จุดสะเทิน | น. บริเวณเล็ก ๆ ที่เป็นกลาง. |
รถสะเทินน้ำสะเทินบก | น. รถที่ใช้งานได้ทั้งในน้ำและบนบก. |
สะเทิน ๑ | ว. ครึ่ง ๆ กลาง ๆ, กํ้ากึ่ง, เช่น สาวสะเทิน คือ เพิ่งจะขึ้นสาว หรืออยู่ในระหว่างสาวกับเด็กกํ้ากึ่งกัน. |
สะเทินน้ำสะเทินบก | ว. ที่อยู่ได้หรือปฏิบัติการได้ทั้งในนํ้าและบนบก เช่น การรบสะเทินนํ้าสะเทินบก เรือสะเทินนํ้าสะเทินบก เครื่องบินสะเทินนํ้าสะเทินบก, เรียกสัตว์จำพวกที่อยู่ได้ทั้งในนํ้าและบนบก เช่น กบ คางคก อึ่งอ่าง ว่า สัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบก. |
สะเทิน ๒ | ก. ทำให้เป็นกลาง เช่น สามารถสะเทินด่างได้. |
สะเทิน ๓ | ก. ไหว, โคลง, เช่น ช้างตัวนี้เดินไม่สะเทิน. |
สาวสะเทิน | น. หญิงที่อยู่ในวัยระหว่างสาวกับเด็กก้ำกึ่งกัน. |
กบ ๒ | น. ชื่อสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกหลายชนิด ในสกุล Rana วงศ์ Ranidae ลำตัวสั้นป้อมมีขนาดต่าง ๆ กัน ขาคู่หลังใหญ่และยาวกว่าขาคู่หน้า ตีนแบนมีพังผืดติดเป็นพืด เมื่อโตเต็มที่ไม่มีหาง กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำ ดำน้ำได้เร็ว เมื่อยังเป็นตัวอ่อนมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจำศีล เช่น กบนา [ Hoplobatrachus rugulosus (Wiegmann) หรือ R. rugulosus (Wiegmann) ]. |
เขียด | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกหลายชนิด ในสกุล Rana วงศ์ Ranidae ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขียดอ๋อง [ R. nigrovittata (Blyth) ] เขียดหลังขาว ( R. limnocharisGravenhorst). |
คางคก ๑ | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกในสกุล Bufo วงศ์ Bufonidae รูปร่างคล้ายกบ ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระ ภายในตุ่มมียางเหนียวซึ่งมีพิษต่อเนื้อเยื่ออ่อน เรียกว่า ยางขาว เคลื่อนที่โดยการย่างเดินและกระโดดหย่ง ๆ ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น คางคกบ้าน ( B. melanostictus Schneider) คางคกป่า ( B. macrotisBoulenger) . |
คางคกไฟ | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo parvus Boulenger ในวงศ์ Bufonidae ขนาดลำตัวเล็กที่สุดในกลุ่มคางคกที่พบในประเทศไทย บนหัวมีเส้นนูนเป็นสันโค้งตามความยาวของหัวคล้ายวงเล็บ ๒ เส้น ในช่วงฤดูผสมพันธุ์เพศผู้จะเปลี่ยนสีผิวหนังเป็นสีแดง จึงมีผู้เรียกว่า คางคกไฟ, คางคกหัวจีบ ก็เรียก. |
จงโคร่ง, โจงโคร่ง | (-โคฺร่ง) น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo asper Gravenhorst ในวงศ์ Bufonidae เป็นคางคกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระทั่วตัว ตุ่มที่หลังมีขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ลำตัวสีน้ำตาลดำและน้ำตาลเหลือง ท้องสีขาวหม่นบางตัวมีจุดสีแดงเล็ก ๆ ยางขาวมีฤทธิ์ทำให้มึนเมา อาศัยในป่าบริเวณริมลำธารหรือน้ำตก, กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็เรียก. |
จระทก, จระเทิน | (จะระทก, -เทิน) ก. สะทก, สะเทิน, งกเงิ่น |
ปากกว้าง | น. ชื่องูนํ้าขนาดกลางชนิด Homalopsis buccata (Linn.) ในวงศ์ Colubridae ลำตัวยาวประมาณ ๑.๓ เมตร หัวใหญ่ ด้านบนมีแถบสีน้ำตาลเหลืองพาดขวาง ปากกว้าง เกล็ดมีสัน ตัวสีน้ำตาลแดง มักพบอาศัยอยู่ตามริมคลอง บึง และหนองน้ำ หากินเวลากลางคืน กินปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเป็นอาหาร มีพิษอ่อนมาก, หัวกะโหลก เหลือมอ้อ เหลือมน้ำ หรือ เห่าน้ำ ก็เรียก. |
ปาด ๒ | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Rhacophoridae รูปร่างใกล้เคียงกับกบหรือเขียด ขายาว ขาคู่หลังยาวกว่าขาคู่หน้ามาก ปลายนิ้วเป็นปุ่มแบนสามารถยึดเกาะติดกับพื้นผิวหน้าเรียบได้ มักพบอาศัยอยู่ตามต้นไม้ ตัวผู้ทำกองฟองสำหรับตัวเมียวางไข่ไว้ตามกิ่งไม้เหนือชายนํ้า กินแมลง เช่น ปาดบ้านหรือเขียดตะปาด [ Polypedates leucomystax (Gravenhorst) ] ซึ่งพบทั่วไป, ปาดบินหรือปาดเขียวตีนดำ ( Rhacophorus nigropalmatus Boulenger), ปาดตะปุ่มจันทบุรี ( Theloderma stellatum Taylor), เขียดตะปาด ก็เรียก. |
ปี่แก้ว | น. ชื่องูขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในสกุล Oligodon วงศ์ Colubridae หัวหลิมเล็ก คอโต หางสั้น แต่ละชนิดมีสีสันและลวดลายต่างกัน อาศัยอยู่ตามซอกหินซอกดิน หากินตามพื้นดิน กินไข่นก ไข่สัตว์เลื้อยคลาน แมลง หนู สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ไม่ขึ้นต้นไม้ ทำเสียงขู่ได้ มีหลายชนิด เช่น ปี่แก้วใหญ่ [ O. joynsoni (Smith) ] ปี่แก้วลายกระหรืองอดด่าง [ O. cinereus (Günther) ] ไม่มีพิษ. |
เรือประจัญบาน | น. เรือรบขนาดใหญ่ระวางขับน้ำประมาณ ๒๐, ๐๐๐ ตันขึ้นไป มีเกราะป้องกันตนเอง มีอาวุธสมัยใหม่หลายประเภท รวมทั้งอาวุธนำวิถีพื้นสู่พื้น และพื้นสู่อากาศ มีหน้าที่หลักในการต่อตีเรือข้าศึก และระดมยิงฝั่งเพื่อสนับสนุนการรบสะเทินน้ำสะเทินบก. |
เรือยกพลขึ้นบก | น. เรือที่ใช้ในการลำเลียงขนส่งทหาร พัสดุ และอาวุธยุทโธปกรณ์ในการรบแบบสะเทินน้ำสะเทินบก มีหลายขนาด เช่น เรือคอมมานโด เรือยกพลจู่โจม. |
สายหยก | น. เชือกผูกรั้งตรวนเพื่อให้นักโทษเดินสะดวกขึ้น เช่น มือถือสายหยกยกสะเทิน พลั้งเท้าก้าวเกินก็ล้มลง (ขุนช้างขุนแผน). |
สายรุ้ง | น. ชื่องูน้ำขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Colubridae ยาว ๕๐-๑๑๕ เซนติเมตร เช่น สายรุ้งธรรมดา [ Enhydris enhydris (Schneider) ] ด้านข้างลำตัวมีเส้นสีชมพูอมเทาสลับม่วงตามความยาวลำตัวสะท้อนแสงคล้ายสายรุ้ง ลำตัวกลมป้อม แยกจากส่วนหางซึ่งเรียวเล็กกว่าลำตัวเห็นได้ชัด มักหากินตามแหล่งน้ำ กินปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีพิษอ่อน ชนิดอื่น เช่น สายรุ้งลาย [ E. jagorii (Peters) ] สายรุ้งดำ [ E. smithii (Boulenger) ]. |
อึ่ง | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Microhylidae ขนาดแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดอยู่ระหว่าง ๒-๘ เซนติเมตร รูปร่างอ้วนป้อมและมักพองตัวได้ ส่วนใหญ่เป็นสีเทาหรือน้ำตาลเข้ม ผิวหนังเรียบ บริเวณฝ่าตีนมีสันแข็งใช้ขุดดิน อาศัยอยู่ใต้ผิวดินหรือใต้ก้อนหินในเวลากลางวันและในฤดูแล้ง ออกหากินตามพื้นดินเมื่ออากาศชื้นโดยเฉพาะช่วงหลังฝนตก กินแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น อึ่งอ่างหรืออึ่งอ่างบ้าน ( Kaloula pulchra Gray) อึ่งแว่น อึ่งแดง หรืออึ่งลาย [ Calluella guttulata (Blyth) ]. |
อึ่งอ่าง | น. ชื่อสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกในสกุล Kaloula วงศ์ Microhylidae สีนํ้าตาลลายขาว โตเต็มวัยยาวประมาณ ๗ เซนติเมตร มักทำตัวพองเมื่อถูกรบกวน ตัวผู้ร้องเสียงดังเมื่อนํ้านองหลังฝนตก ที่พบทั่วไปมี ๒ ชนิด คือ อึ่งอ่างหรืออึ่งอ่างบ้าน ( K. pulchra Gray) และอึ่งอ่างหลังขีดหรืออึ่งอ่างก้นขีด [ K. mediolineata (Smith) ]. |