ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: วันที่, -วันที่- |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: N | [มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: N] (n, vi, vt, modal, verb, aux, verb, adj, adv, prep, conj, pron, phrase, jargon, slang, colloq, vulgar, abbrev, name, o) มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: Norma Jeane Mortenson) เกิดวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1926 – 5 สิงหาคม ค.ศ. 1962) เป็นอดีตนักแสดง นักร้อง นางแบบชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงจากบทบาท "dumb blonde" เธอกลายเป็นสัญลักษณ์ทางเพศที่ได้รับความนิยมในคริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นสัญลักษณ์ของทัศนคติที่มีต่อเพศแห่งยุค แม้ว่าเธอได้เป็นนักแสดงระดับต้น ๆ เพียงแค่หนึ่งทศวรรษ ภาพยนตร์ของเธอทำรายได้ได้ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐก่อนที่เธอจะเสียชีวิตอย่างไม่คาดคิดใน ค.ศ. 1962[ 1 ] เธอยังถือว่าเป็นสัญรูปของวัฒนธรรมสมัยนิยมหลัก ๆ นับแต่นั้นมา[ 2 ] มอนโรเกิดและเติบโตในลอสแอนเจลิส วัยเด็กเธออาศัยอยู่ในบ้านรับเลี้ยงเด็ก และสถานเด็กกำพร้า และสมรสครั้งแรกเมื่ออายุ 16 ปี ขณะทำงานในโรงงานเป็นส่วนหนึ่งของกำลังสงคราม ใน ค.ศ. 1944 เธอพบกับช่างภาพคนหนึ่ง และเริ่มทำอาชีพนางแบบ งานของเธอทำให้เธอได้เซ็นสัญญากับภาพยนตร์ขนาดสั้น 2 เรื่องกับค่ายทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ (1946-1947) และโคลัมเบียพิกเจอส์ (1948) หลังจากรับบทย่อยในภาพยนตร์จำนวนหนึ่ง เธอเซ็นสัญญาใหม่กับฟอกซ์ใน ค.ศ. 1951 เธอกลายเป็นนักแสดงที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วด้วยบทบาทตลกขบขันหลายบทบาท เช่นในเรื่อง แอสยังแอสยูฟีล (1951) และมังกีบิสเนส (1952) และในภาพยนตร์ดรามาเรื่อง แคลชบายไนต์ (1952) และ โดนต์บาเดอร์ทูน็อก (1952) มอนโรเผชิญหน้ากับข่าวลือหลังจากมีการเปิดเผยว่าเธอเคยถ่ายแบบเปลือยก่อนมาเป็นนักแสดง แต่แทนที่จะทำลายอาชีพเธอ มันกลับทำรายได้ให้กับบอกซ์ออฟฟิศ ก่อน ค.ศ. 1953 มอนโรเป็นหนึ่งในดาราฮอลลิวูดที่มีบทบาทนำในภาพยนตร์ 3 เรื่อง ได้แก่ ฟิล์มนัวร์ เรื่อง ไนแอการา (ภาพยนตร์ ค.ศ. 1953)|ไนแอการา ซึ่งมุ่งจุดสนใจที่เสน่ห์ทางเพศของเธอ และภาพยนตร์ตลกเรื่อง เจนเทิลเม็นพรีเฟอร์บลอนส์ และ ฮาวทูแมร์รีอะมิลเลียนแนร์ ซึ่งสร้างภาพลักษณ์ให้เธอเป็น "dumb blonde" แม้ว่าเธอจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างและจัดการภาพลักษณ์สาธารณะของเธอตลอดอาชีพการทำงาน เธอรู้สึกผิดหวังต่อสตูดิโอที่ไทป์แคสต์ และการให้ค่าตัวเธอต่ำไป เธอถูกพักงานเป็นช่วงสั้น ๆ ในต้นปี ค.ศ. 1954 เนื่องจากเธอปฏิเสธโครงการทำภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง แต่กลับมาเป็นดาราในภาพยนตร์เรื่องที่ประสบความสำเร็จที่สุดเรื่องหนึ่งคือ เดอะเซเวนเยียร์อิตช์ (1955) เมื่อสตูดิโอยังลังเลที่จะเปลี่ยนแปลงสัญญาของเธอ มอนโรก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ใน ค.ศ. 1954 ชื่อ มาริลิน มอนโร โพรดักชันส์ (MMP) ขณะก่อสร้างบริษัท เธอเริ่มศึกษาการแสดงที่แอกเตอส์สตูดิโอ ในปลายปี ค.ศ. 1955 ฟอกซ์มอบฉันทะให้เธอควบคุมและให้เงินเดือนสูงขึ้น หลังจากได้รับคำสรรเสริญจากการแสดงในเรื่อง บัสสต็อป (1956) และการแสดงในภาพยนตร์อิสระเรื่องแรกของบริษัท MMP เรื่อง เดอะพรินซ์แอนด์เดอะโชว์เกิร์ล (1957) เธอได้รับรางวัลลูกโลกทองคำจากเรื่อง ซัมไลก์อิตฮอต (1959) ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของเธอที่ถ่ายทำจนเสร็จคือเรื่อง เดอะมิสฟิตส์ (1961) |
|
| 소녀시대 | [โซ นยอ ชิ แด] (n, uniq) ศิลปินกลุ่มหญิงสัญชาติเกาหลีใต้จากสังกัดค่าย SM Entertainment มีสมาชิกทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย แทยอน, เจสสิก้า, ซันนี่, ทิฟฟานี่, ฮโยยอน, ยูริ, ซูยอง, ยุนอา และ ซอฮยอน เริ่มต้นเปิดตัวเข้าสู่วงการเพลงอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ด้วยซิงเกิ้ลเปิดตัว Into the New World (다시 만난 세계, Dasi Mannan Segye) ในรายการเพลง Inkigayo ทางสถานีโทรทัศน์ SBS, See also: R. Girls' Generation Image: |
| วันที่ | (n) date, Example: วันที่จะเดินทางไปต่างประเทศตรงกับวันที่เท่าไหร่ | ลงวันที่ | (v) date, See also: put a date on, assign a date to, Syn. ระบุวันที่, Example: ในปี พ.ศ. 2450 พระที่นั่งที่ได้สร้างเสร็จ และพระราชทานนามตามประกาศลงวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2454 คือ พระที่นั่งพิมานปฐม |
| วันที่ | น. ลำดับวันในเดือนหนึ่ง ๆ ทางสุริยคติ เช่น วันที่ ๑ สิงหาคม วันที่ ๒ กันยายน. | เส้นวันที่ | น. เส้นสมมุติซึ่งนานาชาติได้ตกลงกันโดยกําหนดให้ใช้เป็นเขตการเปลี่ยนวันที่เมื่อเดินทางข้ามเส้นนี้ไป. | กลางเดือน | น. วันเพ็ญหรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำของเดือนทางจันทรคติหรือวันที่ ๑๕ ของเดือนทางจันทรคติ เช่น กลางเดือน ๖. | โกน ๒ | น. ชื่อวันที่พระสงฆ์ในเมืองไทยปลงผม ตรงกับวันขึ้น ๑๔ คํ่า หรือแรม ๑๔ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็เป็นแรม ๑๓ คํ่า เรียกว่า วันโกน, คู่กับ วันพระ | เขต | (เขด) น. แดนที่กำหนดขีดคั่นไว้ เช่น เขตป่า เขตบ้าน, เวลาที่กำหนดขีดคั่นไว้ เช่น หมดเขตวันที่ ๑๕. (ป. เขตฺต). | เข้าปริวาส, เข้าปริวาสกรรม | ก. เข้าปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), อยู่กรรม หรือ อยู่ปริวาส ก็ว่า. | เข้าพรรษา | น. เรียกวันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจำพรรษา คือ วันแรม ๑ คํ่า เดือน ๘ ว่า วันเข้าพรรษา. | ครีษมายัน | (คฺรีดสะ-) น. จุดสุดทางเหนือ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่ ๒๒ มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวันยาวที่สุด เรียกว่า ครีษมายัน (summer solstice), คู่กับ เหมายัน, อุตตรายัน ก็เรียก. | ความผิดอันยอมความได้ | น. ความผิดที่มีผลต่อผู้เสียหายเป็นการเฉพาะตัวโดยตรง และมีกฎหมายกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ในการดำเนินคดีอาญาในความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายต้องฟ้องหรือร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดและเมื่อฟ้องแล้วจะถอนฟ้อง หรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้. | จันทร-, จันทร์ | ชื่อวันที่ ๒ ของสัปดาห์. | จุทสมสุรทิน | น. วันที่ ๑๔ ทางสุริยคติ. | ฉพีสติม- | (ฉะพีสะติมะ-) ว. ที่ ๒๖ เช่น ฉพีสติม-สุรทิน ว่า วันที่ ๒๖ (แห่งเดือนสุริยคติ). | ฉุย | อาการของควันที่พลุ่งขึ้นมาเรื่อย ๆ เช่น ควันฉุย | ชักพระ | น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็นประเพณีสำคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโวของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบกกับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้วช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกันลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วยใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย. | เซต ๒ | ก. กำหนด เช่น เซตตัวนักกีฬาลงในตำแหน่งต่าง ๆ เซตวันที่จะประชุม | แซยิด | น. วันที่มีอายุครบ ๕ รอบนักษัตร คือ ๖๐ ปีบริบูรณ์ตามคติของจีน, เรียกการทำบุญในวันเช่นนั้นว่า ทำบุญแซยิด. | ตลาด | สถานที่ซึ่งปรกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด. | ติงสติม- | (ติงสะติมะ-) ว. ที่ ๓๐ เช่น ติงสติมสุรทิน หมายความว่า วันที่ ๓๐. | เถลิงศก | น. เรียกวันขึ้นจุลศักราชใหม่ ซึ่งเป็นวันที่ดวงอาทิตย์โคจรขาดจากราศีมีนขึ้นสู่ราศีเมษได้องศาหนึ่งแล้ว อยู่ต่อจากวันเนา ว่า วันเถลิงศก, ปัจจุบันหมายถึง วันขึ้นปีใหม่. | ทรธึก | ว. ใช้เรียกวันในตำราหมอดู ว่า วันทรธึก หมายความว่า วันที่ห้ามทำการมงคลต่าง ๆ. | ทวาทศม- | (ทะวาทะสะมะ-) ว. ที่ ๑๒ เช่น ทวาทศมสุรทิน = วันที่ ๑๒. | ทศม- | (ทะสะมะ-, ทดสะมะ-) ว. ที่ ๑๐ เช่น ทศมสุรทิน = วันที่ ๑๐. | ทักษิณายัน | จุดสุดทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่ ๒๒ ธันวาคม เป็นจุดในหน้าหนาว มีกลางคืนยาวที่สุด เรียกว่า ทักษิณายัน (winter solstice), คู่กับ อุตตรายัน, เหมายัน ก็เรียก. | ทุติย- | (ทุติยะ-) ว. ที่ ๒, มักใช้นำหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุติยดิถี = วัน ๒ คํ่า, ทุติยมาส = เดือนที่ ๒, ทุติยวาร = ครั้งที่ ๒, ทุติยสุรทิน = วันที่ ๒. | เที่ยง | เรียกเวลากึ่งกลางของกลางวันที่พระอาทิตย์อยู่ตรงศีรษะ ว่า เที่ยง หรือ เที่ยงวัน ตรงกับ ๑๒ นาฬิกา, เรียกเวลากึ่งกลางของกลางคืน ว่า เที่ยงคืน ตรงกับ ๒๔ นาฬิกา. | นวม- ๒ | (นะวะมะ-) ว. ที่ ๙ เช่น นวมสุรทิน = วันที่ ๙. | นักขัตฤกษ์ | น. ฤกษ์ที่ขึ้นกับการโคจรของดวงดาวในสุริยจักรวาลคือดาวนพเคราะห์ว่าผ่านดาวนักษัตรหมู่ใดหมู่หนึ่งใน ๒๗ หมู่, เรียกงานที่จัดขึ้นตามนักขัตฤกษ์ ว่า งานนักขัตฤกษ์, เรียกวันที่มีงานนักขัตฤกษ์ ว่า วันนักขัตฤกษ์. | เนา ๔ | น. วันที่อยู่ถัดจากวันมหาสงกรานต์ หน้าวันเถลิงศก เรียกว่า วันเนา. | เบญจมสุรทิน | น. วันที่ ๕ แห่งเดือนทางสุริยคติ. | ปฐมสุรทิน | (ปะถมมะสุระทิน) น. วันที่ ๑ แห่งเดือนทางสุริยคติ. | ปัณรสมสุรทิน | น. วันที่ ๑๕. | ปีงบประมาณ | น. ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคมของปีหนึ่งถึงวันที่ ๓๐ กันยายนของปีถัดไป โดยให้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปนั้นเป็นชื่อสำหรับปีงบประมาณนั้น. | ปีปฏิทิน | น. ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคมถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม. | ปูม ๑ | น. จดหมายเหตุของโหร, เรียกสมุดบันทึกรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับการเดินเรือหรือการเดินอากาศ เช่น เดินทางจากไหนถึงไหน วันที่เดินทาง จำนวนชั่วโมง ฯลฯ ว่า สมุดปูมเดินทาง. | เปลว | (เปฺลว) น. เรียกไฟที่ลุกแลบออกมาหรือพวยพุ่งขึ้น ว่า เปลวไฟ, เรียกควันที่พลุ่ง ๆ ขึ้นไป ว่า เปลวควัน, เรียกช่องอยู่เหนือถํ้าที่แลบทะลุขึ้นไปเบื้องบน ว่า ช่องเปลว หรือ เปลวปล่อง, เรียกสิ่งที่เป็นแผ่นบางอันมีลักษณะคล้ายเปลวไฟ เช่น ทองคำเปลว, เรียกมันของสัตว์ที่ไม่ได้ติดอยู่กับหนัง ว่า มันเปลว, คู่กับ มันแข็ง | เปิดโลก | ก. เผยโลกทั้ง ๓ ให้เห็นกันในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์. | พระยาวัน | น. วันขึ้นจุลศักราชใหม่หรือวันเถลิงศก ตรงกับวันที่ ๑๕ เมษายน. | พฤหัสบดี | ชื่อวันที่ ๕ ของสัปดาห์. | พสุสงกรานต์ | น. พระอาทิตย์โคจรมาถึงจุดใกล้สุดกับโลกในราววันที่ ๔ มกราคม เรียกว่า พสุสงกรานต์เหนือ (perihelion) กับโคจรไปถึงจุดไกลสุดจากโลกในราววันที่ ๓ กรกฎาคม เรียกว่า พสุสงกรานต์ใต้. | พุธ | ชื่อวันที่ ๔ ของสัปดาห์. | ระเบิดไอพิษ | น. ลูกระเบิดที่บรรจุสารพิษซึ่งเมื่อเกิดการระเบิดขึ้นแล้ว จะกลายเป็นไอหรือควันที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายและอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้. | รัฐพิธี | น. งานที่รัฐบาลจัดขึ้นโดยกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทรงรับไว้มีกำหนดการเป็นประจำ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน เช่นวันที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า. | เร่งวันเร่งคืน | ก. อยากให้ถึงวันที่กำหนดโดยเร็ว เช่น เด็ก ๆ เร่งวันเร่งคืนให้ถึงวันปิดเทอม. | ฤตุสนาน | (รึตุสะหฺนาน) น. การอาบนํ้าของหญิงอินเดียในวันที่ ๔ หลังจากมีระดู. | ลัคน-, ลัคน์, ลัคนา | เวลาหรือวันที่ถือว่าเป็นมงคลสำหรับลงมือทำการใด ๆ, ถ้าเป็นเวลาที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนกาล ถ้าเป็นวันที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนทิน เช่น โหรคำนวณว่าวันที่ ๑๔ พฤษภาคม เป็น ลัคนทิน เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็น ลัคนกาล เป็นวันและเวลาที่เหมาะสำหรับทำพิธีรดนํ้าแต่งงาน. | วสันตวิษุวัต | น. จุดราตรีเสมอภาค ที่เมื่อดวงอาทิตย์โคจรไปถึงในราววันที่ ๒๑ มีนาคม, คู่กับ ศารทวิษุวัต. | วันกรรมกร | น. วันหยุดงานเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ผู้ใช้แรงงาน ตรงกับวันที่ ๑ พฤษภาคม, วันแรงงาน ก็เรียก. | วันโกน | น. วันที่พระปลงผม คือ วันขึ้นและวันแรม ๑๔ คํ่า หรือวันแรม ๑๓ คํ่าของเดือนขาด, (ปาก) ชื่อวันก่อนวันพระวันหนึ่ง เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ ขึ้น ๗ คํ่า ขึ้น ๑๔ คํ่า แรม ๗ คํ่า และแรม ๑๔ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๓ คํ่า. | วันเข้าพรรษา | น. วันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจำพรรษา คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘. | วันครู | วันที่ระลึกถึงครู ปัจจุบันกำหนดวันที่ ๑๖ มกราคมของปีเป็นวันครู. |
| | Date received | วันที่ได้รับ [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] | Barrel per Day | ปริมาณน้ำมันที่กลั่นออกมาได้ในรอบปี หารด้วยจำนวนวันที่ปฏิบัติงานจริง, ปริมาณน้ำมันที่กลั่นออกมาได้ในรอบปี หารด้วยจำนวนวันที่ปฏิบัติงานจริง (ไม่นับวันที่หยุดและซ่อมแซมอุปกรณ์) (ความหมายในแง่การกลั่น) [ปิโตรเลี่ยม] | Spud a Well | วันที่เริ่มเจาะหลุม [ปิโตรเลี่ยม] | Publication Date | วันที่ตีพิมพ์โฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร [ทรัพย์สินทางปัญญา] | Application Date | วันที่ยื่นคำขอรับสิทธิบัตร [ทรัพย์สินทางปัญญา] | Issued Date | วันที่รับจดทะเบียนสิทธิบัตร [ทรัพย์สินทางปัญญา] | Date of request for examination | วันที่ยื่นขอให้ตรวจสอบ [ทรัพย์สินทางปัญญา] | Date of return from other country | วันที่ได้รับรายงานการตรวจค้นจากต่างประเทศ [ทรัพย์สินทางปัญญา] | Date of transmission of other country | วันที่ได้รับผลการตรวจค้นจากต่างประเทศ [ทรัพย์สินทางปัญญา] | system date | วันที่ระบบ, Example: วันที่ วันนี้ที่เก็บรักษาโดยระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เวลานี้มีแบตเตอรีสำหรับใชเดินนาฬิกา แม้ว่าเราจะปิดเครื่องแต่เวลาภายในยังคงเดิมอยู่ ทำให้เมื่อเราเปิดเครื่องเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์ก้ยังแสดงเวลาและวันที่ขณะนี้ได้อย่างถูกต้อง ข้อดีของการมีวันที่ระบบก็คือเราอาจเขียนโปรแกรมอ่านวันที่ระบบแล้วพิมพ์วันที่นั้นลงไปในรายงาน หรือแสดงบนจอภาพได้ด้วย [คอมพิวเตอร์] | Year 2000 date conversion (Computer systems) | การแปลงผันวันที่ปี ค.ศ. 2000 (ระบบคอมพิวเตอร์) [TU Subject Heading] | Bare Date | วันที่กำหนดเป็นฐาน, Example: การใช้ข้อมูลของวันนั้นเป็นฐานในการคำนวณ ต่อไปข้างหน้า เช่น ใช้ประชากรตามกลุ่มอายุและเพศ ณ วันใดวันหนึ่งเป็นฐานในการคำนวณ จำนวนประชากรล่วงหน้าไปทีละรุ่นปี [สิ่งแวดล้อม] | Ice Day | วันที่มีน้ำจับแข็ง, Example: วันที่มีอุณหภูมิสูงสุดน้อยกว่า 0 องศาเซลเซียส (ในประเทศอาจจะเท่ากับ หรือน้อยกว่า 0 องศาเซลเซียส ก็ได้) หรือวันที่มีน้ำแข็งเกาะจับ [สิ่งแวดล้อม] | Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] | ASEAN Finance Minister + 3 (China, Japan and the Republic of Korea) Meeting | การประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนกับผู้แทนจากจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ในช่วงการประชุม ประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่กรุงมะนิลา และได้ ตกลงในหลักการที่จะจัดเป็นประจำทุกปี เพื่อหารือสถานการณ์การเงินและเศรษฐกิจในภูมิภาค และร่วมมือหามาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขวิกฤตการณ์การเงินในภูมิภาค ผลงานที่สำคัญคือ ข้อตกลงริเริ่มที่เชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) [การทูต] | Agreement on Commercial Navigation on Lancang-Mekong River | ความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำโขงตอนบน " ระหว่างไทย ลาว พม่า และจีน (มณฑลยูนนาน) ได้ลงนามเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2543 และมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน 2544 " [การทูต] | Amendments to the Charter of the United Nations | การแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรของสหประชาชาตินั้น เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขได้โดยสมัชชาสหประชาชาติหรือโดยที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ของสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะประชุมกัน ณ วันเวลาและสถานที่ตามแต่จะมีการตกลงกัน โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ส่วนของสมัชชาใหญ่ และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงใด ๆ 7 เสียง ในที่ประชุมใหญ่นั้น สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติจะมีเสียงลงคะแนน 1 เสียงการที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นผลสำเร็จ จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วนของสมาชิกทั้งหมดในสมัชชาหรือจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อการแก้ไขกฎบัตรเป็นที่รับรองแล้ว จะมีผลบังคับต่อสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อได้รับการสัตยาบันจากสมาชิก 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนทั้งหมด รวมทั้งการรับรองจากสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยอาทิเช่น ในสมัยประชุมที่ 18 ของสมัชชาใหญ่ การแก้ไขกฎบัตรได้รับการรับรองเห็นชอบด้วย โดยผ่านข้อมติที่ 1991 (XVII) ในการแก้ไขครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจาก 11 เป็น 15 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจาก 18 เป็น 27 ประเทศ การแก้ไขดังกล่าวได้รับการลงมติรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ในปัจจุบันนี้ ประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมากกำลังเรียกร้องให้มีการปรับจำนวนสมาชิกถาวรของคณะ มนตรีความมั่นคงเสียใหม่ [การทูต] | Australia New Zealand Army Corps Day | วันที่ระลึกทหารผ่านศึกออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2458 หน่วยปฏิบัติการร่วมของกองทัพบกออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้ยกพลขึ้นบกบนคาบ สมุทรกาลิโปลี (Gallipoli) ช่องแคบดาร์ดาแนล (Dardanelles) ประเทศตุรกีเพื่อเปิดเส้นทางเดินเรือให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรไปสู่ทะเลดำใน สงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ทหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทั้งสองประเทศจึงถือเอาวันที่ 25 เมษายนของทุก ๆ ปี เป็นวันที่ระลึกและจัดพิธีไว้อาลัยแก่ทหารผ่านศึกในสมรภูมิครั้งนั้นและทหาร ผ่านศึกที่เสียชีวิตในสมรภูมิอื่น ๆ ด้วย [การทูต] | apartheid | การปกครองประเทศแบบแบ่งแยกผิวพันธุ์ เป็นระบบปกครองที่ใช้ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งโดยไม่ แบ่งแยกผิวพันธุ์ครั้งแรกขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 เมษายน 2537 ในระบบการปกครองดังกล่าว ประชาชนแอฟริกาใต้ผิวดำถูกจำกัดสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิทางด้านการเมือง สิทธิการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิรับสมัครเลือกตั้ง การเป็นสมาชิกรัฐสภา การมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินบางพื้นที่ การเลือกที่อยู่อาศัย การใช้สถานที่พักผ่อน การรับราชการ การเข้ารับการศึกษา การประกอบอาชีพ และการใช้บริการสาธารณูปโภคจากรัฐบาล เป็นต้น [การทูต] | ASEAN Regional Forum | การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต] | Association of South-East Asian Nations | สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน จัดตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 เพื่อร่วมมือและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์และการบริหารในภูมิภาค โดยมีสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ต่อมาบรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2527 เวียดนามเป็นสมาชิกประเทศที่ 7 ในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับสุดท้ายหรือประเทศที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2542 [การทูต] | ASEAN Charter | กฎบัตรอาเซียน เป็นความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จะให้สถานะทางกฎหมายหรือนิติฐานะแก่อาเซียน และวางกรอบโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อทำให้อาเซียนเป็นหน่วยงานที่ยึดมั่นมาก ยิ่งขึ้นต่อกติกาและกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ประเทศสมาชิกร่วมกันกำหนดขึ้น อันจะนำมาซึ่งการเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนยังมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประชาชน เป็นศูนย์กลางของความร่วมมือมากยิ่งขึ้นด้วยการจัดตั้งองค์กรใหม่ๆ เพื่อปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของประชาชนอาเซียน เช่น องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ร่วมลงนามกฎบัตรฯ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 [การทูต] | ASEAN Vision 2020 | วิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563 เป็นเอกสารซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ได้ให้ความเห็นชอบ เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นและพันธกรณีของอาเซียนที่จะนำประชาชนในภูมิภาคนี้ ไปสู่ (1) การเป็นภูมิภาคที่มีสันติภาพและเสถียรภาพ (2) ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งด้วยการรวมตัวทางเศรษฐกิจ อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น (3) การเป็นสังคมที่เปิดกว้าง มีความเป็นปึกแผ่นและเอื้ออาทรต่อกัน และ (4) การกระชับความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและโลกภายนอก บนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกันและมีความเคารพซึ่งกันและกัน [การทูต] | Young Ambassador of Virtue | ยุวทูตความดี " เป็นโครงการของกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับกระทรวงศึกษา- ธิการ เริ่มโครงการตั้งวันที่ 5 ธันวาคม 2542 เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม จริยธรรมและคุณธรรมในบรรดาเยาวชนไทย อันเป็นการเสริมคุณภาพของเยาวชนไทยให้มีครบทั้งความเก่ง ความดี และมีความสุข โดยหวังผลในที่สุดว่าคุณภาพของเยาวชนรุ่นใหม่ของไทยจะเป็นการเสริมสร้างพื้น ฐานความแข็งแกร่งแก่สังคมไทยและส่งเสริมให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยใน โลกอนาคตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในยุคโลกา- ภิวัฒน์ นอกจากการส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีความรู้คู่คุณธรรมแล้ว โครงการยุวทูตความดียังส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนไทยและเยาวชนของ ประเทศต่าง ๆ โดยผ่านทางโรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง (Sister schools - โรงเรียนในประเทศที่ต่างกันที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน) " [การทูต] | Bangladesh-India-Myanmar- Sri Lanka and Thailand Economic Cooperation | กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างบังกลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา และไทย " ในช่วงแรกบังกลาเทศ-อินเดีย-พม่า-ไทย ได้ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เพื่อจัดตั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างบังกลาเทศ-อินเดีย-ศรีลังกา-ไทย (BIST-EC) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 ต่อมา ได้รับพม่าเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ และเปลี่ยนชื่อจาก BIST-EC เป็น BIMST-EC เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2540 " [การทูต] | Convention on Elimination of All Forms of Discrimination Against Women | อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2522 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2527 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบและเพื่อความ เสมอภาคระหว่างสตรีและบุรุษในทุกด้าน ขณะนี้มีประเทศต่าง ๆ เป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว 167 ประเทศ (ข้อมูลถึงกรกฎาคม 2543) ไทยยังคงมีข้อสงวนอีก 2 ข้อ ในอนุสัญญาฯ คือ ข้อ 16 เรื่องความเสมอภาคในด้านครอบครัวและการสมรส และ ข้อ 29 เรื่องการระงับการตีความ การระงับข้อพิพาท โดยรับอนุญาโตตุลาการ [การทูต] | Convention | ในภาษาไทยแปลว่า อนุสัญญา แต่คำนี้ใช้แทนคำว่า สนธิสัญญา (Treaty) บ่อย ๆ ผู้เขียนหลายท่านเห็นว่า ทั้งสองคำนี้ไม่ค่อยจะมีความหมายแตกต่างกันมากนัก แม้ว่าคำ Convention มักจะใช้กันเป็นประจำ โดยหมายถึงความตกลงที่กระทำกันในการประชุมระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่กระทำกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ถึง 14 เมษายน ค.