ลักษณนาม | น. คำนามที่แสดงลักษณะของสิ่งต่าง ๆ เช่น คน ๓ คน แมว ๒ ตัว ขลุ่ย ๓ เลา ลูกคนโต หมวกใบใหญ่. |
กร้วม | ลักษณนามเรียกอาการที่ถูกชกว่า กร้วม เช่น ชกกร้วมเดียวก็ลงไปนอนแล้ว. |
กระจกเงา | น. แผ่นกระจกฉาบด้านหลังด้วยแผ่นบาง ๆ ของโลหะเงินหรือโลหะเจือปรอทแล้วทาสีทับ ใช้สำหรับส่องหน้าเป็นต้น, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กระจก, ลักษณนามว่า บาน, ราชาศัพท์ว่า พระฉาย |
กระจุก | น. สิ่งที่รวมกันอยู่เป็นกลุ่ม, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดรวมกันเป็นกลุ่ม เช่น หอม ๒ กระจุก กระเทียม ๓ กระจุก. |
กระแชง ๑ | น. เครื่องบังแดดฝน โดยนำใบเตยหรือใบจากเป็นต้นมาเย็บเป็นแผง, ลักษณนามว่า ผืน (เทียบ ม. กระชัง ว่า แผงสำหรับคลุมเรือหรือรถ เย็บด้วยใบไม้) |
กระดาน ๑ | ลักษณนามเรียกการแข่งขันที่เดินบนตากระดานซึ่งถึงที่สุดแล้ว เช่น เล่นหมากรุกชนะ ๒ กระดาน |
กระทง ๑ | ลักษณนามของความผิดอาญาแต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทำความผิดแต่ละกรรมหรือแต่ละครั้งนั้นถือว่าเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้งก็เป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง ๆ |
กระบอก ๑ | ลักษณนามบอกสัณฐาน สำหรับใช้กับของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก |
กระบุง | น. ภาชนะสานทึบรูปกลมสูง พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยม, ลักษณนามใช้เปรียบเทียบในความหมายว่า มาก เช่น เขาบ่นไม่รู้กี่กระบุง. ว. มาก เช่น เขาระเบิดความในใจออกมาเป็นกระบุง. |
กระบุงโกย | ว. จำนวนมาก เช่น มีข้าวของเป็นกระบุงโกย.น. ลักษณนามใช้เปรียบเทียบในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น จะไปต่างจังหวัดแค่ ๒ วัน ขนเสื้อผ้ามาตั้งกี่กระบุงโกย. |
กระเบื้อง ๑ | ลักษณนามเรียกจำนวนข้าวเม่าเป็นต้นที่คั่วครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ข้าวเม่ากระเบื้องหนึ่ง งา ๒ กระเบื้อง. |
กระแบะ ๓ | น. ลักษณนามใช้เรียกฝาเรือนทรงไทยที่แยกออกได้เป็นส่วน ๆ. |
กระป๋อง | น. ภาชนะทำด้วยเหล็กวิลาดหรือสังกะสีเป็นต้น มักมีรูปเป็นทรงกระบอก สำหรับบรรจุของต่าง ๆ เช่น กระป๋องนม กระป๋องน้ำ กระป๋องแป้ง, ลักษณนามว่า ใบ, ลูก. |
กระปุก | น. ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาหรือแก้วเป็นต้น รูปป้อม ๆ เตี้ย ๆ ขนาดเล็ก โดยมากปากแคบ ก้นสอบ, ลักษณนามเรียกทะลายของผลระกำหรือผลจาก เช่น ผลระกำกระปุกหนึ่ง ผลจาก ๒ กระปุก. |
กรึ๊บ | (กฺรึ๊บ) ว. เสียงเกิดจากการกลืนของเหลวเช่นเหล้าอย่างรวดเร็ว, ลักษณนามเรียกการดื่มเหล้าอึกหนึ่ง ๆ ด้วยอาการอย่างนั้น เช่น ดื่มเหล้ากรึ๊บหนึ่ง ดื่มเหล้า ๒ กรึ๊บ. |
กลม ๒ | ลักษณนามเรียกจำนวนเหล้าบางประเภทที่บรรจุในขวดกลม เช่น เหล้ากลมหนึ่ง เหล้า ๒ กลม. |
กลอง | (กฺลอง) น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ขึงด้วยหนัง ใช้ตีบอกสัญญาณ กำกับจังหวะ หรือใช้ตีร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ตัวกลองเรียกว่า “หุ่น” ลักษณะกลมกลวงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะริด ไม้มะม่วง มีทั้งหน้าเดียวและ ๒ หน้า ที่ขึ้นหนังหน้าเดียว เช่น โทน กลองยาว รำมะนา ที่ขึ้นหนัง ๒ หน้า เช่น กลองทัด ตะโพน เปิงมาง กลองแขก กลองมลายู กลองชนะ การขึ้นหนังมีทั้งที่ใช้หมุดตรึงให้แน่น และใช้โยงเร่งเสียงด้วยสายหนัง เรียกว่า หนังเรียด หรือใช้หวายหรือลวด ยังมีกลองที่หล่อด้วยโลหะทั้งลูก แต่มิได้ขึงด้วยหนัง ก็มี เช่น มโหระทึก และกลองที่ทำด้วยดินเผา การตีกลองอาจใช้ไม้ตี มือ (ฝ่ามือ) หรือนิ้ว เพื่อให้เกิดเสียงดังก้อง, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก. |
กลีบ | ลักษณนามของสิ่งที่เป็นกลีบ เช่น กระเทียม ๒ กลีบ. |
กลุ่ม | ลักษณนามเรียกของที่เป็นกลุ่ม เช่น ด้าย ๓ กลุ่ม แบ่งนักเรียนเป็น ๕ กลุ่ม กลุ่มละ ๓ คน. |
ก้อน | ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน |
กอบ | น. เรียกของที่กอบขึ้นครั้งหนึ่ง ๆ ว่า กอบหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกปริมาณของของที่กอบขึ้นมาเช่นนั้น เช่น ทรายกอบหนึ่ง ข้าวสาร ๒ กอบ |
ก๊อบปี้ | ลักษณนามเรียกสำเนาหนังสือ เช่น ก๊อบปี้หนึ่ง สำเนา ๒ ก๊อบปี้. ก. ทำสำเนา, คัดลอก, เช่น คุณก๊อบปี้งานในเอกสารนี้ด้วย, ลอก, เลียน, เช่น อย่าก๊อบปี้งานของคนอื่น. |
กะบิ้ง | น. ของที่เป็นแผ่นเล็ก ๆ, ลักษณนามบอกสัณฐานสำหรับที่ดินน้อย ๆ แปลงหนึ่ง ๆ ว่า กะบิ้งหนึ่ง ๆ. |
กังหัน | ชื่อดอกไม้ไฟชนิดที่จุดแล้วหมุนอย่างกังหัน, ลักษณนามว่า ต้น. |
กัณฑ์ | (กัน) น. ข้อความที่แต่งเป็นคำเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่จบลงคราวหนึ่ง ๆ, ตอนหนึ่ง ๆ ของคำเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์, ลักษณนามของเทศน์ เช่น เทศน์กัณฑ์หนึ่ง เทศน์ ๒ กัณฑ์ |
กับ ๔ | ลักษณนามเรียกใบลานประมาณ ๘๐๐ ใบ ซึ่งจัดเข้าแบบสำหรับไว้จารหนังสือ. |
กา ๓ | น. ภาชนะสำหรับใส่นํ้าหรือต้มนํ้า มีพวย และมีหูสำหรับหิ้วหรือจับ, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก. |
ก้าว | ก. ยกเท้าเคลื่อนไปวางข้างหน้าหรือข้างหลัง เช่น วันนี้เดินซื้อของทั้งวัน เหนื่อยจนก้าวขาไม่ออก, ยกเท้าเคลื่อนไปวางข้างหน้าหรือข้างหลังแล้วยกอีกเท้าหนึ่งตาม เช่น ก้าวออกมาข้างหน้า ๑ ก้าว. น. ระยะทางชั่วยกเท้าเคลื่อนไปวางข้างหน้าหรือข้างหลังแล้วยกอีกเท้าหนึ่งตาม, ลักษณนามเรียกระยะทางชั่วยกเท้าเคลื่อนไปวางข้างหน้าหรือข้างหลังแล้วยกอีกเท้าหนึ่งตาม เช่น เดินได้ ๕ ก้าว. |
กำ ๑ | ลักษณนามเรียกผักหรือหญ้าที่มัดไว้ เช่น ผักกำหนึ่ง หญ้า ๒ กำ. |
กิ่ง | ลักษณนามเรียกงาช้างว่า กิ่ง |
กุลี ๓ | ลักษณนามบอกปริมาณ คือผ้าห่อหนึ่งที่รวมกัน ๒๐ ผืน (ใช้แก่ผ้าลาย ผ้าพื้น ผ้าขาวม้า และโสร่ง เป็นต้น). |
กูบ | น. ประทุนหลังช้าง, ประทุนรถเช่นรถม้าที่มีรูปโค้ง, ลักษณนามว่า หลัง. |
เกม ๑ | น. การแข่งขันที่มีกติกากำหนด เช่น เกมกีฬา, การเล่นเพื่อความสนุก เช่น เกมคอมพิวเตอร์, การแสดงเพื่อสาธิตกิจกรรม เช่น เกมการบริหาร, โดยปริยายหมายถึงการแสดงที่ใช้กลวิธีหรือเล่ห์เหลี่ยมเพื่อหักล้างกัน เช่น เกมการเมือง, ลักษณนามเรียกการแข่งขันหรือการเล่นที่จบลงด้วยการแพ้ชนะกันครั้งหนึ่ง ๆ เช่น เล่นแบดมินตัน ๓ เกม. |
เกวียน | (เกฺวียน) น. ยานชนิดหนึ่ง มีล้อ ๒ ล้อ ใช้ควายหรือวัวเทียม, ลักษณนามว่า เล่ม |
เก้าอี้ | น. ที่สำหรับนั่ง มีขาและพนักพิง มักยกย้ายไปมาได้ มีหลายชนิด, ถ้ามีรูปยาวใช้นอน เรียกว่า เก้าอี้นอน, ถ้าใช้โยกได้ เรียกว่า เก้าอี้โยก, ลักษณนามว่า ตัว. |
เกือก | น. รองเท้า, ลักษณนามว่า คู่ หรือ ข้าง, ราชาศัพท์ว่า รองพระบาท หรือ ฉลองพระบาท. |
โกร่ง ๑ | (โกฺร่ง) น. เครื่องบดยารูปคล้ายครกหรือถ้วย มีสากสำหรับบดให้ละเอียด, ลักษณนามว่า ใบ |
ขด ๑ | น. สิ่งที่เป็นวง ๆ, ลักษณนามเรียกของที่เป็นวง ๆ เช่นนั้น เช่น เชือก ๓ ขด. |
ขนมจีน | (ขะหฺนม-) น. อาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเป็นเส้นกลม ๆ คล้ายเส้นหมี่ กินกับนํ้ายา นํ้าพริก เป็นต้น, ลักษณนามว่า จับ หรือ หัว เช่น ขนมจีน ๕ จับ หรือ ขนมจีน ๕ หัว. |
ขนัด | ลักษณนามใช้เรียกสวนที่มีคันดินกั้นเป็นตอน ๆ เช่น สวนขนัดหนึ่ง สวน ๒ ขนัด. |
ขนาน ๑ | ลักษณนามเรียกยาที่ปรุงขึ้น เช่น ยาขนานหนึ่ง ยา ๒ ขนาน. |
ขมวด | (ขะหฺมวด) น. ลักษณนามเรียกของที่ขมวดอย่างนั้น เช่น หัวหอม ๔ ขมวด. |
ขลุ่ย | (ขฺลุ่ย) น. ชื่อเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า มักทำจากไม้รวก ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง งาช้าง ปัจจุบันใช้วัสดุอื่นก็มี เช่น พลาสติก เจาะรูตามยาวมีระยะห่างพอควร สำหรับเอานิ้วปิดและเปิดให้เป็นเพลงเมื่อเป่า, มีหลายชนิด เช่น ขลุ่ยอู้ ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ, ลักษณนามว่า เลา. |
ขวด | น. ภาชนะกลวงใน โดยมากทำด้วยแก้ว รูปสูง มักมีคอหรือปากแคบ สำหรับบรรจุของเหลวเป็นต้น, ลักษณนามว่า ใบ. |
ขวบ | น. ปี, รอบปี, ลักษณนามใช้แก่อายุของเด็กประมาณ ๑๒ ปีลงมา เช่น เด็กอายุ ๕ ขวบ, เวลาที่นับมาบรรจบรอบ เช่น ชนขวบ. |
ขอน | ลักษณนามเรียกข้างหนึ่งของกำไลที่เป็นคู่ว่า กำไลขอนหนึ่ง |
ขอน | ลักษณนามของสังข์ เช่น สังข์ขอนหนึ่ง สังข์ ๒ ขอน, ลักษณนามของไพ่ตองว่า สำรับหนึ่งหรือชุดหนึ่งมี ๒ ขอน. |
ขันโตก | น. ภาชนะทำด้วยไม้กลึง ไม้ไผ่สาน หวาย หรืออย่างเครื่องเขิน ส่วนบนลักษณะคล้ายถาด ส่วนล่างเป็นตีนลักษณะเป็นวงแหวนมีขนาดเล็กกว่าถาดส่วนบน โดยมีซี่ไม้ลูกมะหวดประมาณ ๖ ซี่ปักที่ตีนค้ำถาดไว้ ใช้สำหรับใส่อาหารเป็นต้น, โตก หรือ สะโตก ก็ว่า, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก. |
ขาไพ่ | น. ผู้ร่วมเล่นการพนันไพ่, ลักษณนามว่า ขา. |
ขีด | ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นเส้นหรือรอยยาวปรากฏอยู่บนพื้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น มีรอย ๓ ขีด |