เครื่องราชอิสริยาภรณ์ | สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบําเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสําหรับพระราชทานเป็น บำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราช-อิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำ ความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด [ศัพท์พระราชพิธี] |
Initial Reserves | ปริมาณน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่ประมาณได้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง, ปริมาณน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่ประมาณได้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งว่าจะสามารถผลิตได้จากแหล่งกักเก็บที่สำรวจพบแล้ว โดยรวมถึงปริมาณที่ผลิตไปแล้วทั้งหมดและปริมาณที่คาดว่าจะสามารถผลิตได้ในอนาคต โดยเทคโนโลยีและสภาพเศรษฐกิจที่คาดการณ์ได้ ณ เวลานั้น [ปิโตรเลี่ยม] |
Commissioning | การเริ่มดำเนินงาน, กระบวนการทดสอบการทำงานของระบบและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงการทดลองเดินเครื่องของโรงงานนิวเคลียร์ก่อนได้รับอนุญาตให้เดินเครื่อง เพื่อตรวจสอบว่าตรงตามแบบและเกณฑ์สมรรถนะที่ต้องการ [นิวเคลียร์] |
Decommissioning | การเลิกดำเนินงาน, กระบวนการด้านบริหารจัดการและด้านเทคนิค เพื่อยกเลิกการควบคุมโรงงานนิวเคลียร์บางส่วนหรือทั้งหมด เนื่องจากไม่มีการใช้งานอีกต่อไป โดยต้องให้มีความปลอดภัยต่อสาธารณชนและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว รวมถึงการลดปริมาณนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่ตกค้างอยู่ตามวัสดุและสถานที่ต่างๆ หลังจากเลิกดำเนินงาน วัสดุบางส่วนสามารถนำกลับมาแปรใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ หรือจัดเก็บเป็นกากกัมมันตรังสี ส่วนสถานที่ก็สามารถใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้ (ดู commissioning ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Dirty bomb | เดอร์ตีบอมบ์, ระเบิดนิวเคลียร์ที่มีฝุ่นกัมมันตรังสีเกิดขึ้นค่อนข้างมาก ปัจจุบันคำนี้หมายรวมถึง ระเบิดที่มีสารกัมมันตรังสีรวมอยู่ด้วยเพื่อให้มีการกระจายของกัมมันตภาพรังสี [นิวเคลียร์] |
Disposal, waste | การขจัดกากกัมมันตรังสี, การดำเนินการเก็บกากกัมมันตรังสีไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม โดยไม่มีการนำกลับมาใช้งานอีก รวมถึงการระบายน้ำและแก๊สจากสถานปฏิบัติการทางรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ดู radioactive discharge ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Waste disposal | การขจัดกากกัมมันตรังสี, การดำเนินการเก็บกากกัมมันตรังสีไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม โดยไม่มีการนำกลับมาใช้งานอีก รวมถึงการระบายน้ำและแก๊สจากสถานปฏิบัติการทางรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ดู radioactive discharge ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Somatic effect | ผลต่อร่างกาย, ผลกระทบต่อร่างกายของบุคคลที่ได้รับรังสี รวมถึงผลกระทบต่อเด็กหลังคลอดที่ได้รับรังสีขณะอยู่ในครรภ์มารดา, Example: [นิวเคลียร์] |
Security | การป้องกัน, มาตรการป้องกันการสูญหาย การลักขโมยวัสดุนิวเคลียร์ หรือวัสดุกัมมันตรังสี รวมถึงการขนย้ายและการเข้าถึงวัสดุดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต (ดู physical protection ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Sealed source | ต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก, วัสดุกัมมันตรังสีซึ่งปิดผนึกอย่างถาวรในปลอกหุ้ม หรือห่อหุ้มอย่างมิดชิดและอยู่ในรูปของแข็ง ปลอกหุ้มหรือวัสดุห่อหุ้มมีความแข็งแรงทนทานเพียงพอที่จะป้องกันการรั่วของสารกัมมันตภาพรังสีในสภาวะการใช้งานปกติ รวมถึงเหตุผิดพลาดที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ [นิวเคลียร์] |
Radiobiology | ชีววิทยารังสี, วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาผลของรังสีชนิดก่อไอออนต่อสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่การดูดกลืนรังสีจนถึงผลที่แสดงออกมาทั้งในระยะสั้น และระยะยาว รวมถึงศึกษาปฏิกิริยาและความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับรังสี [นิวเคลียร์] |
Radioactive waste | กากกัมมันตรังสี, วัสดุที่อยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลว หรือ แก๊ส ที่เป็น หรือประกอบด้วย หรือปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตรังสีที่มีค่ากัมมันตภาพรังสีสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ซึ่งผู้ครอบครองวัสดุนั้นไม่ประสงค์จะใช้งานอีกต่อไป และให้หมายความรวมถึงวัสดุอื่นใดที่คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ กำหนดให้เป็นกากกัมมันตรังสีด้วย <br>(ดู clearance level ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] |
Radiation worker | ผู้ปฏิบัติงานรังสี, ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในบริเวณรังสีชนิดก่อไอออน เช่น ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี ผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีอาจรวมถึงผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค แต่มีความจำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณรังสีหรือรังสีดังกล่าวเป็นประจำ ทำให้มีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานขับรถขนส่งสารกัมมันตรังสี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ป้องกันอันตรายจากรังสีจะกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติงานทางรังสีตามกฎระเบียบ หรือแล้วแต่กรณี</br> <br>ผู้ปฏิบัติงานรังสีดังกล่าวข้างต้น ย่อมมีโอกาสได้รับรังสีจากการปฏิบัติงานเป็นปริมาณแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติงานผลิตสารไอโซโทปรังสี หรือผู้ปฏิบัติงานฉายรังสี จะมีโอกาสได้รับรังสีมากกว่าผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ และเครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ</br> [นิวเคลียร์] |
Radiation biology | ชีววิทยารังสี, วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาผลของรังสีชนิดก่อไอออนต่อสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่การดูดกลืนรังสีจนถึงผลที่แสดงออกมาทั้งในระยะสั้น และระยะยาว รวมถึงศึกษาปฏิกิริยาและความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับรังสี [นิวเคลียร์] |
Publications | เอกสารต่าง ๆ รวมถึงเอกสารสิทธิบัตรที่ประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่จัดพิมพ์เตรียมไว้ให้แก่สาธารณะเข้าไปดู [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
Public exposure | การรับรังสีของบุคคลทั่วไป, การได้รับรังสีของบุคคลทั่วไปจากต้นกำเนิดรังสี หรือจากการดำเนินกิจการทางรังสีซึ่งได้รับอนุญาต หรือกรณีเกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้ไม่รวมถึงการได้รับรังสีจากการปฏิบัติงาน จากการรักษาทางการแพทย์ และจากต้นกำเนิดรังสีในธรรมชาติ (ดู occupational exposure และ medical exposure ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Nuclear fuel cycle | วัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์, การปฏิบัติการทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เริ่มตั้งแต่การทำเหมืองแร่ยูเรเนียมหรือทอเรียม ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้มีความบริสุทธิ์ และการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม การประกอบชุดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ การแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้ว การวิจัยและพัฒนาใดๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดการกากกัมมันตรังสี รวมถึงการเลิกดำเนินงานด้วย [นิวเคลียร์] |
