กระโถนฤๅษี | น. ชื่อพืชเบียนชนิด Sapria himalayana Griff. ในวงศ์ Rafflesiaceae เกิดตามป่าดิบ เกาะเบียนที่รากเครือเขานํ้า ( Tetrastigma lanceolarium Planch.) ดอกรูปกระโถนปากแตร กลิ่นเหม็น กลีบดอกสีนํ้าตาลแดงประเหลือง ใช้ทำยาได้. |
ดังรือ, ดังฤๅ | ว. เช่นไร, เหตุไร, ไฉน. |
ตฤๅ | (ตฺรี) น. ปลา, โดยมากใช้ ตรี. |
ตาลปัตรฤๅษี | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Opuntia cochenillifera (L.) Mill. ในวงศ์ Cactaceae กิ่งแบนอวบ ใบลดขนาดลงเป็นกระจุก ขนค่อนข้างแข็ง เป็นไม้ต่างประเทศ ปลูกเป็นไม้ประดับ. |
ตาลปัตรฤๅษี | ชื่อปรงชนิด Cycas siamensis Miq. ในวงศ์ Cycadaceae, ปรงเหลี่ยม ก็เรียก. |
ตาลปัตรฤๅษี | ดู กาสัก ๒. |
ธูปฤๅษี | ดู กกช้าง. |
พระฤๅษี | น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ศรวณะ มี ๓ ดวง, ดาวหลักชัย ดาวศระวณะ หรือ ดาวสาวนะ ก็เรียก. |
ฤๅ ๑ | (รือ) เป็นรูปสระในภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นเสียงยาวของ ฤ เมื่อไทยนำมาใช้ออกเสียงเป็น รือ รี เช่น ฤๅษี [ รือสี ] ตฤๅ [ ตฺรี ]. |
ฤๅ ๒ | (รือ) ว. หรือ, อะไร, ไม่ใช่ |
ฤๅ ๒ | โดยมากใช้ในบทร้อยกรอง เช่น กวีฤๅแล้งแหล่งสยาม. |
ฤๅเยา | ว. มิใช่เยา, มิใช่น้อย, ไม่เยา. |
ฤๅชุ | ว. ตรง, ซื่อ. |
ฤๅชุตา | น. ความตรง, ความซื่อสัตย์. |
ฤๅดี | น. ฤดี, ความยินดี, ใจ. |
ฤๅทัย | น. ฤทัย, ใจ, ความรู้สึก. |
ฤๅษี | น. ฤษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ. |
ฤๅษีแปลงสาร | น. ชื่อวิธีเขียนหนังสือลับแห่งไทยโบราณกลับตัวอักษรข้างหลังมาไว้ข้างหน้า, โดยปริยายหมายความว่า เปลี่ยนข้อความเดิมให้มีความหมายตรงกันข้าม. |
ฤๅษีเลี้ยงลิง | น. ผู้เลี้ยงเด็กซุกซนหรือปกครองคนหมู่มากที่ไม่อยู่ในระเบียบวินัยย่อมเดือดร้อนรำคาญ. |
ฤๅษีผสม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Plectranthus scutellarioides (L.) R. Br. ในวงศ์ Labiatae ใบมีสีต่าง ๆ ขอบใบจักเป็นรูปฟันปลา, ฤๅษีผสมแล้ว หรือ ฤๅษีผสมเสร็จ ก็เรียก. |
ฤๅสาย | น. คำเรียกผู้เป็นใหญ่เช่นกษัตริย์. |
สมประดี, สมปฤดี, สมปฤๅดี | (สมปฺระ-, สมปะรึ-, สมปะรือ-) น. ความรู้สึกตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ สติ เป็น สติสมประดี เช่น ไม่ได้สติสมประดี. |
สมฤดี, สมฤๅดี | (สมรึดี, สมรือดี) น. ความรู้สึกตัว, ใช้เป็น สมปฤดี สมปฤๅดี หรือ สมประดี ก็มี. |
กกช้าง | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Typha angustifolia L. ในวงศ์ Typhaceae ขึ้นในนํ้า ช่อดอกคล้ายธูปขนาดใหญ่, กกธูป ธูปฤๅษี ปรือ หรือ เฟื้อ ก็เรียก. |
กรรแสง ๑ | (กัน-) ก. ส่งเสียงร้อง เช่น เทพฤๅษีสรรเสริญแชรง ชัยชัยรบแรง กรรแสงแลสาธุการา (สมุทรโฆษ). |
กระโฉม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Limnophila rugosa (Roth) Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งอวบน้ำ สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขน ขอบหยักห่าง ๆ ก้านใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลำต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกมชมพู กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วนของไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทำยาได้, ผักโฉม ก็เรียก เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน (เห่เรือ). |
กระหง่อง, กระหน่อง ๑ | ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตากตากระหง่องเตรียม คอยแม่ มาฤๅ (นิ. ตรัง), ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็ใช้. |
กรินทร์ | น. พญาช้าง, ช้างที่ควรยกย่อง, เช่น เบื้องนั้นบรรลุผู้เผือกกรินทร์ หนึ่งฤๅ (ลิลิตพยุหยาตรา), ใช้ว่า กเรนทร์ ก็มี. |
กรีส ๑ | (กะหฺรีด) น. อาหารเก่า, อุจจาระ, เช่น หนึ่งน้ำมูตรกรีส ฤๅเกียจฤๅกีด คำคนติฉิน (สรรพสิทธิ์). |
กฤษฎี | (กฺริดสะดี) น. รูป เช่น ฤๅแทตย์นิกรยักษา- ธิปพระอินทราธิราชแปรกฤษฎี (สมุทรโฆษ). |
กานท, กานท์ | (กานด, กาน) น. บทกลอน เช่น สารสยามภาคพร้อง กลกานท นี้ฤๅ (ยวนพ่าย). |
กามน | (กา-มน) ว. เต็มไปด้วยกาม เช่น ฤๅโฉมพระศรีศริ อภิลาศกามน (สุธน). |
กาสัก ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Leea macrophylla Roxb. ex Hornem. ในวงศ์ Leeaceae ใบใหญ่ ใช้ทำยาได้, พญากาสัก เสือนั่งร่ม หรือ ตาลปัตรฤๅษี ก็เรียก. |
กำดัด | ก. พะวง, ห่วงใย, ขวนขวาย, เช่น ฤๅสองศุขารมย ชวนชายชํไม้เมิลป่า พระวงวิ่งวาศนาเด็กกำดัดเล่น (ม. คำหลวง มัทรี) |
กำโบล ๒ | ก. ลูบ, ลูบคลำ, ลูบไล้, เช่น ฤๅอาจกำโบลปิยุทร์นงเยาว์ ฤๅอาจอุกเอา กระมลยุคลมามือ (สรรพ-สิทธิ์), คำโบล ก็ใช้. |
แกลน | (แกฺลน) ก. คร้าม, กลัว, เกรง, เช่น ฤๅแกลนกำลังศร (สรรพสิทธิ์). |
ขยด | (ขะหฺยด) ก. ถด, ถอย, กระเถิบ, เลื่อนจากที่เดิม, เช่น ทวารวังในว่าใกล้ ฤๅแลวันนี้ไสร้ ขยดออกรื้อดูไกล บารนีฯ (ลอ), ใช้ว่า กระหยด ก็มี เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย (มโนห์รา). |
เขม้น | (ขะเม่น) ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่ากล่าวบางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าวกันโชกข่มขี่จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้ (สามดวง), มักใช้เข้าคู่กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะกพริบ (ปรัดเล). |
เขือ ๓ | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่ (ลอ). |
คำสร้อย | น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นาเฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ. |
จระกล้าย | (จะระ-) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล (ม. คำหลวง กุมาร). |
จอด | รัก เช่น มิตรใจเรียมจอดเจ้า จักคิด ถึงฤๅ (นิ. นรินทร์). |
จินต์จล | ก. คิดหวั่น, คิดหวาดหวั่น, เช่น ใจปราชญ์ฤๅเฟื่องฟื้นห่อนได้จินต์จล (โลกนิติ). |
ชรอื้อ | (ชะระ-) ว. ชื้อ, ชอื้อ, มืดมัว, มืดคลุ้ม, ครึ้ม, อับแสง, เช่น ด่งงฤๅด่งงไซรชรเอมชรอื้ออรทื้อแทบทางเดอร (ม. คำหลวง ชูชก), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ (สมุทรโฆษ), ร่มไซรใบชิด ชรอื้อชื้อฉาย (สรรพสิทธิ์). |
ชรเอม | (ชะระ-) ว. ร่มเย็น เช่น ด่งงฤๅด่งงไซรชรเอมชรอื้ออรทื้อแทบทางเดอร (ม. คำหลวง ชูชก). |
ชระเอม | (ชะระ-) ว. ร่มเย็น เช่น ดั่งฤๅดั่งไทรชระเอมชรอื้อ (ม. คำหลวง ชูชก). |
ชู้ | น. คู่รัก เช่น ข้าสมจรด้วยกันพ่อแม่และเจ้าข้ามิให้ และมันภากันหนีไปไกล หญิงนั้นยังมิเปนเมียชายเปนแต่ชู้กัน (สามดวง ลักษณผัวเมีย), ถ้าชายผู้ใดเอาหญิงเปนชู้เปนเมีย แต่ในกำหนดนั้นคือเมียท่านแลให้ไหมโดยขนาด (สามดวง ลักษณผัวเมีย), บุคคลที่เป็นที่รัก เช่น ร้อยชู้ฤๅเท่าเนื้อ เมียตน (ลอ) |
ฐกัด | (ถะกัด) ก. ตระกัด, ยินดี, เช่น ฐกัดนี้แก่เถ้าตุ่ยต่วมฤๅจตรู (ม. คำหลวง ชูชก). |
ดบัสวิน, ดบัสวี | (ดะบัดสะ-) น. ผู้ประพฤติความเพียร, ฤษี, เพศหญิงว่า ดบัสวินี, เขียนเป็น ดบัศวี ก็มี เช่น รอยมึงบยำชีหน้าหนวด นักบวชด้วยดบัศวี แต่ก่อนฤๅ (ม. คำหลวง ชูชก). |
แดกดัน | ก. กล่าวกระทบกระแทกหรือประชดให้เจ็บใจ เช่น ในบทละครนอกเรื่องสังข์ทอง นางรจนาพูดแดกดันพี่สาวทั้ง ๖ ว่า ผัวพี่ไปหาปลากับบ่าวไพร่ น้อยฤๅช่างได้มาอักโข ผัวข้าหาปลาประสาโซ แต่จมูกไม่โหว่เหมือนผู้ดี, แดก ก็ว่า. |