ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: มีอำนาจ, -มีอำนาจ- |
ผู้มีอำนาจ | (n) authoritarian, See also: autocrat, despot, tyrant, dictator, Example: ลูกน้องกระจอกอย่างเขาต้องเกรงกลัวผู้มีอำนาจที่จะสั่งให้เขาทำอะไรก็ได้, Count Unit: คน, Thai Definition: บุคคลที่มีอิทธิพลที่จะบังคับให้ผู้อื่นต้องยอมทำตาม ไม่ว่าจะด้วยความสมัครใจหรือไม่ หรือเป็นบุคคลที่สามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์ | ความมีอำนาจ | (n) power, See also: influence, authority, jurisdiction, Example: นักเลงอาศัยความมีอำนาจของตนข่มเหงชาวบ้าน | ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย | (n) person in authority, Example: พนักงานเหล่านี้ล้วนเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมาย, Count Unit: คน, Thai Definition: ผู้ที่มีสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด |
| กฎอัยการศึก | น. กฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารลิดรอนสิทธิเสรีภาพบางประการของประชาชนได้ตามความจำเป็น ทั้งให้มีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปรามหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน การใช้กฎอัยการศึกจะกระทำได้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล โดยจะให้มีผลบังคับทุกท้องที่หรือบางท้องที่ก็ได้ตามความจำเป็น. | กฎหมาย | น. กฎเกณฑ์ที่ผู้มีอำนาจตราขึ้นเพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามเป็นการทั่วไป ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับผลร้าย กฎหมายอาจตราขึ้นเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ หรือเพื่อใช้ในการบริหารประเทศ กฎหมายอาจเกิดจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือกันก็ได้. | กรม ๓ | (กฺรม) น. หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในราชการและเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็นเจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายปกครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่าตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างหากออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีอำนาจตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามบรรดาศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมหลวงกรมพระ และกรมพระยา หรือ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. | กรมนา | น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษานาหลวง เก็บหางข้าวขึ้นฉางหลวง ทำนุบำรุงอาชีพเกษตรกรรมและเก็บค่าภาษีอากรเกี่ยวกับการนั้น รวมทั้งบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีพิพาทเกี่ยวกับที่นาและโคกระบือเป็นต้น | กรมพระคลัง | น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคลัง การต่างประเทศ และการค้ากับต่างประเทศ รวมทั้งบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์หลวง และคดีความต่างประเทศ, พระคลัง หรือ พระคลังกรมท่า ก็เรียก | กรมเมือง | (กฺรมมะ-) น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยในราชธานีและปริมณฑล ปราบปรามโจรผู้ร้าย รวมทั้งบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีความอุกฉกรรจ์และดูแลคุก (เรือนจำ) มหันตโทษ, เวียง หรือ กรมพระนครบาล ก็เรียก | กรมวัง | (กฺรมมะ-) น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่รักษาพระราชมนเทียร พระราชวังชั้นนอก พระราชวังชั้นใน บริหารกิจการในพระราชสำนัก และบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับสมใน ได้แก่ ศาลแพ่งวัง ศาลอาชญาวัง และศาลนครบาลวัง รวมทั้งบังคับบัญชาศาลมรดก | กลาโหม | ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ | กอบด้วย | ก. มี, มีมาก, เช่น นาย ก เป็นผู้มีอำนาจและกอบด้วยเมตตา, ประกอบด้วย ก็ว่า. | การคลัง | ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการคํ้าประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ. | การต่างประเทศ | น. ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศ. | กาลี ๒ | น. ชื่อหนึ่งของพระอุมา ชายาพระอิศวร เรียกว่า เจ้าแม่กาลี, ปรกติสร้างรูปเป็นหญิงผิวดำ (ส. กาลี ว่า หญิงดำ), และว่ามีอำนาจเสมือน กาล (เวลา) ที่ไม่มีผู้ใดเอาชนะได้. | กำนัน | ตำแหน่งพนักงานฝ่ายปกครองซึ่งมีอำนาจหน้าที่ปกครองราษฎรที่อยู่ในเขตตำบล. | กินตามน้ำ | ก. รับของสมนาคุณที่เขาเอามาให้โดยไม่ได้เรียกร้อง (มักใช้แก่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ). | เกษตรและสหกรณ์ | น. ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเกษตร การเศรษฐกิจการเกษตร การปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร การชลประทาน การประมง การปศุสัตว์ การป่าไม้ การพัฒนาที่ดิน และการสหกรณ์. | แกมมา | น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน (photon) ที่มีพลังงานสูงมาก มีช่วงคลื่นสั้นมาก มักเรียกกันว่า รังสีแกมมา เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๓๐๐, ๐๐๐ กิโลเมตร/วินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุได้สูง สามารถเจาะทะลุแผ่นตะกั่วหนาหลายเซนติเมตรได้ เกิดจากการเสื่อมสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ธาตุเรเดียม ธาตุโคบอลต์-๖๐ หรือเกิดจากการที่อนุภาคบีตาพุ่งชนอะตอมของธาตุ ใช้ประโยชน์ในการแพทย์รักษาโรคมะเร็งและในการเกษตร. | ขลัง | (ขฺลัง) ว. มีกำลังหรืออำนาจที่อาจบันดาลให้เป็นไปได้, มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่า อาจบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์. | ของ | สิ่งที่มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์, ของขลัง ก็ว่า. | ของขลัง | น. สิ่งที่มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้สำเร็จได้ดังประสงค์, ของ ก็ว่า. | คณะกรรมการอำเภอ | น. คณะบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบร่วมกันในการปกครองอำเภอ ปัจจุบันได้ถูกยุบเลิกไปแล้ว โดยโอนอำนาจและหน้าที่ไปเป็นของนายอำเภอ. | คณาธิการ | น. ผู้มีอำนาจในคณะ, ผู้ปกครองคณะ, เรียกภิกษุผู้ทำหน้าที่ในด้านการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่ผู้ช่วยเจ้าอาวาสขึ้นไป ว่า พระคณาธิการ. | คนใหญ่คนโต | น. ผู้ที่มียศหรือมีอำนาจ เช่น งานนี้เขาเชิญแต่คนใหญ่คนโต. | คมนาคม | ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคมนาคม การขนส่ง การพาณิชยนาวี การสื่อสาร และการอุตุนิยมวิทยา. | ครอบงำ | ก. มีอำนาจเหนือ บังคับให้เป็นไปตาม เช่น กิเลสครอบงำ. | ความผิดอาญาแผ่นดิน | น. ความผิดอาญาที่ยอมความกันไม่ได้ และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนดำเนินคดีได้แม้ผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์. | คว่ำกระดาน | ก. อาการที่ฝ่ายซึ่งเห็นว่าตนกำลังจะแพ้ในการเล่นหมากรุก จึงพาลล้มกระดานเลิกเล่นกันโดยแกล้งปัดตัวหมากรุกบนกระดานให้กระจัดกระจายหรือเทตัวหมากรุกบนกระดานเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงการที่ฝ่ายมีอำนาจล้มเลิกการประชุมหรือกิจการใด ๆ เสียกลางคัน เช่น ประธานเห็นว่าจะคุมเสียงในการประชุมไม่อยู่ เลยสั่งปิดประชุมเป็นการคว่ำกระดานเสีย, ล้มกระดาน ก็ว่า. | โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแนวทางแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับพระราชดำริไปพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการร่วมกันดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน หรือบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ตามสภาพสังคมและภูมิประเทศ เดิมเรียกว่า โครงการตามพระราชดำริ มีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เรียกย่อว่า กปร. มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประสานงานโครงการ. | จับ | เกาะกุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย, จับกุม ก็ว่า | จับกุม | ก. เกาะกุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับกุมผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย, จับ ก็ว่า. | เจว็ด | โดยปริยายหมายความว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นประธานหรือเป็นใหญ่ แต่ไม่มีอำนาจ เช่น ประธานไม่ได้เป็นเจว็ด ต้องมีสิทธิ์พิจารณาเรื่องที่เสนอได้ | เจ้าท่า | น. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมและตรวจตราการเดินเรือ การใช้เรือ การจอดเรือ ร่องนํ้า ทางเดินเรือ และกิจการท่าเรือ. | เจ้าพนักงาน | น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายหรือแต่งตั้งโดยผู้มีอำนาจตามกฎหมายให้ปฏิบัติราชการหรือให้ใช้อำนาจรัฐ. | เจ้าพนักงานบังคับคดี | น. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ในอันที่จะปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติไว้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล. | เจ้าหน้าที่ของรัฐ | น. ผู้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานให้แก่รัฐหรือในหน่วยงานของรัฐ เช่น ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานองค์การมหาชน พนักงานรัฐวิสาหกิจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กฎหมายบางฉบับก็ขยายไปถึงสมาชิกสภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติด้วย. | ชักซุงตามขวาง | ขัดขวางผู้มีอำนาจย่อมได้รับความเดือดร้อน. | ช้างสาร | น. ผู้มีอำนาจ ในความว่า ช้างสารชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกลาญ. | ชี้นกเป็นนกชี้ไม้เป็นไม้ | ไม่ว่าผู้มีอำนาจจะว่าอย่างใด ผู้น้อยก็ต้องคล้อยตามไปอย่างนั้นเพราะกลัวหรือประจบ. | เซ่น | ก. เอาอาหารเป็นต้นไปไหว้หรือสังเวยผีหรือเจ้า เช่น เซ่นผี เซ่นเจ้า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ วัก เป็น เซ่นวัก, ใช้ว่า เซ่นวักตั๊กแตน ก็มี, (ปาก) เอาเงินทองหรือสิ่งของไปให้ผู้ที่มีอำนาจเพื่อหวังประโยชน์ เช่น งานนี้ถ้าจะให้สำเร็จต้องมีของไปเซ่นหัวหน้าเสียก่อน. | ฐานานุกรม | น. ลำดับตำแหน่งยศพระสงฆ์ที่พระราชาคณะมีอำนาจตั้งสมณศักดิ์ให้ตามทำเนียบ เช่น พระปลัด พระสมุห์ พระใบฎีกา เป็นฐานานุกรมของพระราชาคณะชั้นสามัญ พระครูปลัด พระครูสมุห์ พระครูใบฎีกา เป็นฐานานุกรมของพระราชาคณะชั้นราชขึ้นไป. | ฐานานุศักดิ์ | ศักดิ์ที่พระราชาคณะมีอำนาจตั้งฐานานุกรมได้. | ดะโต๊ะยุติธรรม | น. ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม. | ตรายาง | น. ตราที่ทำด้วยยางสำหรับประทับบนกระดาษเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจแต่ลงนามอนุมัติตามที่มีผู้อื่นเสนอมาโดยไม่ได้ตัดสินใจเอง. | ตัวแทน | ชื่อสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทำการนั้น | ตัวแทน | บุคคลผู้มีอำนาจทำการแทนบุคคลอื่นตามกฎหมาย. | ตุลาการ | น. ผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี. | เตะโด่ง | ก. ยกให้มีตำแหน่งสูงขึ้นแต่มักมีอำนาจน้อยลง. | ถือบังเหียน | ก. บังคับม้าให้ไปในทางที่ต้องการ โดยใช้มือกระตุกบังเหียนที่สวมปากม้า, โดยปริยายหมายความว่า มีอำนาจบังคับบัญชาให้เป็นไปในทางที่ต้องการ. | ทนาย | (ทะ-) น. ผู้รับใช้, ผู้แทนนาย, (ใช้แก่ผู้มีอำนาจ) | ทนายความ | น. ผู้ซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจหน้าที่ว่าต่างแก้ต่างแทนคู่ความในคดี, เรียกสั้น ๆ ว่า ทนาย | ทบวงการเมือง | น. ส่วนราชการและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมีอำนาจหน้าที่ในทางปกครอง เช่น กระทรวง ทบวง กรม เทศบาล. |
|
| plenipotentiary | ผู้มีอำนาจเต็ม (ทางการทูต) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | plenipotentiary | ผู้มีอำนาจเต็ม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | plenipotentiary, minister | อัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | plan, strong-mayor | เทศบาลแบบนายกเทศมนตรีมีอำนาจมาก (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | plan, weak-mayor | เทศบาลแบบนายกเทศมนตรีมีอำนาจน้อย (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | lack of jurisdiction | การไม่มีอำนาจพิจารณาคดี [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | lawful authority | เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | suzerainty | การมีอำนาจเหนือประเทศอื่น, การมีอำนาจเหนือประเทศราช [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | suzerainty | ความเป็นใหญ่เหนือประเทศราช, การมีอำนาจเหนือประเทศราช [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | strong-mayor plan | เทศบาลแบบนายกเทศมนตรีมีอำนาจมาก (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary | เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | autonomous legislation | การมีอำนาจตรากฎหมายได้เอง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | accroach | กระทำโดยไม่มีอำนาจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | minister plenipotentiary | อัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | circuit court | ศาลที่มีอำนาจพิจารณาในเขตหลายท้องที่, ศาลเคลื่อนที่ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | compellability of witness | การมีอำนาจบังคับให้พยานให้การ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | de son tort, executor | ผู้เข้าจัดการมรดกโดยไม่มีอำนาจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | forum | ๑. ถิ่นที่ศาลมีอำนาจพิจารณาคดี, ประเทศที่ศาลมีอำนาจพิจารณาคดี (ก. ธรรมนูญศาล)๒. ที่ประชุมสาธารณะ (ก. ปกครอง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | false arrest | การจับกุมโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | executor de son tort | ผู้เข้าจัดการมรดกโดยไม่มีอำนาจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | exclusive power | การมีอำนาจแต่ผู้เดียว, อำนาจสิทธิ์ขาดจำเพาะ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | incompetent | ๑. ขาดความสามารถ (ก. แพ่ง)๒. ไม่มีอำนาจหน้าที่ (ก. ปกครอง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | hand-picked | ผู้ที่ได้รับเลือกสรร (โดยผู้มีอำนาจ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | nemo debet esse judex in propria causa (L.) | ไม่มีผู้ใดมีอำนาจตัดสินคดีของตนเอง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | unauthorized | ไม่มีอำนาจ, ไม่ได้รับมอบอำนาจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | weak-mayor plan | เทศบาลแบบนายกเทศมนตรีมีอำนาจน้อย (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
| Bone marrow syndrome | กลุ่มอาการทางไขกระดูก, กลุ่มอาการป่วยจากการได้รับรังสีที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูงจากภายนอกทั่วร่างกายในระยะเวลาสั้นๆ ปริมาณตั้งแต่ 1 เกรย์ ขึ้นไป ทำให้เกิดการลดลงของเม็ดเลือดและก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น อ่อนเพลีย โลหิตจาง ร่างกายติดเชื้อง่าย เลือดไหลไม่หยุด (ดู Radiation syndrome, Gastrointestinal syndrome และ Cerebrovascular syndrome ประกอบ) [นิวเคลียร์] | Cerebrovascular syndrome | กลุ่มอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง, กลุ่มอาการป่วยจากการได้รับรังสีที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูงจากภายนอกทั่วร่างกายในระยะเวลาสั้นๆ ปริมาณตั้งแต่ 50 เกรย์ขึ้นไป อาการที่เกิดได้แก่ กระวนกระวาย สับสน คลื่นไส้และอาเจียนอย่างรุนแรง ไม่รู้สึกตัว และจะเสียชีวิตภายในระยะเวลาอันสั้น (ดู Radiation syndrome, Bone marrow syndrome และ Gastrointestinal syndrome ประกอบ) [นิวเคลียร์] | Central nervous system syndrome | กลุ่มอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง, กลุ่มอาการป่วยจากการได้รับรังสีที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูงจากภายนอกทั่วร่างกายในระยะเวลาสั้นๆ ปริมาณตั้งแต่ 50 เกรย์ขึ้นไป อาการที่เกิดได้แก่ กระวนกระวาย สับสน คลื่นไส้และอาเจียนอย่างรุนแรง ไม่รู้สึกตัว และจะเสียชีวิตภายในระยะเวลาอันสั้น (ดู Radiation syndrome, Bone marrow syndrome และ Gastrointestinal syndrome ประกอบ) [นิวเคลียร์] | X-rays | รังสีเอกซ์, รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ หรือเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิด เช่น ทังสเตน ด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง ซึ่งอิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา บางคน เรียกรังสีเอกซ์ว่า รังสีเรินต์เก็น ตามชื่อของ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เก็น นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นพบรังสีนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2438 [นิวเคลียร์] | Roentgen rays | รังสีเรินต์เก็น, รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ หรือเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิด เช่น ทังสเตน ด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง ซึ่งอิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา บางคน เรียกรังสีเอกซ์ว่า รังสีเรินต์เก็น ตามชื่อของ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เก็น นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นพบรังสีนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2438 [นิวเคลียร์] | Radiation syndrome | กลุ่มอาการป่วยจากรังสี, กลุ่มอาการที่ปรากฏเมื่อมนุษย์ได้รับรังสีที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูงจากภายนอกทั่วร่างกายในระยะเวลาสั้นๆ มี 3 กลุ่มอาการขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับ ได้แก่ กลุ่มอาการทางไขกระดูกหรือกลุ่มอาการทางระบบเลือด กลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร และกลุ่มอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง ทุกกลุ่ม จะแสดงอาการเป็น 3 ระยะ คือ <br>-ระยะเริ่มต้น (prodromal stage) มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย</br> <br>-ระยะแอบแฝง (latent stage) เป็นระยะที่ไม่แสดงอาการ</br> <br>-ระยะแสดงอาการที่แท้จริง (manifest illness stage) มีอาการที่แสดงถึงความเสียหายของอวัยวะ</br> <br>(ดู bone marrow syndrome, cerebrovascular syndrome และ gastrointestinal syndrome ประกอบ)</br> [นิวเคลียร์] | Neutrino | นิวทริโน, อนุภาคมูลฐานที่มีมวลน้อยมาก ไม่มีประจุไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูง และมีปฏิสัมพันธ์กับสสารน้อย ทำให้ตรวจหาได้ยาก พบได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์หลายชนิด เช่น การสลายแบบให้อนุภาคบีตา รวมทั้งอนุภาคจากดวงอาทิตย์ที่ผ่านมายังโลก, Example: [นิวเคลียร์] | Hematopoietic syndrome | กลุ่มอาการทางระบบเลือด, กลุ่มอาการป่วยจากการได้รับรังสีที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูงจากภายนอกทั่วร่าง กายในระยะเวลาสั้นๆ ปริมาณตั้งแต่ 1 เกรย์ ขึ้นไป ทำให้เกิดการลดลงของเม็ดเลือดและก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น อ่อนเพลีย โลหิตจาง ร่างกายติดเชื้อง่าย เลือดไหลไม่หยุด (ดู Radiation syndrome, Gastrointestinal syndrome และ Cerebrovascular syndrome ประกอบ) [นิวเคลียร์] | กฎหมาย | กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ กฏหมาย [คำที่มักเขียนผิด] | Gastrointestinal syndrome | กลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร, กลุ่มอาการป่วยจากการได้รับรังสีที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูงจากภายนอกทั่วร่างกายในระยะเวลาสั้นๆ ปริมาณตั้งแต่ 10 เกรย์ขึ้นไป มีอาการท้องร่วง คลื่นไส้ และอาเจียนอย่างรุนแรง และจะเสียชีวิตภายใน 2 สัปดาห์ [นิวเคลียร์] | accredit | แต่งตั้งให้ไปประจำ หมายถึง การแต่งตั้งมอบหมายให้หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไปประจำยังประเทศอื่น และมีอำนาจดูแลประเทศนั้นหรือเขตอาณาต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้เรียกว่า Accredited Ambassador [การทูต] | Ambassador | เอกอัครราชทูต - Ambassador Extraordinary and Plenipotentiary : เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม หมายถึง เอกอัครราชทูตที่รัฐผู้ส่งแต่งตั้งไปยังรัฐผู้รับ โดยมอบหมายอำนาจให้ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของรัฐผู้ส่ง ในกรณีที่เอกอัครราชทูตมิได้มีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้รับ เรียกว่า Non-resident Ambassador - Ambassador-Designate : ว่าที่เอกอัครราชทูตประจำรัฐผู้รับ หมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต แต่ยังมิได้ยื่นสาส์นตราตั้งต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ - Ambassador-at-Large : เอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษ หมายถึง ผู้แทนพิเศษของกระทรวงการต่างประเทศที่มีสิทธิและสถานะเทียบเท่าเอกอัคร ราชทูตผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลงานและกิจการเฉพาะกิจ หรือเฉพาะเรื่องในต่างประเทศเป็นครั้งคราว - Ambassador attached to the Ministry of Foreign Affairs : เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศ หมายถึง บุคคล ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต มีภารกิจดูแลกิจการภายในของกระทรวงการต่างประเทศ ตามที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงการต่างประเทศ - Resident Ambassador : เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทย หมายถึง เอกอัครราชทูตของไทยที่ได้รับการแต่งตั้งให้ประจำต่อประมุขแห่งรัฐผู้รับ แต่ยังคงมีถิ่นพำนักอยู่ในรัฐผู้ส่ง เอกอัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนักในประเทศไทยนี้ จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในรัฐผู้รับเป็นครั้งคราว [การทูต] | Congress of Vienna | เป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญในยุโรป ได้จัดให้มีขึ้นหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน (กันยายน ค.ศ. 1814 ? มิถุนายน ค.ศ. 1815) ประเทศที่ร่วมการประชุมมี ออสเตรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐสันตะปาปา ปรัสเซีย และรัสเซีย ภาระหน้าที่สำคัญของการประชุม คือ การปักปันเขตแดนกันใหม่ และจัดให้ราชวงศ์เก่าแก่กลับฟื้นคืนมาใหม่ ทั้งในประเทศฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และเยอรมนี สหภาพแห่งนอร์เวย์ และสวีเดน สหภาพแห่งเบลเยี่ยม และฮอลแลนด์ พร้อมทั้งกำหนดให้สวิตเซอร์แลนด์ มีฐานะเป็นประเทศเป็นกลางถ้ามองในแง่การทูต ผลสำเร็จสำคัญที่สุดจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาคือ ข้อมติกำหนดลำดับอาวุโสของคณะผู้แทนทางการทูต โดยถือหลักอาวุโสไม่ว่าในตำแหน่งใด แทนที่จะถือตามสถานภาพและความสำคัญของกษัตริย์อย่างแต่ก่อน รวมทั้งจัดประเภทของนักการทูต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ตามระเบียบที่วางขึ้นใหม่ต่อมาในการประชุม ณ Aix-la-Chapelle ได้แก่1) เอกอัครราชทูต (Ambassadors) ตัวแทนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal legates) และหัวหน้าคณะทูตของสมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncios)2) ผู้แทนทางการทูตผู้มีอำนาจพิเศษ (Envoys Extra-ordinary) และเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม (Ministers Plenipotentiary) อินเตอร์นันสิโอของสมเด็จพระสันตะปาปา3) อัครราชทูตผู้มีถิ่นประจำ (Ministers Resident)4) อุปทูต (Chargé d?affaires)คองเกรสแห่งเวียนนายังวางระเบียบเกี่ยวกับเรื่องการจัดลำดับ อาวุโสของบุคคลในคณะทูต ซึ่งชาติต่าง ๆ ได้ลงนามรับรองในสนธิสัญญาพาหุภาคีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว [การทูต] | Eisenhower Doctrine | ลัทธิไอเซนฮาวร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1957 ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความวิตกห่วงใยในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่ออันตรายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้อ่านสารพิเศษต่อที่ประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนกับวุฒิสภาขอร้องให้รัฐสภา สหรัฐฯ ลงมติรับรองโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหาร เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติของบรรดาประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการสนองตอบสารพิเศษดังกล่าว รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านข้อมติร่วมกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1957 มอบให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้ความร่วมมือและอำนวยความช่วยเหลือแก่ชาติหรือ กลุ่มชาติต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเช่นนั้น ในการที่จะพัฒนาพลังทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติตน และให้จัดโครงการช่วยเหลือทางทหารแก่ชาติต่างๆ ในภาคนั้นซึ่งต้องการความช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งได้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีสามารถใช้กองทัพสหรัฐฯ เข้าช่วยเหลือชาติเหล่านั้นที่แสดงเจตนาขอความช่วยเหลือ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากประเทศใด ๆ ที่อยู่ใต้อำนาจควบคุมของคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศ [การทูต] | Exequatur | คำนี้แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า ?let him perform? เป็นหนังสือหรืออนุมัติบัตรแสดงการรับรองผู้ที่ดำรงตำแหน่งกงสุลโดยประมุข หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐซึ่งกงสุลผู้นั้นได้ถูกส่งไป ประจำ Exequatur เป็นอนุมัติบัตรที่มอบให้กงสุล แสดงว่ามีอำนาจที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ของกงสุลทั้งหมด สามารถเป็นหลักฐานที่ใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นภายในเขตอาณัติของกงสุล