ศ. 1961 (The Vienna Convention on Diplomatic Relations) [การทูต] | Convention on Cluster Munitions | อนุสัญญาว่าด้วยระเบิดพวง มีสาระสำคัญคือ การห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอนรวมทั้งต้องทำลายระเบิดพวง โดยมีการยกเว้นระเบิดพวงบางประเภทที่มีความแม่นยำต่อเป้าหมายและมีอัตรา ความเสี่ยงต่ำ โดยเปิดให้ลงนามอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์เป็นต้นไป และจะมีผลบังคับใช้วันแรก ของเดือนที่หกหลังจากที่ 30 ประเทศ ได้ให้สัตยาบัน [การทูต] | Convention on the Rights of the Child | อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ได้รับการรับรองจากสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2532 โดยอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2533 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อคุ้มครองสิทธิของเด็ก (บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี) เพื่อให้ได้รับการศึกษา การดูแล ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบหรือกระทำทารุณกรรม ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่เป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว 191 ประเทศ คงเหลือโซมาเลียและสหรัฐอเมริกาที่ยังมิได้ให้สัตยาบัน ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กด้วยการภาคยานุวัติ อนุสัญญาฯ มีผลปังคับใช้กับประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535 ขณะนี้ไทยยังคงมีข้อสงวน 2 ข้อ คือ ข้อ 7 เรื่องสัญชาติ และ ข้อ 22 เรื่องการให้สถานะเป็นผู้ลี้ภัย [การทูต] | D-8 | กลุ่มความร่วมมือของประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นมุสลิมและเป็นสมาชิก OIC " ซึ่งมีประชากรมากที่สุด ประกอบด้วยสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ปากีสถาน อินโดนีเซีย มาเลเซีย อียิปต์ อิหร่าน ตุรกี และไนจีเรีย จัดการประชุมสุดยอดครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2540 ที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี " [การทูต] | Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] | Eisenhower Doctrine | ลัทธิไอเซนฮาวร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1957 ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความวิตกห่วงใยในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่ออันตรายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้อ่านสารพิเศษต่อที่ประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนกับวุฒิสภาขอร้องให้รัฐสภา สหรัฐฯ ลงมติรับรองโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหาร เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติของบรรดาประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการสนองตอบสารพิเศษดังกล่าว รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านข้อมติร่วมกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1957 มอบให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้ความร่วมมือและอำนวยความช่วยเหลือแก่ชาติหรือ กลุ่มชาติต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเช่นนั้น ในการที่จะพัฒนาพลังทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติตน และให้จัดโครงการช่วยเหลือทางทหารแก่ชาติต่างๆ ในภาคนั้นซึ่งต้องการความช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งได้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีสามารถใช้กองทัพสหรัฐฯ เข้าช่วยเหลือชาติเหล่านั้นที่แสดงเจตนาขอความช่วยเหลือ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากประเทศใด ๆ ที่อยู่ใต้อำนาจควบคุมของคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศ [การทูต] | European Union | สหภาพยุโรป สหภาพยุโรปได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ นับแต่การก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า (European Coal and Steal Community) ในปี พ.ศ. 2494 ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดทำสนธิสัญญากรุงโรม (Treaty of Rome) ได้มีการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community : EEC) และประชาคมพลังงานปรมาณู (Euratom) ในช่วงเวลานั้นจึงเรียกชื่อกันว่าประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ต่อมาได้มีการรวม 3 ประชาคมเข้าด้วยกันและได้มีกฎหมายยุโรปตลาดเดียว (Single European Act) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2530 เพื่อให้ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่ขั้นตอนการเป็นตลาดร่วมและตลาดเดียวที่ สมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2535 ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อเป็นประชาคมยุโรป (European Communities : EC) ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ต่อมาเมื่อสนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht Treaty) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายและขั้นตอนให้ประชาคมยุโรปพัฒนาไปสู่การเป็นสหภาพยุโรป จึงได้เปลี่ยนมาเรียกชื่อในทางปฏิบัติว่า สหภาพยุโรป (European Union : EU) ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย [การทูต] | Food and Agriculture Organization | องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ " เป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2488 มีหน้าที่บรรเทาความอดอยากและหิวโหยของ ประชากรโลกด้วยการส่งเสริม และพัฒนาเกษตรกรรม การปรับปรุงโภชนาการ และแสวงหาความมั่นคงทางด้านอาหาร ปัจจุบันมีสมาชิก 171 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี " [การทูต] | Francophonie (International Organization of the Francophony) | องค์การระหว่างประเทศกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษา ฝรั่งเศส ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2513 ที่เมือง Niamey ประเทศ Niger เพื่อเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสานนโยบายความร่วมมือต่าง ๆ เน้นการส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นสื่อกลาง และส่งเสริมความร่วมมือพหุพาคีเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีสมาชิก 53 ประเทศ (เบลเยียม บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก มอลโดวา โมนาโก โรมาเนีย สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา โดมินิกา เฮติ เซนต์ลูเซีย เบนิน บูร์กินาฟาโซ บุรุนดี แคเมอรูน เคปเวิร์ด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ชาด คอโมโรส สาธารณรัฐคองโก โกตดิวัวร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จิบูตี อียิปต์ อิเควทอเรียลกินี กาบอง กินี กินีบิสเซา มาดากัสการ์ มาลี มอริเตเนีย มอริเซียส โมร็อกโก ไนเจอร์ รวันดา เซาตูเมและปรินซิปี เซเนกัล เชเชลส์ โตโก ตูนีเซีย กัมพูชา ลาว เลบานอน เวียดนาม วานูอาตู แอลเบเนีย มาซิโดเนีย สาธารณรัฐเช็ก ลิทัวเนีย สาธารณรัฐสโลวัก สาธารณรัฐโลวีเนีย และโปแลนด์) และ 3 มลรัฐ [ แคนาดา-นิวบรันสวิก แคนาดา- ควิเบก และชุมชนฝรั่งเศสในเบลเยียม (French Community in Belgium) ] [การทูต] | Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] | Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] | Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] | International Civil Aviation Organization | องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ " เป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2490 โดยอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (Convention on International Civil Aviation) มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นหน่วยงานกลางระหว่างประเทศสมาชิก ในการออกกฎ ระเบียบ และ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการบินพลเรือน ปัจจุบันมีสมาชิก 185 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา " [การทูต] | International Covenant on Civil and Political Rights | กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน 1 ใน 2 ฉบับ ซึ่งแปรข้อบทในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2519 ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540 [การทูต] | International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights | กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม " เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน 1 ใน 2 ฉบับ ซึ่งแปรข้อบทในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2519 ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2542 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 " [การทูต] | Inter-Governmental Maritime Consultative Organization | องค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต] | International Force in East Timor | กองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก จัดตั้งขึ้นตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1264 (1999) เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2542 มีภารกิจหลัก 3 ประการ คือ ฟื้นฟูสันติภาพและเสถียรภาพในติมอร์ตะวันออก ป้องกันและสนับสนุนงานของเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติ และอำนวยความสะดวกในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม กองกำลังนานาชาติปฏิบัติหน้าที่ในติมอร์ตะวันออกจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 [การทูต] | International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] | International Civil Aviation Organization | เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต] | International Development Association | เป็นองค์การให้กู้เงิน ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ.1960 อยู่ภายใต้การบริหารควบคุมของธนาคารระหว่างประเทศ ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของธนาคารระหว่างประเทศหรือธนาคารโลก ย่อมสามารถสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมพัฒนาระหว่างประเทศนี้ได้วัตถุประสงค์ สำคัญของไอดีเอ คือ ให้ประเทศที่ด้อยพัฒนาทำการกู้ยืมเงินเพื่อนำไปพัฒนาประเทศของตน โดยกำหนดเงื่อนไขการกู้ยืมที่ยืดหยุ่นมากกว่าเงื่อนไขของการกู้ยืมทั่ว ๆ ไป ช่วยให้มีผลกระทบต่อดุลแห่งการชำระเงินของประเทศนั้น ๆ ไม่มากนัก ซึ่งเป็นไปตามแนววัตถุประสงค์การให้กู้ยืมของธนาคารโลก อันเท่ากับเสริมการดำเนินงานของธนาคารโลก ที่มีต่อประเทศเหล่านั้นอีกด้วยไอดีเอมีโครงสร้างการดำเนินงานที่คล้ายคลึง กับของธนาคารโลก คณะผู้ว่าการและผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทั้งหมดเป็นคนคนเดียวกับที่มีตำแหน่ง หน้าที่อยู่ในธนาคารโลก จึงเท่ากับเข้าไปทำงานมีหน้าที่ในไอดีเอโดยตำแหน่ง (Ex officio) นั่นเอง ไอดีเอมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] | International Finance Corporation | คือบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1956 และเริ่มมีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษที่มีสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 แม้บรรษัทจะดำเนินงานใกล้ชิดกับธนาคารโลก แต่ก็มีฐานะเป็นสิ่งที่มีตัวตนทางกฎหมายแยกต่างหาก และมีกองทุนที่แตกต่างจากกองทุนของธนาคารโลกด้วยวัตถุประสงค์ของบรรษัทคือ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้การผลิตของวิสาหกิจของเอกชนในประเทศสมาชิกเจริญเติบโตยิ่ง ขึ้น การที่จะกระทำตามวัตถุประสงค์นี้ได้ บรรษัทจะนำเงินไปลงทุนในวิสาหกิจด้านการผลิตฝ่ายเอกชน โดยดำเนินงานร่วมกับเอกชนผู้ลงทุน ทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) คล้ายกับเป็นแหล่งรวมโอกาสต่าง ๆ ของการลงทุนฝ่ายเอกชนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งฝ่ายจัดการที่มีประสบการณ์ชำนาญ นอกจากนั้น ยังช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านการผลิตของเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศด้วย บรรษัทยังได้รับอนุญาตให้ทำการกู้ยืมเงินโดยใช้วิธีขายพันธบัตรของตนเอง รวมทั้งตั๋วสัญญาการใช้เงินบรรษัทการเงินระหว่างประเทศดำเนินงานโดยองค์กร ต่าง ๆ ของตน คืออำนาจทั้งหมดของบรรษัทจะขึ้นอยู่กับคณะผู้ว่าการ (Board of Govemors) ประกอบด้วยผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรอง (Altemates) จากธนาคารโลกซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศต่าง ๆ อันเป็นสมาชิกของบรรษัทด้วย คณะผู้ว่าการจะคอยควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบรรษัทให้ถูกต้อง ตัวประธานธนาคารโลก จะทำหน้าที่เป็นประธานคณะผู้ว่าการของบรรษัทโดยตำแหน่งด้วย บรรษัทมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] | International Labor Organization | คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] | International Telecommunica-tion Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1865 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีชื่อว่าสหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ.1932 จึงมีการรับรองอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน และหลังจากนั้นอีก 2 ปี คือ ค.ศ.1934 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออนุสัญญาโทรเลขและวิทยุโทรเลข เป็นอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการปรับปรุงใหม่ ณ เมืองแอตแลนติกซิตี้ สหรัฐอเมริกา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1954 เป็นต้นมา สหภาพดังกล่าวหรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU อยู่ภายใต้การบริหารปกครองตามอนุสัญญา ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมเต็มคณะ ณ กรุงบุเอนอสไอเรส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1952วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การไอทียูคือ ต้องการวางระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับโทรเลข โทรศัพท์และบริการทางวิทยุ เพื่อที่จะส่งเสริมและขยับขยายให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้บริการเหล่านี้ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยต้องการให้อัตราค่าบริการต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กล่าวโดยทั่วไปองค์การไอทียูนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงการใช้โทรคมนาคมทุกชนิดให้เป็นประโยชน์ก้าวหน้าขึ้น พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทางเทคนิคให้นำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้และพยายามประสานการปฏิบัติของชาติต่าง ๆ ให้กลมกลืนกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน หัวหน้าของสหโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีตำแหน่งเรียกว่า เลขาธิการ องค์การนี้ตั้งอยู่ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] | Joint Declaration for a Socially Cohesive and Caring ASEAN | ปฏิญญาร่วมว่าด้วยสังคมที่เป็นปึกแผ่นและเอื้ออาทรในอาเซียน เป็นคำประกาศของอาเซียนซึ่งมีการลงนามที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้มีการดำเนินโครงการด้านโครงข่ายรองรับทาง สังคมในภูมิภาคนี้ร่วมกันอย่างจริงจัง ในอันที่จะเป็นการนำอาเซียนไปสู่การเป็นสังคมที่มีความเป็นปึกแผ่นและเอื้อ อาทรตามวิสัยทัศน์อาเซียนปี พ.ศ. 2563 [การทูต] |
| Every day I see you writing and I am thinking, "What is he writing about?" | ทุกๆวันที่ฉันเห็นคุณนั่งเขียนและฉัน ก็คิดว่า "เขาเขียนอะไรกันนะ?" Basic Instinct (1992) | On March 3rd.... | วันที่ 3 เดือนมีนาคม... Basic Instinct (1992) | The crosses are for the days you've spent with the Lintons. | ที่กากบาทไว้คือวันที่ เธอใช้เวลากับพวกลินตัน Wuthering Heights (1992) | The dots are for the days you've spent with me. | จุดคือวันที่ เธอใช้เวลากับฉัน Wuthering Heights (1992) | Network wants to feed off our 6:00 whether we find the guy or not. It's a wonderful piece. | วันนี้ถือเป็นอีกวันที่มีความหมายมาก Hero (1992) | Journal entry, May 1. | วันที่หนึ่ง พฤษภาคม The Lawnmower Man (1992) | May 10 entry. | วันที่สิบ พฤษภาคม The Lawnmower Man (1992) | Journal entry, May 10. | บันทึกวันที่สิบ พฤษภาคม The Lawnmower Man (1992) | July 10. | วันที่10 กรกฏาคม The Lawnmower Man (1992) | It says here... your qualifying run will be held on the evening of the tenth. | รอบคัดเลือกของคุณ จะมีในค่ำวันที่ 10 Cool Runnings (1993) | On someone else's day | ในวันที่ของผู้อื่น In the Name of the Father (1993) | Next time you see Belfast, they'll be flying day trips to the moon. | ครั้งถัดไปคุณเห็น Belfast, พวกเขาจะได้ เดินทางวันที่บินไป In the Name of the Father (1993) | - On the floor! | - เมื่อวันที่ชั้น! In the Name of the Father (1993) | On the day you're born, she transfer all her hope to you, all hope from those babies. | ในวันที่ลูกเกิดมา แม่ถ่ายทอดความหวังทั้งหมดมาให้ลูก ความหวังทั้งหมดจากฝาแฝดคู่นั้น The Joy Luck Club (1993) | That kid may have killed Peggy O'Dell! | - ตกลง - (เสียง Mulder) วันที่ดี Deep Throat (1993) | But it's not every day we get fbi. | - แต่ไม่ทุกวันที่เราเจอ F.B.I. # เสียงเครื่องบินเจ็ท เหนือหัว # Squeeze (1993) | I've seen better days. | ฉันเห็นวันที่ดีกว่า Léon: The Professional (1994) | I thought maybe someday I could use it. | ฉันคิดว่าอาจมีซักวันที่ฉันจะใช้มัน Léon: The Professional (1994) | - The days of me forgetting are over. | - วันที่ฉันลืมมากกว่า Pulp Fiction (1994) | Customers sitting' there with food in their mouths, they don't know what's goin' on. | ลูกค้านั่งอยู่กับอาหารในปากของพวกเขาพวกเขาไม่ได้รู้ว่าสิ่งที่ goin 'เมื่อวันที่ Pulp Fiction (1994) | You're gonna be takin' Mia Wallace out on a date? | คุณกำลัง gonna จะ takin 'Mia วอลเลซออกมาในวันที่? Pulp Fiction (1994) | - It's not a date. It's definitely not a date. - [ Sighs ] | - มันไม่ใช่วันที่ มันแน่นอนไม่วันที่ Pulp Fiction (1994) | The day I bring an O.D.ing bitch to your house, then I give her the shot. | วันที่ฉันนำสุนัข ODing ที่บ้านของคุณแล้วฉันให้เธอยิง Pulp Fiction (1994) | It was bought by Private Doughboy Erine Coolidge... on the day he set sail for Paris. | มันถูกซื้อโดยส่วนตัว Doughboy Erine คูลิดจ์ ... ในวันที่เขาเดินทางไปปารีส Pulp Fiction (1994) | This was your great-grandfather's war watch, and he wore it every day he was in that war, and... when he'd done his duty, he went home to your great-grandmother, took the watch off, put it in an old coffee can, and in that can it stayed... until your granddad, Dane Coolidge, was called upon by his country... to go overseas and fight the Germans once again. | นี้เป็นปู่ที่ดีของคุณสงครามนาฬิกา และเขาสวมมันทุกวันที่เขาอยู่ในสงครามนั้นและ ... เมื่อเขาต้องการทำหน้าที่ของเขาที่เขากลับบ้านไปคุณยายที่ดีของคุณ Pulp Fiction (1994) | It'll probably take us a couple days to get down to Knoxville. | มันอาจจะพาเราสองสามวันที่จะได้รับลงไปที่นอกซ์วิล Pulp Fiction (1994) | Hard day at the office? | วันที่ยากที่สำนักงานหรือไม่ Pulp Fiction (1994) | - On the little kangaroo? | - เมื่อวันที่จิงโจ้น้อย? Pulp Fiction (1994) | But it's been a tough day. | แต่มันเป็นวันที่เหนื่อย Wild Reeds (1994) | Same old shit. Different day. | อึเดิม วันที่แตกต่างกัน The Shawshank Redemption (1994) | They march you in, naked as the day you were born, skin burning and half-blind from that delousing shit they throw on you. | พวกเขาเดินขบวนคุณในการเปลือยกายเป็นวันที่คุณเกิดที่ การเผาไหม้ผิวหนังและครึ่งตาบอดจากอึ delousing ที่พวกเขาโยนกับคุณ The Shawshank Redemption (1994) | that on the second-to-last day of the job, the convict crew that tarred the plate-factory roof in the spring of '49... wound up sitting in a row at ten o'clock in the morning, drinking icy-cold, Bohemia-style beer... courtesy of the hardest screw that ever walked a turn at Shawshank State Prison. | ว่าในวันที่สองไปสุดท้ายของงาน ลูกเรือนักโทษที่ tarred หลังคาแผ่นโรงงานในฤดูใบไม้ผลิของ '49 ... ลงเอยด้วยการนั่งอยู่ในแถวที่ 10: The Shawshank Redemption (1994) | (Hadley stops record) On your feet! | (แฮดเลย์หยุดการบันทึก) เมื่อวันที่เท้าของคุณ The Shawshank Redemption (1994) | These men can learn the value of an honest day's labor, while providing a valuable service to the community and... at a bare minimum of expense to Mr. and Mrs. John Q Taxpayer. | คนเหล่านี้สามารถเรียนรู้คุณค่าของการใช้แรงงานวันที่ซื่อสัตย์ของ ขณะที่การให้บริการที่มีคุณค่าให้กับชุมชนและ ... ที่ขั้นต่ำเปลือยของค่าใช้จ่ายให้กับนายและนางจอห์น Q ตัวผู้เสียภาษีอากร The Shawshank Redemption (1994) | I placed the mask on my face and vowed never to remove it, on the day I left my mother, the dark beauty, Dona Ines. | ผมสวมหน้ากากแล้วปฏิญาณว่าจะไม่ถอด ในวันที่ผมจากแม่ ดอนย่าอิเนซผู้งดงาม Don Juan DeMarco (1994) | On the second day, after i left the Sultana, | วันที่สองหลังจากที่ทิ้งชายาสุลต่าน Don Juan DeMarco (1994) | What's wrong with the 20th? | วันที่ 20 เป็นไรเหรอ The One with George Stephanopoulos (1994) | I remember the day I got my first paycheck. | ฉันจำวันที่ได้เงินเดือนแรกได้ The One with George Stephanopoulos (1994) | I had the most supremely awful day. | วันนี้เป็นวันที่แย่ที่สุดของฉันละค่ะ The One with the East German Laundry Detergent (1994) | A day which generations will talk about for years to come! | วันที่ลูกหลาน จะพูดถึงต่อไปอีกหลาย ๆ ปี The Englishman Who Went Up a Hill But Came Down a Mountain (1995) | Some daу we'll meet again | บางวันที่เราจะได้พบกันอีกครั้ง Snow White and the Seven Dwarfs (1937) | Some daу we'll meet again | บางวันที่เราจะได้พบกันอีกครั้ง Snow White and the Seven Dwarfs (1937) | That the day you went to Edgecombe, you were ill, you didn't know what you were doing. | เมื่อวันที่คุณไปเอดจ์คอมบ์นั้นคุณป่วยอยู่ คุณไม่รู้ว่ากําลังทําอะไรอยู่ Rebecca (1940) | And, what's more, she had the foresight to put a date on it. | หล่อนมองการณ์ไกลเลยลงวันที่ไว้ด้วย Rebecca (1940) | She wrote me the day she died. | หล่อนเขียนถึงฉันวันที่หล่อนตาย Rebecca (1940) | We're trying to discover certain facts concerning the late Mrs. De Winter's activities on the day of her death. | เราพยายามจะสืบหาข้อเท็จจริง เกี่ยวกับกิจกรรมที่อดีตคุณนายเดอ วินเทอร์ ได้ทำในวันที่หล่อนเสียชีวิต Rebecca (1940) | October the 12th, last year. | วันที่ 12 ตุลาคม ของปีที่แล้ว Rebecca (1940) | - Did you say the 12th of October? | - คุณบอกว่าวันที่ 12 ตุลาคม ใช่มั้ยครับ Rebecca (1940) | This is gonna be the hottest day of the year. | นี้จะเป็นวันที่ร้อนที่สุดของปี 12 Angry Men (1957) | At 10 minutes after 12 on the night of the killing, he heard loud noises. | 10 นาทีหลังจากที่ 12 เมื่อคืนวันที่ฆ่าเขาได้ยินเสียงดัง 12 Angry Men (1957) |
| กำหนดชำระเงิน 10 วันจากวันที่ส่งของ | [kamnot chamra ngoen sip wan jāk wanthī song khøng] (xp) EN: payable within 10 days after delivery | เกิดวันที่ | [koēt wanthī] (x) EN: date of birth | ลงวันที่ | [long wanthī] (v, exp) EN: date ; put a date on ; assign a date to FR: dater ; mettre la date sur | ลงวันที่ | [long wanthī] (adj) EN: dated FR: daté du | ภายในวันที่ 10 | [phāinai wanthī sip] (xp) EN: by the tenth | ผู้ที่เกิดวันที่ ... | [phū thī koēt wanthī …] (xp) FR: personnes nées le … (+ date) | ระบุวันที่ | [rabu wanthī] (v, exp) EN: date | วันที่ | [wanthī] (n) EN: date FR: date [ f ] | วันที่หนึ่ง | [wan thī neung] (n, exp) EN: on the first day FR: le premier jour | วันที่ออก | [wan thī øk] (n, exp) EN: date of issue | วันที่ระลึก | [wan thīraleuk] (n, exp) EN: memorial day FR: jour du souvenir [ m ] |
| advent calendar | (n) ปฏิทินชนิดหนึ่งซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลศักดิ์สิทธิ์ของการมาจุติของพระเยซู เริ่มเฉลิมกันในเดือนธันวาคม ซึ่งผู้ใหญ่มักให้เป็นของขวัญแก่เด็กๆ ปฏิทินนี้ประกอบด้วยแผ่นกระดาษสองแผ่นซ้อนทับกัน มีช่องที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อให้เป็นประตูเปิดได้จากกระดาษชั้นบน ประตูเหล่านี้มีตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 24 ธันวาคม ก่อนถึงวันคริสต์มาส ซึ่งแต่ละช่องจะบอกเล่าถึงเรื่องราวของการประสูติของพระเยซู และอาจมีขนม ของขวัญชิ้นเล็กๆซ่อนอยู่ด้วยก็ได้ | epiphany | (n) เป็นวันฉลองเทศกาลที่โหราจารย์ 3 คนจากทิศตะวันออก ได้นำของขวัญมาถวายแก่กุมารเยซู โดยทั่วไปแล้วตรงกับวันที่ 6 มกราคม, See also: Christmas | blow fly | [โบล ไฟล] (n) แมลงวันหัวเขียว, เป็นแมลงวันขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปตามชุมชนที่มีสิ่งปฏิกูลต่างๆ เป็นแมลงวันที่มีสีเขียวหรือสีเขียวแกมน้ำเงินถึงดำ, See also: metallic fly | dry day | (n, slang) วันที่มีการบังคับงดจำหน่ายสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ |
| All Saints Day | (n) วันทางศาสนาเพื่อระลึกถึงนักบุญทั้งหมดคือวันที่ 1 พฤศจิกายน | antedate | (vt) ลงวันที่ก่อนวันจริง, Syn. predate, Ant. postdate | April Fools' Day | (n) วันที่ 1 เมษายน เป็นวันเทศกาลคนโง่ที่ถือว่าเป็นวันสนุกสนานล้อเลียนกันได้ | backdate | (vt) ลงวันที่หลังเช็คหรือเอกสารอื่น (ระบุวันก่อนวันจริง), See also: ลงวันที่ก่อนวันจริง หลังเช็คหรือเอกสารอื่น, Syn. antedate | calendar year | (n) ระยะเวลาหนึ่งปีตามปฏิทิน, See also: ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมจนถึง 31 ธันวาคมในปีเดียวกัน, Syn. civil year | Candlemas | (n) พิธีฉลองของชาวคริสต์ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ (จัดเพื่อระลึกพระแม่มารีและพระบุตรคือพระเยซู) | Christmas | (n) คริสต์มาส, See also: เทศกาลเฉลิมฉลองการเกิดของพระเยซูคริสต์ในวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี, Syn. Christmastime, Christmas Day | finish with | (phrv) กำหนดวัน, See also: ภายในวันที่, Syn. end with | date | (vi) ระบุวันที่, See also: กำหนดวัน, ลงวันที่, Syn. date stamp, mark with a date | date | (n) วันที่, See also: วันเดือนปี, Syn. day of the month | dated | (adj) ซึ่งลงวันที่ (หรือวันเดือนปี), See also: ซึ่งเขียนวันที่ หรือวันเดือนปี, ซึ่งระบุวันที่ หรือวันเดือนปี | epact | (n) ระยะเวลาประมาณ 11 วันที่แสดงถึงความแตกต่างระหว่างปีทางจันทรคติและปีทางสุริยคติ | equinox | (n) ช่วงที่เวลาในตอนกลางวันและกลางคืนเท่ากัน ซึ่งมักจะเกิดในช่วงวันที่ 21 มีนาคมและ 23 กันยายน | Good Friday | (n) วันศุกร์ก่อนวันอีสเตอร์ระลึกถึงวันที่พระเยซูถูกตรึงบนไม้กางเขน | Halloween | (n) ตอนเย็นหรือคืนวันที่ 31 ตุลาคม | ring in the New Year | (idm) ฉลองปีใหม่ตอนเที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม | ides | (n) วันที่ 15 ของเดือนมี.ค. พ.ค., ก.ค, ต.ค (ตามปฏิทินโรมันโบราณ), See also: วันที่ 13 ของเดือนอื่นๆ ในปี | leap year | (n) ปีที่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์, See also: ปีอธิกสุรทิน | market day | (n) วันที่มีตลาดนัด | Memorrial Day | (n) วันรำลึกถึงทหารอเมริกาที่ตายในสงคราม (วันที่ 30 พ.ค) | Midsummer's Day | (n) วันที่ 24 มิถุนายนทางทิศเหนือของโลก | offday | (n) วันที่ไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ดีเหมือนปกติ | on | (prep) ใน (ใช้กับวัน, วันที่, โอกาส) | postdate | (vt) ลงวันที่ช้ากว่าวันจริง, Syn. overdate, date after | predate | (vt) ลงวันที่ไว้ล่วงหน้า, Syn. antedate, misdate | puff | (n) ลมหรือควันที่พัดมา, Syn. whiff, quick blast | rainy day | (n) วันที่มีฝนตกมาก | run from | (phrv) เริ่มต้น (วันที่), Syn. run to | seventh-day | (adj) เกี่ยวกับวันที่เจ็ดของสัปดาห์, See also: หมายถึง วันเสาร์ซึ่งเป็นวันพักผ่อนและวันสำคัญทางศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ | sizzler | (n) วันที่ร้อนมาก (คำไม่เป็นทางการ) | V-E Day | (n) วันประกาศชัยชนะของพันธมิตรต่อเยอรมันในยุโรป, See also: ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตรงกับวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ.1945 | Veterans Day | (n) วันทหารผ่านศึกตรงกับวันที่ 11 พ.ย ของทุกปี, Syn. Armistice Day | V-J Day | (n) วันที่ญี่ปุ่นยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2, See also: ซึ่งตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1945 | watch night | (n) พิธีทางศาสนาในคืนส่งท้ายปีเก่า, See also: ตรงกับคืนวันที่ 31 ธันวาคม ตามนิกายโปรแตสแตนท์ | winter solstice | (n) วันที่มีกลางวันสั้นที่สุด ทางซีกโลกเหนือ (วันที่ 22 ธันวาคม), Ant. summer solstice | World War I | (n) สงครามโลกครั้งที่ 1, See also: เริ่มเมื่อ 28 พฤษภาคม ค.ศ.1914 จนถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ.1918 |
| all saints' day | วันทางศาสนาที่ระลึกถึงนักบุญทั้งหมด คือวันที่ พฤศจิกายน. Allhallows | all souls' day | วันสวดมนต์สำหรับคนตายทั้งหมดมักเป็น วันที่ 2 พฤศจิกายน | antedate | (แอน' ทิเดท) n., vt. การลงวันที่ก่อนวันจริง, การมาก่อน, การทำให้เกิดก่อน, การเร่ง, การกระทำหรือมีล่วงหน้า (antecede, precede) | april fools'day | วันที่ 1 เมษายนเป็นวันเทศกาลคนโง่ที่ถือว่าเป็นวันสนุกสนานล้อเลียนกันได้., Syn. All Fools'Day | ascension day | วันที่ 40 หลัง Easter เป็นวันขึ้นสวรรค์ของพระเยซูคริสต์, Holy Thursday | bastille | (เบสทีล') n. คุกและป้อมปราการที่ขังนักโทษการเมืองในกรุงปารีส และถูกพวกกบฏยึดได้เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789, คุก, ป้อมปราการ, Syn. bastile | columbus day | n. วันที่12ตุลาคม | corvee | (คอร์เว') n. แรงงานหนึ่งวันที่ไม่ได้รับการจ่ายเงิน | date | (เดท) { dated, dating, dates } n. วันที่, วันเดือนปี, วันนัด, การนัด, ผู้ถูกนัดหมาย (เพศตรงข้าม) , อายุ, ยุคสมัย v. ระบุวันที่, เป็นของยุคสมัย, นัดหมาย, ล้าสมัย, ออกไปพบตามนัด, ผลอินผลัม, date palm (ดู), See also: datable adj. ดูdate dateable adj. ดูdate data | dated | (เด'ทิด) adj. ซึ่งแสดงวันที่ (หรือวันเดือนปี), Syn. passe | dateless | (เดท'ลิส) adj. ไม่มีวันที่ (หรือวันเดือนปี) , เก่ามากจนไม่รู้วันเดือนปี, ยุคโบราณกาล, ไร้เพื่อน, | diesnon | n. วันที่ศาลไม่สามารถพิจารณาคดี | dog days | n. วันที่ร้อนอบอ้าว, ฤดูร้อน | doomsday | (ดูมซ'เดย์) n. วันโลกาวินาศ, วาระสุดท้าย, วันที่พระเจ้าพิพากษามนุษย์ทั้งหลายในโลก, Syn. domesday, Judgment Day | equinox | (อี'ควะนอคซฺ) n. เวลาที่ดวงอาทิตย์โคจรรอบเส้นศูนย์สูตรทำให้มีกลางวันเท่ากับกลางคืน/เกิดขึ้นในราววันที่ 21 มีนาคม (vernal equinox) กับวันที่22กันยายน (autumnal equinox) | field day | วันเล่นกีฬา, วันปิกนิก, วันรื่นเริง, วันฝึกซ้อมสนาม, วันที่มีการแสดงบนสนาม | friday | (ไฟร'เดย์) n. วันศุกร์, วันที่ 6 ของสัปดาห์ | halloween | (แฮล'ละวีน) n. ตอนเย็นหรือคืนวันที่31 ตุลาคม เป็นวันเล่นสนุกสนานเพลิดเพลินสำหรับเด็ก ๆ | hallowmas | (แฮล'โลมัส) n. การเลี้ยงเฉลิมฉลองในวันที่ 1 พฤศจิกายนของศาสนาคริสต์เป็นวันนักบุญทั้งหลาย | hard space | (ฮาร์ดสเปซ) หมายถึงที่ว่างที่ถือเสมือนไม่ใช่ที่ว่าง ใช้เฉพาะในโปรแกรมประมวลผลคำ ในกรณีที่พิมพ์คำบางคำที่มีที่ว่างระหว่างคำ เช่น World War II หรือ พิมพ์วันที่ เช่น May 7 เช่นนี้ ถ้าบังเอิญพิมพ์คำนี้มาถึงปลายบรรทัด แต่ไม่มีที่ว่างพอจะพิมพ์ทั้งคำ คอมพิวเตอร์จะแยกนำคำหลังช่องว่างมาขึ้นบรรทัดใหม่ ซึ่งจะเป็นการไม่ถูกต้อง เราจึงต้องกำหนดให้ที่ว่างที่เห็นนั้นเป็นฮาร์ดสเปซ เพื่อให้โปรแกรมไม่แยกเป็นคนละบรรทัด ถ้าที่ไม่พอในบรรทัดบน ก็จะนำลงมาบรรทัดใหม่ทั้งคำ | harvest moon | วันเพ็ญในฤดูเก็บเกี่ยวคือวันพระจันทร์เต็มดวงครั้งแรกหลังวันที่22กันยายน | inauguration day | วันเข้ารับตำแหน่งเป็นทางการของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (วันที่ 20 มกราคม หลังจากได้รับเลือกตั้ง) | julian | (จูล'เยิน) adj. เกี่ยวกับหรือมีลักษณะของจูเลียส ซีซาร์ จูเลียน <คำอ่าน>เป็นวิธีคิดคำนวณวันที่อย่างง่าย ๆ วิธีหนึ่ง ระบบจูเลียนนี้กำหนดให้ทุก ๆ วันมีหมายเลขเฉพาะ เช่น วัน 1 แทนวันที่ 1 มกราคม เมื่อ 4713 ปีก่อนคริสตศักราช วัน 2448299 ก็แทนวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1991 เป็นต้น | new year's day | n. วันที่ 1 มกราคม | new year's eve | n. คืนวันที่ 31 ธันวาคม | on | (ออน) prep., adv. บน, ที่, ตาม, ณ, ในเวลาที่, ในขณะที่, ในวันที่, เกี่ยวกับ, อยู่ในสถานการณ์, ในเรื่อง, โดย, อาศัย, ทันทีหลังจาก, ไปสู่, ไปทาง, ติดกัน, ประชิด, ประจำ adj. เปิดอยู่, ใช้อยู่, ซึ่งกำลังเกิดขึ้น, ตามแผน, ตามกำหนด n. ความเป็นอยู่, สถานการณ์, ด้านข้าง -Phr. (on and off บางครั้งบางคราวเป็นช่วง ๆ) | postdate | (โพสทฺเดท') vt. ลงวันที่ช้ากว่าวันจริง n. วันที่ที่ลงช้ากว่าความจริง | pother | (พอธ'เธอะ) n., v. (ทำให้เกิด, กลาย) เสียงโกลาหล, ความอึกทึกครึกโครม, ความยุ่งเหยิง, กลุ่มควันที่ตลบ. | predate | (พรีเดท') vt. ลงวันที่ไว้ล่วงหน้า, ลงเวลาไว้ก่อน | rainy day | เวลาขัดสน, วันที่มีฝนตก | sabbath | (แซบ'บัธ) n. วันที่7ของสัปดาห์หรือวันเสาร์ (สำหรับชาวยิว) , วันแรกของสัปดาห์หรือวันอาทิตย์ (สำหรับคริสเตียนทั่วไป) | saint patrick's day | n. วันที่17มีนาคมเป็นวันระลึกถึงนักบุญ. St. Patrick ของไอร์แลนด์ | saint valentine's day | n. วันที่14กุมภาพันธ์เป็นวันระลึกถึงนักบุญSt. Valentine เป็นวันที่มีการส่งสารแห่งความรักซึ่งกันและกัน | saturday | (แซท'เทอเดย์) n. วันเสาร์, วันที่ 7 ของสัปดาห์ | seventh-day | (เซฟ'เวินเด) adj. เกี่ยวกับวันที่เจ็ดของสัปดาห์ , วันเสาร์ | smoulder | (สโมล'เดอะ) vi. ใช้ไฟอ่อน ๆ , อบหรือเผาโดยไม่มีเปลวไฟ, คุ, ระอุ, อัดอั้นในใจ, กรุ่นอยู่ในใจ. n.. ควันที่พ่นโขมงที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์, ไฟที่คุกรุ่น., Syn. smoulder | smudge | (สมัดจฺ) n., vi., vt. (ทำ, เกิด) รอยเปื้อน, รอยเปรอะ, รอยด่างพร้อย, ควันที่ทำให้หายใจลำบาก, ควันไล่แมลง., See also: smudgedly adv. smudgeless adj., Syn. soil, smear, stain, smutch | solstice | (ซอล'สทิส) n. ระยะเวลาของปีที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากที่สุด (ในราววันที่ 21 มิถุนายน และ 22 ธันวาคม), จุดที่ถึง, จุดสุดยอด, จุดที่สุด, Syn. furthiest, point | thursday | (เธอซ'เด) n. วันพฤหัสบดี, วันที่ 5 ของสัปดาห์ | week | (วีค) n. สัปดาห์, อาทิตย์ adv. เป็นเวลา7วันก่อนหรือหลังวันที่กำหนดให้ |
| commemorate | (vt) ฉลองวันที่ระลึก, เป็นอนุสรณ์ | date | (n) วันที่, ยุค, สมัย, อายุ, วันเดือนปี, อินทผลัม | date | (vt) ลงวันที่, กำหนดวันที่, ระบุวันที่, นัดหมาย, ล้าสมัย | dateless | (adj) ไม่ได้ลงวันที่, ไม่มีวันที่, ไม่มีวันสิ้นสุด, ไม่มีวันหมดอายุ | eighth | (n 1 ใน) 8, วันที่แปด, อันดับที่แปด | eleventh | (n 1 ใน) 11, ลำดับที่สิบเอ็ด, วันที่สิบเอ็ด | equinox | (n) วันที่กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน | fifteenth | (n 1 ใน 15, วันที่ 15, อันดับที่) 15 | fifth | (n 1 ใน 5, วันที่ 5, อันดับที่) 5 | first | (n) ตอนแรก, ชั้นหนึ่ง, วันที่หนึ่ง, ประการแรก, อันดับหนึ่ง | predate | (vt) เกิดขึ้นก่อน, ลงวันที่ล่วงหน้า, ลงเวลาไว้ก่อน | third | (n 1 ใน) 3, วันที่สาม | thirteenth | (n) วันที่สิบสาม | thirtieth | (n) วันที่สามสิบ | twelfth | (n) คนที่สิบสอง, วันที่สิบสอง | twentieth | (n) คนที่ยี่สิบ, วันที่ยี่สิบ |
| alhambra decree | (n) พระราชประกาศอาลัมบรา เป็นพระราชประกาศที่ออกโดยสมเด็จพระราชินีนาถอิสซาเบลลาแห่งสเปน และสมเด็จพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 2 แห่งอาราอน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1492 เพื่อขับไล่ชาวยิวออกจากสเปน (wikipedia.org), Syn. Edict of Expulsion | Constitution Day | [คอนส-ติ-ติว-ฌัน เดย์] (n) วันรัฐธรรมนูญของไทย ซึ่งตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี, See also: ประชาธิปไตย Image: | father's day | [ฟาเธอร์ส เดย์] (n) วันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราช รัชกาลที่ 9 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ถือเป็นวันพ่อแห่งชาติด้วย, See also: A. Mother's Day, HM the Queen Sirikit's Birthday, Syn. HM the King Bhumipol's Birthday | girls' generation | [เกิล'ส เจเนอเรชั่น] (name, uniq) ศิลปินกลุ่มหญิงสัญชาติเกาหลีใต้จากสังกัดค่าย SM Entertainment มีสมาชิกทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย แทยอน, เจสสิก้า, ซันนี่, ทิฟฟานี่, ฮโยยอน, ยูริ, ซูยอง, ยุนอา และ ซอฮยอน เริ่มต้นเปิดตัวเข้าสู่วงการเพลงเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ด้วยซิงเกิ้ลเปิดตัว Into the New World (다시 만난 세계, Dasi Mannan Segye) ในรายการเพลง Inkigayo ทางสถานีโทรทัศน์ SBS | record date | (n) วันที่จดทะเบียนผู้ถือหุ้น, วันที่ผู้ถือหุ้นที่มีชื่อปรากฏในทะเบียนผู้ถือหุ้น | retention date | (n) วันที่ปรับลดอัตราดอกเบี้ย | SNSD | [โซ นยอ ชิ แด] (abbrev, uniq) ศิลปินกลุ่มหญิงสัญชาติเกาหลีใต้จากสังกัดค่าย SM Entertainment มีสมาชิกทั้งหมด 9 คน ประกอบด้วย แทยอน, เจสสิก้า, ซันนี่, ทิฟฟานี่, ฮโยยอน, ยูริ, ซูยอง, ยุนอา และ ซอฮยอน เริ่มต้นเปิดตัวเข้าสู่วงการเพลงเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ด้วยซิงเกิ้ลเปิดตัว Into the New World (다시 만난 세계, Dasi Mannan Segye) ในรายการเพลง Inkigayo ทางสถานีโทรทัศน์ SBS, See also: 소녀시대, Syn. Girls' Generation | value date | (n) วันที่มีการส่งมอบ, วันที่มีผล | เป็นแฟนกันมั้ย | เป็นเพลง เพราะๆ ที่ มีเด็กสาวคนนึง ร้องไ ชายหนุ่มฟัง ทั้ง2 ซึ้งมากมาย โอ้วๆๆๆ ซึ้งมากมาย เพราะๆๆๆๆจับใจ ในคืนวันที่ 12/10/08 maday Tomahawk | เป็นแฟนกันมั้ย | เป็นเพลง เพราะๆ ที่ มีเด็กสาวคนนึง ร้องให้ ชายหนุ่มฟัง ทั้ง2 ซึ้งมากมาย โอ้วๆๆๆ ซึ้งมากมาย เพราะๆๆๆๆจับใจ ในคืนวันที่ 12/10/08 maday Tomahawk | แฟนกันมั้ย | เป็นเพลง เพราะๆ ที่ มีเด็กสาวคนนึง ร้องให้ ชายหนุ่มฟัง ทั้ง2 ซึ้งมากมาย โอ้วๆๆๆ ซึ้งมากมาย เพราะๆๆๆๆจับใจ ในคืนวันที่ 12/10/08 maday Tomahawk |
| 〜日 | [〜にち, ~ nichi] (n) วันที่...ของเดือน (ใช้สำหรับวันที่ 11 ขึ้นไป ยกเว้นวันที่ 14, 20, 24), ...วัน | 一日 | [ついたち, tsuitachi] (n) วันที่หนึ่งของเดือน | 七日 | [なのか, nanoka] (n) วันที่เจ็ดของเดือน, เจ็ดวัน | 三日 | [みっか, mikka] (n) วันที่สามของเดือน, สามวัน | 九日 | [ここのか, kokonoka] (n) วันที่เก้าของเดือน, เก้าวัน | 二十四日 | [にじゅうよっか, nijuuyokka] (n) วันที่ 24 ของเดือน, 24 วัน | 二十日 | [はつか, hatsuka] (n) วันที่ 20 ของเดือน, 20 วัน | 二日 | [ふつか, futsuka] (n) วันที่สองของเดือน, สองวัน | 五日 | [いつか, itsuka] (n) วันที่ห้าของเดือน, ห้าวัน | 八日 | [ようか, youka] (n) วันที่แปดของเดือน, แปดวัน | 六日 | [むいか, muika] (n) วันที่หกของเดือน, หกวัน | 十四日 | [じゅうよっか, juuyokka] (n) วันที่ 14 ของเดือน, 14 วัน | 十日 | [とうか, touka] (n) วันที่สิบของเดือน, สิบวัน | 四日 | [よっか, yokka] (n) วันที่สี่ของเดือน, สี่วัน |
| クリスマスイブ | [よっか, kurisumasuibu] (n, name) วันคริสต์มาสอีฟ (วันที่ 24 ธ.ค. ก่อนวันคริสต์มาสต์ 1 วัน) | 期日 | [きじつ, kijitsu] วันที่กำหนด | 満期日 | [まんきじつ, mankijitsu] (n) วันที่ครบกำหนด |
| 二日 | [ふつか, futsuka] TH: วันที่สอง EN: second day of the month | 日付 | [ひづけ, hiduke] TH: วันที่ EN: date | 日付 | [ひづけ, hiduke] TH: การลงวันที่ EN: dating | 十日 | [とうか, touka] TH: วันที่สิบ EN: the tenth of month | 24日 | [にじゅうよっか, nijuuyokka] TH: วันที่24 EN: the twenty fourth | 一日 | [ついたち, tsuitachi] TH: วันที่หนึ่งของเดือน EN: first day of month | 十日 | [とおか, tooka] TH: วันที่สิบของเดือน EN: 10th |
| Datum | (n) |das, pl. Daten| วันที่ เช่น Welches Datum haben wir heute? - Heute ist der 27. Oktober 2001. (วิธีการบอกวันที่เป็นภาษาเยอรมันโดยทั่วไป - Das Sommersemester fängt am 15.04 an., การบอกวันที่ในจดหมาย - den 12 Oktober 2003) | Abzug | (n) |der, pl. Abzüge| เครื่องดูดควันที่ใช้ในครัวและห้องทดลองเคมี | Geburtsdatum | (n) |das, pl. Geburtsdaten| วันที่เกิด | Stempel | (n) |der, pl. Stempel| ตรายางที่ใช้ปั๊มหรือประทับตราวันที่หรือชื่อลงบนกระดาษ | Datumsstempel | (n) |der, pl. Datumsstempel| ตราประทับวันที่, ตรายางที่ใช้ประทับตราวันที่ | von | (prep) |+D บ่งเวลาหรือวันที่| ของ(วันนี้), จาก(วันนี้) เช่น Das Essen ist von heute. อาหารนี่เป็นของวันนี้, von heute bis morgen จากวันนี้ถึงพรุ่งนี้, vom 27. Oktober bis heute จากวันที่ยี่สิบเจ็ดถึงวันนี้ | zu | (prep) |+ D| ตอน, ถึงช่วง, สำหรับช่วง (ใช้บ่งช่วงเวลา) เช่น Gedichte zu Weihnachten บทกลอนสำหรับช่วงคริสต์มาส, Bitte melden Sie sich bis zum 31. Mai an. กรุณาลงทะเบียนภายในวันที่ 31 พฤษภาคม, zu Beginn | Adventskalender | (n) |der, pl. Adventskalender| ปฏิทินชนิดหนึ่งซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลศักดิ์สิทธิ์ของการมาจุติของพระเยซู เริ่มเฉลิมกันในเดือนธันวาคม ซึ่งผู้ใหญ่มักให้เป็นของขวัญแก่เด็กๆ ปฏิทินนี้ประกอบด้วยแผ่นกระดาษสองแผ่นซ้อนทับกัน มีช่องที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อให้เป็นประตูเปิดได้จากกระดาษชั้นบน ประตูเหล่านี้มีตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 24 ธันวาคม ก่อนถึงวันคริสต์มาส ซึ่งแต่ละช่องจะบอกเล่าถึงเรื่องราวของการประสูติของพระเยซู และอาจมีขนม ของขวัญชิ้นเล็กๆซ่อนอยู่ด้วยก็ได้ |
| Noël | |m, ปกติใช้โดยไม่มีการระบุเพศ| วันคริสต์มาส เช่น 1. Noël est le 25 décembre. คริสมาสต์คือวันที่ 25 ธันวาคม 2. Bon Noël! หรือ Joyeux Noël! สุขสันต์วันคริสต์มาส Image: | beau, beaux, bel, belle | (adj) |m. หน้าสระและ h ที่ไม่ออกเสียง bel, f. belle, m/pl. beaux| สวย, งาม เช่น un bel hôtel โรงแรมที่สวยดูดี, un beau jour วันที่สวยงาม, Ant. laid, mal | poisson d'avril | (phrase) เรื่องโกหกหรือเรื่องขำขันที่นำมาเล่นหลอกกันในวันที่ 1 เมษายน | calendrier de l'Avent | (n) |m| ปฏิทินชนิดหนึ่งซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลศักดิ์สิทธิ์ของการมาจุติของพระเยซู เริ่มเฉลิมกันในเดือนธันวาคม ซึ่งผู้ใหญ่มักให้เป็นของขวัญแก่เด็กๆ ปฏิทินนี้ประกอบด้วยแผ่นกระดาษสองแผ่นซ้อนทับกัน มีช่องที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อให้เป็นประตูเปิดได้จากกระดาษชั้นบน ประตูเหล่านี้มีตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 24 ธันวาคม ก่อนถึงวันคริสต์มาส ซึ่งแต่ละช่องจะบอกเล่าถึงเรื่องราวของการประสูติของพระเยซู และอาจมีขนม ของขวัญชิ้นเล็กๆซ่อนอยู่ด้วยก็ได้ |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |