|
| ไกรลาส, ไกลาส | (ไกฺรลาด, ไกลาด) น. ชื่อภูเขาในเทือกเขาหิมาลัย เชื่อว่าเป็นที่สถิตของพระอิศวรในศาสนาพราหมณ์. | จตุรเวท, จตุรเพท | (-เวด, -เพด) น. ชื่อคัมภีร์พระเวท ๔ คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ในยุคพระเวท คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท. (ดู เวท, เวท-). | ตรีมูรติ | น. ชื่อเรียกเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ มี ๓ องค์ คือ พระพรหม (พระผู้สร้าง) พระวิษณุหรือพระนารายณ์ (พระผู้รักษา) และพระศิวะหรือพระอิศวร (พระผู้ทำลาย). | ไตรเพท | (-เพด) น. ชื่อคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์ในสมัยพระเวท มี ๓ คัมภีร์ คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท. | ทักษิณาจาร | น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่งนับเนื่องในนิกายหนึ่งของศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบขวาหรือฝ่ายขวา มีพิธีกรรมเปิดเผย ไม่มีลามกอนาจาร, คู่กับ วามาจาร, ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทำนองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์ โดยถือพระไวโรจนพุทธะแทนพรหมัน. | ธาดา | น. ผู้สร้าง, ผู้ทรงไว้, พระพรหมผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์. | นารายณ์ | น. ชื่อหนึ่งของพระวิษณุซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์. | นาลิวัน | น. พราหมณ์พวกหนึ่งทำหน้าที่โล้ชิงช้าและรำเขนงในพระราชพิธีตรียัมปวาย เพื่อถวายเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ | พรหม, พรหม- | (พฺรม, พฺรมมะ-) น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลก จำพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จำพวกไม่มีรูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้น ตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอนใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี | พรหมทัณฑ์ | น. ตามศาสนาพราหมณ์หมายความว่า “ไม้พระพรหม” ชื่อศัสตรากายสิทธิ์ชนิดหนึ่ง | ลอยบาป | ก. ปลดเปลื้องบาปให้ลอยไปในแม่น้ำคงคาตามลัทธิศาสนาพราหมณ์. | วามาจาร | น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่ง นับเนื่องในนิกายหนึ่งของศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบซ้ายหรือฝ่ายซ้าย มีพิธีกรรมลี้ลับ อนาจาร, คู่กับ ทักษิณาจาร | เวท, เวท- | ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างโลก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหกของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตนหรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลหรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรกเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวทเข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรกของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. | สมฤติ | (สะมะรึติ) น. ชื่อคัมภีร์ทางศาสนาพราหมณ์ซึ่งแต่งขึ้นภายหลังคัมภีร์พวกศรุติ เช่น คัมภีร์เวทางคศาสตร์ ศูตระ รามายณะ มหาภารตะ ปุราณะ ธรรมศาสตร์. | สัมภเวสี | (สำพะ-) น. ผู้แสวงหาที่เกิด ในคติของศาสนาพราหมณ์หมายถึงคนที่ตายแล้ววิญญาณกำลังแสวงหาที่เกิด แต่ยังไม่ได้เกิดในกำเนิดใดกำเนิดหนึ่ง, ผู้ต้องเกิด, สัตว์โลก. | อารัณยกะ ๒ | (-รันยะกะ) น. ชื่อคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์คู่กับคัมภีร์พราหมณะ สำหรับผู้ที่สละทางโลกเข้ามาปฏิบัติธรรมในป่า ลักษณะเนื้อหาไม่แตกต่างกับคัมภีร์พราหมณะมากนัก. | อุปนิษัท | (อุปะ-, อุบปะ-) น. ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตกลุ่มหนึ่ง คัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ที่สอนว่าทุกสิ่งทุกอย่างออกมาจากอาตมัน. | โองการ | น. คำศักดิ์สิทธิ์ เช่น โองการแช่งน้ำในพระราชพิธีถือพระพิพัฒน์สัตยา (ศรีสัจจปานกาล), ถ้าเป็นคำศักดิ์สิทธิ์มาจากพระดำรัสสั่งของพระมหากษัตริย์ที่รับบรมราชาภิเษกแล้ว เรียกว่า พระราชโองการ หรือ พระบรมราชโองการ. [ ป.; ส. โอํการ = อักษรโอม ซึ่งมาจากคำว่า “อะ อุ มะ” ในทางศาสนาพราหมณ์ หมายถึง พระมหาเทพทั้ง ๓ คือ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม ในทางพระพุทธศาสนา อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุต̣ตมธม̣ม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสง̣ฆ (พระสงฆ์) ]. | ฮินดู | น. ชื่อศาสนาหนึ่งที่เกิดในอินเดีย มีวิวัฒนาการมาจากศาสนาพราหมณ์, ผู้นับถือศาสนาฮินดู. ว. ที่เกี่ยวกับศาสนาฮินดู. |
| | | avatar | (แอฟวะทาร์') n. อวตาร, การจุติลงมาเกิดของเทพในศาสนาพราหมณ์, ร่างอวตาร, ร่างที่แบ่งภาค | brahmanism | (บรา'มะนิสซึม) n. ระบบ พราหมณ์, ศาสนาพราหมณ์, Syn. Brahminism, Brahmanist, Brahminist n. | brahmin | (บรา'มิน) n., พราหมณ์, ผู้ที่มีความรู้และวัฒนธรรมสูง, ผู้มีความรู้ที่ชอบอยู่ห่าง ๆ -Brahminism n. ศาสนาพราหมณ์ |
| |
add this word
You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |