารประกอบอนินทรีย์, สารประกอบของธาตุทั้งหมด ยกเว้นสารประกอบอินทรีย์ สารประกอบบางพวกของคาร์บอน เช่น พวกคาร์บอเนต ไซยาไนด์ ออกไซด์ จัดเป็นสารประกอบอนินทรีย์ด้วย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
carbonyl group | หมู่คาร์บอนิล, หมู่อะตอมในสารประกอบอินทรีย์ มีสูตรโครงสร้างเป็น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alcohol | แอลกอฮอล์, สารประกอบอินทรีย์จำพวกหนึ่ง ในโมเลกุลประกอบด้วยหมู่ไฮดรอกซิล(-OH) เช่น เอทานอล C2H5OH เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |