ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*มหาอำนาจ*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: มหาอำนาจ, -มหาอำนาจ-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
มหาอำนาจ(n) great power, See also: powerful nation/country, Example: ก่อนการค้นพบน้ำมันเป็นตะวันออกกลาง ไม่มีมหาอำนาจตะวันตกใดให้ความสนใจเขตแดนนี้, Thai Definition: ประเทศที่มีพลังทางด้านเศรษฐกิจหรือทางอาวุธสูง
อภิมหาอำนาจ(n) superpower, Example: อภิมหาอำนาจได้เข้ามามีส่วนกระทำการอย่างเลวร้ายในกิจการภายในประเทศของเรา, Thai Definition: ประเทศที่มีอำนาจทางด้านเศรษฐกิจและทางอาวุธสูงกว่าประเทศมหาอำนาจ
ชาติมหาอำนาจ(n) powerful country, See also: advanced country, developed country, Example: ญี่ปุ่นเจริญรุดหน้าไปไกลจนได้ชื่อว่าเป็นชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ, Thai Definition: ประเทศที่มีพลังทางด้านเศรษฐกิจหรือทางอาวุธสูง
ประเทศมหาอำนาจ(n) superpower, See also: mighty nation, great power, Example: ปัจจุบันนี้ประเทศญี่ปุ่นได้กลายเป็นหนึ่งในกลุ่มของประเทศมหาอำนาจในโลก, Count Unit: ประเทศ, ชาติ

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
มหาอำนาจว. เรียกประเทศที่มีพลังทางด้านเศรษฐกิจหรือทางทหารสูง ว่า ประเทศมหาอำนาจ.
อภิมหาอำนาจว. เรียกประเทศที่มีอำนาจทางด้านเศรษฐกิจและทางทหารสูงกว่าประเทศมหาอำนาจ ว่า ประเทศอภิมหาอำนาจ.
สงครามโลกน. สงครามใหญ่ที่มีประเทศมหาอำนาจเป็นคู่สงคราม.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
super powerประเทศมหาอำนาจ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
middle powerมหาอำนาจระดับกลาง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
nuclear powerมหาอำนาจทางนิวเคลียร์ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Great powersประเทศมหาอำนาจ [TU Subject Heading]
Bi-Polarมหาอำนาจสองขั้วหรือสองค่าย ในช่วง 40 ปี ของสงครามเย็น ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 โลกแบ่งออกเป็นมหาอำนาจสองขั้ว ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต [การทูต]
concert of nationsความปรองดองระหว่างชาติ หลักการและแนวคิดเรื่องความปรองดองระหว่างชาติเกิดขึ้นในยุโรป ระหว่าง พ.ศ. 2357-2358 ซึ่งเรียกว่า Concert of Europe หรือบางครั้งเรียกว่า Concert of Allies โดยการรวมตัวของกลุ่มรัฐพันธมิตรที่ต่อต้านการขยายอำนาจของฝรั่งเศส คือ รัสเซีย ออสเตรีย ปรัสเซีย และอังกฤษ ได้รวมตัวกันเป็นระบบแห่งยุโรป (European system) หรือระบบแห่งมหาอำนาจในยุโรป ซึ่งต่อมาฝรั่งเศสและสเปนได้เข้าร่วมในระบบความปรองดองแห่งยุโรปด้วย นอกจากนี้การเกิดระบบความปรองดองแห่งยุโรปซึ่งมีระบบการประชุมคองเกรส ระหว่างชาติมหาอำนาจเป็นกลไกสำคัญนั้น ยังเป็นการแสดงถึง "มหาอำนาจแห่งปฐมลำดับ" (The powers of the first order) และยังถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการเรียกชื่อที่ระบุคำว่ามหาอำนาจ (The first expression of the idea of the Great Powers) อย่างไรก็ตาม ระบบความปรองดองแห่งยุโรปได้ล่มสลายลงในปี พ.ศ. 2365 [การทูต]
Gorbachev doctrineนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต]
Great Powersประเทศมหาอำนาจ รัฐที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นประเทศมหาอำนาจ คือรัฐที่มีอำนาจอิทธิพลครอบงำในกิจการระหว่างประเทศ ไม่มีกฎหมายใดๆ ที่จะกำหนดว่าประเทศนั้น ประเทศนี้มีสถานภาพเป็นมหาอำนาจ หากเป็นเพียงเพราะรัฐนั้นๆ มีขนาด พละกำลัง และอำนาจอิทธิพลทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐาน และจะสังเกตได้ว่า สถานะของกลุ่มประเทศมหาอำนาจเช่นนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงได้บ่อยๆ เช่น ในสมัยการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 ประเทศมหาอำนาจในสมัยนั้นได้แก่ อังกฤษ ออสเตรีย ฝรั่งเศส ปอร์ตุเกส ปรัสเซีย สเปน สวีเดน และรัสเซีย หลังจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่เกี่ยวกับพละกำลังของประเทศมหาอำนาจ คือก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง ประเทศที่จัดว่าเป็นมหาอำนาจในตอนนั้นคือ อังกฤษ ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่นอกยุโรป เมื่อตอนสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศที่เป็นมหาอำนาจได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ โซเวียตรัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน พึงสังเกตด้วยว่า องค์การสหประชาชาติได้ถือว่า ประเทศทั้ง 5 นี้มีอำนาจและมีความสำคัญมากที่สุดในขณะนั้น ทั้ง 5 ประเทศนี้ต่างเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ซึ่งมีอำนาจใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในที่ประชุม ซึ่งในปัจจุบันก็ยังปฏิบัติเช่นนั้นอยู่ [การทูต]
Hegemonic Powerมหาอำนาจที่ครอบงำ เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี พ.ศ. 2534 สหรัฐอเมริกาได้กลายเป็น "มหาอำนาจเดียว" หรือ "มหาอำนาจที่ครอบงำ" [การทูต]
Multi-Polarมหาอำนาจหลายขั้ว [การทูต]
New World Orderระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต]
Superpowerอภิมหาอำนาจ [การทูต]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Let's not forget that America is the most powerful country in the world.แต่อย่าลืมว่าอเมริกาเป็นชาติมหาอำนาจ Love Actually (2003)
No, I'm an extremely powerful fire demon named Calcifer!ไม่ใช่ ข้าคืออภิมหาอำนาจราชาแห่งไฟผู้เกรียงไกร นามว่า คัลซิเฟอร์! Howl's Moving Castle (2004)
The West, all the superpowers, everything you believe in, Paul.ชาติตะวันตก ประเทศมหาอำนาจทั้งหลาย ทุกอย่างที่คุณเคยเชื่อมั่น พอล Hotel Rwanda (2004)
It's more diplomatic to bend to the will of a superpower...มันดูนิ่มนวลกว่า ที่จะอ่อนข้อ ให้กับประเทศมหาอำนาจ The Constant Gardener (2005)
In the volatile climate of the 21st century, the sharing of deterrent technologies by responsible powers is the surest guarantee of global peace.ในสภาพผันผวนของศรรตวรรษที่21 การร่วมมือด้านเทคโลโนยีของมหาอำนาจที่เชื่อถือได้ การร่วมมือด้านเทคโลโนยีของมหาอำนาจที่เชื่อถือได้ Day 5: 10:00 a.m.-11:00 a.m. (2006)
A large population is the foundation to a rich and powerful nation.จำนวนประชากรที่มากก็เพื่อสร้างความร่ำรวยและเป็นมหาอำนาจ Episode #1.8 (2006)
Through you, BuYeo will no doubt become more powerful!เพราะท่าน, เมืองพูยอจะ กลายเป็นมหาอำนาจอย่างไม่ต้องสงสัย Episode #1.8 (2006)
Great. Russia, China, the big power stuff.ยอดเยี่ยม, รัสเซีย จีน ประเทศมหาอำนาจ Frost/Nixon (2008)
Two superpowers retreating from war.สองมหาอำนาจ ถอยทัพออกไปแล้ว Watchmen (2009)
In effect, they become a new superpower.ผลพวกเขากลายเป็นมหาอำนาจใหม่ Inception (2010)
Kenya rises to power on the export of rhinoceroses.เคนย่ากลายเปนมหาอำนาจ ที่ส่งออกแรดสู่ต่างประเทศ The Zazzy Substitution (2010)
Two superpowers facing off and he wants to start World War III.สองมหาอำนาจมาเผชิญหน้าและ ต้องการก่อสงครามโลกครั้งที่ 3 X-Men: First Class (2011)
We went for what the President wanted.ขณะนี้อเมริกาเป็นมหาอำนาจที่ให้ การสนับสนุนกำลังทหารให้เรามากที่สุด Episode #1.1 (2011)
That's exactly what any foreign power would love to do against the Department of Defense.นั่นเป็นสิ่งที่ชาติมหาอำนาจต่างๆ ต้องการที่จะเจาะเข้าไปในกระทรวงกลาโหมของเรา Cyber Threat (2011)
For 74 years, the might of Soviet socialism was so great it split the world along Eastern and Western lines.74 ปีมาแล้ว ที่มหาอำนาจอย่างสหภาพโซเวียต ได้แบ่งแยกดินแดนโลกระหว่างตะวันออกและตะวันตกออกจากกัน Resident Evil: Damnation (2012)
Maybe you're going to get superpowers.บางทีคุณอาจกำลังจะได้รับมหาอำนาจ. Scary Movie 5 (2013)
I put the superpowers of this world on notice that... when they cross the line, พวกมหาอำนาจในโลก ก็จะตระหนักแก่ใจ ว่า... ถ้าล้ำเส้นฉันเมื่อไหร่ The Fate of the Furious (2017)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
มหาอำนาจ[mahā-amnāt] (n) EN: great power ; powerful nation  FR: grande puissance [ f ] ; nation puissante [ f ]
ประเทศมหาอำนาจ[prathēt mahā-amnāt] (n, exp) EN: superpower ; mighty nation ; great power  FR: superpuissance [ f ]

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
Great power(n) มหาอำนาจ
power(n) ประเทศมหาอำนาจ
sea power(n) ประเทศมหาอำนาจทางทะเล, See also: แสนยานุภาพทางทะเล, แสนยานุภาพของกองทัพเรือ, Syn. naval strength, naval forces
superpower(n) ประเทศมหาอำนาจ, See also: ชาติมหาอำนาจ, Syn. powerful nation
superpower(n) อภิมหาอำนาจ, See also: มหาอำนาจ, Syn. superiority

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
power(เพา'เออะ) n. อำนาจ, กำลัง, แรง, ความสามารถ, สมรรถภาพ, (ประเทศ) มหาอำนาจ, คนที่มีอำนาจ, เอกสารมอบอำนาจ, ผู้มีอำนาจ, ผู้มีอิทธพล, กำลังทางทหาร, สิ่งศักดิ์สิทธิ์,
sea powern. ประเทศมหาอำนาจทางทะเล
superpower(ซู'เพอเพา'เออะ) n. มหาอำนาจ, อภิมหาอำนาจ (ที่มีอิทธิพลทางการเมืองเหนือประเทศอื่น)
world powern. ประเทศมหาอำนาจ

English-Thai: Nontri Dictionary
power(n) กำลัง, อำนาจ, ความสามารถ, อานุภาพ, สมรรถภาพ, ประเทศมหาอำนาจ

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Powerhouse(n) มหาอำนาจ, Syn. superiority

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top