ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: มีขึ้น, -มีขึ้น- |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ ก่อ ๑ | ก. ทำให้เกิดขึ้น มีขึ้น หรือเป็นรูปขึ้น เช่น ก่อไฟ ก่อสงคราม ก่อตึก. | กัน ๓ | ก. กีดขวางไว้ไม่ให้เข้ามาหรือออกไป หรือไม่ให้เกิดมีขึ้น เช่น กันฝน กันสนิม กันภัย, แยกไว้ เช่น กันเงินไว้ ๕๐๐ บาทเพื่อจ่ายในสิ่งที่จำเป็น กันเอาไว้เป็นพยาน. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและล้อมทัพ, เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค ตั้งเป็นแถวขนาบกระบวนเรือพระที่นั่งทั้ง ๒ ข้าง ทำหน้าที่ถวายอารักขา ว่า เรือกัน. | การกลั่นทำลาย | น. กรรมวิธีที่ให้ความร้อนสูงแก่สารอินทรีย์โดยไม่ให้อากาศเข้า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีขึ้นแก่สารนั้น ให้ผลเป็นสารที่ระเหยได้และแยกตัวออกมา เช่น การกลั่นทำลายขี้เลื่อย ให้ผลเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ กรดนํ้าส้ม และสารอื่นอีก, การกลั่นทำลายถ่านหิน ให้ผลเป็นแก๊สถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ นํ้ามันเบนซิน ลูกเหม็นกันแมลงสาบ และสารอื่นที่มีประโยชน์อีกมาก กากที่เหลือเรียกว่า ถ่านโค้ก. | การเปิดอภิปรายทั่วไป | น. กลไกที่ฝ่ายนิติบัญญัติใช้ควบคุมฝ่ายบริหาร เช่น การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หรือฝ่ายบริหารจะรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น การเปิดอภิปรายทั่วไปที่คณะรัฐมนตรีร้องขอให้มีขึ้นเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากสมาชิกสภา. | กำเนิด | (กำเหฺนิด) ก. เกิด, มีขึ้น, เป็นขึ้น, เช่น โลกกำเนิดมาจากดวงอาทิตย์. | เกิด | ก. เป็นขึ้น, มีขึ้น, กำเนิด | เกิด | มีขึ้นเป็นขึ้นโดยกะทันหัน เช่น เกิดตายไปเสียก่อนที่จะได้รับมรดก เกิดฝนตกลงมา. | ของป่า | น. บรรดาของที่เกิดหรือมีขึ้นในป่าตามธรรมชาติ เช่น ไม้ ยางไม้ พืช รังนก รวงผึ้ง มูลค้างคาว ซากสัตว์ หิน ดิน กรวด ทราย. | เข้า ๑ | ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายเร่งรัด เช่น เร็วเข้า คิดเข้า, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายมากขึ้น เช่น หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงสภาพหรือความรู้สึกที่เกิดมีขึ้น เช่น พอสวยเข้าก็มีหนุ่ม ๆ มารุมจีบ พอเหนื่อยเข้าก็อยากจะเลิกทำ, ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายว่าหนุนให้ทำ (มักใช้ในความประชดประชัน) เช่น เอาเข้าไป ว่าแล้วยังไม่ยอมหยุด. | คเณศ | (คะเนด) น. ชื่อเทพองค์หนึ่ง มีเศียรเป็นช้าง ถือว่าเป็นเทพแห่งศิลปะ เชื่อกันว่าถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, วิฆเนศ พิฆเนศ วิฆเนศวร หรือ พิฆเนศวร ก็เรียก. | ดก | ว. มาก, มากกว่าปรกติ, (มักใช้แก่สิ่งที่เกิดมีขึ้นตามธรรมชาติ) เช่น ต้นไม้ออกดอกออกผลมากกว่าปรกติ เรียกว่า มีดอกดก มีผลดก, ไก่ที่ไข่มากกว่าปรกติ เรียกว่า ไก่ไข่ดก, หญิงที่มีลูกถี่และมากกว่าปรกติ เรียกว่า แม่ลูกดก, คนที่มีผมมากกว่าปรกติ เรียกว่า คนผมดก | ดาล ๓ | ก. เกิดขึ้น, เป็นขึ้น, มีขึ้น. | ตราไปรษณียากร | น. แสตมป์, (กฎ) บัตรตราใด ๆ ซึ่งจัดให้มีขึ้น เพื่อใช้เป็นค่าไปรษณียากร หรือค่าธรรมเนียมอื่น หรือจำนวนเงินที่จะต้องเสียในการส่งไปรษณียภัณฑ์ รวมทั้งตราไปรษณียากรสำหรับผนึก หรือตราไปรษณียากรที่พิมพ์ ดุน หรือแสดงไว้โดยวิธีอื่นบนซอง กระดาษห่อ ไปรษณียบัตร หรือสิ่งอื่น ๆ. | ตลาดนัด | น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ ซึ่งมิได้ตั้งอยู่ประจำ จัดให้มีขึ้นเฉพาะในวันหรือสถานที่ที่กำหนดเท่านั้น. | ตั้ง | ทำให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตำแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน ตั้งชื่อ | นิรมิต | (-ระมิด) ก. นิมิต, เนรมิต, สร้าง, แปลง, ทำ, บันดาลให้เป็นขึ้นมีขึ้น. | เนรมิต | (-ระมิด) ก. นิรมิต, สร้างหรือบันดาลด้วยอำนาจ ฤทธิ์ หรืออภินิหารให้บังเกิดเป็นขึ้นมีขึ้นโดยฉับพลัน. | บันดาล | ก. ให้เกิดมีขึ้นเป็นขึ้นด้วยแรงอำนาจของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น บุญบันดาล บันดาลโทสะ. | ประนีประนอมยอมความ | น. ชื่อสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้ง ๒ ฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน. | ประสิทธิ์ประสาท | ก. อำนวยความสำเร็จให้เกิดมีขึ้น. | ปสพ | ของที่เกิดขึ้น, ของที่มีขึ้น | ผลิต, ผลิต- | (ผะหฺลิด, ผะหฺลิดตะ-) ก. ทำให้เกิดมีขึ้นตามที่ต้องการด้วยอาศัยแรงงานหรือเครื่องจักรเป็นต้น เช่น ผลิตข้าว ผลิตรถยนต์ ผลิตครู ผลิตบัณฑิต. | พิฆเนศ, พิฆเนศวร | (พิคะเนด, พิคะเนสวน) น. ชื่อเทพองค์หนึ่ง มีเศียรเป็นช้าง ถือว่าเป็นเทพแห่งศิลปะ ถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ วิฆเนศ หรือ วิฆเนศวร ก็เรียก. | ภาวนา | (พาวะ-) น. การทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นทางจิตใจ. | มงคล, มงคล- | (มงคน, มงคนละ-) น. เหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่งซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้ายมากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล | ราชกิจจานุเบกษา | น. สิ่งพิมพ์ของทางราชการที่จัดให้มีขึ้นเป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นที่ประกาศข้อมูลข่าวสารของทางราชการที่ประสงค์จะให้ประชาชนได้ทราบ เช่น กฎหมาย ประกาศคนล้มละลาย การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัท. | วิฆเนศ, วิฆเนศวร | (วิคะเนด, วิคะเนสวน) น. ชื่อเทพองค์หนึ่งมีพระเศียรเป็นช้าง ถือว่าถ้าบูชาแล้วป้องกันความขัดข้องที่จะเกิดมีขึ้นได้, คเณศ พิฆเนศ หรือ พิฆเนศวร ก็เรียก. | สถาบัน | (สะ-) น. สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้นเพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจำเป็นแก่วิถีชีวิตของตน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง สถาบันการเงิน. | สร้างเสริม | ก. ทำให้เกิดมีขึ้นและเพิ่มพูนให้มากยิ่งขึ้น เช่น การศึกษาสร้างเสริมคนให้เป็นพลเมืองดี. | สลากกินแบ่ง | น. สลากที่จัดให้มีขึ้นเพื่อขายให้แก่ผู้เล่นเป็นการเสี่ยงโชค โดยมีการให้รางวัลที่แบ่งเป็นหลายรางวัลแก่ผู้เล่นซึ่งถือสลากเลขหมายรางวัลที่ออกตามวิธีการที่กำหนด, ลอตเตอรี่ หวย หรือ หวยเบอร์ ก็เรียก. | ออเจ้า | ส. คำใช้แทนชื่อผู้ที่เราพูดด้วย เช่น ทชีก็ปรับทุกข์ร้อนทางจะอวดมีว่า ออเจ้าเอ๋ยออเจ้าเราค่อยมั่งมีขึ้นถึงเพียงนี้มีเสียกว่าออเจ้า (ม. คำหลวง ชูชก), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. | ออก ๓ | ทำให้เกิดขึ้น มีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย | โอลิมปิก | น. เรียกการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศซึ่งจัดให้มีขึ้นทุก ๆ ๔ ปีในประเทศต่าง ๆ ตามแต่จะตกลงกันว่า กีฬาโอลิมปิก. |
|
| บันดาล | ให้เกิดมีขึ้นเป็นขึ้นด้วยแรงอำนาจของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น บุญบันดาล บันดาลโทสะ, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ บรรดาล [คำที่มักเขียนผิด] | ASEAN Environment Year | ปีสิ่งแวดล้อมอาเซียน กำหนดให้มีขึ้นทุก 3 ปี เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้กับ ประชาชนทุกระดับในสังคม รวมทั้งส่งเสริมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม แก่สาธารณชนในการนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน [การทูต] | ASEAN - China, Japan and the Republic of Korea Relationship | ความสัมพันธ์อาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธาณรัฐเกาหลี เป็นกลไกความร่วมมือใหม่ที่เริ่มมีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 ซึ่งผู้นำของ อาเซียน จีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ได้พบกันเป็นครั้งแรกที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยในปี พ.