Nuclear accident | อุบัติเหตุนิวเคลียร์, เหตุการณ์ใดๆ ที่เกิดขึ้นในโรงงานนิวเคลียร์โดยไม่เจตนา รวมถึงความผิดพลาดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมทางนิวเคลียร์ หรือของอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับระบบความปลอดภัย ทำให้มีการปลดปล่อย หรือ เกือบมีการปลดปล่อยสารกัมมันตรังสี ออกสู่สิ่งแวดล้อม (ดู INES ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Normal exposure | การรับรังสีตามปกติ, การรับรังสีที่คาดไว้จากการดำเนินงานตามสภาวะปกติ ในโรงงานหรือกิจกรรมทางนิวเคลียร์ รวมถึงความผิดปกติเล็กน้อยที่สามารถควบคุมได้ระหว่างการดำเนินงาน [นิวเคลียร์] |
Naturally occurring radionuclides | นิวไคลด์กัมมันตรังสีตามธรรมชาติ, นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติบนพื้นโลกในปริมาณที่มีนัยสำคัญ (significant quantities) โดยทั่วไปหมายถึงนิวไคลด์กัมมันตรังสีเกิดพร้อมโลก ซึ่งได้แก่ โพแทสเซียม-40 ยูเรเนียม-235 ยูเรเนียม-238 ทอเรียม-232 และผลผลิตการสลายกัมมันตรังสีของนิวไคลด์ดังกล่าว นอกจากนี้ยังรวมถึงทริเทียมและคาร์บอน-14 ซึ่งเกิดจากกระบวนการเชิงก่อกัมมันตภาพรังสีตามธรรมชาติด้วย, Example: [นิวเคลียร์] |
Natural source | ต้นกำเนิดรังสีตามธรรมชาติ, ต้นกำเนิดรังสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงต้นกำเนิดรังสีจากพื้นโลก และรังสีคอสมิก <br>(ดู primordial radionuclide ประกอบ)</br>, Example: [นิวเคลียร์] |
Assistive Technology | เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก, เครื่องมือ อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือบริการที่ใช้สำหรับคนพิการหรือผู้สูงวัย หรือที่มีการดัดแปลงหรือปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล เพื่อเพิ่ม รักษา คงไว้ หรือพัฒนาความสามารถและศักยภาพที่จะเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร การสื่อสาร รวมถึงกิจกรรมอื่นใดในชีวิตประจำวันเพื่อการดำรงชีวิตอิสระ [Assistive Technology] |
Digital Divide | ความเหลื่อมล้ำ (ช่องว่าง) ในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้, ความเหลื่อมล้ำระหว่างประชากรกลุ่มต่างๆ ภายในประเทศ ที่มีโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้แตกต่างกัน เช่น ระหว่างประชากรในเมือง ใหญ่กับประชากรในชนบท ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีเพศ อายุ ต่างกัน ระหว่างผู้ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน ระหว่างผู้ที่มีเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่ต่างกัน รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ของผู้พิการ ที่อาจน้อยกว่าบุคคลทั่วไปอีกด้วย หรืออาจะไปเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำระหว่างคนในประเทศต่างๆ เพราะประเทศที่มั่งคั่ง จะมีความพร้อมมากกว่าประเทศยากจน [Assistive Technology] |
Fission products | ผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียส, <font color="#8b0000">นิวไคลด์กัมมันตรังสี</font>ที่เกิดจาก<font color="#8b0000">การแบ่งแยกนิวเคลียส</font>ของธาตุหนัก รวมถึงนิวไคลด์ที่เกิดจากการสลายของนิวไคลด์กัมมันตรังสีเหล่านั้น [นิวเคลียร์] |
Fissionable material | วัสดุเกิดฟิชชันได้, วัสดุฟิสไซล์ และรวมถึงวัสดุที่นิวเคลียสแบ่งแยกได้ด้วยนิวตรอนเร็ว เช่น ยูเรเนียม-238 (ดู fertile material และ fissile material ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Fuel cycle | วัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์, การปฏิบัติการทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เริ่มตั้งแต่การทำเหมืองแร่ยูเรเนียมหรือทอเรียม ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้มีความบริสุทธิ์ และการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม การประกอบชุดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ การแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้ว การวิจัยและพัฒนาใดๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดการกากกัมมันตรังสี รวมถึงการเลิกดำเนินงานด้วย [นิวเคลียร์] |
