กิน | รับเอา เช่น กินสินบน, หารายได้โดยไม่สุจริต เช่น กินจอบกินเสียม |
ขลุ่ย | (ขฺลุ่ย) น. ชื่อเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า มักทำจากไม้รวก ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง งาช้าง ปัจจุบันใช้วัสดุอื่นก็มี เช่น พลาสติก เจาะรูตามยาวมีระยะห่างพอควร สำหรับเอานิ้วปิดและเปิดให้เป็นเพลงเมื่อเป่า, มีหลายชนิด เช่น ขลุ่ยอู้ ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ, ลักษณนามว่า เลา. |
ของร้อน | น. ของที่มีผู้ขโมยเขาเอามาฝากไว้หรือจำหน่ายให้ ถ้ารับเอาไว้จะทำให้เดือดร้อน |
ซอง | ซอกหรือช่องแคบที่ทำขึ้นสำหรับเอาช้างม้าวัวควายเข้าไปไว้ในที่บังคับ เช่น เอาม้าแข่งเข้าประจำซอง |
ดิ้ว | ชื่อไม้อันเล็กประมาณเท่านิ้วมือ สำหรับเอาหวายผูกตรึงเข้ากับเซ็นฝาไม้ไผ่ |
เดือย ๑ | แกนที่ยื่นออกมาสำหรับเอาของอื่นสวม เช่น เดือยโม่ เดือยหัวเสา, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่ยื่นออกมามีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น. |
ตะกรวย | (-กฺรวย) น. ภาชนะสานด้วยตอก ตาห่าง ๆ คล้ายตาชะลอม ทรงกระบอกปากกลม ก้นมน เช่น เมื่อข้าพเจ้าตัดศีรษะกามะนีขาดแล้ว จะได้รับเอาศีรษะมิให้ทันตกลงถึงดิน ใส่ในตะกรวยซึ่งแขวนไปกับข้างม้านั้นเข้ามาถวายพระองค์ (ราชาธิราช สมิงพระรามอาสา). |
ติดเชื้อ | รับเอานิสัยหรือพฤติกรรมบางอย่างของคนที่อยู่รอบข้างเป็นต้นมาใช้หรือเป็นแบบอย่าง เช่น เขาติดเชื้อพูดคำหยาบมาจากเพื่อน. |
ปฏิคคหิต, ปฏิคหิต- | (ปะติกคะหิด, ปะติกคะหิตะ-) ก. รับเอา เช่น เราก็ปฏิคคหิตด้วยศรัทธา (ม. คำหลวง วนปเวสน์). |
ปฏิคคหิต, ปฏิคหิต- | (ปะติกคะหิด, ปะติกคะหิตะ-) ว. อันรับเอาแล้ว. |
ปะกน | น. ไม้ลูกสกัดฝาเรือนสำหรับเอากระดานกรุ, ลูกปะกน ก็เรียก. |
ปากไม้ | น. รอยบากหรือรอยเจาะที่ตัวไม้สำหรับเอาตัวไม้นั้นประกบกัน. |
มือสี | น. ไม้ที่ยื่นออกมาจากเครื่องสีข้าวสำหรับเอาขอสับ. |
ระวิง ๑ | น. เครื่องสำหรับเอาเข็ดด้ายหรือไหมสวม เพื่อกระจายเส้นด้ายออกจากกัน เมื่อเวลาสาวเส้นด้ายจะได้ออกเป็นเส้น ๆ ไม่ขาด ไม่ยุ่ง. |
รับคืน | ก. รับเอาสิ่งของที่ซื้อไปคืน โดยคืนเงินให้หรือแลกเปลี่ยนกับของอื่นในราคาตามแต่จะตกลงกัน. |
รับเคราะห์ | ก. รับเอาเคราะห์ร้ายของผู้อื่นมาเป็นของตนจะโดยเต็มใจหรือไม่ก็ตาม เช่น ลูกน้องรับเคราะห์แทนเจ้านาย. |
รำหัด | ก. โรย (ใช้สำหรับเอาพิมเสนแทรกยา) |
ลงโทษ | ก. ทำโทษเช่นเฆี่ยน จำขัง ปรับเอาเงิน เป็นต้น. |
ลูกปะกน | น. ไม้ลูกสกัดฝาเรือนสำหรับเอากระดานกรุ, ปะกน ก็เรียก. |
สมาทาน | (สะมา-) ก. รับเอาถือเอาเป็นข้อปฏิบัติ เช่น สมาทานศีล. |
ให้ | น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น. |
ไหม ๓ | ก. ปรับเอา เช่น ให้ไหมทวีคูณ (สามดวง). |
ออกรับ | ก. รับเอาเสียเองเมื่อเขาว่าผู้อื่น. |