Bragg’s law | กฎของแบรกก์, กฎที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นของรังสีเอกซ์ตกกระทบ มุมตกกระทบและระยะห่างของอะตอมซึ่งเป็นเงื่อนไขของการเกิดปรากฏการณ์การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ กฎนี้ ดับเบิลยู. แอล. แบรกก์ (W. L. Bragg) คิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2455 และได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับบิดา คือ ดับเบิลยู. เอช. แบรกก์ (W. H. Bragg) ในปี พ.ศ. 2458 [นิวเคลียร์] |
Bremsstrahlung | เบรมส์ชตราลุง, รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมา เมื่ออนุภาคที่มีประจุถูกเร่งให้เร็วขึ้น หรือถูกหน่วงให้ช้าลง รังสีเอกซ์จากเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปก็เป็นรังสีชนิดนี้ [นิวเคลียร์] |
Characteristic X-ray | รังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะ, รังสีที่เกิดจากการที่อะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ซึ่งมีค่าพลังงานเฉพาะของธาตุที่ถูกกระตุ้น (ดู excited state ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Electromagnetic radiation | รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า, คลื่นไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กที่ประสาน และมีอันตรกิริยาต่อกัน เช่น คลื่นแสง คลื่นวิทยุ รังสีแกมมา และรังสีเอกซ์ รังสีเหล่านี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วแสง และสามารถผ่านสุญญากาศได้ [นิวเคลียร์] |
x-ray fluorescence | การเรืองรังสีเอกซ์, ปรากฏการณ์การเกิดรังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะของธาตุที่สนใจโดยใช้พลังงานที่เหมาะสมไปกระตุ้นอะตอมของธาตุนั้น [นิวเคลียร์] |
X-ray diffraction | การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์, ปรากฏการณ์ที่รังสีเอกซ์ซึ่งสะท้อนจากภายในผลึก แล้วรวมกัน เกิดเป็นคลื่นสะท้อนที่มีความเข้มสูงสุด [นิวเคลียร์] |
X-ray fluorescence analysis | การวิเคราะห์ธาตุโดยการเรืองรังสีเอกซ์, การวิเคราะห์ธาตุในสารตัวอย่าง โดยพิจารณาจากสเปกตรัมซึ่งแสดงค่าพลังงานและความเข้มของรังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะที่เกิดขึ้นจากการเรืองรังสีเอกซ์ของธาตุนั้นๆ การวิเคราะห์นี้สามารถบอกชนิด และปริมาณธาตุได้ถึงระดับส่วนในล้านส่วน [นิวเคลียร์] |
X-ray diffraction analysis | การวิเคราะห์โดยการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์, การวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ เพื่อหาโครงสร้างของอะตอม หรือโมเลกุลในธาตุ หรือสารประกอบที่มีการเรียงตัวเป็นระเบียบซ้ำๆ กัน เช่น เพชร โซเดียมคลอไรด์ รวมทั้งชีวโมเลกุลที่มีโครงสร้างซับซ้อน เช่น โปรตีน กรดนิวคลีอิก [นิวเคลียร์] |
X-rays | รังสีเอกซ์, รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ หรือเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิด เช่น ทังสเตน ด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง ซึ่งอิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา บางคน เรียกรังสีเอกซ์ว่า รังสีเรินต์เก็น ตามชื่อของ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เก็น นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นพบรังสีนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2438 [นิวเคลียร์] |
Roentgen rays | รังสีเรินต์เก็น, รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ หรือเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิด เช่น ทังสเตน ด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง ซึ่งอิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา บางคน เรียกรังสีเอกซ์ว่า รังสีเรินต์เก็น ตามชื่อของ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เก็น นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นพบรังสีนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2438 [นิวเคลียร์] |
Roentgen equivalent man | หน่วยเดิมที่ใช้วัดปริมาณรังสีสมมูล, เป็นผลคูณระหว่างปริมาณรังสีดูดกลืนที่มีหน่วยเป็นแร็ด กับค่าปรับเทียบที่แตกต่างกันตามชนิดและพลังงานของรังสี (อาร์บีอี) สำหรับรังสีเอกซ์หรือแกมมา ค่าปรับเทียบมีค่าใกล้เคียงกับ 1 (ในทางปฏิบัติใช้ค่า 1) นั่นคือ เมื่อรังสีก่อไอออนชนิดใดก็ตามที่ก่อให้เกิดผลทางชีวภาพต่อเซลล์ที่มีชีวิตเทียบเท่ากับการรับรังสีเอกซ์หรือแกมมา 1 แร็ด เรียกว่าได้รับปริมาณรังสีสมมูล 1 เรม ปัจจุบันหน่วยเรมนี้ใช้หน่วยซีเวิร์ตแทน โดย 1 ซีเวิร์ตเท่ากับ 100 เรม (ดู equivalent dose, H$_T$ และ sievert, Sv ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Radiotherapy | รังสีรักษา, การบำบัดด้วยรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออนบำบัดรักษาโรค มี 4 วิธี คือ <br> 1. การฉายรังสีไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Teletherapy) เช่น ต่อมน้ำเหลือง กล่องเสียง ปอด โดยใช้รังสีเอกซ์จากเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น หรือใช้รังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60</br> <br> 2. การฝังสารกัมมันตรังสี ในเนื้อเยื่อหรือโพรงอวัยวะ (Brachy therapy) เช่น ปากมดลูก และช่องปาก โดยใช้ซีเซียม-137, อิริเดียม-192 หรือ ทอง-198</br> <br> 3. การให้สารกัมมันตรังสีทางปาก เช่น การรับประทานสารประกอบไอโอดีน-131 (Na<sup>131I</sup>) เพื่อรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์</br> <br> 4. การฉีดสารกัมมันตรังสีทางเส้นเลือด เช่น สารประกอบไอโอดีน-131 (Lipiodol-<sup>131</sup>I) ใช้รักษามะเร็งตับ</br> [นิวเคลียร์] |
Radiography | การถ่ายภาพรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออน เช่น รังสีเอกซ์ หรือ รังสีแกมมา ถ่ายภาพวัตถุบนแผ่นฟิล์มโดยอาศัยหลักการดูดกลืนรังสี ส่วนของวัตถุที่ดูดกลืนรังสีไว้น้อยกว่าจะปรากฏภาพเงาบนฟิล์มทึบกว่าส่วนของวัตถุที่ดูดกลืนรังสีไว้มากกว่า [นิวเคลียร์] |
Radiation therapy | รังสีรักษา, การบำบัดด้วยรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออนบำบัดรักษาโรค มี 4 วิธี คือ <br> 1. การฉายรังสีไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Teletherapy) เช่น ต่อมน้ำเหลือง กล่องเสียง ปอด โดยใช้รังสีเอกซ์จากเครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น หรือใช้รังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60</br> <br> 2. การฝังสารกัมมันตรังสี ในเนื้อเยื่อหรือโพรงอวัยวะ (Brachy therapy) เช่น ปากมดลูก และช่องปาก โดยใช้ซีเซียม-137, อิริเดียม-192 หรือ ทอง-198</br> <br> 3. การให้สารกัมมันตรังสีทางปาก เช่น การรับประทานสารประกอบไอโอดีน-131 (Na<sup>131I</sup>) เพื่อรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์</br> <br> 4. การฉีดสารกัมมันตรังสีทางเส้นเลือด เช่น สารประกอบไอโอดีน-131 (Lipiodol-<sup>131</sup>I) ใช้รักษามะเร็งตับ</br> [นิวเคลียร์] |
radiation | รังสี, การแผ่รังสี, พลังงานที่แผ่จากต้นกำเนิดรังสีผ่านอากาศหรือสสาร ในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น ความร้อน แสงสว่าง คลื่นวิทยุ รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา หรือเป็นกระแสของอนุภาคที่เคลื่อนที่เร็ว เช่น รังสีคอสมิก รังสีแอลฟา รังสีบีตา อนุภาคนิวตรอน อนุภาคโปรตอน [นิวเคลียร์] |
Photon | โฟตอน, กลุ่มหนึ่งๆ ของพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีโมเมนตัมซึ่งเป็นลักษณะของอนุภาค แต่ไม่มีมวลหรือประจุไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น รังสีแกมมา และรังสีเอกซ์ [นิวเคลียร์] |
