กอและ ๒ | น. เรียกอาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยไก่ที่ถอดกระดูก ชุบเครื่องปรุงรส ปิ้งให้สุก ว่า ไก่กอและ. |
จะกละ ๒ | น. ชื่อผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีรูปเป็นแมว อยู่ในจำพวกผีป่า หมอผีชาวป่าเลี้ยงไว้ใช้ไปทำร้ายศัตรู. |
ตรละ ๒ | (ตะระละ) น. พลอยเม็ดกลางของเครื่องสร้อยคอ, สร้อยคอ |
ตรละ ๒ | เพชร, เหล็ก |
ตรละ ๒ | พื้นล่าง, พื้นราบ |
ตรละ ๒ | ส่วนลึก. |
ตรละ ๒ | (ตะระละ) ว. กลับกลอก |
ตรละ ๒ | หวั่นไหว, สั่น. |
ตละ ๒ | (ตะละ) น. เจ้า เช่น ตละแม่ท้าว (ราชาธิราช). |
ตะละ ๒ | ว. แต่ละ เช่น ตะละคน. |
ปละ ๒ | (ปฺละ) ก. ปล่อย, ละทิ้ง, ละเลย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปล่อย เป็น ปล่อยปละ. |
ปละ ๒ | (ปฺละ) ว. เรียกควายที่เจ้าของปล่อยให้เที่ยวไปตามลำพังว่า ควายปละ. |
แผละ ๒ | (แผฺละ) น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงประกอบท่าโบยบินของสัตว์ปีก เช่น ครุฑ. |
ละ ๒ | ว. คำใช้ประกอบหน้าคำ ก็ เป็น ละก็ เพื่อเน้นความให้กระชับขึ้น เช่น เด็กละก็ซนอย่างนี้. |
และ ๒ | สัน. กับ, ด้วยกัน. |
สละ ๒ | (สะหฺละ) น. ชื่อปาล์มชนิด Salacca zalacca (Gaertn.) Voss ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอคล้ายระกำ ผลสีคลํ้า ไม่มีหนาม เนื้อสีขาวหนาล่อน รสหวาน, สละชวา ก็เรียก. (เทียบ ม. salak) |
สละ ๒ | ชื่อระกำพันธุ์หนึ่ง ส่วนมากผลมีเมล็ดเดียว. |
กลอง | (กฺลอง) น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ขึงด้วยหนัง ใช้ตีบอกสัญญาณ กำกับจังหวะ หรือใช้ตีร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ตัวกลองเรียกว่า “หุ่น” ลักษณะกลมกลวงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะริด ไม้มะม่วง มีทั้งหน้าเดียวและ ๒ หน้า ที่ขึ้นหนังหน้าเดียว เช่น โทน กลองยาว รำมะนา ที่ขึ้นหนัง ๒ หน้า เช่น กลองทัด ตะโพน เปิงมาง กลองแขก กลองมลายู กลองชนะ การขึ้นหนังมีทั้งที่ใช้หมุดตรึงให้แน่น และใช้โยงเร่งเสียงด้วยสายหนัง เรียกว่า หนังเรียด หรือใช้หวายหรือลวด ยังมีกลองที่หล่อด้วยโลหะทั้งลูก แต่มิได้ขึงด้วยหนัง ก็มี เช่น มโหระทึก และกลองที่ทำด้วยดินเผา การตีกลองอาจใช้ไม้ตี มือ (ฝ่ามือ) หรือนิ้ว เพื่อให้เกิดเสียงดังก้อง, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก. |
ข้าวแดง, ข้าวเมล็ดแดง | น. เมล็ดข้าวที่มีปลอกรำสีแดงหุ้มอยู่ร้อยละ ๒๕ ของเนื้อที่เมล็ดข้าวหรือมากกว่า. |
จตุรงคนายก | (จะตุรงคะ-) น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรคแบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกรายจักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง (ชุมนุมตำรากลอน). |
จังออน | น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๘ กำมือ = ๑ จังออน และ ๒ จังออน = ๑ แล่ง. |
ฉละ | ดู สละ ๒. |
ชิงชี่ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Capparis micracantha DC. ในวงศ์ Capparaceae สูง ๒-๔ เมตร มีหนามเล็กสั้น ๆ ขนาบโคนก้านใบข้างละอัน ดอกขาว โคนกลีบดอกสีเหลือง ใกล้โรยกลายเป็นสีม่วงแก่ ออกเป็นตับตามลำกิ่งเหนือง่ามใบตับละ ๒-๗ ดอก ผลกลม ๆ หรือรูปไข่ เมื่อสุกสีแดง ก้านผลยาว, กระโรกใหญ่ หรือ แส้ม้าทะลาย ก็เรียก. |
ซิลิคอน | น. ธาตุลำดับที่ ๑๔ สัญลักษณ์ Si เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๔๑๐ ºซ. เปลือกโลกประกอบด้วยธาตุนี้ประมาณร้อยละ ๒๕. |
ทองขาว | ชื่อเรียกทางการค้าของโลหะเจือทองคำกับโลหะอื่นที่มีสีขาว เช่น เงิน นิกเกิล สังกะสี แพลเลเดียม โดยทั่วไปประกอบด้วย ทองคำร้อยละ ๗๕ เงินร้อยละ ๕ แพลเลเดียมร้อยละ ๒๐ (อ. white gold) |
ทุกนิบาต | น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาที่กำหนดด้วยธรรมหรือคาถาที่แบ่งหมวดอย่างละ ๒. |
นารายณ์ทรงเครื่อง | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดบังคับวรรคหนึ่ง ๘ คำ แบ่งเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ โดยให้ ๒ จังหวะแรกใช้พยัญชนะเสียงซ้ำ ๒ ตัว และ ๒ จังหวะหลังใช้พยัญชนะเสียงอื่นซ้ำกัน ๒ ตัวในลักษณะเดียวกัน เช่น ข้าสาวข้าวศรีทรวดมีทรงมิ่ง นางแอบแนบอิงสุดถวิลแสนถวิล นมตั้งนั่งเต้าคลอเคล้าแคลคลิ้น ฬ่อหลาลาลินเลิศลินลาดลอย (ศิริวิบุลกิตติ์). |
นารายณ์ประลองศิลป์ | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดบังคับวรรคหนึ่ง ๙ คำ แบ่งเป็น ๓ จังหวะ จังหวะละ ๓ คำ แต่ละจังหวะให้ขึ้นต้นด้วยการซ้ำคำเดิม และ ๒ คำหลังให้สัมผัสเสียงพยัญชนะกันทั้ง ๓ จังหวะ ส่วน ๒ คำหลังของ ๒ จังหวะแรกให้ใช้เสียงสระเดียวกันเฉพาะแต่ละจังหวะ เช่น ระรื่นชื่นระรวยชวยระเริงฉาว จนข่าวหนาวจนเคืองเนื่องจนเขาหนี ทำซื่อดื้อทำสู้ดูทำสิ้นดี อารีชีอารอบชอบอารมณ์ชาย (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ). |
บ้อ, บ้อหุ้น | น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง เขียนตารางสี่เหลี่ยมหรือวงกลมลงบนพื้น มีผู้เล่น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายออกสตางค์ฝ่ายละ ๒-๓ อัน เอามารวมกัน ฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้โยนสตางค์ทั้งหมดลงในตารางหรือวงกลมนั้นให้กระจาย อีกฝ่ายหนึ่งจะชี้สตางค์อันใดอันหนึ่งให้ฝ่ายโยน ฝ่ายโยนจะต้องใช้สตางค์อีกอันหนึ่ง เรียกว่า “อีตัว” โยนลงให้ประกบสตางค์อันที่เขาชี้ให้ ถ้าโยนลงไปประกบได้ ก็เป็นฝ่ายชนะ ได้สตางค์ทั้งหมด ถ้าโยนถูกสตางค์อันอื่น ก็เป็นฝ่ายแพ้ ต้องเสียสตางค์ทั้งหมดให้ฝ่ายชี้ แต่ถ้าฝ่ายโยนไม่มั่นใจว่าจะโยนอีตัวไปประกบได้ ก็อาจโยนอีตัวลงไปในที่ว่าง เรียกว่า “อู้ไว้” หมายความว่า กินไม่ได้ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งก็จะเป็นผู้โยนบ้าง ฝ่ายที่โยนก่อนก็เปลี่ยนมาเป็นผู้ชี้บ้าง. |
ไพ่ป๊อก | การพนันชนิดหนึ่ง เจ้ามือแจกไพ่ให้คนละ ๒ ใบ แล้วเรียกไพ่ได้อีก รวมแล้วไม่เกิน ๕ ใบ และจะจ่ายเงินให้คนที่ได้แต้มสูงกว่า และกินเงินคนที่ได้แต้มตํ่ากว่าตามกติกา. |
แรด ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Rhinocerotidae เป็นสัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่แต่ละขา มี ๓ นิ้ว ขาสั้น ตาเล็กสายตาไม่ดี หูตั้ง ประสาทรับฟังเสียงและดมกลิ่นดีมาก หนังหนา มีทั้งชนิดนอเดียวและ ๒ นอ กินพืช มักนอนในปลัก ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด ชนิดที่มีนอเดียว เรียกว่า แรดนอเดียวหรือแรดชวา (Rhinoceros sondaicus Desmarest) และชนิดที่มี ๒ นอ เรียกว่า กระซู่ [ Dicerorhinus sumatrensis (Fischer) ]. |
ไรน้ำเค็ม | น. ชื่อสัตว์น้ำเค็มขาปล้องหลายชนิด ในสกุล Artemiaวงศ์ Artemiidae ขนาดยาว ๒ เซนติเมตรหรือมากกว่า รยางค์อกมี ๑๑ คู่ แต่ละคู่มีเหงือก เพศผู้มีอวัยวะเพศที่ปล้องท้องปล้องที่ ๑ และ ๒ เพศเมียมีรังไข่ ๑ คู่ที่ปล้องอกปล้องท้าย ๆ สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ กินตะไคร่น้ำเป็นส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ได้ในทุกระดับความเค็ม พบทั่วโลก นำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อเพาะเลี้ยงเป็นอาหารของสัตว์น้ำ เช่น ชนิด A. franciscanaKellogg, ไรสีน้ำตาล หรือ อาร์ทีเมีย ก็เรียก. |
แล่ง ๑ | น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๒ จังออน = ๑ แล่ง และ ๒ แล่ง = ๑ ทะนาน. |
วาร- ๒, วาระ | (วาระ-) น. ครั้ง, คราว, เช่น พิจารณารวดเดียว ๓ วาระ อยู่ในตำแหน่งวาระละ ๒ ปี, เวลากำหนด เช่น วาระอันเป็นมงคล วาระสุดท้ายของชีวิต. |
สละชวา | ดู สละ ๒. |
เสือตกถัง | ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง วิธีเล่นต้องขีดเส้นตรง ๒ เส้นตัดกัน แล้วเขียนวงกลมไว้ระหว่างเส้นแห่งใดแห่งหนึ่ง สมมุติให้เป็นถัง ผู้เล่นมี ๒ ฝ่าย สมมุติเป็นเสือฝ่ายละ ๒ ตัว แต่ละฝ่ายจะสลับกันเดิน โดยเดินจากปลายเส้นหนึ่งไปยังปลายอีกเส้นหนึ่ง หรือจากปลายเส้นมายังจุดกลางก็ได้ ถ้าเสือฝ่ายใดเดินแล้วตกถัง ก็เป็นฝ่ายแพ้. |
เหล็กหล่อ | น. เหล็กที่ได้มาจากเตาถลุง มีธาตุคาร์บอนเจือปนอยู่ประมาณร้อยละ ๒.๒–๔.๕ นอกจากนี้ยังมีธาตุแมงกานีส ฟอสฟอรัส ซิลิคอน และกำมะถันปนอยู่ด้วย หลอมละลายที่ประมาณ ๑๒๐๐ ºซ. |
ออกซิเจน | น. ธาตุลำดับที่ ๘ สัญลักษณ์ O เป็นแก๊ส มีปนอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่ติดไฟ แต่ช่วยให้ไฟติด มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการหายใจและการเผาไหม้เป็นต้น ใช้จุดกับแก๊สอะเซทิลีนเพื่อเชื่อมหรือตัดโลหะ ในทางแพทย์ใช้ช่วยการหายใจของคนไข้. |
อังกา | น. ตัวอักษรที่จารไว้หัวลานสำหรับบอกจำนวนใบลานที่จารแล้ว ๑๒ ตัวเป็น ๑ อังกา และ ๒ อังกา เป็น ๑ ผูก. |
อูฐ | (อูด) น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Camelidae เป็นสัตว์กีบคู่ขนาดใหญ่ หัว คอ และขาทั้ง ๔ ยาว มีนิ้วตีนข้างละ ๒ นิ้ว กระเพาะมี ๓ ส่วน ไม่มีถุงนํ้าดี ดื่มน้ำทีละมาก ๆ อดน้ำได้นาน ๆ มี ๒ ชนิด คือ ชนิด ๒ หนอก ได้แก่ ชนิด Camelus ferus Przewalski, และชนิดหนอกเดียว ได้แก่ ชนิด C. dromedarius Linn. มีในทวีปแอฟริกา ใช้เป็นพาหนะหรือขนของในทะเลทราย. |