กุลบุตร | (กุนละ-) น. ลูกชายผู้มีตระกูล. |
เกาะชายผ้าเหลือง | ก. พึ่งพาผลบุญจากผู้ที่บวชเป็นพระภิกษุสามเณร เช่น ถ้ามีลูกชายก็จะได้บวชให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลือง. |
งัว ๒, งั่ว ๑ | น. ลูกชายคนที่ ๕. |
จ๋ง | น. เรียกลูกชายคนที่ ๑๐ ว่า ลูกจ๋ง, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๑๐ ว่า ลูกอัง. |
เจ็ด | เรียกลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๗ ว่า ลูกเอก. |
เจา | น. เรียกลูกชายคนที่ ๙ ว่า ลูกเจา, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๙ ว่า ลูกเอา. |
ญี่ | น. สอง, เรียกลูกชายคนที่ ๒ ว่า ลูกญี่, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๒ ว่า ลูกอี่. |
ดนยะ, ดนัย | (ดะนะยะ, ดนนะยะ, ดะไน) น. ลูกชาย. |
ตนัย | (ตะไน) น. ลูกชาย. |
นัดดา | น. หลาน (ลูกของลูกชายหรือลูกสาว). |
นิง | น. ลูกชายคนที่ ๑๑, นึง ก็ว่า. |
นึง | น. ลูกชายคนที่ ๑๑, นิง ก็ว่า. |
บุตร, บุตร- | (บุด, บุดตฺระ-) น. ลูก, ลูกชาย. |
บุตรา | (บุดตฺรา) น. ลูก, ลูกชาย. |
เป็นหน้าเป็นตา | ว. เป็นที่เชิดหน้าชูตา เช่น บ้านนี้มีลูกชายเก่งและขยัน เป็นหน้าเป็นตาของวงศ์ตระกูล. |
ลก | เรียกลูกชายคนที่ ๖ ว่า ลก, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๖ ว่า อก. |
ลูกสะใภ้ | น. หญิงซึ่งเป็นเมียของลูกชาย. |
สะใภ้ | น. หญิงที่มาแต่งงานกับญาติผู้ชาย, เมียของญาติ, เช่น ถ้าเป็นเมียของลูกชาย เรียก ลูกสะใภ้ ถ้าเป็นเมียของลุง เรียก ป้าสะใภ้, (ปาก) ตะใภ้. |
สุต ๑ | (สุด) น. ลูกชาย (มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส). |
ไส ๒ | น. เรียกลูกชายคนที่ ๔ ว่า ลูกไส. |
หน่อ | ลูก, ลูกชาย, เชื้อสาย |
อก ๓ | ว. หก, (โบ) เรียกลูกหญิงคนที่ ๖ ว่า ลูกอก, คู่กับ ลูกชายคนที่ ๖ ว่า ลูกลก. |
อ้าย ๑ | น. เรียกลูกชายคนที่ ๑ ว่า ลูกอ้าย, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๑ ว่า ลูกเอื้อย. (สามดวง) |
อี่ | น. สอง, เรียกลูกสาวคนที่ ๒ ว่า ลูกอี่, คู่กับ ลูกชายคนที่ ๒ ว่า ลูกญี่. |
เอก, เอก- | น. เรียกลูกหญิงคนที่ ๗ ว่า ลูกเอก, คู่กับลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด. (กฎ.). |
เอา ๒ | น. เรียกลูกหญิงคนที่ ๙ ว่า ลูกเอา, คู่กับ ลูกชายคนที่ ๙ ว่า ลูกเจา. |
โอรส | (-รด) น. ลูกชาย (ใช้แก่เจ้านาย) ใช้ว่า พระราชโอรส หรือ พระโอรส. |