Nuclear fuel cycle | วัฏจักรเชื้อเพลิงนิวเคลียร์, การปฏิบัติการทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เริ่มตั้งแต่การทำเหมืองแร่ยูเรเนียมหรือทอเรียม ผ่านกระบวนการทางเคมีเพื่อให้มีความบริสุทธิ์ และการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม การประกอบชุดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การใช้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ การแปรสภาพเชื้อเพลิงใช้แล้ว การวิจัยและพัฒนาใดๆ ที่เกี่ยวข้อง และการจัดการกากกัมมันตรังสี รวมถึงการเลิกดำเนินงานด้วย [นิวเคลียร์] |
facility agreement | ความตกลงเกี่ยวกับสถานที่ (รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ) [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Inviolability of the Mission Premises | คือความละเมิดมิได้จากสถานที่ของคณะผู้แทน หมายความว่า บ้านของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสถานที่อื่น ๆ ที่ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทูต รวมถึงตึกรามใด ๆ ที่ผู้แทนทางการทูตใช้ดำเนินงานทางการทูตในตำแหน่งที่ของเขา ไม่ว่าสถานที่นั้น ๆ จะเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลของเขาหรือเป็นของเขาเอง หรือแม้แต่เป็นสถานที่ที่ให้ตัวแทนทางการทูตเช่า เหล่านี้จะได้รับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด โดยเฉพาะเจ้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่เก็บภาษี หรือเจ้าหน้าที่ศาล จะเข้าไปในที่อยู่หรือทำเนียบของผู้แทนทางการทูตมิได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมให้กระทำเช่นนั้นอย่างไรก็ดี หากเกิดอาชญากรรมขึ้นภายในสถานที่ของคณะผู้แทน หรือในที่อยู่ของตัวแทนทางการทูต โดยบุคคลซึ่งมิได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทูตผู้นั้นจะต้องมอบตัวอาชญากรดังกล่าวให้แก่รัฐบาลท้องถิ่นตาม ที่ขอร้อง กล่าวโดยทั่วไป ตัวแทนทางการทูตจะยอมให้ที่พักพิงในสถานทูตแก่อาชญากรใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่เห็นว่าอาชญากรผู้นั้นตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกฆ่าจากฝูงชน ที่ใช้ความรุนแรง ก็จะยอมให้เข้าไปพักพิงได้เป็นกรณีพิเศษในเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้กล่าวไว้ในข้อ 22 ดังนี้ ?1. สถานที่ของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนของรัฐผู้รับไม่อาจเข้าไปในสถานที่นั้นได้ เว้นแต่ด้วนความยินยอมของหัวหน้าคณะผู้แทน 2. รัฐผู้รับมีหน้าที่พิเศษที่จะดำเนินการทั้งมวลที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสถานที่ของคณะผู้แทนจากการบุกรุกหรือความเสียหายใด ๆ และที่จะป้องกันการรบกวนใด ๆ ต่อความสงบสุขของคณะผู้แทน หรือการทำให้เสื่อมเสียเกียรติ 3. สถานที่ของคณะผู้แทน เครื่องตกแต่ง และทรัพย์สินอื่นของคณะผู้แทนในสถานที่นั้น ตลอดจนพาหนะในการขนส่งของคณะผู้แทน ให้ได้รับความคุ้มกันจาการค้น การเรียกเกณฑ์ การอายัด หรือการบังคับคดี ? [การทูต] |
peace building | การสร้างสันติภาพ เป็นการสร้างและพัฒนาเงื่อนไขเพื่อให้เกิดสันติภาพที่ถาวร อันรวมถึงการสร้างสถาบันและโครงสร้างพื้นฐานของชาติที่ถูกทำลายโดยสงคราม กลางเมืองหรือการสู้รบขึ้นมาใหม่ [การทูต] |
premises of the mission | สถานที่ของคณะผู้แทน คือ อาคารหรือส่วนของอาคารและที่ดินซึ่งอาคารตั้งอยู่ ซึ่งใช้เพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนโดยไม่คำนึงถึงกรรมสิทธิ์ รวมถึงที่อยู่ของหัวหน้าคณะผู้แทนด้วย [การทูต] |
protocol | 1. พิธีการทูต 2. พิธีสาร " 1. พิธีการทูต หมายถึง หลักปฏิบัติ หรือมารยาททางการทูต (etiquette) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในนานาประเทศจนกลายเป็นรูปแบบที่ใช้กันในงานพิธีการ หรือรัฐพิธีต่าง ๆ รวมถึงเรื่องเอกสิทธิ์ ความคุ้มกัน ลำดับอาวุโส ฯลฯ ทั้งนี้ บุคคลซึ่งเป็นหัวหน้ารับผิดชอบด้านพิธีการทูต เรียกว่า Chief of Protocol สำหรับประเทศไทย คือ อธิบดีกรมพิธีการทูต ส่วนเจ้าหน้าที่พิธีการทูต เรียกว่า protocol official 2. พิธีสาร เป็นความตกลงระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง โดยมากเป็นพิธีสารต่อท้ายสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา หรือพิธีสารแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาหรืออนุสัญญานั้น " [การทูต] |
Responsibility to protect | หลักการความรับผิดชอบในการคุ้มครอง เป็นหลักการที่ได้รับการรับรองในการประชุมระดับผู้นำ เพื่อทบทวนผลของปฏิญญาสหัสวรรษ(High Level Panel Meeting - HLPM) เมื่อวันที่ 14-16 กันยายน พ.ศ. 2548 ณ นครนิวยอร์ก ที่เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงทางมนุษยธรรม ( humanitarian interference/intervention of humanity)เพื่อคุ้มครองประชาชนจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การฆ่าล้างชนชาติ โดยจะถือเป็นความรับผิดชอบและที่จะต้องดำเนินการร่วมกันโดยประชาคมระหว่าง ประเทศ อย่างไรก็ตาม หลักการเรื่องนี้มีนัยเกี่ยวข้องกับกฏหมายระหว่างประเทศ อธิปไตย ของรัฐ ความอ่อนไหวทางการเมือง และความชอบธรรมในการปฏิบัติ จึงยังไม่มีการนิยามแนวความคิด R2P รวมถึงขอบเขตของ R2P ที่ชัดเจน [การทูต] |
Sanctions | การบังคับตามกฎระหว่างประเทศ หมายถึงการที่หลาย ๆ ชาติได้ลงมติใช้มาตรการบังคับหรือจูงใจพร้อม ๆกันเพื่อบังคับให้ชาติหนึ่งที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ทำการยับยั้ง (Desist) หรือยินยอมให้มีการชี้ขาดตัดสิน (Adjudication) หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ แซ็งชั่นก็คือ หนทางที่บังคับพันธกรณีทางกฎหมายให้เป็นไปตามกฎหมายเรื่องแซ็งชั่นนี้ กฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวไว้ในบทที่ 7 ข้อ 41 และ 42 มีข้อความดังนี้ ?ข้อ 41 คณะมนตรีความมั่นคงอาจวินิจฉัยว่า จะต้องใช้มาตรการอันใดอันไม่มีการใช้กำลังอาวุธ เพื่อยังผลให้เกิดแก่คำวินิจฉัยของคณะมนตรี และอาจเรียกร้องให้สมาชิกแห่งสหประชาชาติใช้มาตรการเช่นว่านั้น มาตรการเหล่านี้อาจรวมถึงการตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และการคมนาคมทางรถไฟ ทางทะเล ทางอากาศ ทางไปรษณีย์โทรเลข ทางวิทยุ และวิถีทางคมนาคมอย่างอื่นโดยสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน และการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต ข้อ 42 หากคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาเห็นว่ามาตรการที่บัญญัติไว้ในข้อ 41 น่าจะไม่เพียงพอ หรือได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เพียงพอ คณะมนตรีก็อาจดำเนินการใช้กำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้ หรือสถาปนากลับคืนมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การดำเนินการเช่นว่านี้ อาจรวมถึงการแสดงแสนยานุภาพ การปิดล้อม และการปฏิบัติอย่างอื่นโดยกำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินของบรรดาสมาชิกแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
sealed source | ต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก, หมายถึง วัสดุกัมมันตรังสีซึ่งถูกปิดผนึกอย่างถาวรในปลอกหุ้ม หรือถูกห่อหุ้มอย่างมิดชิดและอยู่ในรูปของแข็ง ปลอกหุ้มหรือวัสดุห่อหุ้มต้องมีความแข็งแรงทนทานเพียงพอที่จะป้องกันการรั่วของสารกัมมันตรังสี ภายใต้สภาวะการใช้งานปกติรวมถึงเหตุผิดพลาดที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ [พลังงาน] |
เชื้อเพลิง | เชื้อเพลิง, หมายความรวมถึง ถ่านหิน หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงสังเคราะห์ ฟืน ไม้ แกลบ กากอ้อย ขยะและสิ่งอื่น ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [พลังงาน] |
โรงกลั่น | โรงกลั่น, โรงกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิง สถานที่ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และหมายความรวมถึงโรงแยกก๊าซและโรงงานอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียมและสารละลายด้วย [พลังงาน] |
ไอน้ำมันเชื้อเพลิง | ไอน้ำมันเชื้อเพลิง, ไอน้ำมันเบนซิน และให้หมายความรวมถึง ไอของน้ำมันเชื้อเพลิงอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด [พลังงาน] |
การมีน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในครอบครอง | การมีน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในครอบครอง, การมีไว้ในครอบครองไม่ว่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น และไม่ว่าจะเป็นกรณีมีไว้เพื่อจำหน่าย เพื่อขนส่ง เพื่อใช้หรือเพื่อประการอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการทิ้งหรือปรากฏในบริเวณ ที่อยู่ในความครอบครองด้วย [พลังงาน] |
คลังน้ำมันเชื้อเพลิง | คลังน้ำมันเชื้อเพลิง, สถานที่ที่ใช้ในการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงตามปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้หมายความรวมถึงบริเวณที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตให้เป็นเขตคลังน้ำมันเชื้อเพลิงตลอดจนสิ่งก่อสร้าง ถังท่อและอุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ไม่รวมถึงสถานที่ใช้ในการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตในโรงกลั่นหรือผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง [พลังงาน] |
น้ำมันเชื้อเพลิง | น้ำมันเชื้อเพลิง, ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่นและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ หรือสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นหรือผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น และให้หมายความรวมถึงสิ่งอื่นที่ใช้หรืออาจใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นสิ่งหล่อลื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา [พลังงาน] |
ผู้ค้าน้ำมัน | ผู้ค้าน้ำมัน, ผู้กระทำการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยซื้อนำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือได้มาไม่ว่าด้วยประการใดเพื่อจำหน่าย และให้หมายความรวมถึงผู้กลั่นหรือผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ได้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม [พลังงาน] |
พลังงาน | พลังงาน, ความสามารถในการทำงานซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งที่อาจให้งานได้ ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน และพลังงานสิ้นเปลือง และให้หมายความรวมถึงสิ่งที่อาจให้งานได้ เช่น เชื้อเพลิง ความร้อนและไฟฟ้า เป็นต้น [พลังงาน] |
พลังงานสิ้นเปลือง | พลังงานสิ้นเปลือง, ตามกฎหมายอนุรักษ์พลังงานหมายความรวมถึงพลังงานที่ได้จากถ่านหิน หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน น้ำมันดิบ น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ และนิวเคลียร์ เป็นต้น [พลังงาน] |
พลังงานหมุนเวียน | พลังงานหมุนเวียน, หมายความรวมถึง พลังงานที่ได้จากไม้ ฟืน แกลบ กากอ้อย ชีวมวล น้ำ แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ ลม และคลื่น เป็นต้น [พลังงาน] |
สถานีบริการ | สถานีบริการ, สถานที่สำหรับจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนโดยวิธีเติมหรือใส่ลงในที่บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงของยานพาหนะ โดยใช้มาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยมาตราชั่งตวงวัด ที่ติดตั้งไว้เป็นประจำ และให้หมายความรวมถึงสถานที่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง [พลังงาน] |
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง | สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง, สถานที่ที่ใช้ในการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อให้บริการน้ำมันเชื้อเพลิงแก่ยานพาหนะ และให้หมายความรวมถึงบริเวณที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตให้เป็นเขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตลอดจนสิ่งก่อสร้าง ถัง ท่อ และอุปกรณ์ หรือ เครื่องมือต่าง ๆ ในบริเวณนั้น [พลังงาน] |
Synthetic rubber | ยางที่ผลิตขึ้นใข้แทนยางธรรมชาติ โดยสังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียม มีสมบัติคล้ายยางธรรมชาติ นอกจากนี้ยังรวมถึงยางชนิดต่างๆ ที่สังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาเคมีอีกด้วย เช่น ยางสไตรีนบิวทาไดอีน ยางไนไทรล์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |