กลองมลายู | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปร่างลักษณะอย่างเดียวกับกลองแขก แต่ตัวกลองสั้นและอ้วนกว่า สายโยงเร่งเสียงทำด้วยหนัง ขึ้นหนัง ๒ หน้าด้วยหนังวัว ตีด้วยไม้งอน ใช้บรรเลงในวงบัวลอยในงานศพ และใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์นางหงส์. |
มลายู | (มะ-) น. ชื่อชนชาติหนึ่ง อยู่ในประเทศมาเลเซียและเกาะต่าง ๆ ตอนใต้ของแหลมมลายู. |
กระ ๒ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Elateriospermum tapos Blume ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมมี ๓ พู เปลือกแข็ง เมื่อแก่สีคลํ้าเกือบดำ เมล็ดรูปยาวรี เปลือกแข็งเป็นมันสีนํ้าตาลเข้ม ภายในมีเนื้อขาว ๒ กลีบประกบกัน เมื่อดิบมีพิษร้ายแรง ดองหรือคั่วแล้วกินได้ รสมัน เรียกว่า ลูกกระ ปักษ์ใต้และมลายูเรียก ประ. |
กริช | (กฺริด) น. อาวุธชนิดหนึ่ง เป็นของชาวชวาและมลายู มีลักษณะด้ามโค้ง มักทำเป็นรูปหัวสัตว์ คล้ายมีด ๒ คม ปลายแหลม ใบมีดตรงก็มี คดไปคดมาก็มี. |
กลอง | (กฺลอง) น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ขึงด้วยหนัง ใช้ตีบอกสัญญาณ กำกับจังหวะ หรือใช้ตีร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ตัวกลองเรียกว่า “หุ่น” ลักษณะกลมกลวงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะริด ไม้มะม่วง มีทั้งหน้าเดียวและ ๒ หน้า ที่ขึ้นหนังหน้าเดียว เช่น โทน กลองยาว รำมะนา ที่ขึ้นหนัง ๒ หน้า เช่น กลองทัด ตะโพน เปิงมาง กลองแขก กลองมลายู กลองชนะ การขึ้นหนังมีทั้งที่ใช้หมุดตรึงให้แน่น และใช้โยงเร่งเสียงด้วยสายหนัง เรียกว่า หนังเรียด หรือใช้หวายหรือลวด ยังมีกลองที่หล่อด้วยโลหะทั้งลูก แต่มิได้ขึงด้วยหนัง ก็มี เช่น มโหระทึก และกลองที่ทำด้วยดินเผา การตีกลองอาจใช้ไม้ตี มือ (ฝ่ามือ) หรือนิ้ว เพื่อให้เกิดเสียงดังก้อง, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก. |
กลองแขก | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปยาวทรงกระบอก มี ๒ หน้า หน้าหนึ่งใหญ่ เรียกว่า หน้ารุ่ย อีกหน้าหนึ่งเล็ก เรียกว่า หน้าต่าน เดิมใช้เส้นหวายผ่าซีกเป็นสายโยงเร่งเสียง แต่ปัจจุบันนิยมใช้สายหนังเหมือนกลองมลายู ชุดหนึ่งมี ๒ ลูก ลูกเสียงสูงเรียกว่า ตัวผู้ ลูกเสียงต่ำเรียกว่า ตัวเมีย, กลองชวา ก็เรียก. |
กอย | น. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างต่ำเตี้ย ตัวดำ ผมหยิก อยู่ในแหลมมลายู ได้แก่ พวกเซมัง และซาไกหรือเซนอย, เงาะ ก็เรียก. |
กะริง | น. บ่วงหวายสำหรับดักสัตว์อย่างเนื้อและกวาง. (ประพาสมลายู), กระหริ่ง ก็ว่า. |
โกสน | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Codiaeum variegatum (L.) A. Juss ในวงศ์ Euphorbiaceae ถิ่นกำเนิดในแหลมมลายูและแปซิฟิก มีหลายพันธุ์ ใบมีรูปร่างและสีต่าง ๆ กัน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ, โกรต๋น ก็เรียก. |
ขนาบ | โดยปริยายหมายความว่า เรื่อยมา, ตลอดมา, เช่น รับของถวายกันขนาบมา (ประพาสมลายู). |
แขก ๒ | น. คำเรียกชาวอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังกลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล ชวา มลายู ชาวเอเชียตะวันออกกลางและตะวันออกใกล้ ยกเว้นชาวยิว แอฟริกาเหนือ และ นิโกร. |