ด้วย รัฐที่ปฏิเสธไม่ออก Exequatur ให้นั้น ไม่จำเป็นต้องบอกเหตุผลแก่รัฐผู้ส่งว่าเพราะเหตุผลใดจึงปฏิเสธ ในเรื่องนี้ข้อ 12 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุลได้บัญญัติไว้ว่า?1. หัวหน้า สถานที่ทำการทางกงสุล จะเข้าปฏิบัติการหน้าที่ของตนได้ โดยอนุมัติจากรัฐผู้รับเรียกว่า อนุมัติบัตรไม่ว่าการให้อนุมัติจะเป็นไปในรูปใดก็ตาม 2. รัฐซึ่งปฏิเสธไม่ให้อนุมัติบัตรไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการปฏิเสธ เช่นว่านั้นแก่รัฐผู้ส่ง 3. ภายในข้อบังคับแห่งบทของข้อ 13 และ 15 หัวหน้าสถานที่ทำการทางกงสุลจะไม่เข้ารับหน้าที่ของตนจนกว่าจะได้รับอนุมัติ บัตรแล้ว? [การทูต] | Final Act | กรรมสารสุดท้าย คือคำแถลงหรือคำสรุปอย่างเป็นทางการจากเรื่องราวการ ประชุม คำแถลงนี้จะระบุสนธิสัญญาและอนุสัญญาที่ได้มีการลงนามกันอันเป็นผลจากการ ประชุม และในบางกรณีจะผนวกความเห็นหรือข้อเสนอแนะหรือความปรารถนาจากที่ประชุมไว้ ด้วย ผู้แทนที่มีอำนาจเต็มเท่านั้นจะเป็นผู้ลงนามในกรรมสารสุดท้าย ในตอนสุดท้ายของการประชุม [การทูต] | Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] | Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] | Great Powers | ประเทศมหาอำนาจ รัฐที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นประเทศมหาอำนาจ คือรัฐที่มีอำนาจอิทธิพลครอบงำในกิจการระหว่างประเทศ ไม่มีกฎหมายใดๆ ที่จะกำหนดว่าประเทศนั้น ประเทศนี้มีสถานภาพเป็นมหาอำนาจ หากเป็นเพียงเพราะรัฐนั้นๆ มีขนาด พละกำลัง และอำนาจอิทธิพลทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐาน และจะสังเกตได้ว่า สถานะของกลุ่มประเทศมหาอำนาจเช่นนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงได้บ่อยๆ เช่น ในสมัยการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 ประเทศมหาอำนาจในสมัยนั้นได้แก่ อังกฤษ ออสเตรีย ฝรั่งเศส ปอร์ตุเกส ปรัสเซีย สเปน สวีเดน และรัสเซีย หลังจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่เกี่ยวกับพละกำลังของประเทศมหาอำนาจ คือก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง ประเทศที่จัดว่าเป็นมหาอำนาจในตอนนั้นคือ อังกฤษ ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่นอกยุโรป เมื่อตอนสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศที่เป็นมหาอำนาจได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ โซเวียตรัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน พึงสังเกตด้วยว่า องค์การสหประชาชาติได้ถือว่า ประเทศทั้ง 5 นี้มีอำนาจและมีความสำคัญมากที่สุดในขณะนั้น ทั้ง 5 ประเทศนี้ต่างเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ซึ่งมีอำนาจใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในที่ประชุม ซึ่งในปัจจุบันก็ยังปฏิบัติเช่นนั้นอยู่ [การทูต] | Head of Diplomatic Mission | บุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐผู้ส่งให้ทำหน้าที่ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ในกรณีของสถานเอกอัครราชทูตผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ทางการทูต เรียกว่า เอกอัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม (Ambassador Extraordinary and plenipotentiary) หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะได้แก่ อัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม หรือเรียกว่าอุปทูต (Chargé d?Affaires entitre) คองเกรสแห่งเวียนนาและที่ประชุมแห่งเอกซ์ ลา ชา แปล (Congress of Aix-la-Chapelle) ได้จำแนกหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไว้ดังต่อไปนี้ คือ1. เอกอัครราชทูต (Ambassadors) หรือเอกอัครสมณทูต (Papal Nucios)2. อัครราชทูต (Envoys Extraordinary and Ministers Plenipotentiary)3. อัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนัก (Mission Resident)4. อุปทูต (Chargé d?Affaires)แต่อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตร 14 ว่า?1. หัวหน้าคณะผู้แทนแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือก. ชั้นเอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐ และหัวหน้าคณะผู้แทนอื่นที่มีชั้นเท่ากันข. ชั้นรัฐทูต อัครราชทูต และอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐค. ชั้นอุปทูตซึ่งแต่งตั้งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2. ข้อยกเว้นที่เกี่ยวกับลำดับอาวุโสและมารยาท ต้องไม่ให้มีความแตกต่างกันระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทน ในมาตรา 15 ก็ได้ระบุว่า ชั้นที่กำหนดให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทนนั้น ต้องทำความตกลงกันระหว่างรัฐ? [การทูต] | Heads of State | ผู้แทนที่สำคัญที่สุดของรัฐ หรือประมุขของรัฐ ในบางกรณีอาจทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐ ในการเจริญความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยมีอำนาจเต็มที่จะประกอบการใด ๆ ได้ ประมุขของรัฐนั้นอาจได้แก่ พระจักรพรรดิ (Emperor) พระเจ้าแผ่นดิน (King) พระราชินี (Queen) และประธานาธิบดี (President)ประมุขของรัฐย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเคารพ และการยอมรับนับถือจากประเทศอื่นๆ ในสังคมนานาประเทศ ในแง่พิธีการทูต ผู้ที่เป็นกษัตริย์อาจได้รับเกียรติแตกต่างกับผู้ที่เป็นประธานาธิบดี แต่ความแตกต่างเช่นนี้หามีความสำคัญในแง่กฎหมายอย่างใดไม่ เมื่อประมุขของรัฐเดินทางไปเยือนต่างประเทศ ตัวประมุขพร้อมด้วยบุคคลในครอบครัวและบริวารทั้งหลาย ตลอดจนถึงทรัพย์สินของประมุขจะไดรับความคุ้มกัน (Immunity) ทั้งในทางแพ่งและอาญาคำว่าประมุขของรัฐอาจหมายถึงหัวหน้าของรัฐบาลก็ได้ เช่น ในกรณีสหรัฐอเมริกา แต่ในบางประเทศ เช่น อังกฤษ ประมุขของรัฐมิได้เป็นหัวหน้าของรัฐบาล ผู้ที่เป็นหัวหน้าของรัฐบาลได้แก่ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) ในประเทศที่มีการปกครองในรูปสาธารณรัฐ (Republic) ถือว่าอำนาจอธิปไตยตกอยู่กับประชาชน แม้แต่ตัวประธานาธิบดีของประเทศก็ไม่มีอำนาจอธิปไตย หากแต่เป็นประชาชนพลเมืองคนหนึ่ง ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้เข้าไปบริหารประเทศตามกำหนดระยะเวลาหนึ่งภายใต้ รัฐธรรมนูญ และตัวประธานาธิบดี เช่น ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็อาจถูกฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่งโดยรัฐสภา หรือสภานิติบัญญัติได้ เรียกว่า Impeachment [การทูต] | International Conferences | คือการประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้ง สุดท้าย [การทูต] | International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] | legalisation | นิติกรณ์ " กระบวนการรับรองความถูกต้อง คำแปลหรือลายมือชื่อผู้มีอำนาจ ลงนามในเอกสาร โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต สถานกงสุล หรือหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ได้รับการยอมรับและสามารถนำไปใช้ได้ในทางการระหว่างประเทศ " [การทูต] | Legalisation (legalization) | นิติกรณ์ กระบวนการรับรองความถูกต้อง คำแปลหรือลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามในเอกสาร โดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ สถานฑูต สถานกงสุล หรือหน่วยงานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ได้รับการยอมรับและสามารถนำไปใช้ได้ในทางการระหว่างประเทศ [การทูต] | New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] | Pacific Charter | คือกฎบัตรแปซิฟิค ซึ่งประกาศ ณ กรุงมะนิลา เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1954 ในโอกาสที่มีการตกลงกันทำสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Southeast Asia Defense Treaty-SEATO ) ประเทศที่ลงนามเป็นภาคีในสนธิสัญญา คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาสาระสำคัญในสนธิสัญญาดังกล่าว หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า SEATO (ซีโต้) นั้นคือ ทุกประเทศภาคีจะร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมาตรฐานการครอง ชีพสูงขึ้น มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และมีสวัสดิภาพสังคมที่ดี แต่จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคามสนธิสัญญาคือ บรรดาประเทศภาคีตกลงที่จะป้องกันหรือตอบโต้ความพยายามใด ๆ ที่จะล้มล้างเสรีภาพที่มีอยู่ในเขตสนธิสัญญา หรือทำลายอธิปไตยหรือบูรณภาพแห่งเขตแดนของประเทศภาคี พูดอย่างสั้น ๆ ก็คือฝ่ายโลกเสรีอันมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ต้องการกีดกันมิให้ประเทศฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้าไปมีอำนาจครอบงำดินแดนเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างสงครามเย็น (Cold War ) โดยวิธีรุกรานหรือวิธีอื่นใดก็ตาม [การทูต] | Reciprocity of Rank of Envoys | หมายถึง การถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันในเรื่องตำแหน่งของทูต กล่าวคือ ประเทศทั้งหลายถือธรรมเนียมปฏิบัติในการแลกเปลี่ยนทูตที่มีตำแหน่งเท่าเทียม กัน ดังนั้น หากประเทศหนึ่งส่งทูตไปประจำอีกประเทศหนึ่ง ในตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ประเทศนั้นก็คาดว่าประเทศผู้รับย่อมจะให้ถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน โดยส่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มของตนไปประจำที่ประเทศผู้ส่งด้วย พึงสังเกตว่าการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติกันเช่นนี้มิใช่เป็นระเบียบข้อบังคับของ กฏหมายระหว่างประเทศ หากเป็นการแสดงไมตรีจิตมิตรภาพต่อกันระหว่างประเทศทั้งหลายมากกว่า [การทูต] | Secretariat of the United Nations | คือสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยสมัชชาตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ตามที่องค์การต้องการหน้าที่สำคัญของเลขาธิการสหประชา ชาติ คือ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การ นำเรื่องใดก็ตามเสนอต่อคณะมนตรีความมั่นคง ซี่งตามทรรศนะของเลขาธิการเห็นว่าเป็นภัยคุกคามสันติภาพและความมั่นคง ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ทำรายงานประจำปี และรายงานเพิ่มเติมใด ๆ ที่จำเป็นเสนอต่อสมัชชาสหประชาชาติ เกี่ยวกับงานขององค์การ สหประชาชาติคณะเจ้าหน้าที่ที่ทำงานช่วยเหลือเลขาธิการนั้น ถือเป็นเจ้าหน้าที่ระหว่างประเทศ ประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ ในการเกณฑ์เจ้าหน้าที่เหล่านี้เข้าทำงานกับสหประชาชาติ จะคัดแต่ผู้ที่มีประสิทธิภาพ ความสามารถ และความซื่อสัตย์ในระดับสูงสุด และคำนึงถึงเขตภูมิศาสตร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในการทำงานตามหน้าที่ ทั้งตัวเลขาธิการและคณะเจ้าหน้าที่ผู้ร่วมงาน จะต้องไม่แสวงหรือรับคำสั่งจากรัฐบาลใด ๆ หรือจากผู้มีอำนาจหน้าที่อื่นใดที่อยู่นอกเหนือองค์การสหประชาชาติ ขณะเดียวกัน สมาชิกของสหประชาชาติได้ตกลงยอมรับนับถือความรับผิดชอบที่มีลักษณะระหว่าง ประเทศของสำนักเลขาธิการ และจักไม่แสวงใช้อิทธิพลใด ๆ ต่อสำนักเลขาธิการ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบเหล่านั้น [การทูต] | Vienna Convention on Consular Relations | อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1961 สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้ตกลงให้จัดการประชุมระหว่างผู้แทนผู้มีอำนาจเต็ม จากประเทศสมาชิก เพื่อทำหน้าที่พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล และได้ประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา เมื่อต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 1963 ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ถึงวันที่ 22 เมษายน มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม เป็นจำนวน 92 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ส่วนประเทศโบลิเวีย กัวเตมาลา ปละปารากวัย ได้เข้าร่วมประชุมด้วยในฐานะผู้สังเกตการณ์ (Observers)มีข้อน่าสังเกตว่า ในข้อ 73 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอนุสัญญานี้ว่า จะไม่มีผลกระทบต่อความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้บังคับระหว่างรัฐภาคีแห่งความตกลงดังกล่าว และไม่มีข้อความใดในอนุสัญญานี้ที่จะตัดหนทางของรัฐในการทำความตกลงระหว่าง ประเทศ เพื่อยืนยันหรือเติมต่อหรือยืดขยายบทแห่งอนุสัญญานี้ออกไปอีก [การทูต] | Vienna Convention on Diplomatic Relations | อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1959 ให้จัดการประชุมระหว่างผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากประเทศสมาชิก เพื่อพิจารณาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการติดต่อและการคุ้มกันทางการทูต และได้เริ่มต้นประชุมกัน ณ กรุงเวียนนา ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม ถึงวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1961 มีรัฐบาลของประเทศสมาชิกส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมร่วมด้วย 81 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย อนุสัญญาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1964 [การทูต] | Authority | อำนาจความรับผิดชอบ, อำนาจ, ผู้มีอำนาจ [การแพทย์] | Chemotactic Factors | สารที่สามารถเรียกเม็ดเลือดขาว, สารเคมีที่มีอำนาจดึงดูดได้, คุณสมบัติเป็นสารคีโมแทคติค [การแพทย์] | Demotion | การเลื่อนตำแหน่งไปในที่ไม่มีอำนาจสั่งการ [การแพทย์] | Ferromagnetic | สารที่มีอำนาจแม่เหล็ก [การแพทย์] | gamma ray [ γ-ray ] | รังสีแกมมา, รังสีชนิดหนึ่งที่แผ่ออกมาจากธาตุกัมมันตรังสี เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีความยาวคลื่นสั้นมาก มีอำนาจในการผ่านทะลุสูงกว่ารังสีแอลฟาและรังสีบีตา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | beta ray [ β-ray ] | รังสีบีตา, รังสีชนิดหนึ่งที่แผ่ออกมาจากธาตุกัมมันตรังสี ธาตุกัมมันตรังสีบางธาตุแผ่รังสีบีตาที่เป็นอิเล็กตรอน แต่ธาตุกัมมันตรังสีบางธาตุแผ่รังสีบีตาที่เป็นโพซิตรอน มีอำนาจการทะลุผ่านสูงกว่ารังสีแอลฟา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | alpha ray [ α - ray ] | รังสีแอลฟา, รังสีชนิดหนึ่งแผ่ออกมาจากธาตุกัมมันตรังสี เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวก คือ เป็นนิวเคลียสของ อะตอมของธาตุฮีเลียม ประกอบด้วย 2 โปรตอน และ 2 นิวตรอน มีอำนาจทะลุผ่านน้อยมาก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] | Megalomania | ความรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจหรือมีความสำคัญ [การแพทย์] |
| I'm on the job, you big nabob | เป็นงานของฉัน ท่านผู้มีอำนาจ ท่านไม่เคยมีเพื่อน ไม่เคยมีเพื่อน Aladdin (1992) | When I am queen, I will have the power to get rid of you. | เมื่อข้าได้เป็นราชินี ข้าจะมีอำนาจพอที่จะเล่นงานเจ้า Aladdin (1992) | You enjoy being in control. | คุณสนุกกับการมีอำนาจควบคุม Basic Instinct (1992) | Yet inside, I believe she vacillates between a feeling of godlike omnipotence and a sense that she simply doesn't exist which, of course, is intolerable. | แต่ข้างในตัวเธอ ผมเชื่อว่า... ...เธอโอนเอนอยู่ระหว่าง ความรู้สึกในการมีอำนาจเหมือนพระเจ้า... ...และสัมผัส ที่เธอไม่มีตัวตน... Basic Instinct (1992) | A sexy, omnipotent killer with a Random House contract. | ฆาตรกรที่มีอำนาจสุดเซ็กซี่ กับสัญญาของสำนักพิมพ์แรนดอมเฮ้าส์ Basic Instinct (1992) | I'm already working it into a paper: "Risk Addiction and Omnipotence." | ผมกำลังศึกษาเกี่ยวกับมัน "การติดความเสี่ยงภัยและการมีอำนาจ" Basic Instinct (1992) | It's just a story, doctor. Or maybe I really am omnipotent. | มันเป็นแค่นิยาย คุณหมอ หรือ บางที ฉันเป็นผู้มีอำนาจจริงๆ Basic Instinct (1992) | The book is bound in human skin... and contains the recipes for her most powerful and evil spells." | หนังสือนี่ทำมาจากหนังมนุษย์... ประกอบไปด้วยการปรุงยาที่มีอำนาจมากและคถาของซาตาน." Hocus Pocus (1993) | Quite extraordinary powers in a democracy. | วิสามัญผู้มีอำนาจค่อนข้าง ในระบอบประชาธิปไตย In the Name of the Father (1993) | You don't know the power you have over me. | แม่ไม่รู้ว่าแม่มีอำนาจเหนือตัวหนูขนาดไหน The Joy Luck Club (1993) | We have the fucking power to kill, that's why they fear us. | เรามีอำนาจฆ่า... เขาถึงกลัว Schindler's List (1993) | They fear us because we have the power to kill arbitrarily. | ไม่ใช่... เรามีอำนาจที่จะฆ่า Schindler's List (1993) | They cast a spell on you, you know, thejews. | พวกนี้มีอำนาจเหมือนเชื้อโรค Schindler's List (1993) | It is not my task to interfere with the processes that take place down here. | ผมไม่มีอำนาจเข้าไปก้าวก่ายที่นี่ ขนาดฟาร์เบ็น ผมยังช่วยไม่ได้ Schindler's List (1993) | I'm allowed to continue my work because I've made connections in Congress. | - ใคร ? ฉันไม่เข้าใจ - ใครบางคนที่มีอำนาจเหนือกว่า Deep Throat (1993) | Over all other clans. And for two of you, there's also this. | เพื่อมีอำนาจเหนือตระกูลอื่นทั้งหมด และเพื่อเจ้าทั้งสองเองยังมีนี่อีก Rapa Nui (1994) | "and wider than the known universe. | และมีอำนาจมากกว่าจักรวาล In the Mouth of Madness (1994) | You don't understand. Burton Quinn is a powerful man. | คุณไม่เข้าใจ ควินน์มีอำนาจมากนะ Ace Ventura: When Nature Calls (1995) | LA? This is Las Vegas. You don't even have jurisdiction here. | นี่ลาสเวกัส คุณไม่มีอำนาจที่นี่ Heat (1995) | In the future, each man will serve the state with absolute obedience. | ในอนาคตทุกคนจะโหยหา รัฐบาลที่มีอำนาจเด็ดขาด The Great Dictator (1940) | You have the power to create machines, the power to create happiness. | คุณมีอำนาจ ที่จะสร้างแรงผลักดัน อำนาจที่จะสร้างความสุข The Great Dictator (1940) | You have the power to make this life free and beautiful, to make this life a wonderful adventure. | คุณมีอำนาจที่จะทำให้ ชีวิตมีอิสระและสวยงาม ที่จะทำให้ชีวิตนี้ มีเรื่องเล่าที่ยอดเยี่ยม The Great Dictator (1940) | In the name of democracy, let us use that power. | ในชื่อของประชาธิปไตย ทุกคนจะมีอำนาจ The Great Dictator (1940) | These are the bosses of the camp, the elite. | ที่เป็นผู้สูงศักดิ์ มีอำนาจในแคมป์ Night and Fog (1956) | When a mystery is too overpowering, one doesn't dare disobey. | เมื่อความเร้นลับมันมีอำนาจล้นเหลือ คนเราย่อมไม่กล้าลบหลู่ The Little Prince (1974) | Masters | ผู้ที่แสดงเป็นผู้มีอำนาจ Salò, or the 120 Days of Sodom (1975) | And the absolute being, the all-powerful, all-knowing, all-merciful infinite spirit, the supreme soul the King of Kings, and Lord of Lords the infinite, everlasting eternal being last came to you how? | และแน่นอนที่สุดครับ ทุกคนนั้นมีอำนาจ เก่งกาจ ทุกคนศักดิ์สิทธิ์กันทั้งนั้น ดวงวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ Oh, God! (1977) | He's the boss, head man, top dog, | เขาเป็นเจ้านาย หัวหน้า ผู้ มีอำนาจ Airplane! (1980) | We had a band powerful enough to turn goat piss into gasoline. | พวกเรามีวงมีอำนาจเพียงพอฉี่แพะเป็นน้ำมัน The Blues Brothers (1980) | They see no reason to give their loyalty to rich and powerful men who simply want to take over the role of the British in the name of freedom. | พวกเขาไม่เห็นว่าจะต้อง ภักดีต่อคนรวยและมีอำนาจ ผู้หวังสืบทอดบทบาทจากพวกอังกฤษ โดยอ้างเสรีภาพ Gandhi (1982) | England is so powerful. | อังกฤษ มีอำนาจมาก Gandhi (1982) | Then to prove to the new viceroy that the king's writ no longer runs in India. | แล้วจะทำให้ไวซ์รอยคนใหม่เห็นว่า อังกฤษไม่มีอำนาจในอินเดียอีกแล้ว Gandhi (1982) | It has given him power and the freedom to speak. | มันทำให้เขามีอำนาจ และเสรีภาพในการพูด Gandhi (1982) | No lights, no power. | มีไฟไม่มีไม่มีอำนาจ 2010: The Year We Make Contact (1984) | Now there is a new maharaja, and again the palace has the power of the Dark Light. | ที่ขณะนี้มีมหาราชาใหม่ และอีกครั้งในวังมีอำนาจของความมืดแสง Indiana Jones and the Temple of Doom (1984) | So you're an authority in that area? | ดังนั้นคุณผู้มีอำนาจในพื้นที่ที่? Indiana Jones and the Temple of Doom (1984) | "you'll thank me." that's it. the Dushanbe road... where we're supposed to meet our contacts... | "นายจะขอบใจฉัน..." นั่นไง ถนน Dushanbe ที่เราจะได้รับการติดต่อครั้งต่อไป เรามีอำนาจดำเนินการเต็มที่ ตราบเท่าที่ประธานาธิบดีเห็นชอบ Spies Like Us (1985) | Ooey, the richest and most powerful mouse in New York. | หูย หนูที่รวยที่สุด มีอำนาจที่สุดในเมือง An American Tail (1986) | "You have no power over me." | เจ้าไม่มีอำนาจเหนือข้า Labyrinth (1986) | You have no power over me. | เจ้าไม่มีอำนาจเหนือข้า Labyrinth (1986) | You have no power over me. | เจ้าไม่มีอำนาจเหนือข้า Labyrinth (1986) | - The babe with the power. - What power? | เด็กที่มีอำนาจ อำนาจไหน Labyrinth (1986) | You are the authority on what is not possible. | - คุณมีอำนาจเหนือมันได้ เหนือสิ่งที่เป็นไม่ได้ Gattaca (1997) | These suckers definitively are gonna kick some ass, yea? | ปืนนี่มีอำนาจการยิงสูงมากเลยนะ The Jackal (1997) | And the inertia of my life... plunging ahead, and me, powerless to stop it. | มันเป็นแรงเฉื่อยของชีวิต พุ่งไปข้างหน้า ฉันไม่มีอำนาจหยุดมันไว้ Titanic (1997) | Sweeney is a nigger on a power trip. | สวีนีย์ เป็นนิโกรนะ / ทำตัวมีอำนาจ American History X (1998) | But instead, he just attacked a few cops... so, suddenly, it's Hands Across America... for this fucking total son of a bitch. | แต่แทนที่จะเป็นแบบนั้น / เขาทำร้ายร่างกายตำรวจ... แล้ว จากนั้น / มันก็มีอำนาจข้ามอเมริกา... แล้วเรื่องทั้งหมดนี่ / เรื่องของไอหน้าตัวเมียนี่ American History X (1998) | There was no other way I could take power. | มีทางเดียว ที่ข้าจะมีอำนาจ April Story (1998) | She had strange powers all her life. | เธอมีอำนาจประหลาด. Ringu (1998) | Kusano, I'm sorry I don't have any power | คุซาโนะ ฉันขอโทษ ฉันไม่ได้มีอำนาจใด ๆ GTO (1999) |
| มีอำนาจ | [mī amnāt] (adj) EN: powerful ; masterful FR: puissant | มีอำนาจมาก | [mī amnāt māk] (adj) EN: powerful | ผู้มีอำนาจ | [phū mī amnāt] (n, exp) EN: powerful person ; boss ; authorities | ผู้มีอำนาจ | [phū mī amnāt] (n, exp) EN: authoritarian ; autocrat ; despot ; tyrant ; dictator | ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย | [phū mī amnāt tām kotmāi] (n, exp) EN: person in authority | ผู้มีอำนาจเต็ม | [phū mī amnā tem] (n, exp) EN: plenipotentiary FR: personne qui a pleins pouvoirs [ f ] | ผู้แทนผู้มีอำนาจ | [phūthaēn phū mī amnāt] (n, exp) EN: authorized representative | ซึ่งมีอำนาจสนับสนุน | [seung mī amnāt sanapsanun] (adj) EN: authoritative |
| above | (adv) ที่มีอำนาจมากกว่า | almighty | (adj) ซึ่งมีอำนาจไม่จำกัด, Syn. all-powerful | arbiter | (n) ผู้ที่มีอิทธิพล, See also: ผู้ที่มีอำนาจ | authoritative | (adj) ซึ่งมีอำนาจสนับสนุน, See also: ซึ่งแสดงถึงอำนาจ, Syn. well-supported | authority | (n) ผู้มีอำนาจ, See also: เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ, Syn. officials, officialdom | autocrat | (n) ผู้มีอำนาจเด็ดขาด, See also: ผู้ปกครองที่มีอำนาจเด็ดขาด, Syn. dictator, despot, absolute ruler | autocratic | (adj) ที่มีอำนาจเด็ดขาด, Syn. dictatorial, tyrannical, authoritarian | backroom | (n) ห้องประชุมผู้มีอำนาจเบื้องหลัง | baron | (n) บุคคลที่มีอำนาจ, Syn. tycoon | big | (adj) มีพลังมาก, See also: ทรงพลัง, มีอำนาจสูง | Big Brother | (n) ผู้นำ, See also: ผู้ที่มีอำนาจเด็ดขาด, Syn. head, master | bishop | (n) ตำแหน่งบาทหลวงที่มีอำนาจปกครองบาทหลวงอื่นๆ, See also: แต่มีชั้นต่ำกว่า archbishop ซึ่งเป็นตำแหน่งบาทหลวงสูงสุด, Syn. prelate | be in force | (idm) มีอำนาจ, See also: กลายเป็นกฎหมาย, ต้องเชื่อฟังกฎเกณฑ์ | be on the top of | (idm) ยังคงเป็นผู้นำ, See also: ยังมีอำนาจ, ยังคงควบคุบ, Syn. stay on | bring someone to the fore | (idm) ทำให้กลายเป็นผู้นำหรือมีอิทธิพล, See also: ทำให้มีอำนาจ, Syn. come to | chief | (adj) มีอำนาจสูงสุด, Syn. foremost, highest | colossus | (n) สิ่งที่ใหญ่โตหรือมีอำนาจมาก, See also: สิ่งที่มีความสำคัญมาก | command | (vi) ควบคุม, See also: มีอำนาจเหนือ, Syn. order, direct, decree, bid, rule, govern | command | (vt) ควบคุม, See also: มีอำนาจเหนือ, Syn. order, direct, decree, bid, rule, govern, restrain, check | commanding | (adj) ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจ, See also: ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา, ซึ่งเป็นผู้สั่งการ, ซึ่งมีอำนาจเหนือ, Syn. sizable, dominant | compressive | (adj) ที่มีอำนาจกดดัน | dominate over | (phrv) มีอำนาจเหนือ, See also: มีอิทธิพลเหนือ, ควบคุม, Syn. domineer over | domineer over | (phrv) มีอำนาจเหนือ, See also: มีอิทธิพลเหนือ, ควบคุม, Syn. dominate over | devolve | (vt) ถ่ายโอนอำนาจไปยังคนที่มีอำนาจน้อยกว่า, See also: ถ่ายโอนความรับผิดชอบไปยังคนที่มีความรับผิดชอบน้อยกว่า, Syn. commit, entrust, offer a post | distinction | (n) ความยอดเยี่ยม, See also: ความโดดเด่น, ความมีอำนาจ, Syn. eminence, renown, Ant. lowliness, unimportance | dominant | (adj) ที่มีอำนาจครอบครอง, See also: ที่มีอำนาจเหนือกว่า | dominate | (vt) ปกครอง, See also: ควบคุม, ครอบงำ, มีอิทธิพลต่อ, มีอำนาจเหนือ, Syn. govern, rule, overshadow | dominate | (vi) ปกครอง, See also: ควบคุม, ครอบงำ, มีอิทธิพลต่อ, มีอำนาจเหนือ, Syn. govern, rule, overshadow | domination | (n) การมีอำนาจเหนือกว่า | empower | (vt) ให้อำนาจ, See also: ทำให้มีอำนาจ, Syn. authorize, grant, permit | eunuch | (n) คนที่ไม่มีอำนาจ (คำไม่เป็นทางการ), See also: คนที่ไม่มีคามสามารถ | executive | (n) ผู้บริหาร, See also: นักบริหาร, ผู้มีอำนาจบริหาร, Syn. administrator, director, manager | fasces | (n) มัดไม้ที่หุ้มขวานที่มีใบขวานโผล่ออกมา, See also: สัญลักษณ์การมีอำนาจของผู้ปกครองชั้นสูงของกรุงโรมโบราณ | figurehead | (n) หัวหน้าแต่ในนาม (แต่ไม่ได้มีอำนาจแท้จริง), See also: หุ่นเชิดที่ไร้อำนาจ, Syn. dummy | finished | (adj) ไม่มีผลอีกต่อไป, See also: ไม่มีความสำคัญอีกต่อไป, ไม่มีอำนาจอีกต่อไป, Syn. doomed, ruined | force | (n) คนหรือสิ่งที่มีอำนาจหรืออิทธิพล | get in with | (phrv) คุ้นเคยกับ, See also: เป็นมิตรกับ มักเป็นคนมีตำแหน่งสูงหรือมีอำนาจ, Syn. be in with, keep in with | go above | (phrv) ขอคำแนะนำ, See also: ขอคำตัดสินใจ จากคนที่มีอำนาจหรือตำแหน่ง, Syn. go over | gobble up | (phrv) มีอำนาจเหนือ | inform against | (phrv) แจ้ง (ตำรวจหรือผู้มีอำนาจ) ให้ทราบ, See also: รายงานให้รู้, Syn. grass on, peach on, rat on, shit on, tell of, tell on | inform on | (phrv) แจ้ง (ตำรวจหรือผู้มีอำนาจ) ให้ทราบ, See also: รายงานให้รู้, Syn. inform against | Goliath | (n) คนหรือสิ่งที่มีอำนาจมาก, See also: ผู้มีร่างกายใหญ่โตมาก, Syn. giant, jumbo | grand | (adj) น่าเกรงขาม, See also: เป็นที่เคารพ, ซึ่งมีอำนาจ, Syn. significant, Ant. insignificant | halcyon | (n) นกเทพยดาที่เชื่อว่ามีอำนาจทำให้ทะเลและคลื่นสงบได้ | hegemony | (n) ความมีอำนาจ (คำทางการ), See also: ความมีอิทธิพลเหนือกว่า | powers that be | (idm) คนมีอำนาจ, See also: คนในตำแหน่งหน้าที่ | imperial | (adj) ยิ่งใหญ่มาก, See also: ซึ่งมีอำนาจสูงสุด, Syn. supreme | in loco parentis | (adv) โดยมีอำนาจดูแลแทนพ่อแม่ (คำทางการ), See also: โดยอำนาจของผู้ปกครอง, Syn. by delegated authority | influential | (adj) ซึ่งมีอิทธิพลต่อ, See also: ซึ่งมีอำนาจชี้ขาด, Syn. authoritative, powerful, significant, Ant. unpersuasive, unconvincing | influential person | (n) ผู้มีอิทธิพล, See also: ผู้มีอำนาจ |
| advisory | (แอดไว' ซะรี) adj., n. ซึ่งแนะนำ, มีอำนาจหรือหน้าที่แนะนำ, รายงาน, Syn. giving | alcalde | (แอลแคล' ดี) n., (pl. -des) นายกเทศมนตรีที่มีอำนาจพิจารณาคดี., Syn. alcade | almighty | (ออลไม' ที) adj. ซึ่งมีอำนาจทุกอย่าง, ซึ่งมีความสามารถทุกอย่าง, ซึ่งมีอำนาจหรืออิทธิพลมาก, น่ากลัว, สุดขีด. -n. -Almighty พระ-เจ้า -almightiness n., Syn. all-powerful | appellate | (อะเพล'เลท) adj. เกี่ยวกับการอุทธรณ์, ซึ่งมีอำนาจพิจารณารับการอุทธรณ์ | ascendancy | (อะเซน'เดินซี) n. ภาวะขึ้นครองตำแหน่ง, ภาวะมีอำนาจ., Syn. ascendency, ascendance, ascendence | ascendant | (อะเซน'เดินทฺ) n. ตำแหน่งที่ครอง, อิทธิพล, อำนาจ, บรรพบุรุษ. -adj. รุ่งเรือง, มีอำนาจ, ฐานะได้เปรียบ, ก้าวหน้า, มีอิทธิพลเหนือ | ascendent | (อะเซน'เดินทฺ) n. ตำแหน่งที่ครอง, อิทธิพล, อำนาจ, บรรพบุรุษ. -adj. รุ่งเรือง, มีอำนาจ, ฐานะได้เปรียบ, ก้าวหน้า, มีอิทธิพลเหนือ | authoritative | (ออธอ'ริเททิฟว) adj. ซึ่งมีอำนาจ, เชื่อถือได้, มีหลักฐานพิสูจน์ได้, เผด็จการ | authority | (ออธอ'ริที) n. เจ้าหน้าที่, อำนาจ (ในหน้าที่ตำแหน่ง) , ผู้มีอำนาจ, ผู้เป็นต้นตำรับ, ทางราชการ, แหล่งข้อมูลหรือคำแนะนำที่เชื่อถือได้, ความเชื่อถือได้, ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง, อำนาจทางนิตินัย, อำนาจการเป็นตัวแทน, ความเชี่ยวชาญ, พยาน, การให้การ (คำที่มีความหมายเหมือนก | autocracy | (ออทอค'คระซี) n. อัตตาธิปไตย, เอกาธิปไตย, ผู้มีอำนาจเด็ดขาด, การปกครองโดยผู้มีอำนาจเด็ดขาด, ราชาธิปไตยแบบกษัตริย์ที่มีอำนาจเด็ดขาด, ระบบเผด็จการ. autocratic (al) adj. | chief information officer | ประธานฝ่ายสารสนเทศใช้ตัวย่อว่า CIO (อ่านว่า ซีไอโอ) งานสารสนเทศเป็นงานที่สำคัญที่สุดงานหนึ่ง เพราะหน่วยงานนี้ก็คือหน่วยงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักนั่นเอง เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ แล้วส่งผล (สารสนเทศ) ให้ผู้ที่มีอำนาจ ใช้ในการตัดสินใจ หรือเพื่อไม่ให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจผิดพลาดเพราะขาดข้อมูล (บางทีใช้ในความหมายเดียวกันกับหัวหน้าฝ่ายคอมพิวเตอร์) | cio | (ซีไอโอ) ย่อมาจาก chief information officer หรือประธานฝ่ายสารสนเทศ งานสารสนเทศเป็นงานที่สำคัญที่สุดงานหนึ่ง เพราะหน่วยงานนี้ก็คือหน่วยงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักนั่นเอง เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ แล้วส่งผล (สารสนเทศ) ให้ผู้ที่มีอำนาจ ใช้ในการตัดสินใจ หรือเพื่อไม่ให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจผิดพลาดเพราะขาดข้อมูล (บางทีใช้ในความหมายเดียวกันกับหัวหน้าฝ่ายคอมพิวเตอร์) | colossus | n. สิ่งที่ใหญ่โต มหึมาหรือมีอำนาจมาก | command | (คะมานดฺ') { commanded, commanding, commands } v. บัญชา, สั่ง, สั่งการ, ควบคุม, มีอำนาจเหนือ, ควรได้รับ -n. การออกคำสั่ง, คำสั่ง, อำนาจสั่ง, ตำแหน่งบัญชาการ, คนในบังคับบัญชา, อักษรหรือสัญลักษณ์ที่ใช้สั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน, Syn. order | concurrent | (คันเคอ'เรินทฺ) adj. ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกันหรือร่วมกัน, พร้อมเพรียง, ซึ่งเห็นด้วย, ซึ่งมีอำนาจเท่ากัน, ซึ่งมีจุดร่วม, ซึ่งตัดกันที่จุดเดียวกัน. n. ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน, สิ่งสนับสนุน, คู่แข่ง, Syn. coexistent, compatible | control | (คันโทรล') { controlled, controlling, controls } vt., n. (การ) ควบคุม, มีอำนาจเหนือ, บังคับ, บังคับบัญชา, ยับยั้ง, See also: controllability n. ดูcontrol controllableness n. ดูcontrol, Syn. hold, rule, restraint | crown | (เคราน์) n. มงกุฎ, มาลัย, มาลัยสวมศีรษะ, เครื่องประดับสำหรับศีรษะ, เกียรติยศจากผลงานที่ดีเด่น, -Phr. (the Crown ผู้มีอำนาจสูงสุด) , รัฐาธิปัตย์, เหรียญเงินตราที่มีรูปมงกุฎ, กษัตริย์, เหรียญเงินของอังกฤษสมัยก่อนที่เท่ากับ 5 ชิลลิงส์, ส่วนที่โผล่ขึ้นมา, สิ่งประดับบนยอด | dealership | (ดี'ละชิพ) n. อำนาจในการขาย, ตัวแทนจำหน่ายที่มีอำนาจดังกล่าว | decretive | (ดิครี'ทิฟว) adj. เกี่ยวกับหรือมีอำนาจออกคำสั่ง. | demagog | (เดม'มะกอก) n. ผู้ที่มีอำนาจหรือชื่อเสียงจากการปลุกปั่นประชาชน, ผู้นำฝูงชน vi. ปลุกปั่น, ล่อหลอก, See also: demagoguery n. ดูdemagog | demagogue | (เดม'มะกอก) n. ผู้ที่มีอำนาจหรือชื่อเสียงจากการปลุกปั่นประชาชน, ผู้นำฝูงชน vi. ปลุกปั่น, ล่อหลอก, See also: demagoguery n. ดูdemagog | despotic | (ดิสพอท'ทิค) adj. ซึ่งกดขี่, เผด็จการ, ซึ่งมีอำนาจเด็ดขาด, ตามอำเภอใจ, See also: despoticness n. ดูdespotic despotism n. ดูdespotic | dominance | (ดอม'มะเนินซฺ) n. การปกครอง, การมีอำนาจเหนือ, การครอบงำ, ภาวะที่ถูกครอบงำ., See also: dominancy n. ดูdominance, Syn. command, power, rule, authority | dominant | (ดอม'มะเนินทฺ) adj. ซึ่งครอบงำ, มีอำนาจเหนือ, ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ, ซึ่งมีบทบาทสำคัญ, ซึ่งปกครอง, เด่น n. ตัวสำคัญ, Syn. superior, major | dominate | (ดอม'มะเนท) vt., vi. ครอบงำ, มีอำนาจเหนือ, มีอิทธิพลเหนือ, ปกครอง, อยู่เหนือ., See also: dominatingly adv. ดูdominate dominator n. ดูdominate | domination | (ดอมมะเน'เชิน) n. การครอบงำ, การมีอำนาจเหนือ, การมีอิทธิพลเหนือ, การปกครอง, การควบคุม, Syn. jurisdiction | dwarf | (ดวอร์ฟ) n. คนแคระ, สัตว์หรือพืชที่เตี้ยแคระ, เทวดาเตี้ยมีอัปลักษณ์และมีอำนาจมาก (ในนิทาน) . -adj. แคระ. vt. ทำให้แคระ, ทำให้แกร็น.vi. เตี้ยเล็กลง, แกร็น., See also: dwarfishly adv. ดูdwarf dwarfishness n. ดูdwarf | fetish | (เฟท'ทิช) เครื่องราง, สิ่งที่เชื่อว่ามีอำนาจเวทมนตร์, สิ่งที่นับถือทางไสยศาสตร์., Syn. fetich, talisman, amulet | figurehead | n. หัวหน้าในนาม (ไม่มีอำนาจ) , รูปแกะสลักของเรือ | forceful | (ฟอร์ซฺ'ฟูล) adj. มีอำนาจ, มีพลัง, เข้มแข็ง, แข็งขัน, เด็ดเดี่ยว, โน้มใจ., See also: forcefuly adv. forcefuness n., Syn. vigorous | formidable | (ฟอร์'มิดะเบิล) adj. น่ากลัว, ยาก, ลำบาก, ซึ่งเอาชนะยาก, เหนือกว่ามาก, ใหญ่โต, มีอำนาจมาก, มีกำลังมาก., See also: formidableness, formidability n. formidably adv., Syn. awesome | halcyon | (แฮล'เซียน) n. นกเทพยดาที่เชื่อว่ามีอำนาจทำให้ทะเลและคลื่นสงบได้ | hill | (ฮิล) n. เนินเขา, ภูเขาลูกเล็ก ๆ , เขาเตี้ย ๆ -Phr. (over the hill ผ่านพ้นสมัยรุ่งเรืองหรือสมัยมีอำนาจ) . vt. ล้อมรอบเนินเขา, กลายเป็นเนิน | important | (อิมพอร์' เทินทฺ) adj. สำคัญ, มีความหมาย, เด่น, โอหัง, ยะโส, มีอิทธิพลมาก, มีอำนาจมาก, มีฐานะสูง, ใหญ่โต, มากมาย., See also: importantly adv., Syn. subtantial, serious | influence | (อิน'ฟลูเอินซฺ) n. อิทธิพล, อำนาจชักจูง, สิ่งชักจูง, ผู้มีอิทธิพลโน้มน้าว. vt. มีอิทธิพลต่อ, มีอำนาจโน้มน้าว., See also: influenceable adj. influencer n., Syn. control, power | influential | (อินฟลูเอน'เชิล) adj. มีอิทธิพล, มีอำนาจชักจูง, มีผลสะท้อน., Syn. weighty | inning | (อิน'นิง) n. สมัยมีอำนาจ, ตาทำแต้มในการแข่งขัน, โอกาส., See also: innings ตาลีลูกคริดเก๊ต, การเรียกคืนที่ดินที่เป็นหนองหรือน้ำท่วม | juvenescent | (จูวะเนส'ซันทฺ) adj. เยาว์, อ่อนวัย, เป็นหนุ่มเป็นสาว, ซึ่งมีอำนาจทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวหรืออ่อนวัย., See also: juvenescence n. | leviathan | (ลิไว'อะเธิน) n. สัตว์ทะเลขนาดใหญ่เช่นปลาวาฬ, สิ่งใหญ่โตที่มีอำนาจมาก (เช่น เรือเดินสมุทร), Syn. giant | live 2 | (ไลว) adj. มีชีวิต, เกี่ยวกับชีวิต, มีสิ่งมีชีวิต, เต็มไปด้วยพลัง, ขะมักเขม้น, มีชีวิตชีวา, ทันสมัย, สด, กำลังเล่น, ขับเคลื่อน, มีอำนาจ, ยังคงใช้กันอยู่, ประกอบด้วยผู้คนจริง ๆ adv. (รายการ) สด., See also: liveness n. ดูlive | lord | (ลอร์ด) n. เจ้าศักดินา, ขุนนาง, เจ้าของที่ดิน, ท่านลอร์ด, สมาชิกสภาขุนนาง, ผู้นำในการค้า, เจ้านาย, เจ้าเหนือหัว, พระผู้เป็นเจ้า, พระเยซูคริสต์, ดาวนพเคราะห์ที่มีอิทธิพลครอบงำ. -interj. คำอุทานแสดงความประหลาดใจ. vi. มีอำนาจหรืออิทธิพล, ตั้งตัวเป็นเจ้าเหนือหัว | lynch | (ลินชฺ) vt. แขวนคอหรือประหารชีวิตโดยศาลเตี้ยจากกลุ่มคนที่ไม่มีอำนาจ ทางกฎหมาย., See also: lyncher n. ดูlynch | majestic | (มะเจส'ทิค) adj. สง่าผ่าเผย, สูงส่ง, ตระหง่าน, มีอำนาจ, น่าเกรงขามและน่าเคารพนับถือ, ใหญ่โต, See also: majestically adv., Syn. grand, splendid | majesty | (แมจ'เจสที) n. ความสง่าผ่าเผย, ความมีอำนาจ, ความใหญ่โต, อำนาจสูงสุด, ความศักดิ์สิทธิ์, พระเจ้าแผ่นดิน, ในหลวง, คำยกย่องที่ใช้เรียกพระเจ้าแผ่นดิน, Syn. grandeur, sovereignty | master | (มาส'เทอะ, แมส'เทอะ) n. นาย, เจ้านาย, นายจ้าง, กัปตันเรือสินค้า, กัปตันเรือ, ผู้บังคับการ, หัวหน้าครอบครัว, เจ้าบ้าน, ผู้เชี่ยวชาญ, ผู้มีชัย, ผู้มีอำนาจ, คนเก่ง, ผู้ช่วยผู้พิพากษา, มหาบัณฑิต, ผู้สำเร็จปริญญาโท adj. เป็นนาย, เป็นหัวหน้า, เป็นผู้นำ, เกี่ยวกับการควบคุม, เกี่ยวกับการนำ, วางอำนาจ, ใหญ่ยิ่ง, เชี่ยวชาญ | masterful | (มาส'เทอะฟูล) adj. มีความเป็นนาย, มีอำนาจ, วางอำนาจ, ครอบงำ, เชี่ยวชาญ, เก่ง., See also: masterfully adv. masterfulness n. | mastership | (มาส'เทอะชิพ) n. ความเป็นนาย, ความมีอำนาจ, การควบคุม, การบังคับบัญชา, ความสามารถ, ความรอบรู้, ความเก่ง | might | (ไมทฺ) n. อำนาจ, ความสามารถ, ประสิทธิภาพ, กำลังกาย, แรง, อำนาจหรือกำลังที่เหนือกว่า -Phr. (with might and main มีอำนาจเต็มที่) v. อดีตกาลของ may- | mogul | (โม'เกิล, โมเกิล') n. ชาวมองโกลผู้พิชิตอินเดียที่ตั้งอาณาจักรขึ้นในสมัย ค.ศ.1526-1857, ผู้สืบเชื้อสายชาวมองโกลดังกล่าว, ชาวมองโกล, บุคคลที่สำคัญมีอำนาจหรือมีอิทธิพล | old man | n. บิดา, สามี, ผู้มีอำนาจ, หัวหน้า, กัปตันหรือ |
| almighty | (adj) ยิ่งใหญ่, มีอานุภาพ, มีอำนาจมาก, มีอิทธิพล | ascend | (vi, vt) ขึ้นไป, มีอำนาจ, เฟื่องฟู | ascendent | (adj) สูงขึ้น, เฟื่องฟู, รุ่งเรือง, มีอำนาจ, มีอิทธิพลเหนือ | authoritative | (adj) เผด็จการ, มีอำนาจ | autocrat | (n) ผู้มีอำนาจเด็ดขาด | autocratic | (adj) เผด็จการ, มีอำนาจเด็ดขาด | BIG big gun | (n) ผู้มีอิทธิพล, ผู้มีอำนาจ, บุคคลสำคัญ | control | (vt) ควบคุม, บังคับบัญชา, บังคับ, บงการ, มีอำนาจเหนือ | dominance | (n) การครอบงำ, ความมีอำนาจเหนือ, การปกครอง, ความเด่น | dominant | (adj) ซึ่งมีอำนาจเหนือ, ซึ่งมีบทบาทสำคัญ, เด่น, มีอิทธิพลต่อ | dominate | (vt) ครอบครอง, ปกครอง, ครอบงำ, มีอำนาจเหนือ, อยู่เหนือ | inning | (n) โอกาส, ช่วงที่มีวาสนา, คราว, สมัยที่มีอำนาจ | lord | (n) ขุนนาง, ผู้มีอำนาจเหนือ, เจ้าของคฤหาสน์, เจ้าของที่ดิน | lord | (vt) บังคับบัญชา, ปกครอง, มีอำนาจเหนือ, มีอิทธิพล | masterful | (adj) เป็นนาย, เก่ง, มีอำนาจ, ครอบงำ, เชี่ยวชาญ | mastership | (n) การปกครอง, ความเชี่ยวชาญ, ความเป็นนาย, ความมีอำนาจ | mightily | (adv) อย่างมีอำนาจมาก, อย่างมหึมา, อย่างพิลึก, รุนแรง, อย่างมีกำลัง | mighty | (adj) มีกำลัง, มีอำนาจ, มหึมา, พิลึกกึกกือ | oligarch | (n) ผู้มีอำนาจ | omnipotent | (adj) มีอำนาจทุกอย่าง, สามารถทุกทาง | overpower | (vt) มีอำนาจเหนือ, มีกำลังเหนือ, ใช้กำลัง, ทำให้หมดกำลัง | plenipotentiary | (adj) ครบองค์, มีอำนาจเต็ม | plenipotentiary | (n) ทูตผู้มีอำนาจเต็ม | plutocrat | (n) คนที่มีอำนาจ, คนมั่งคั่ง, คนมั่งมี | potent | (adj) มีอำนาจ, มีกำลัง, มีพลัง, แข็งแรง, สามารถ | potentate | (n) ผู้ปกครอง, ผู้มีอำนาจ, กษัตริย์ | powerful | (adj) มีกำลัง, มีอำนาจ, แข็งแรง, มีอานุภาพ, มีสมรรถภาพสูง | powerless | (adj) ไร้กำลัง, ไม่มีอำนาจ, ไม่สามารถ, สิ้นท่า, หมดหนทาง | predominance | (n) ความเด่น, ความมีอำนาจเหนือกว่า | preeminence | (n) ความเหนือกว่า, ความเป็นเยี่ยม, ความมีอำนาจ | puissant | (adj) มีพละกำลัง, มีแรง, มีกำลัง, มีอำนาจ | upstart | (n) คนมีอำนาจขึ้นโดยฉับพลัน, คนเห่อ, คนห่าม, คนทะลึ่ง |
| Commissioner of Oath | (n, phrase) เจ้าพนักงานผู้รับคำสาบาน, ผู้มีอำนาจจัดให้มีคำสาบาน | competent | (n) มีอำนาจ | empowerment | (adj) ทำให้มีอำนาจ, ทำให้ถูกต้องมากขึ้น, ทำให้เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น | have a say (in something) | มีอำนาจตัดสินใจ (ในการทำบางสิ่ง) | hegemonic state | (n) มุขยรัฐ หมายถึงรัฐผู้นำที่มีอำนาจครอบงำรัฐอื่น | hold sway over | (vt) มีอำนาจเหนือ, มีอิทธิพลเหนือ | hypnotic | (adj) มีอำนาจในการสะกดจิต | mega tsunami | (n) คลื่นซึนามิขนาดใหญ่ ที่นักวิทยาศาสตร์คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งคลื่น mega tsunami อาจมีความสูงหลายร้อยเมตร มีอำนาจการทำลายล้างมากกว่า Tsunami หลายสิบเท่า | overed right | [over right] (n, phrase) ถือสิทธิเหนือกฎความถูกต้องอื่นใด หรือมีอำนาจกระทำอย่างไดอย่างหนึงออกนอกกฎเกณฑ์ปกติ มีอิทธิพลมากกว่าเงื่อนไขใดๆที่กำหนดไว้ เมื่อแสดงสิทธินี้แล้วทุกอย่างที่เป็นข้อจำกัดจะเป็นไปตามที่ผู้ถือสิทธิต้องการ | Sovereign Prince | (n) องค์อธิปัตย์ เป็นเจ้าชายซึ่งมีอำนาจปกครองราชรัฐในขอบขัณฑสีมาของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ |
| 反映 | [はんえい, han'ei] (n) (อิน'ฟลูเอินซฺ) n. อิทธิพล, อำนาจชักจูง, สิ่งชักจูง, ผู้มีอิทธิพลโน้มน้าว. vt. มีอิทธิพลต่อ, มีอำนาจโน้มน้าว., S. . influenceable adj. influencer n., S. control, power |
| 強い | [つよい, tsuyoi] TH: มีอำนาจ EN: powerful |
| befugt | (adj) |zu etwas befugt sein| มีสิทธิหรืออำนาจในการกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น Ich bin nicht dazu befugt, Ihnen Aufkunft zu geben. ฉันไม่มีอำนาจในการให้ข้อมูลคุณ | mächtig | (adj) ที่มีพละกำลัง, ที่มีอำนาจ, See also: kraftvoll, Syn. stark |
| Dominante { f } | (vt) มีอำนาจเหนือ, ครอบงำ | Landesherr | ลันเดสแฮร์ เป็นตำแหน่งเจ้าศักดินาในยุคกลาง มีอำนาจเฉกเช่นเจ้าแผ่นดินเหนือดินแดนหนึ่ง ดินแดนนั้นอาจมีสถานะเป็นรัฐอิสระ หรือรัฐบริวารของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ได้ |
| eminence grise | (jargon) ผู้มีอำนาจ อิทธิพล โดยไม่มีตำแหน่งอย่างเป็นทางการ |
|
add this word
You know the meaning of this word? click [add this word] to add this word to our database with its meaning, to impart your knowledge for the general benefit
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |