กรด ๑ | (กฺรด) น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือทำให้สิ่งอื่นแปรไป |
กรด ๑ | มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักกำหนด คือ เป็นสารเคมีที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลายนํ้าเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือบางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเจนไอออน (H+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสีนํ้าเงินเป็นสีแดงได้ |
กวางโจน | (กฺวาง-) น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาวคล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. |
กะลุมพี | น. ชื่อปาล์มชนิด <i> Eleiodoxa conferta</i> (Griff.) Burret. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอในป่าพรุและที่ชื้นแฉะทางภาคใต้ ผลเป็นช่อใหญ่และแน่น ปลายผลตัด ผิวเหลืองเกลี้ยงเป็นมัน ไม่มีหนาม เยื่อหุ้มเมล็ดขาว รสเปรี้ยว ๆ ฝาด ๆ กินได้ ยางในลำต้นเหนียวใช้ติดกระดาษแทนกาวได้, ลุมพี ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก หลุมพี. |
กาวาง | น. ชื่อมะปรางพันธุ์หนึ่ง รสเปรี้ยวจัด. |
แกงส้ม | น. แกงพวกหนึ่ง มีลักษณะคล้ายแกงเผ็ด แต่ไม่ใส่เครื่องเทศ กะทิ หรือ นํ้ามัน มีรสเปรี้ยวด้วยนํ้าส้มมะขาม ใช้ผัก ผลไม้ หรือ ดอกไม้บางอย่าง เป็นต้น แกงกับกุ้งหรือปลา เรียกชื่อตามสิ่งนั้น ๆ เช่น แกงส้มผักกาดขาว แกงส้มมะละกอ แกงส้มดอกแค. |
จี๊ด ๒ | ว. จัด, ยิ่ง, (ใช้แก่รสเปรี้ยวหรืออาการปวดอย่างเสียดแทงคล้ายมีอะไรมาจี้อยู่). |
ชะมวง | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i> Garcinia cowa</i>Roxb<i> </i>. Ex DC. ในวงศ์ Guttiferae ใบมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผัก. |
ต้มโคล้ง | (-โคฺล้ง) น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใช้ปลาแห้งหรือหัวปลาแห้งเป็นต้นต้มกับหัวหอม ส้มมะขามหรือใบมะขามอ่อน แล้วเติมเกลือ ให้ออกรสเปรี้ยวเค็ม, โฮกอือ ก็เรียก. |
ต้มยำ | น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นต้มในนํ้าเปล่าหรือในกะทิ ใส่ตะไคร้ ใบมะกรูด และปรุงรสเปรี้ยวเค็ม อาจใส่นํ้าพริกเผา. |
ต้มส้ม | น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อปลาต้มในนํ้าแกงที่ปรุงด้วยกะปิ หัวหอม พริกไทย ส้มมะขาม น้ำปลา และนํ้าตาล มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน. |
ตะคร้อ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด <i> Schleichera oleosa</i> (Lour.) Oken ในวงศ์ Sapindaceae ผลรสเปรี้ยวอมหวาน, สะคร้อ ก็เรียก. |
ตะลิงปลิง | (-ปฺลิง) น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i> Averrhoa bilimbi</i> L. ในวงศ์ Oxalidaceae ใบคล้ายใบมะยม ผลยาวคล้ายมะดันแต่มีร่องตื้น ๆ รสเปรี้ยว. |
ทวาย ๓ | (ทะ-) น. ชื่อยำชนิดหนึ่ง มีผักลวก เช่น ผักบุ้ง หัวปลี ถั่วงอก ราดด้วยหัวกะทิ นํ้าพริกรสเปรี้ยว เค็ม หวาน และโรยงาคั่ว เรียกว่า ยำทวาย. |
นมวัว | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i>Anomianthus</i> <i>dulcis</i> (Dunn) J. Sinclair ในวงศ์ Annonaceae ผลสุกสีแดงอมส้ม รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ. |
น้ำจิ้ม | น. เครื่องจิ้มลักษณะเป็นน้ำใสหรือข้น โดยมากมีรสเปรี้ยวเค็มหวาน ใช้ชูรสอาหาร เช่น นํ้าจิ้มทอดมัน น้ำจิ้มอาหารทะเล. |
น้ำส้มสายชู | น. ของเหลวซึ่งมีกรดแอซีติกละลายอยู่ไม่เกินร้อยละ ๖ มีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร, นํ้าส้ม ก็เรียก. |
น้ำดอกไม้ ๓ | ชื่อมะม่วงพันธุ์หนึ่งของชนิด <i>Mangifera</i> <i>indica</i> L. ผลยาว ดิบรสเปรี้ยวจัด สุกรสหวานหอม เมล็ดแบนมาก. |
บ๊วย ๑ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i>Myrica esculenta</i>Buch.–Ham. ex D. Don. ในวงศ์ Myricaceae ผลกลม ผิวขรุขระ สุกสีแดงคลํ้า กินได้ รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ, ส้มสา ก็เรียก. |
บ๊วย ๑ | ชื่อไม้ต้นชนิด <i>Prunus mume</i> Siebold. et Zucc. ในวงศ์ Rosaceae ผลกลมแบน มีขน ผลสุกสีเหลือง รสเปรี้ยวจัดและขม ดองเกลือแล้วกินได้. |
บูด | ว. มีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวแสดงว่าเสีย (ใช้แก่อาหาร) เช่น ข้าวบูด แกงบูด |
ปรี๊ด | มาก เช่น สูงปรี๊ด, จัด (ใช้แก่รสเปรี้ยว) |
โป๊ะแตก | น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ใช้ของทะเล เช่น หอยแมลงภู่สด ปลากะพง ปูม้า ปลาหมึก กุ้ง ต้มในน้ำเดือดซึ่งมีตะไคร้ ใบมะกรูด หัวหอม รากผักชี ปรุงรสเปรี้ยวเค็มด้วยมะขามหรือมะนาว น้ำปลา พริกขี้หนู พริกแห้งเผา. |
พิมเสน ๒ | ชื่อมะม่วงหลายพันธุ์ของชนิด <i> Mangifera indica</i>L. พันธุ์หนึ่งเมื่อดิบมีรสเปรี้ยว สุกแล้วหวาน, พันธุ์ที่แก่แล้วมีรสมัน เรียก พิมเสนมัน. |
มะกรูด | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i>Citrus hystrix</i> DC. ในวงศ์ Rutaceae ผลขรุขระ รสเปรี้ยว ผิวและใบมีกลิ่นหอมฉุน ใช้แต่งกลิ่นและรสอาหาร ใช้ทำยาได้. |
มะกอก | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด <i>Spondias pinnata</i> (L.f.) Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ใบอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผักดิบ ผลขนาดลูกหมากดิบ เมื่อสุกมีรสเปรี้ยวเจือฝาด ใช้ปรุงอาหาร รากและเมล็ดใช้ทำยาได้, มะกอกบ้าน หรือ มะกอกป่า ก็เรียก. |
มะกอกน้ำ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด <i>Elaeocarpus hygrophilus</i> Kurz ในวงศ์ Elaeocarpaceae มักขึ้นริมนํ้า ผลเล็กรี รสเปรี้ยวฝาด ใช้ดองเป็นอาหาร. |
มะขาม | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด <i>Tamarindus indica</i> L. ในวงศ์ Leguminosae ฝักมีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหารและทำยาได้, พันธุ์ฝักแบนใหญ่เรียก มะขามกระดาน, พันธุ์ฝักเล็กเรียก มะขามขี้แมว, พันธุ์ฝักมีรสหวานเรียก มะขามหวาน. |
มะขามป้อม | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด <i>Phyllanthus emblica</i> L. ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลม รสเปรี้ยวฝาด เมล็ดแข็ง ผลใช้ทำยาได้. |
มะงั่ว | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด <i>Citrus ichangensis</i> Swingle ในวงศ์ Rutaceae ผลคล้ายส้มโอ รสเปรี้ยวจัด ใช้ประสมกับขมิ้นเพื่อย้อมผ้า, มะส้าน ก็เรียก. |
มะดัน | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i>Garcinia schomburgkiana</i> Pierre ในวงศ์ Guttiferae ผลสีเขียว รสเปรี้ยวจัด กิ่งอ่อนใช้ทำยาได้เรียก รกมะดัน. |
มะนาว | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด<i>Citrus aurantifolia</i> (Christm.) Swingle ในวงศ์ Rutaceae ผลเล็ก ๆ รสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร. |
มะปราง | (-ปฺราง) น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i>Bouea macrophylla</i> Griff. ในวงศ์ Anacardiaceae ใบคล้ายใบมะม่วงแต่เล็กกว่า ปลายใบแหลม ผลสุกสีเหลืองอมแดง พันธุ์รสเปรี้ยวจัดเรียก กาวาง, พันธุ์รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ เรียก มะยง, พันธุ์รสหวานแหลมเรียก มะยงชิด. |
มะปริง | (-ปฺริง) น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i>Bouea oppositifolia</i> (Roxb.) Meisn. ในวงศ์ Anacardiaceae คล้ายมะปรางแต่ผลมีรสเปรี้ยว. |
มะพูด ๑ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i>Garcinia dulcis</i> (Roxb.) Kurz ในวงศ์ Guttiferae ใบใหญ่หนาเป็นมัน ผลกลมเป็นพู ๆ รสเปรี้ยวอมหวาน. |
มะเฟือง ๑ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i>Averrhoa carambola</i> L. ในวงศ์ Oxalidaceae ผลเป็นเฟือง ๆ รสเปรี้ยวบ้างหวานบ้าง. |
มะไฟ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i>Baccaurea ramiflora</i> Lour. ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมออกเป็นพวง รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ. |
มะมุด | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i>Mangifera foetida</i> Lour. ในวงศ์ Anacardiaceae มีในภาคใต้ ต้นและใบคล้ายมะม่วง แต่ช่อดอกสีแดง ผลดิบรสเปรี้ยวจัด สุกรสหวานอมเปรี้ยว, มุด ก็เรียก. |
มะยง | น. ชื่อมะปรางพันธุ์หนึ่ง รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ. |
มะยม | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i>Phyllanthus acidus</i> (L.) Skeels ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมเป็นเฟือง ๆ รสเปรี้ยว. |
มะสัง | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i>Feroniella lucida</i> (Scheff.) Swingle ในวงศ์ Rutaceae กิ่งมีหนาม ใบคล้ายใบมะขวิด แต่ผลเล็กกว่า รสเปรี้ยว, อีสานเรียก กะสัง หรือ สัง. |
มะหาด | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล <i>Artocarpus</i>วงศ์ Moraceae เช่น ชนิด <i>A. lacucha</i>Roxb. ex Buch. ผลกลม ผิวขรุขระคล้ายขนุน แต่เล็กกว่ามาก รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ แก่นใช้ทำยาได้. |
เมี่ยงส้ม | น. ของกินอย่างหนึ่ง ทำด้วยมะพร้าวขูดคั่ว กวนกับน้ำตาลปึกผสมถั่วลิสงตำพร้อมด้วยหอมแดง ปรุงให้มีรสเค็มหวาน เมื่อได้ที่โรยใบมะกรูดหั่นฝอย กินแกมกับผักกาดหอมหรือใบทองหลาง และผลไม้มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มโอ มะม่วงดิบ มะปรางดิบ. |
ยำขโมย | น. ยำเนื้อย่างใส่แตงกวา ปรุงรสเปรี้ยว เค็ม เผ็ด. |
ยำทวาย | น. ยำชนิดหนึ่ง มีผักลวก เช่น ผักบุ้ง หัวปลี ถั่วงอก ราดด้วยหัวกะทิน้ำพริกรสเปรี้ยว เค็ม หวาน และโรยงาคั่ว. |
ยำใหญ่ | น. ยำที่ใส่แตงกวา ไข่ต้ม กุ้งต้ม หมูต้ม หนังหมู เห็ดหูหนู หัวผักกาดขาว ใบสะระแหน่ ใบโหระพา ปรุงให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หรือหวานด้วยก็ได้. |
ลอยแก้ว | น. ของหวานทำด้วยเนื้อผลไม้รสเปรี้ยวลอยในนํ้าเชื่อมเจือเกลือเล็กน้อย เช่น ส้มลอยแก้ว กระท้อนลอยแก้ว. |
ลิ้นจี่ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i>Litchi</i> <i>chinensis</i> Sonn. ในวงศ์ Sapindaceae ผลกลม สีแดง รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ มีหลายพันธุ์ เช่น กะเทยนางหมั่น โอเฮียะ กิมเจ็ง, สีละมัน ก็เรียก. (จ. ลีจี). |
ส้ม ๑ | น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล <i>Citrus</i> วงศ์ Rutaceae ใบ ดอก และผิวผลมีต่อมนํ้ามัน กลิ่นฉุน ผลรสเปรี้ยวหรือหวาน กินได้ เช่น ส้มซ่า (<i>C. aurantium</i>L.) ส้มโอ [ <i>C. maxima</i> (Burm.)Merr<i></i>. ] ส้มแก้ว (<i>C. nobilis</i>Lour.) ส้มจุก ส้มเขียวหวาน ส้มจันทบูร (<i>C. reticulata</i>Blanco) ส้มเกลี้ยง ส้มเช้ง [ <i>C. sinensis</i> (L.) Osbeck ], ถ้าผลไม้จำพวกนี้มี มะ อยู่หน้า มักตัดคำ ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด. |
ส้ม ๒ | น. คำใช้ประกอบหน้าชื่อพรรณไม้และของกินที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้มเช้า ส้มตำ ส้มฟัก. |