ฆ้องเหม่ง | น. ฆ้องขนาดเขื่องและหนากว่าฆ้องกระแต มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยกับไม้สำหรับถือตีประกอบจังหวะร่วมกับวงปี่ชวา กลองมลายู หรือวงบัวลอยในงานศพ. |
เงาะ ๑ | น. คนป่าพวกหนึ่ง รูปร่างตํ่าเตี้ย ตัวดำ ผมหยิก ในตระกูลนิกริโต (Negrito) และตระกูลออสโตรเนเชียน (Austronesian) อยู่ในแหลมมลายู เรียกตัวเองว่า กอย ได้แก่ พวกเซมัง และซาไกหรือเซนอย, โดยปริยายเรียกคนที่มีรูปร่างเช่นนั้น. |
ฉลาง | (ฉะหฺลาง) น. ชื่อชนชาติเดิมพวกหนึ่ง อยู่ทางทะเลด้านตะวันตกของแหลมมลายู, ชาวนํ้า หรือ ชาวเล ก็เรียก. (ม. ว่า ซะลัง) |
ชนะ ๒ | น. ชื่อกลองสองหน้า ลักษณะคล้ายกลองแขกหรือกลองมลายู ตีด้วยไม้ปลายงอ เป็นเครื่องประโคมของหลวง มีกลองชนะทอง เงิน เขียว หรือแดง ใช้ตีตามลำดับอิสริยยศและบรรดาศักดิ์. |
ชาวน้ำ | น. ชื่อชนชาติเดิมพวกหนึ่ง อยู่ทางทะเลด้านตะวันตกของแหลมมลายู, ฉลาง หรือ ชาวเล ก็เรียก. |
ชาวี | น. ชาวชวามลายู เช่น กูนี้ปัติมโนโร นักเทศโทโอ- มสุชวาชาวี (สมุทรโฆษ). |
ตบยุง | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Caprimulgidae และในวงศ์ Eurostopodidae ขนนุ่มสีนํ้าตาลเทา มีลายกระขาว หากินในเวลากลางคืน กลางวันจะพรางตัวซ่อนอยู่ตามพื้นดิน กินแมลง เช่น ตบยุงหางยาว ( Caprimulgus macrurusHorsfield) ตบยุงเล็ก ( C. asiaticus Latham) ตบยุงภูเขา ( C. indicus Latham) ซึ่งจัดไว้ในวงศ์ Caprimulgidae, ตบยุงยักษ์ [ Eurostopodus macrotis (Vigors) ] ตบยุงพันธุ์มลายู [ E. temminckii (Gould) ] ซึ่งจัดไว้ในวงศ์ Eurostopdidae, กระบา กระบ่า หรือ กระบ้า ก็เรียก. |
ทึดทือ | น. ชื่อนกขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ Strigidae ตาสีเหลือง ตัวสีนํ้าตาลมีลายกระสีขาว ลำตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านล่าง ขนคิ้วยาวเห็นได้ชัด ขาไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน กินปลาเป็นส่วนใหญ่ อาจกินหนูและสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ บ้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ทึดทือพันธุ์เหนือ [ Ketupa zeylonensis (Gmelin) ] และทึดทือมลายู [ K. ketupa (Horsfield) ]. |
นางหงส์ | น. ชื่อวงปี่พาทย์ไทยที่ผสมวงอีกแบบหนึ่ง ประกอบด้วยปี่ชวาและกลองมลายู สำหรับบรรเลงในงานศพ |
บัง ๓ | น. คำเรียกชายผู้มีเชื้อสายแขกมลายูหรือแขกอินเดีย หมายถึง พี่ชาย, อาบัง ก็เรียก. |
บ้าบ๋า | น. เรียกชายที่เป็นลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซีย ว่า บ้าบ๋า, คู่กับ ย่าหยา. |
ปี่พาทย์นางหงส์ | น. วงปี่พาทย์ที่ใช้บรรเลงเฉพาะในงานอวมงคล เรียกชื่อตามเพลงซึ่งใช้เป็นหลักในการบรรเลง คือ เพลงเรื่องนางหงส์ อัตรา ๒ ชั้น การประสมเครื่องดนตรีเหมือนวงปี่พาทย์ธรรมดาประสมกับวงบัวลอย แต่ใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน ใช้กลองมลายูแทนตะโพนหรือกลองทัด. |
มุหงิด | (-หฺงิด) น. ชื่อชนชาติชวามลายูในเกาะเซลีเบส, เรียกเพี้ยนเสียงเป็น ยุหงิด ก็มี. |
ย่าหยา | (-หฺยา) น. เรียกหญิงลูกครึ่งจีนกับมลายูที่เกิดในมลายูและอินโดนีเซียว่า ย่าหยา, คู่กับ บ้าบ๋า. |
ระแด | น. คนชาติข่าพวกหนึ่ง ในตระกูลชวา–มลายู อยู่ทางฝั่งซ้ายแม่นํ้าโขง. |
ลิเก | น. การแสดงชนิดหนึ่งมาจากชาวมลายู, เรียก ยี่เก ก็มี. |
โสร่ง | (สะโหฺร่ง) น. ผ้านุ่งเป็นถุงมีลวดลายต่าง ๆ อย่างชาวชวามลายูนุ่งเป็นต้น. |