Pair production | แพร์โพรดักชัน, การแปลงพลังงานจลน์ของโฟตอนหรืออนุภาคที่มีพลังงานสูงให้เป็นมวล เกิดเป็นอนุภาคย่อยและปฏิยานุภาคของอนุภาคนั้น เช่น การที่รังสีแกมมาหรือรังสีเอกซ์ที่มีพลังงานตั้งแต่ 1.022 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ขึ้นไป ผ่านสนามไฟฟ้ารอบนิวเคลียสแล้วกลายเป็นอิเล็กตรอนและโพซิตรอนที่มีพลังงานเท่ากัน <br>พลังงาน 1.022 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์เทียบเท่ากับมวลนิ่งของอิเล็กตรอนกับโพซิตรอนรวมกัน</br>, Example: [นิวเคลียร์] |
Ionizing radiation | รังสีชนิดก่อไอออน, รังสีหรืออนุภาคใดๆ ที่สามารถก่อให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในตัวกลางที่ผ่านไป เช่น รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูง โปรตอนที่มีความเร็วสูง รังสีเหล่านี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต <br>(ดู beta particle ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Food irradiation | การฉายรังสีอาหาร, การนำอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งผลิตอย่างถูกสุขลักษณะและบรรจุในภาชนะหรือหีบห่อที่เหมาะสม ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรือลำอิเล็กตรอนจากเครื่องเร่งอนุภาค ด้วยปริมาณรังสีที่เหมาะสม เพื่อฆ่าเชื้อโรคหรือพยาธิ ยับยั้งการทำลายหรือแพร่พันธุ์ของแมลง ยืดอายุการเก็บรักษา ยับยั้งการงอก และชะลอการสุก [นิวเคลียร์] |
X-rays | รังสีเอกซ์ [TU Subject Heading] |
Relative Biological Effect | ผลทางชีววิทยาสัมพัทธ์, การเปรียบเทียบปริมาณรังสีของรังสีชนิดหนึ่งกับรังสีเอกซ์ 250 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ หรือรังสีแกมมาจากต้นกำเนิดรังสีโคบอลต์-60 ที่ก่อให้เกิดผลทางชีววิทยาเหมือนกัน ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน $ RBE = \frac{ ปริมาณรังสีจากรังสีเอกซ์ 250 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ หรือรังสีแกมมาจากโคบอลต์-60 }{ ปริมาณรังสีจากรังสีชนิดอื่น } $ [นิวเคลียร์] |
ionisingradiation | รังสีชนิดก่อไอออน, คือ พลังงานในรูปแม่เหล็กไฟฟ้า หรืออนุภาครังสีใดๆ ที่สามารถก่อให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ ทั้งโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในตัวกลางที่ผ่านไป เช่น รังสีแอลฟา รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูง โปรตรอนที่มีความเร็วสูง รังสีชนิดนี้อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต [พลังงาน] |
radappertization | การทำให้ปลอดจากเชื้อจุลินทรีย์ด้วยรังสี, คือ การนำอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ซึ่งบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีสูงกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อฆ่าจุลินทรีย์ทั้งหมดที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคหรือจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย ยังผลให้อาหารนั้นเก็บได้นานหลายเดิอน หรือเป็นปี โดยไม่ต้องใช้ความเย็น เช่น การทำอาหารแช่แข็ง หรือใช้ความร้อน เช่น การทำอาหารกระป๋อง ตัวอย่างอาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อทำให้ปลอดจุลินทรีย์ ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อไก่งวงรมควัน อาหารสำหรับคนไข้ และอาหารสำหรับมนุษย์อวกาศ [พลังงาน] |
radiation disinfestation | การควบคุมการแพร่พันธุ์ของแมลงด้วยรังสี, คือ การนำอาหารหรือผลิตผลการเกษตร ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน เพื่อกำจัด หรือยับยั้งการขยายพันธุ์ของแมลงที่อาจมีอยู่ในอาหารหรือผลิตผลการเกษตร และจะต้องบรรจุในภาชนะที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการกลับเข้ามาทำลายของแมลงที่อาจมีอยู่ในอาหาร หรือผลิตผลการเกษตรที่ฉายรังสีด้วยปริมาณรังสีไม่เกิน 1 กิโลเกรย์ เช่น มะม่วง มะละกอ เมล็ดโกโก้ ถั่ว ข้าว ข้าวสาลี ปลาแห้ง ปลารมควัน ดอกกล้วยไม้ [พลังงาน] |
radiation sprout inhibition | การยับยั้งการงอกด้วยรังสี, คือ การนำอาหารประเภทพืชหัวไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า0.15 กิโลเกรย์ เพื่อควบคุม หรือหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ทำให้เกิดการงอก ยังผลให้สามารถเก็บรักษาอาหารได้นานหลายเดือนโดยไม่งอกหรืองอกเล็กน้อย ทั้งนี้ต้องเก็บรักษาอาหารที่ผ่านการฉายรังสีที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ทำให้ อาหารเน่าเสีย ตัวอย่างของอาหารที่นำมาฉายรังสี ได้แก่ หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง กระเทียม และขิง [พลังงาน] |
radicidation | การฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี, คือ การนำอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคชนิดที่ไม่สร้างสปอร์ เช่น ซาลโมเนลลา ชิเกลลาอี.โคไล ฯลฯ เชื้อโรคเหล่านี้เป็นต้นเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ปวดท้อง ขาดน้ำ อาเจียน และเป็นไข้ ตัวอย่างอาหารที่นำมาฉายรังสีเพื่อฆ่าเชื้อโรค ได้แก่ แหนม กุ้งแช่แข็ง ขากบแช่แข็ง และเนื้อไก่แช่แข็ง การฆ่าเชื้อโรคด้วยวิธีนี้เทียบได้กับการพาสเจอร์ไรซ์ [พลังงาน] |
radurization | การลดจุลินทรีย์ด้วยรังสี, คือ การนำอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อลดแบคทีเรีย หรือป้องกันการเจริญเติบโตของรา ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้อาหารเน่าเสียหรือเสื่อมคุณภาพ อาหารที่ผ่านการฉายรังสีจะเก็บรักษาได้นานขึ้น ตัวอย่างอาหารที่นำมาฉายรังสีเพื่อลดจุลินทรีย์ ได้แก่ ปลาสด เครื่องเทศ เครื่องปรุงรส และสตรอเบอรี [พลังงาน] |
phosphorescence | การเรืองแสง, การปล่อยแสงจากสารบางชนิดโดยไม่อาศัยความร้อน แต่อาศัยพลังงานรูปอื่น เช่น รังสีเอกซ์ รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นต้น เมื่อหยุดการให้พลังงาน สารก็ยังคงเปล่งแสงอยู่ชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกับการวาวแสง เมื่อหยุดให้พลังงานสารก็จะหยุดเปล่งแสงทันที [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fluorescence | การวาวแสง, การเกิดแสงของสารบางชนิดโดยไม่อาศัยความร้อน แต่อาศัยพลังงานรูปอื่น เช่น รังสีเอกซ์ รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นต้น สารจะหยุดการเปล่งแสงทันทีเมื่อหยุดการให้พลังงาน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
irradiation | การอาบรังสี, การนำวัสดุไปอาบรังสีบางชนิด เช่น รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น ตัวอย่างการนำอาหารไปอาบรังสีแกมมา เพื่อเก็บรักษาคุณภาถของอาหารให้อยู่ได้เป็นเวลานาน ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ultraviolet rays [ black light ] | รังสีอัลตราไวโอเลต, แสงเหนือม่วง, รังสีที่มีแสงสีม่วงและรังสีเอกซ์ เป็นรังสีที่ตามองไม่เห็น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แสงดำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
X-rays | รังสีเอกซ์, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นระหว่างรังสีอัลตราไวโอเลตและรังสีแกมมา รังสีเอกซ์เกิดขึ้นจากการยิงอิเล็กตรอน พลังงานจลน์สูงเข้าชนอะตอมของเป้าโลหะ แล้วอิเล็กตรอนจะมีความเร็วลดลงและคายพลังงานในรูปรังสีเอกซ์ การเกิดรังสีเอกซ์อีกวิธีหนึ่ง คือ อิเล็กตรอนพลั [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
roentgen | เรินต์เกน, หน่วยวัดปริมาณรังสีเอกซ์ หรือรังสีแกมมา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electromagnetic spectrum | สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, แถบแสดงความถี่หรือความยาวคลื่นของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแต่ละช่วงมีชื่อต่าง ๆ เช่น คลื่นวิทยุ รังสีอินฟราเรด แสง รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
photosphere | โฟโตสเฟียร์, ชั้นบรรยากาศที่ติดกับผิวของดวงอาทิตย์ มีความหนาประมาณ 400 กิโลเมตรอุณหภูมิส่วนที่ติดผิวดวงอาทิตย์ประมาณ 10, 000 K ส่วนที่ติดกับชั้นโครโมสเฟียร์ประมาณ 4, 200 K แก๊สที่อยู่ในชั้นนี้จะแผ่รังสีออกสู่อวกาศ ได้แก่ รังสีเอกซ์รังสีอัลตราไวโอเลต แสงสว่าง และคลื่นควา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |