สมเด็จ | น. ยศหรือบรรดาศักดิ์อย่างสูงของเจ้านาย ขุนนาง และพระสงฆ์ ใช้นำหน้าชื่อฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดหรือได้รับแต่งตั้ง เช่น สมเด็จพระราชินี สมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จเจ้าพระยา สมเด็จพระราชาคณะ. |
สมเด็จพระสังฆราช | น. ประมุขแห่งคณะสงฆ์ ซึ่งตามกฎหมายคณะสงฆ์บัญญัติให้สมเด็จพระสังฆราชทรงดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายก. |
กฎ | (กด) น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ (พงศ. ๑๑๓๖) |
กฎหมายตราสามดวง | น. ประมวลกฎหมายโบราณของไทยซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชำระและปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อทำเสร็จแล้วได้ประทับดวงตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง. |
กมเลศ | พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). |
กรรแสง ๓ | (กัน-) ก. ร้องไห้ เช่น สมเด็จพระบรม-บพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทราบแล้วทรงพระกรรแสง (ประชุมพงศ. ๖๔). |
กระจายนะมณฑล | น. ชื่อกลบท วรรคต้นใช้อักษรสูงนำหน้า วรรคที่ ๒ ใช้อักษรกลาง วรรคที่ ๓ ใช้อักษรตํ่า ตัวอย่างว่า สมเด็จพระศิริวิบุลกิตติ์ กำจัดจากโศกวิโยคหา ค่อยตรึกตรองฉลองคุณพระชนมา (ชุมนุมตำรากลอน). |
กระไร | ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
กระอั้วแทงควาย | น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่งในการสมโภชของหลวง, บางทีเรียก กระอั้ว ว่า นางอั้ว เช่น นางอั้วเพ่งผัวเอน ควายเสี่ยว (สาส์นสมเด็จ). |
กษัตรี | (กะสัดตฺรี) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์) |
กังหันน้ำชัยพัฒนา | น. ชื่อเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยแบบหนึ่ง เป็นอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียชนิดหนึ่ง มีลักษณะการทำงานคล้ายกังหันวิดน้ำขึ้นเหนือผิวน้ำเพื่อเติมอากาศหรือออกซิเจนในแหล่งน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาและประดิษฐ์อุปกรณ์เติมอากาศขึ้นแล้วทรงมอบหมายมูลนิธิชัยพัฒนา ศึกษาวิจัยเพื่อทำต้นแบบพร้อมสนับสนุนงบประมาณให้กรมชลประทานสร้าง นำไปใช้งานตามแหล่งน้ำเสียทั่วประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ ๓๑๒๗ และองค์กรนักประดิษฐ์โลกจากประเทศเบลเยียมได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลในฐานะที่ทรงสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม. |
กันภัย, กันภัยมหิดล | น. ชื่อไม้เถาชนิด Afgekia mahidoliae Burtt et Chermsir. ในวงศ์ Leguminosae พบทางจังหวัดกาญจนบุรี ใบเป็นใบประกอบ ช่อหนึ่งมีใบย่อยหลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีนํ้าตาล ดอกเป็นช่อตั้ง สีขาวปนม่วง ฝักสั้นป้อมแบน ๆ ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. |
กันแสง ๑ | ก. ร้องไห้, ใช้ว่า ทรงพระกันแสง หรือ ทรงกันแสง, โบราณเขียนเป็น กรรแสง ก็มี เช่น สมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทราบแล้วทรงพระกรรแสง (ประชุมพงศ. ๖๔). |
กำพต | (-พด) น. ลูกศร เช่น พระเอาโอสถ ทาลูกกำพต พาดสายศิลปคือ พระอัคนี สมเด็จสี่มือ ดาลเดชระบือ ระเบิดบาดาล (สุธน). |
เกล้ากระหม่อม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
แก้มลิง | น. พื้นที่มีลักษณะเป็นแอ่งตามธรรมชาติหรือขุดขึ้นเพื่อรองรับและกักเก็บน้ำในช่วงฝนตกมีน้ำมาก และระบายออกทะเลในช่วงที่น้ำทะเลลดลง เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและบรรเทาอุทกภัย. |
แกล้งดิน | ก. กระบวนการแก้ปัญหาสภาพดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้กรรมวิธีเร่งปฏิกิริยาเคมีในดิน ทำให้ดินเปรี้ยวอย่างรุนแรงแล้วใช้ระบบชลประทานนำน้ำมาเจือจางดินเปรี้ยวทำสลับไปมา จนเปลี่ยนสภาพดินให้สามารถเพาะปลูกได้. |
โกษีย์ | น. โกสีย์ เช่น สมเด็จท้าวโกษีย์ (ม. คำหลวง หิมพานต์). |
ขอเดชะ | น. คำขึ้นต้นและคำลงท้ายในการกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ. |
ขึ้นคอ | ก. เอามาห้อยคอด้วยความนับถือ เช่น พระสมเด็จองค์นี้ขึ้นคอได้. |
คร่า | (คฺร่า) ก. ฉุดลากไปอย่างไม่ปรานี เช่น ถ้าเจรจาถึง ๒ ครั้งไซ้ให้คร่ามือออกไปจากพระโรงแลให้ห้ามเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (สามดวง), ท่านให้มาว่ากล่าวร้องฟ้องณะโรงสานตามกระบินเมืองอย่าให้ตีด่าฉุดคร่าเอาโดยกำลังเองศักอันเลย (สามดวง) |
คลื่นกระทบฝั่ง ๑ | น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงโหมโรง อัตรา ๓ ชั้น พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
เครือเทพรัตน์ | น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ชนิด Thepparatia thailandica Phuph. ในวงศ์ Malvaceae ใบเป็นใบเดี่ยว มี ๓-๕ แฉก ดอกสีม่วง ขอบเหลือง รูประฆัง ออกเป็นพวง ห้อยลง ผลมี ๕ ช่อง เป็นไม้ถิ่นเดียวของไทย ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. |
โครงการตามพระราชประสงค์ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้เกิดขึ้น โดยทรงศึกษาทดลองปฏิบัติด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เมื่อทรงศึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญและทดลองจนได้ผลสรุปที่ดี และทรงมั่นพระราชหฤทัยว่าเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐบาลหรือผู้สนใจรับไปดำเนินงานต่อ แบ่งเป็นโครงการทดลองในเขตพระราชฐาน และโครงการทดลองนอกเขตพระราชฐาน. |
โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานข้อเสนอและแนวทางให้หน่วยงานเอกชนรับไปดำเนินงานและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการพัฒนาหมู่บ้านสหกรณ์เนินดินแดง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. |
โครงการพระดาบส | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้มีสถานที่สอนความรู้วิชาชีพต่าง ๆ เช่น วิชาช่างไฟฟ้า วิชาช่างเครื่องยนต์ วิชาช่างวิทยุโทรทัศน์ ให้แก่บุคคลทั่วไป โดยไม่จำกัด เพศ วัย และวุฒิการศึกษา โดยครูที่มีความรู้และยินดีอาสาสมัครสอนให้เป็นวิทยาทาน เปรียบเสมือนพระดาบสในสมัยโบราณที่มีกุศลศรัทธาที่จะถ่ายทอดศิลปศาสตร์ให้แก่ลูกศิษย์ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ เริ่มดำเนินการโครงการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส และจัดตั้งเป็นมูลนิธิพระดาบสเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการพระดาบส และกิจการของโรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส. |
โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินและพระราชทรัพย์สำหรับจัดทำแปลงเกษตรผสมผสาน สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อทดลองค้นคว้าหารูปแบบการประกอบอาชีพของชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และเป็นสถานที่ฝึกอบรมการเกษตรภาคปฏิบัติให้นักศึกษาและประชาชนที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ เช่น โครงการพัฒนาส่วนพระองค์เขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ชุมพร อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร. |
โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาทดลองงานทางด้านการเกษตร ภายในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ข้อมูลที่ได้จากการทดลองนำมาเป็นแบบอย่างสำหรับปฏิบัติตามหรือปรับปรุงแก้ไขในการประกอบอาชีพของราษฎร แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ โครงการไม่ใช่ธุรกิจ เช่น บ่อเพาะเลี้ยงปลานิล ป่าไม้สาธิต นาข้าวทดลอง และโครงการกึ่งธุรกิจ เช่น โรงงานผลิตและแปรรูปนมสดครบวงจร โรงสีข้าว. |
โครงการหลวง | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานอาชีพทางเลือกใหม่แก่ชาวไทยภูเขาในภาคเหนือ ซึ่งเดิมปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย ให้หันมาปลูกไม้ดอก ไม้ผล พืชผักเมืองหนาว และเลี้ยงปศุสัตว์เพื่อบริโภคและจำหน่าย สร้างรายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น ทำให้ลดปัญหายาเสพติด ช่วยพิทักษ์รักษาป่าต้นน้ำ และสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน. |
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับพระราชดำริไปพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการร่วมกันดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน หรือบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ตามสภาพสังคมและภูมิประเทศ เดิมเรียกว่า โครงการตามพระราชดำริ มีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เรียกย่อว่า กปร. มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงานโครงการ. |
งาสาน | น. เรียกพัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี ว่า พัดงาสาน, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า “คามวาสี อรัญวาสี” มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี. |
จำปีสิรินธร | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ชนิด Magnolia sirindhorniae Noot. et Chalermglin ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีขาวนวล กลีบดอกใหญ่ยาว ผลเป็นผลกลุ่ม รูปกลม ขึ้นในป่าพรุน้ำจืด ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. |
จินดามณี | ชื่อตำราแบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิทแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. |
จุลจอมเกล้า | (จุนละ-) น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. |
เจ้าจอมมารดา | คำเรียกเจ้าขรัวยายของสมเด็จเจ้าฟ้า แต่มิได้เป็นเจ้าจอมมารดาในพระมหากษัตริย์. |
เจ้าประคุณ | ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
เจ้าพระคุณ | ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้ว่า เจ้าประคุณ ก็มี. |
เจ้าพระยา ๑ | น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการผู้ใหญ่ สูงกว่าพระยา ต่ำกว่าสมเด็จเจ้าพระยา เช่น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี. |
เจ้าแม่หลวง | น. คำที่ชาวไทยภูเขาใช้เรียกสมเด็จพระบรมราชินีนาถ. |
เจ้าฟ้าหญิงสิรินธร | น. ชื่อนกนางแอ่นขนาดเล็กชนิด Pseudochelidon sirintarae Kitti Thonglongya วงศ์ Hirundinidae เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ลำตัวสีดำเหลือบน้ำเงิน มีแต้มขาวตรงโคนหาง ตาและวงรอบเบ้าตาสีขาว ปากสีเหลือง เฉพาะตัวเต็มวัยขนหางคู่กลางมีแกนขนยื่นยาวออกไปคล้ายเส้นลวด ๒ เส้น เคยพบเฉพาะบริเวณบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์, ตาพอง ก็เรียก. |
ฉัยยา | น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เขียนเป็น ไฉยา ก็มี เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที (บทละครสังข์ทอง). (ดู ชายา ๒). |
เฉลิมพระชนมพรรษา | (ฉะเหฺลิมพฺระชนมะพันสา) น. เรียกวันบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี ว่า วันเฉลิมพระชนมพรรษา. |
ไฉยา | น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที (บทละครสังข์ทอง), เขียนเป็น ฉัยยา ก็มี. (ดู ชายา ๒). |
ช้างเผือก ๒ | น. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง มีที่มาจากตราดาราช้างเผือกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลช้างเผือก. |
ดิเรกคุณาภรณ์ | น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทร-มหาภูมิพลอดุลยเดช มี ๗ ชั้น. |
ตำหนัก | น. ที่ประทับของเจ้านาย เช่น ตำหนักปลายเนิน หรือของสมเด็จพระสังฆราช เช่น ตำหนักเพชร, ถ้าเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรียกว่า พระตำหนัก เช่น พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระตำหนักวาสุกรี. |
ใต้เท้ากรุณาเจ้า | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับขุนนางชั้นสมเด็จเจ้าพระยา, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้แก่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
ใต้ฝ่าละอองพระบาท | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้แก่สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
ถวาย | ให้, มอบให้, (ใช้แก่สมเด็จเจ้าฟ้าลงมาจนถึงหม่อมเจ้า), ให้สิ่งที่เป็นนามธรรมแก่พระมหากษัตริย์และเจ้านาย เช่น ถวายพระพร ถวายชีวิต. |