ศ. 2542 ผู้นำอาเซียน+3 ได้ออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Joint Statement on East Asia Cooperation) เป็นหลักการพื้นฐานของการเสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง [การทูต] | ASEAN-UN Summit | การประชุมผู้นำอาเซียน-สหประชาชาติ เป็นการประชุมระหว่างหัวหน้ารัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนกับเลขาธิการสห ประชาชาติ มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 ที่กรุงเทพฯ ในช่วงการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 [การทูต] | Asia Europe Meeting | การประชุมเอเชีย-ยุโรป " เป็นการประชุมระดับผู้นำจากเอเชีย 10 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไน ดารุสซาลาม จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ผู้นำจากยุโรป 15 ประเทศ คือ สหราช- อาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย และประธานคณะกรรมาธิการยุโรป การประชุมครั้งแรกมีขึ้น ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2539 " [การทูต] | Congress of Vienna | เป็นการประชุมระหว่างประเทศที่สำคัญในยุโรป ได้จัดให้มีขึ้นหลังจากเสร็จสงครามนโปเลียน (กันยายน ค.ศ. 1814 ? มิถุนายน ค.ศ. 1815) ประเทศที่ร่วมการประชุมมี ออสเตรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐสันตะปาปา ปรัสเซีย และรัสเซีย ภาระหน้าที่สำคัญของการประชุม คือ การปักปันเขตแดนกันใหม่ และจัดให้ราชวงศ์เก่าแก่กลับฟื้นคืนมาใหม่ ทั้งในประเทศฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และเยอรมนี สหภาพแห่งนอร์เวย์ และสวีเดน สหภาพแห่งเบลเยี่ยม และฮอลแลนด์ พร้อมทั้งกำหนดให้สวิตเซอร์แลนด์ มีฐานะเป็นประเทศเป็นกลางถ้ามองในแง่การทูต ผลสำเร็จสำคัญที่สุดจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาคือ ข้อมติกำหนดลำดับอาวุโสของคณะผู้แทนทางการทูต โดยถือหลักอาวุโสไม่ว่าในตำแหน่งใด แทนที่จะถือตามสถานภาพและความสำคัญของกษัตริย์อย่างแต่ก่อน รวมทั้งจัดประเภทของนักการทูต ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (ตามระเบียบที่วางขึ้นใหม่ต่อมาในการประชุม ณ Aix-la-Chapelle ได้แก่1) เอกอัครราชทูต (Ambassadors) ตัวแทนขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal legates) และหัวหน้าคณะทูตของสมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncios)2) ผู้แทนทางการทูตผู้มีอำนาจพิเศษ (Envoys Extra-ordinary) และเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม (Ministers Plenipotentiary) อินเตอร์นันสิโอของสมเด็จพระสันตะปาปา3) อัครราชทูตผู้มีถิ่นประจำ (Ministers Resident)4) อุปทูต (Chargé d?affaires)คองเกรสแห่งเวียนนายังวางระเบียบเกี่ยวกับเรื่องการจัดลำดับ อาวุโสของบุคคลในคณะทูต ซึ่งชาติต่าง ๆ ได้ลงนามรับรองในสนธิสัญญาพาหุภาคีเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว [การทูต] | Establishment of Diplomatic Relations and Missions | การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตและคณะผู้แทนถาวร ทางการทูต ข้อนี้มีบทบัญญัติไว้ในมาตรา 2 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตว่าการสถาปนาความ สัมพันธ์ทางการทูตระหว่างรัฐ และคณะผู้แทนถาวรทางการทูตมีขึ้นได้ด้วยความยินยอมของกันและกันในเรื่องนี้ รัฐที่มีอธิปไตยโดยสมบูรณ์ทุกรัฐ มีสิทธที่จะส่งตัวแทนทางการทูตไปทำหน้าที่พิทักษ์ดูแลผลประโยชน์ของตนยังรัฐ อื่นๆ ซึ่งถือกันว่ามี Active right of legation แต่การใช้สิทธิดังกล่าว เป็นเรื่องดุลยพินิจของแต่ละรัฐ เพราะจะบังคับให้รัฐหนึ่งส่งคณะผู้แทนทางทูตประจำ ณ ที่ใดหาได้ไม่ ถ้าหากรัฐนั้นไม่ปรารถนาจะปฏิบัติเช่นนั้น ในทำนองเดียวกันจะมีการบังคับให้รัฐผู้รับต้องรับคณะผู้แทนทางการทูตจากรัฐ ใดหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องดุลยพินิจของรัฐผู้รับเช่นกัน [การทูต] | Five Power Defence Arrangement | ความตกลงด้านการป้องกันประเทศระหว่างสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอังกฤษ จัดให้มีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 [การทูต] | Joint Commission | คณะกรรมาธิการร่วม " เป็นกลไกความร่วมมือในระดับทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก JC มีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน วัฒนธรรม และสังคม โดยแต่ละฝ่ายจะสลับกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ซึ่งอาจมีขึ้นปีละครั้งหรือ 2-3 ปีต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสะดวกของทั้งสองฝ่าย JC อาจมีกลไกย่อยหรือคณะกรรมการภายใต้ JC เพื่อกำกับดูแลเฉพาะเรื่องหรือมีคณะกรรมการในระดับส่วน ภูมิภาค เช่น ไทยกับมาเลเซียมีคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee - GBC) มีบทบาทในการดูแลความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคงบริเวณชายแดน และมีคณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดนทางบก (Land Boundary Committee - LBC) เพื่อดูแลการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างประเทศทั้งสอง นอกจากนั้น ยังมีคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee - JTC) ระหว่างไทยกับบางประเทศ เป็นกลไกเพื่อส่งเสริมการค้าและขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน " [การทูต] | Post Ministerial Conferences | การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา " เป็นการประชุมที่มีขึ้นหลังการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีต่าง- ประเทศอาเซียน ปัจจุบันประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และรัฐมนตรีต่างประเทศของคู่เจรจา 10 ประเทศ/กลุ่มประเทศ " [การทูต] | The Hague Peace Conferences | การประชุมสันติภาพ ณ กรุงเฮก ในประเทศเนเธอร์แลนด์ การประชุมนี้ได้กระทำกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1899 โดย พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่สอง ของประเทศรัสเซียเป็นผู้จัดให้มีขึ้น ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1899 ที่ประชุมได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติ วิธี ได้ตกลงจัดตั้งศาลซึ่งตัดสินประเทศโดยสันติวิธี พร้อมทั้งได้ตกลงจัดตั้งศาลซึ่งตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการเป็นการถาวร และเสนอแนะให้วางประมวลพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ ทั้งยังได้ตกลงรับรองอนุสัญญาและปฏิญญาต่าง ๆ หลายฉบับ ในจำนวนนี้ ที่สำคัญที่สุดได้แก่ อนุสัญญาควบคุมกฎหมายและขนบประเพณีว่าด้วยการทำสงครามภาคพื้นดินการประชุม สันติภาพ ณ กรุงเฮกครั้งที่สอง หรือการประชุม ณ กรุงเฮกปี ค.ศ.1907 ตามคำขอร้องของรัฐบาลรัสเซีย ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.1907 วัตถุประสงค์สำคัญของการประชุมคือต้องการปรับปรุงและขยายข้อความในอนุสัญญา ต่าง ๆ ที่ทำไว้เมื่อปี ค.ศ. 1899 ว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี รวมทั้งกฎหมายและขนบประเพณีเกี่ยวกับสงครามภาคพื้นดิน ตลอดจนรับรองอนุสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายและขนมประเพณีของการทำสงครามทางทะเล การประชุม ณ กรุงเฮกครั้งที่สองนี้ยังได้เสนอแนะให้ที่ประชุมกำหนดให้ประเทศผู้ลงนาม รับรองและนำออกใช้ซึ่งร่างอนุสัญญาว่าด้วยการก่อตั้งศาลสถิตยุติธรรม เพื่อพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการอีกด้วย [การทูต] | Tokyo International Conference on African Development | การประชุมระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาแอฟริกา ณ กรุงโตเกียว " เป็นการริเริ่มของรัฐบาลญี่ปุ่น ร่วมกับองค์การสหประชาชาติและ องค์การ Global Coalition for Africa เพื่อสนับสนุนการพัฒนาใน ภูมิภาคแอฟริกา ในรูปของความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเอเชียกับ แอฟริกาอย่างเป็นรูปธรรมและมีเอกภาพ โดยเป็นการประชุมในระดับรัฐมนตรี และมีการประชุมแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรก (TICAD I) มีขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 ตุลาคม 2536 โดยมีการรับรองเอกสารปฏิญญา กรุงโตเกียว (Tokyo Declaration) ซึ่งเป็นสัญญาประชาคมที่ประเทศต่าง ๆ จะให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาแก่แอฟริกา และครั้งที่ 2 (TICAD II) มีขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 ตุลาคม 2541 โดยมีการรับรองแผนปฏิบัติการกรุงโตเกียว (Tokyo Agenda for Action) ซึ่งเป็น แนวทางในการพัฒนาแอฟริกาในด้านต่าง ๆ ทั้งสังคมและเศรษฐกิจ " [การทูต] | Immunity, Acquired | ภูมิคุ้มกันหลังเกิดโรค, ภูมิคุ้มกันโรคเกิดภายหลัง, ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน, ภูมิคุ้มกันที่ได้รับภายหลัง, ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลัง, ภูมิคุ้มกันโรคที่มีขึ้นในภายหลัง [การแพทย์] |
| มั่งมีขึ้น | [mangmī kheun] (v, exp) FR: s'enrichir ; faire fortune | มีขึ้น | [mī kheun] (v, exp) EN: come into existence FR: avoir lieu ; se passer |
| appear | (vi) ปรากฏตัว, See also: แสดงตัว, แสดงตน, ปรากฏ, ออกมา, มีขึ้น, Syn. emerge, come into view, be in sight, Ant. disappear, vanish | be on us | (idm) จะมีขึ้น, See also: เกิดขึ้น | be upon us | (phrv) จะมีขึ้น, See also: เกิดขึ้น | call someone into being | (idm) ริเริ่ม, See also: ทำให้เกิดขึ้น, มีขึ้น | date back from | (phrv) มีขึ้นเมื่อ, See also: มีมาตั้งแต่, Syn. go back, go back to, reckon from | date back to | (phrv) มีขึ้นเมื่อ, See also: มีมาตั้งแต่, Syn. go back, go back to, reckon from | fall on | (phrv) มีขึ้น, See also: เกิดขึ้น, ทำให้เกิดขึ้น, ทำให้ปรากฎออกมา | fall upon | (phrv) มีขึ้น, See also: เกิดขึ้น, ทำให้เกิดขึ้น, ทำให้ปรากฎออกมา | engender | (vt) ก่อให้เกิด, See also: ทำให้มีขึ้น, Syn. create, generate | fall | (vi) มีขึ้น, See also: จัดขึ้น | produce | (vt) สร้าง, See also: ผลิต, ทำให้มีขึ้น, ทำให้เกิดขึ้น, Syn. deliver, generate | ragtime | (n) ดนตรีแจ๊ซประเภทหนึ่ง (ของอเมริกันมีขึ้นปลายศตวรรษที่ 19) | triennial | (adj) ซึ่งมีขึ้นทุกสามปี | triennially | (adv) อย่างมีขึ้นทุกสามปี |
| banns | (แบนซ) n., pl. ประกาศล่วงหน้าที่แจ้งการแต่งงานที่จะมีขึ้น | bans | (แบนซ) n., pl. ประกาศล่วงหน้าที่แจ้งการแต่งงานที่จะมีขึ้น | leap year | ปีอธิกสุรทิน, ปีที่มี366วันโดยเดือนกุมภาพันธ์มี29 วันมีขึ้นทุก4ปี, ปีอธิกสุรทิน |
| impregnation | (n) การทำให้มีขึ้น, การทำให้ท้อง, การทำให้ชุ่ม | occur | (vi) เกิดขึ้น, มีขึ้น, ปรากฏขึ้น, บังเกิดขึ้น |
| 減り張り | [めりはり, merihari] (n) ความสูงต่ำของเสียง, มีขึ้นมีลง, ความผ่อนปรน |
| stattfinden | (vi) |fand statt, hat stattgefunden| เกิดขึ้น ใช้กับงานหรือเหตุการณ์ที่มีการเตรียมการณ์ เช่น Sein Geburtstagsparty findet morgen statt. งานเลี้ยงครบรอบวันเกิดของเขามีขึ้นพรุ่งนี้ |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |