กรรณิการ์ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด <i> Nyctanthes arbortristis</i> L. ในวงศ์ Oleaceae ใบคาย ดอกหอม กลีบดอกสีขาว หลอดดอกสีแสด ใช้ย้อมผ้า, เขียนเป็น กณิการ์ หรือ กรณิการ์ ก็มี. |
กรัก | (กฺรัก) น. แก่นขนุนใช้ย้อมผ้า นิยมใช้ย้อมสบงจีวร |
แกแล ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็งชนิด <i> Maclura cochinchinensis</i> (Lour.) Corner ในวงศ์ Moraceae ขึ้นในป่าดิบ ต้นมีหนาม แก่นเหลืองใช้ย้อมผ้าและทำยา, กะแล หรือ เข ก็เรียก. |
ขนุน ๑ | (ขะหฺนุน) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด <i> Artocarpus</i> <i> heterophyllus</i> Lam. ในวงศ์ Moraceae มีนํ้ายางขาว แก่นสีเหลือง เรียกว่า กรัก ใช้ต้มเอานํ้าย้อมผ้า ผลกลมยาวราว ๒๐-๕๐ เซนติเมตร ภายนอกเป็นหนามถี่ ภายในมียวงสีเหลืองหรือสีจำปา รสหวาน กินได้ พันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว เรียก ขนุนหนัง, พันธุ์ที่มียวงสีจำปา เนื้อนุ่ม เรียก ขนุนจำปาดะ, ส่วนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว เรียก ขนุนละมุด. |
ขมิ้น ๑ | (ขะมิ่น) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด <i> Curcuma longa</i> L. ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้าสีเหลือง ใช้ปรุงอาหาร ทำยา ทำผงทาตัว และใช้ย้อมผ้า, ขมิ้นชัน ก็เรียก, อีสานและปักษ์ใต้เรียก ขี้มิ่น. |
ข้าวปั้น | น. ข้าวปากหม้อ ปั้นเป็นก้อนขนาดพอมือ มี ๕ สี คือ สีขาวของข้าว สีครามจากครามย้อมผ้า สีดำจากเขม่าดำที่ติดก้นหม้อ สีเหลืองจากขมิ้น และสีแดงจากปูนแดง จำนวน ๓-๕ ก้อน นำมาวนตัวเด็กที่ป่วย เป็นการปัดรังควาน แล้วโยนข้าวทีละก้อนให้ข้ามหลังคาเรือน เพื่อพลีให้แม่ซื้อ, ข้าวเสียแม่ซื้อ ก็เรียก |
ข้าวเสียแม่ซื้อ | น. ข้าวปากหม้อ ปั้นเป็นก้อนขนาดพอมือ มี ๕ สี คือ สีขาวของข้าว สีครามจากครามย้อมผ้า สีดำจากเขม่าดำที่ติดก้นหม้อ สีเหลืองจากขมิ้น และสีแดงจากปูนแดง จำนวน ๓-๕ ก้อน นำมาวนตัวเด็กที่ป่วย เป็นการปัดรังควาน แล้วโยนข้าวทีละก้อนให้ข้ามหลังคาเรือน เพื่อพลีให้แม่ซื้อ, ข้าวปั้น ก็เรียก. |
ครั่ง ๑ | (คฺรั่ง) น. ชื่อเพลี้ยหอยชนิด <i> Kerria lacca</i> (Kerr) ในวงศ์ Kerriidae เพศเมียไม่มีปีก ขณะเป็นตัวอ่อนระยะแรกมีขาและหนวด เคลื่อนไหวได้ เมื่อลอกคราบเวลาต่อมาจะไม่มีขา เกาะอยู่กับที่ดูดกินนํ้าเลี้ยงจากต้นไม้ เช่น จามจุรี และผลิตสารซึ่งเรียกว่า ขี้ครั่ง นำไปใช้ทำประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายอย่าง เช่น เชลแล็ก สีย้อมผ้า. |
คราม ๓ | (คฺราม) น. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i>Indigofera tinctoria</i> L. ในวงศ์ Leguminosae ปลูกเพื่อใช้ใบและต้นทำสีนํ้าเงิน ใช้ย้อมผ้า. |
คราม ๓ | ชื่อไม้ล้มลุกชนิด <i> Strobilanthes cusia</i> (Nees) Kuntze ในวงศ์ Acanthaceae ใบใช้ทำสีนํ้าเงิน ใช้ย้อมผ้า, พายัพเรียก ห้อม หรือ ห้อมเมือง, เขียนเป็น ฮ่อม หรือ ฮ่อมเมือง ก็มี. |
คาร์บอลิก | น. สารฟีนอล (phenol) มีสูตรเคมี C<sub>6</sub>H<sub>5</sub>OH ลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่น ละลายนํ้าได้บ้าง มีฤทธิ์กัด เป็นพิษ ใช้ประโยชน์เป็นยาล้างเชื้อโรค ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก และสีย้อมผ้า มักเรียกคลาดเคลื่อนว่า กรดคาร์บอลิก. |
คำแสด | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i> Bixa orellana</i> L. ในวงศ์ Bixaceae เมล็ดใช้ย้อมผ้า, แสด ก็เรียก. |
คุย ๒ | น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล <i> Willughbeia</i>วงศ์ Apocynaceae เช่น <i> W. edulis</i>Roxb. ใช้ย้อมผ้าให้มีสีแดงและใช้ทำยาได้ ผลกินได้. |
จุลกฐิน | น. เรียกพิธีทอดกฐินที่ต้องทำตั้งแต่ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อมผ้ากฐิน และถวายสงฆ์ให้เสร็จในวันเดียว, โดยปริยายหมายความว่า งานที่ต้องทำอย่างชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจำกัด. |
ฝาง | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด <i> Caesalpinia sappan</i> L. ในวงศ์ Leguminosae ต้นมีหนาม ดอกสีเหลือง เนื้อไม้สีแดงใช้ย้อมผ้าและทำยาได้ |
มะเกลือ | (-เกฺลือ) น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด <i>Diospyros mollis</i> Griff. ในวงศ์ Ebenaceae แก่นดำ ผลดิบใช้ย้อมผ้าให้เป็นสีดำและใช้ทำยาได้. |
มะงั่ว | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด <i>Citrus ichangensis</i> Swingle ในวงศ์ Rutaceae ผลคล้ายส้มโอ รสเปรี้ยวจัด ใช้ประสมกับขมิ้นเพื่อย้อมผ้า, มะส้าน ก็เรียก. |
ยอ ๑ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i>Morinda citrifolia</i> L. ในวงศ์ Rubiaceae แก่นและรากสีเหลืองใช้ย้อมผ้า ผลและใบกินได้. |
รชกะ | (ระชะกะ) น. คนย้อมผ้า, คนซักผ้า. |
รัชกะ | น. รชกะ, คนย้อมผ้า, คนซักผ้า. |
ราง ๑ | ไม้ที่ขุดหรือต่อให้เป็นร่องยาว ๆ หรือปล้องไม้ไผ่ผ่าซีก มีด้านสกัดหัวท้าย สำหรับใส่อาหารหมูหรือย้อมผ้าเป็นต้น |
สี ๒ | สิ่งที่ทำให้ตาเห็นเป็น ขาว ดำ แดง เขียว เป็นต้น เช่น สีทาบ้าน สีย้อมผ้า สีวาดภาพ. |
สีสวรรค์ | น. สีสำหรับย้อมผ้าหรือกระดาษ ลักษณะเป็นผงละเอียด ละลายนํ้าได้ มีสมบัติติดทน และสีสดใส. |
สีเสียด ๑ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด <i>Acacia catechu</i> (L.F.) Willd. ในวงศ์ Leguminosae กิ่งมีหนาม เนื้อไม้ให้สารที่เรียกว่า สีเสียด ใช้ผสมปูนกินกับหมาก ย้อมผ้า และฟอกหนัง, สีเสียดแก่น หรือ สีเสียดเหนือ ก็เรียก. |