รับพระเคราะห์ | ก. ทำพิธีรับเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวงที่จะมาเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อทางโหราศาสตร์. |
กรรภิรมย์ | (กัน-) น. ฉัตร ๕ ชั้นและ ๗ ชั้น สำรับหนึ่งมี ๓ องค์ คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ ทำด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นเขียนทอง เป็นเครื่องสูงอันเป็นสิริมงคลยิ่งสำหรับพระมหากษัตริย์ ใช้กางเชิญนำพระราชยานเวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราใหญ่ และใช้เข้าพิธีคชกรรมนำช้างสำคัญขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี. |
กระฎี | น. เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่. |
กรุณา | ใช้ร่วมกับคำ พระ เป็นสรรพนามสำหรับพระมหากษัตริย์ เช่น กราบบังคมทูลพระกรุณา. |
กฤษฎีกา | (กฺริดสะ-) น. กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่บุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไปกำหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากำหนดแห่งพระดาบสว่าสาธุแล (ม. คำหลวง วนปเวสน์) |
กลด ๑ | (กฺลด) น. เครื่องกั้นกันแดดหรือฝน ลักษณะคล้ายร่มขนาดใหญ่ ขอบมีระบาย คันยาว ใช้ถือกั้นเจ้านาย, ราชาศัพท์ว่า พระกลด, เรียกร่มขนาดใหญ่มีด้าม สำหรับพระธุดงค์โดยเฉพาะ, เรียกดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ที่มีแสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบ ว่า ดวงอาทิตย์ทรงกลด ดวงจันทร์ทรงกลด. |
กลางช้าง | น. ตำแหน่งเจ้าพนักงานประจำปืนใหญ่บนสัปคับที่ตั้งกลางหลังช้าง, ขุนนางซึ่งนั่งประจำที่บนสัปคับที่ตั้งกลางหลังช้างพระที่นั่ง คอยรับพระราชดำรัสสั่งให้สัญญาณแก่ไพร่พลเพื่อให้รุก รับ หรือถอย และส่งศาสตราวุธถวายพระเจ้าอยู่หัวเมื่อประทับตรงคอช้าง. |
กะดี | น. ที่อยู่ของนักบวชเช่นพระภิกษุ, เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่ เช่น วัดกะดีทอง (สามดวง) |
การเปรียญ | (-ปะเรียน) น. เรียกศาลาวัดสำหรับพระสงฆ์แสดงธรรมว่า ศาลาการเปรียญ. |
กุฎี | น. ที่อยู่ของนักบวชเช่นพระภิกษุ, เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่, โบราณเรียกว่า กะดี |
กุฏิ ๑ | (กุด, กุดติ, กุติ) น. เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่. |
เขียนทอง | น. เรียกผ้าลายแต้มทองสำหรับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายทรง. |
คดซ่าง | น. สิ่งปลูกสร้างชั่วคราวขนาดย่อม ยกพื้น และดาดหลังคา สำหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรมในงานออกพระเมรุ ตั้งอยู่ ๔ มุมพระเมรุ, คดสร้าง ซ่าง สร้าง ส้าง สำซ่าง หรือ สำสร้าง ก็เรียก. |
คริสตจักร | (คฺริดตะจัก) น. ประชาคมที่เชื่อและรับพระเยซูเป็นพระผู้ไถ่บาป แบ่งเป็น ๓ นิกายใหญ่ ได้แก่ โรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และออร์ทอดอกซ์. |
คันชีพ ๒ | น. จงกลเทียนหลายกิ่ง สำหรับพราหมณ์ถือแกว่งในมือขวา มือซ้ายแกว่งบัณเฑาะว์. |
คานหาม | น. ที่นั่งที่มีคานสำหรับหาม, ถ้าใช้สำหรับเจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, ถ้าใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระราชยานคานหาม. |
คุณ ๑, คุณ- | คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป |
คุณหญิง | น. คำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้าฝ่ายใน, ถ้ายังไม่ได้สมรส เรียกว่า คุณ, (โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของพระยา |
เครื่องต้น | น. เครื่องทรงสำหรับพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีบรม-ราชาภิเษก, เรียกเต็มว่า ฉลองพระองค์เครื่องต้น, เครื่องทรงสำหรับพระพุทธรูป ซึ่งมีลักษณะอย่างเครื่องทรงพระเจ้าจักรพรรดิ เช่น พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม |
เครื่องต้น | ของใช้ของเสวยสำหรับพระมหากษัตริย์. |
เครื่องทองทิศ | น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้บูชาพระรัตนตรัยในพระราชพิธีใหญ่ มีเตียงทองตั้งซ้อนกัน ๒ เตียง เชิงเทียนแถวหนึ่ง ๕ เชิง เชิงธูปแถวหนึ่ง ๕ เชิง พานข้าวตอกแถวหนึ่ง ๕ พาน พานดอกไม้แถวหนึ่ง ๕ พาน เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองทิศ. |
เครื่องทองน้อย | น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้บูชาเฉพาะวัตถุ เช่นพระบรมอัฐิ มีเชิงเทียน ๑ เชิง เชิงธูป ๑ เชิง กรวยปักดอกไม้ ๓ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อย. |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ | น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด. |
เครื่องสุกำศพ | น. เครื่องมัดศพประกอบด้วยผ้าขาว ด้ายดิบ กระดาษฟาง เป็นต้น ใช้แก่ศพที่ได้รับพระราชทานเกียรติยศประกอบศพตามระเบียบสำนักพระราชวัง. |
เครื่องห้า ๑ | น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้บูชาพระธรรมเวลาทรงสดับเทศนา มีเชิงเทียน ๒ เชิง กระถางธูป ๑ ใบ กรวยปักดอกไม้ ๕ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี, เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อยเครื่องห้า. |
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับพระราชดำริไปพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการร่วมกันดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน หรือบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ตามสภาพสังคมและภูมิประเทศ เดิมเรียกว่า โครงการตามพระราชดำริ มีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เรียกย่อว่า กปร. มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงานโครงการ. |
เจ้าพนักงานภูษามาลา | น. ข้าราชการในราชสำนัก มีหน้าที่ถวายทรงพระเครื่องใหญ่ ถวายพระกลด ถวายสุกำ ทำสุกำ เปลื้องเครื่องสุกำพระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกำศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวง เรียกแยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงานพระมาลา. |
ฉนวน ๑ | (ฉะหฺนวน) น. ทางเดินซึ่งมีเครื่องกำบัง ๒ ข้าง สำหรับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายฝ่ายในเสด็จขึ้นลงหรือเข้าออก. |
ฉ่อย | น. ชื่อเพลงสำหรับว่าแก้กันระหว่างชายกับหญิง เป็นเพลงที่นิยมว่าปากเปล่าโดยอาศัยปฏิภาณเป็นสำคัญ เมื่อว่าจบบทแล้ว ลูกคู่จะรับพร้อมกันว่า ชา ฉา ชา ฉาด ชา หน่อยแม่. |
ไฉน ๒ | (ฉะไหฺน) น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเหมือนปี่ชวาแต่เล็กและสั้นกว่า ใช้เป่านำหมู่กลองชนะ สำหรับประโคมในงานพระราชทานเพลิงศพที่ได้รับพระราชทานโกศเป็นต้น คนเป่าปี่นำ เรียกว่า จ่าปี่, สรไน ก็ว่า, ลักษณนามว่า เลา. |
ชุมสาย | เรียกพระที่นั่งที่มีลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยม มีเสา ๔ ต้น หลังคาคาดด้วยผ้าขาว มีระบาย ๓ ชั้น คลุมด้วยตาข่าย มีพู่ห้อยที่ระบายชั้นล่าง ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ประทับในงานพระราชพิธีต่าง ๆ ว่า พระที่นั่งชุมสาย พระที่นั่งนี้สามารถถอดเก็บและเคลื่อนย้ายไปประกอบได้ใหม่เมื่อต้องการ. |
ซ่าง ๒ | น. สิ่งปลูกสร้างชั่วคราวขนาดย่อม ยกพื้น และดาดหลังคา สำหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรมในงานออกพระเมรุ ตั้งอยู่ ๔ มุมพระเมรุ, คดซ่าง คดสร้าง สร้าง ส้าง สำซ่าง หรือ สำสร้าง ก็เรียก. |
ดำหัว | น. ประเพณีทางภาคเหนือซึ่งกระทำในวันสงกรานต์เพื่อเป็นการแสดงความเคารพนับถือ วิธีดำหัว คือ เอานํ้าสะอาด พร้อมดอกคำฝอย ฝักส้มป่อย และผงขมิ้น ใส่ขัน ไปเคารพและขอขมาผู้ใหญ่ โดยให้ท่านจุ่มน้ำลูบศีรษะตนเองเพื่อให้ท่านอยู่เย็นเป็นสุขและขอรับพรจากท่าน. |
ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง | เครื่องสักการะที่เจ้านายหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่เจ้าพระยาขึ้นไปถวายแด่พระเจ้าแผ่นดิน เมื่อได้รับสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมให้สูงขึ้น หรือเมื่อได้รับพระราชทานตั้งยศ. |
ตราตั้ง | น. เอกสารแต่งตั้ง เช่น ตราตั้งพระอุปัชฌายะ ตราตั้งที่พระราชทานให้แก่ธนาคารหรือบริษัทห้างร้านเป็นต้นที่ทำประโยชน์ในราชการส่วนพระองค์หรือประเทศชาติ มีสิทธิที่จะใช้ตราครุฑเพื่อแสดงว่าได้รับพระบรมราชานุญาต. |
ตรีปวาย | (ตฺรีปะ-) น. พิธีพราหมณ์กระทำรับพระนารายณ์ ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีแห่พระนารายณ์ ซึ่งกระทำในวันแรมคํ่า ๑ ถึงแรม ๕ คํ่า เดือนยี่. |
ตรียัมปวาย | (ตฺรียำปะ-) น. พิธีพราหมณ์กระทำรับพระอิศวร ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งกระทำในวันขึ้น ๗ คํ่าตอนเช้า ขึ้น ๙ คํ่าตอนเย็น เดือนยี่. |
ต่างกรม | ว. เรียกเจ้านายที่ได้รับพระราชทานอิสริยยศให้มีข้าคนหมู่หนึ่งจัดตั้งเป็นกรมในปกครองเพื่อช่วยราชการแผ่นดิน เจ้าที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองข้าในกรมของพระองค์ เรียกว่า เจ้านายต่างกรม กรมของเจ้ามีชื่อต่าง ๆ กันไปตามนามของผู้เป็นเจ้ากรม. |
ตาลปัตร | (ตาละปัด) น. พัดทำด้วยใบตาล มีด้ามยาว สำหรับพระภิกษุถือบังหน้าในพิธีกรรมเช่นในเวลาให้ศีล ต่อมาอนุโลมเรียกพัดที่ทำด้วยผ้าหรือไหมซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า ตาลปัตร ด้วย, ตาลิปัตร ก็ว่า. |
ทนายเลือก | น. องครักษ์สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน มักคัดเลือกจากนักมวยหรือผู้มีวิชาต่อสู้ เช่น ทนายเลือกปืนหอกเหิร เดินต่อ มานา (พยุหยาตรา) |
ทองตรา | น. ทองคำที่ทำรูปลักษณะอย่างเงินพดด้วง มีขนาดต่าง ๆ สำหรับพระราชทานแก่บุคคลเพื่อเป็นที่ระลึกในวาระสำคัญ. |
ท้องพระโรง | น. ห้องโถงขนาดใหญ่ในพระที่นั่ง สำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จออกว่าราชการ ออกมหาสมาคม รับแขกเมือง, ห้องโถงซึ่งต่อออกมาจากตำหนักเจ้านายที่เป็นพระราชโอรสที่ทรงกรม และทรงเป็นผู้ปฏิบัติพระกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ใช้สำหรับเสด็จออกให้เฝ้าหรือว่าราชการ. |
ทับเกษตร ๒ | (-กะเสด) น. ส่วนบนของฐานที่รองรับพระพุทธรูปปางประทับนั่ง. |
ท่านผู้หญิง | น. คำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป, ถ้ายังไม่ได้สมรสเรียกว่า คุณ, (โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของเจ้าพระยาและเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศท่านผู้หญิง. |
ทิมสงฆ์ | น. ที่พักชั่วคราวสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในพระราชวัง. |
ที่ปรก | น. บริเวณสำหรับพระภิกษุอยู่ปริวาสกรรม. |
ธงฉาน | น. ธงที่มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธงมีรูปจักร ๘ แฉก แฉกของจักรเวียนไปทางซ้ายและมีสมอสอดวงจักรภายใต้พระมหามงกุฎ รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง เป็นธงที่ใช้ในเรือพระที่นั่งและเรือหลวง หรือเป็นธงสำหรับหน่วยทหารเรือที่ยกพลขึ้นบก ซึ่งหน่วยทหารนั้นไม่ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล |
ธงชัยเฉลิมพล | น. ธงประจำหน่วยทหารที่ได้รับพระราชทานมี ๓ ชนิด คือ ธงชัยเฉลิมพลของทหารบก ธงชัยเฉลิมพลของทหารเรือ และธงชัยเฉลิมพลของทหารอากาศ. |
ธรรมาสน์ | (ทำมาด) น. ที่สำหรับพระภิกษุสามเณรนั่งแสดงธรรม. |
นางสนองพระโอษฐ์ | น. คุณพนักงานหญิงที่แต่งงานแล้ว มีหน้าที่รับพระราชเสาวนีย์ไปปฏิบัติหรือเชิญพระราชเสาวนีย์ไปติดต่อข้อราชการตามพระราชประสงค์ของพระราชินี เป็นตำแหน่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง. |