Magnetic resonance imaging | การสร้างภาพจากการกำทอนในสนามแม่เหล็ก [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Betatron | บีตาทรอน, เครื่องเร่งอิเล็กตรอน ที่มีลักษณะเป็นรูปโดนัต อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นวงกลมรัศมีคงที่โดยการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็ก เครื่องที่มีรัศมีประมาณ 0.75-1.00 เมตร สามารถเร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงานสูงถึง 340 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ บีตาทรอนเครื่องแรกสร้างโดย Donald W. Kerst ในปี พ.ศ. 2483 ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถเร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงาน 2.5 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ [นิวเคลียร์] |
Cyclotron | ไซโคลทรอน, เครื่องเร่งอนุภาคที่อนุภาคถูกเร่งด้วยสนามไฟฟ้าและถูกควบคุมด้วยสนามแม่เหล็ก ให้วิ่งวนเป็นวงออกไปคล้ายก้นหอย เมื่อได้ความเร็วที่ต้องการ อนุภาคจะถูกปล่อยให้ชนกับวัสดุที่ใช้เป็นเป้า เครื่องเร่งอนุภาคชนิดนี้ใช้ในการวิจัยฟิสิกส์มูลฐาน และการผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ประดิษฐ์ คือ เออร์เนสต์ โอ. ลอว์เรนซ์ (Earnest O. Lawrence) ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี พ.ศ. 2482 [นิวเคลียร์] |
Synchrotron | ซิงโครทรอน, เครื่องเร่งอนุภาค ที่อนุภาคถูกเร่งโดยสนามไฟฟ้าซึ่งเปลี่ยนแปลงด้วยความถี่ในย่านความถี่ของคลื่นวิทยุ และถูกบังคับให้วิ่งเป็นวงกลมรัศมีคงที่โดยการควบคุมของสนามแม่เหล็กที่เพิ่มขึ้น พร้อมสัมพันธ์กับความเร็วของอนุภาคที่เพิ่มขึ้น ซิงโครทรอนเครื่องแรก ชื่อ คอสโมทรอน (Cosmotron) สร้างขึ้น ในปี พ.ศ. 2495 ตั้งอยู่ที่ Brookhaven National Laboratory ประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถเร่งโปรตอนให้มีพลังงานสูงถึง 2, 300 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์, Example: [นิวเคลียร์] |
Mass spectrometer | สเปกโทรมิเตอร์มวล, อุปกรณ์สำหรับตรวจหาและวิเคราะห์ไอโซโทป ที่สามารถแยกนิวเคลียสที่มีอัตราส่วนประจุต่อมวลที่แตกต่างกันออกจากกันได้ โดยการผ่านนิวเคลียสเหล่านั้นไปในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก คำนี้มีความหมายเหมือน mass spectrograph, Example: [นิวเคลียร์] |
Mass spectrograph | สเปกโทรกราฟมวล, อุปกรณ์สำหรับตรวจหาและวิเคราะห์ไอโซโทป ที่สามารถแยกนิวเคลียสที่มีอัตราส่วนประจุต่อมวลที่แตกต่างกันออกจากกันได้ โดยการผ่านนิวเคลียสเหล่านั้นไปในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก คำนี้มีความหมายเหมือน mass spectrograph [นิวเคลียร์] |
Linac | เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น, ไลแน็ก, มาจากคำ่ว่า Linear accelerator อนุภาคที่มีลักษณะเป็นท่อตรงยาว อนุภาคที่มีประจุซึ่งวิ่งภายในท่อจะถูกเพิ่มพลังงานด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้ากระแสสลับที่มีอยู่ตลอดความยาวท่อ <br>(ดู cyclotron และ accelerator ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Linear accelerator | เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น, ไลแน็ก, เครื่องเร่งอนุภาคที่มีลักษณะเป็นท่อตรงยาว อนุภาคที่มีประจุซึ่งวิ่งภายในท่อจะถูกเพิ่มพลังงานด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้ากระแสสลับที่มีอยู่ตลอดความยาวท่อ <br>(ดู cyclotron และ accelerator ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Electromagnetic fields | สนามแม่เหล็กไฟฟ้า [TU Subject Heading] |
betatron | เครื่องบีตาตรอน, เป็นเครื่องเร่งอิเล็กตรอนแบบหนึ่ง โดยที่อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นวงกลมที่มีรัศมีคงที่ โดยใช้แรงกระทำที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็ก เครื่องเร่งที่มีลักษณะเป็นรูปโดนัท รัศมีวงจรประมาณ 0.75-1.00 เมตร เครื่องนี้สามารถเร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงานสูงถึง 340 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ บีตาตรอนเครื่องแรกสร้างโดย Donald W. Kerst ในปี พ.ศ.2483 ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois) ประเทศสหรัฐอเมริกา เร่งอิเล็กตรอนให้มีพลังงาน 2.5 ล้านอิเล็กตรอน [พลังงาน] |
cyclotron | เครื่องไซโคลตรอน , เป็นเครื่องสำหรับเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า ผู้ประดิษฐ์คือ Earnest O. Lawrence ชาวอเมริกัน ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2482 ในเครื่องเร่งอนุภาคชนิดนี้ อนุภาคถูกเร่งด้วยสนามไฟฟ้า ในขณะเดียวกันก็ถูกควบคุมด้วยสนามแม่เหล็ก ให้วิ่งวนเป็นวงออกไป เมื่อได้ความเร็วที่เหมาะสม ก็จะถูกปล่อยให้ไปชนกับเป้าที่ต้องการ เครื่องเร่งนี้ใช้ในการวิจัยทางฟิสิกส์พื้นฐาน และการผลิตสารไอโซโทปรังสี [พลังงาน] |
synchrotron | เครื่องซินโครตรอน, เป็นเครื่องเร่งอนุภาคชนิดหนึ่ง อนุภาคถูกเร่งภายใต้สนามไฟฟ้าซึ่งเปลี่ยนแปลงด้วยความถี่ ในย่านความถี่ของคลื่นวิทยุ ในขณะเดียวกันกับที่อนุภาคถูกบังคับให้วิ่งเป็นวงกลมรัศมีคงที่ โดยการควบคุมของสนามแม่เหล็กที่เพิ่มมากขึ้น พร้อมสัมพันธ์กับความเร็วของอนุภาคที่เพิ่มขึ้น ซินโครตรอนเครื่องแรกชื่อ คอสโมตรอน (cosmotron) ตั้งอยู่ที่ห้องปฏิบัติการบรูคเฮเวน (Brookhaven National Laboratory) มลรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2495 เครื่องมือนี้ใช้แม่เหล็กมีน้ำหนักถึง 2, 200 ตัน สามารถเร่งโปรตรอนให้มีพลังงานสูงถึง 2, 300 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ [พลังงาน] |
Electromagnetic Fields | สนามแม่เหล็กไฟฟ้า [การแพทย์] |
Electrophoretic Mobility | การเคลื่อนที่ซึ่งแตกต่างกันในสนามแม่เหล็ก, การเคลื่อนที่ในสนามไฟฟ้า, อีเลคโตรฟอรีติคโมบิลิตี้, การเคลื่อนไหวของอนุภาคภายใต้สนามไฟฟ้า, การเคลื่อนไหวในสนามไฟฟ้า [การแพทย์] |
mass spectrometer | แมสสเปกโทรมิเตอร์, อุปกรณ์ที่ใช้วิเคราะห์มวลของอะตอมหรือโมเลกุล โดยทำให้อะตอมหรือโมเลกุลเกิดเป็นไอออน แล้วส่งผ่านเข้าไปในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก ทำให้ทิศทางของไอออนเหล่านั้นหักเหไปตามมวลของไอออนที่แตกต่างกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
eddy current | กระแสวน, กระแสไฟฟ้าที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้นในตัวนำซึ่งอยู่ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลง กระแสวนจะเกิดขึ้นในแกนเหล็กของหม้อแปลงหรือในเครื่องกลไฟฟ้าอื่น ๆ เป็นเหตุให้เกิดความร้อน ซึ่งเป็นการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
induced current | กระแสเหนี่ยวนำ, กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในตัวนำ เมื่อตัวนำเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็กหรือเมื่อสนามแม่เหล็กที่ผ่านตัวนำเกิดการเปลี่ยนแปลง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
magnetic induction | การเหนี่ยวนำแม่เหล็ก, การทำให้วัตถุเป็นแม่เหล็กโดยการนำไปวางไว้ในสนามแม่เหล็ก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electromagnetic induction | การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า, การทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าในตัวนำเมื่อตัวนำเคลื่อนที่ตัดสนามแม่เหล็ก หรือเมื่อสนามแม่เหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electromagnetic wave | คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, คลื่นซึ่งเกิดจากการสั่นของประจุไฟฟ้าหรือเกิดจากประจุไฟฟ้าที่มีความเร่ง คลื่นนี้ประกอบด้วยสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าที่เปลี่ยนค่าตลอดเวลาและตั้งฉากซึ่งกันและกัน แผ่กระจายออกจากแหล่งกำเนิดคลื่นด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วแสง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
solenoid | โซเลนอยด์, ขดลวดที่ได้จากการพันลวดหลายรอบชิดกันเป็นรูปทรงกระบอก ถ้าให้กระแสไฟฟ้าผ่านจะเกิดสนามแม่เหล็กภายในขดลวดและรอบ ๆ ขดลวด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
dynamo | ไดนาโม, เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งอาศัยหลักการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า โดยการทำให้ขดลวดเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็ก เป็นการเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
T | เทสลา, สัญลักษณ์ของหน่วยวัดความเข้มของสนามแม่เหล็ก ดู tesla [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
magnetic flux | ฟลักซ์แม่เหล็ก, เส้นแรงแม่เหล็กทั้งหมดที่ผ่านตั้งฉากไปบนพื้นที่หนึ่งในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก มีหน่วยเป็นเวเบอร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
static electricity | ไฟฟ้าสถิต, ผลที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากประจุไฟฟ้าที่หยุดนิ่ง รวมถึงแรงระหว่างประจุไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กของประจุไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electromagnet | แม่เหล็กไฟฟ้า, แม่เหล็กที่เกิดขึ้นจากการพันขดลวดไฟฟ้ารอบแกนเหล็กอ่อน เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก ซึ่งสามารถเหนี่ยวนำแกนเหล็กอ่อนภายในขดลวดให้เป็นแม่เหล็กได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
back e.m.f. | แรงเคลื่อนไฟฟ้ากลับ, แรงเคลื่อนไฟฟ้าซึ่งมีทิศตรงข้ามกับกระแสในวงจรตามปกติ เช่น ขณะที่ขดลวดของมอเตอร์หมุนอยู่ในสนามแม่เหล็ก ขดลวดจะตัดเส้นแรงแม่เหล็ก ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำซึ่งมีทิศตรงข้าม กับแรงเคลื่อนไฟฟ้าของแบตเตอรี่ที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่มอเตอร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electromagnetic lens | เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า, สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้สำหรับโฟกัสลำของอิเล็กตรอน บางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า เลนส์แม่เหล็ก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
magnetism | วิชาแม่เหล็ก, วิชาฟิสิกส์แขนงหนึ่งที่ศึกษาปรากฏการณ์และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับแม่เหล็กและสนามแม่เหล็ก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
weber | เวเบอร์, หน่วยของฟลักซ์แม่เหล็ก ใช้สัญลักษณ์ Wb สนามแม่เหล็กที่มีความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก 1 เทสลา จะมีจำนวนฟลักซ์แม่เหล็ก 1 เวเบอร์ต่อตารางเมตร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
magnetic field | สนามแม่เหล็ก, สนามแม่เหล็ก สนามของแรงซึ่งมีอยู่รอบ ๆ แท่งแม่เหล็กหรือรอบ ๆ ตัวนำ ที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก คือ บริเวณที่อนุภาคไฟฟ้าเคลื่อนที่เข้าไปแล้วมีแรงกระทำต่ออนุภาคนั้น ขนาดของสนามแม่เหล็กเท่ากับปริมาณของเส้นแรงแม่เหล็กหรือฟลักซ์แม่เหล็กต่อหน่วยพ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
automatic switch | สวิตช์อัตโนมัติ, อุปกรณ์สำหรับเปิดปิดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ โดยใช้หลักการเกิดสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำหรือแผ่นโลหะคู่ที่ขยายตัวไม่เท่ากันเมื่อได้รับความร้อน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
magnetic lines of force | เส้นแรงแม่เหล็ก, เส้นสมมติในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กซึ่งแสดงทิศการเคลื่อนที่ของขั้วเหนืออิสระในสนามแม่เหล็กนั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
free electron | อิเล็กตรอนอิสระ, อิเล็กตรอนที่ไม่ถูกยึดไว้กับอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเคลื่อนที่ไปมาอย่างอิสระ เมื่อได้รับแรงกระทำจากสนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กจากภายนอก ก็จะเคลื่อนที่ได้อย่างมีทิศทางแน่นอน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
aurora | แสงออโรรา, สีแสงที่เกิดบริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ เนื่องจากแก๊สบริเวณขั้วโลกถูกกระตุ้นด้วยสนามแม่เหล็กที่มีพลังงานสูงในบริเวณขั้วแม่เหล็กโลก ทำให้แก๊สเหล่านั้นปล่อยรังสีออกมา มีแสงสีต่าง ๆ รูปร่างเป็นระย้าคล้ายม่าน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
solar flares | การระเบิดจ้าบนดวงอาทิตย์, การปลดปล่อยพลังงานและอนุภาคอย่างรุนแรงและรวดเร็วใกล้บริเวณจุดดับบนดวงอาทิตย์ จึงทำให้บริเวณนั้นสว่างจ้าและทำให้เกิดการรบกวนสนามแม่เหล็กโลกและคลื่นวิทยุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
field | เขตข้อมูล, สนาม, คอมพิวเตอร์: หน่วยย่อยที่สุดที่ข้อมูลระดับบิตมาเรียงต่อกันเพื่อแทนข้อมูลใดๆ ที่ต้องการเก็บในฐานข้อมูล ฟิสิกส์: ปริมาณที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อวัตถุ สนามมีสามชนิด ได้แก่ สนามโน้มถ่วง สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สนามโน้มถ่วงทำให้เกิดแรงโน้มถ่วงกระทำต่อมวลของวัตถ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Magnetic Field | สนามแม่เหล็กไฟฟ้า, สนามแม่เหล็ก [การแพทย์] |
Magnetic Field, Oscillating | สนามแม่เหล็กที่เปลี่ยนค่าความเข้มต่างกัน [การแพทย์] |
Magnetic Stirrers | เครื่องคนชนิดใช้สนามแม่เหล็ก [การแพทย์] |