Regional disperity | ความไม่เท่าเทียมระหว่างภูมิภาค [เศรษฐศาสตร์] |
Reginalization | การรวมเป็นภูมิภาค [เศรษฐศาสตร์] |
Amazon River Region | ภูมิภาคเขตแม่น้ำอเมซอน [TU Subject Heading] |
Antarctica ; Antarctic regions | ภูมิภาคแอนตาร์กติก [TU Subject Heading] |
Area studies | ภูมิภาคศึกษา [TU Subject Heading] |
Asia Pacific Economic Cooperation (Organization) | ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก [TU Subject Heading] |
Caribbean Area | ภูมิภาคแคริบเบียน [TU Subject Heading] |
Communication in regional planning | การสื่อสารในการวางแผนพัฒนาระดับภูมิภาค [TU Subject Heading] |
Mekong River Region | ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง [TU Subject Heading] |
North Atlantic Region | ภูมิภาคแอตแลนติกเหนือ [TU Subject Heading] |
Pacific Area | ภูมิภาคแปซิฟิก [TU Subject Heading] |
Pacific Area cooperation | ความร่วมมือของภูมิภาคแปซิฟิก [TU Subject Heading] |
Provincial University Library Network | ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค [TU Subject Heading] |
Regional economics | เศรษฐศาสตร์ภูมิภาค [TU Subject Heading] |
Regional planning | การวางแผนพัฒนาระดับภูมิภาค [TU Subject Heading] |
Regional style | แบบ (ภูมิภาค) [TU Subject Heading] |
Regionalism | ภูมิภาคนิยม [TU Subject Heading] |
Rural hospitals | โรงพยาบาลภูมิภาค [TU Subject Heading] |
Asia-Pacific Economic Cooperation | กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย -แปซิฟิก, Example: ประกอบด้วยสมาชิก 18 ประเทศ (ปี2538) ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน จีน ไต้หวัน ฮ่องกง เม็กซิโก ปาปัวนิวกีนี และชิลี โดยเริ่มกำเนิดขึ้นจากการประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศในภูมิภาคเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ณ ประเทศออสเตรเลีย เป็นการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ เพื่อความร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจเท่านั้น วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน คือ สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการค้า ของภูมิภาคและของโลกขยายความร่วม มือในกสาขาเศรษฐกิจที่มีความสนใจร่วมกัน พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าหลายฝ่ายของแกตต์ ลดอุปสรรคในการค้าสินค้าและบริการ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ [สิ่งแวดล้อม] |
Asia-Africa Forum | การประชุมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียกับแอฟริกา [การทูต] |
Asian-African Sub-Regional Organizations Conference | การประชุมองค์การอนุภูมิภาคเอเชีย-แอฟริกา มีการประชุมครั้งแรกที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี 2546 [การทูต] |
Asia Cooperation Dialogue | ความร่วมมือเอเชีย เวทีความร่วมมือในระดับทวีปเอเชีย โดยเป็นความคิดริเริ่มของไทยในการสร้างกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกอนุ ภูมิภาคของเอเชีย มีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงจุดแข็งและต่อยอดความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศเอเชีย โดยอาศัยความแตกต่างหลากหลายและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเอเชียมีอยู่มา ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งสร้างความร่วมมือในวงกว้างทั้งทวีปเอเชีย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเอเชียแข็งแกร่งและเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งสำหรับภูมิภาค อื่น ๆ เอซีดีได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 18-19 มิถุนายน 2545 โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 18 ประเทศเข้าร่วม ที่ประชุมได้แบ่งกรอบความร่วมมือเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติการหารือ (dialogue dimension) และมิติโครงการความร่วมมือ (project dimension) เช่น การท่องเที่ยว ความมั่นคงทางพลังงาน และการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Market) [การทูต] |
ASEAN Centre for Energy | ศูนย์พลังงานอาเซียน " จัดตั้งขึ้นที่กรุงจาการ์ตา เมื่อเดือนมกราคม 2542 มีหน้าที่ในการแสวง หาความร่วมมือระหว่างสมาชิกอาเซียนและกับประเทศนอกภูมิภาคในการศึกษา วิจัยและดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้านพลังงาน " [การทูต] |
Africa, Caribean and Pacific Countries | กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคแอฟริกา หมู่เกาะในแคริบเบียน และแปซิฟิก ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจากสหภาพยุโรป [การทูต] |
Asian Development Bank | ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 มีสมาชิกทั้งหมด 59 ประเทศ (สถานะเมื่อ เดือนตุลาคม 2543) แบ่งเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 43 ประเทศ (รวมทั้งไทย) และประเทศที่อยู่นอกภูมิภาคอีก 16 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ [การทูต] |
ASEAN Finance Minister + 3 (China, Japan and the Republic of Korea) Meeting | การประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนกับผู้แทนจากจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ในช่วงการประชุม ประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่กรุงมะนิลา และได้ ตกลงในหลักการที่จะจัดเป็นประจำทุกปี เพื่อหารือสถานการณ์การเงินและเศรษฐกิจในภูมิภาค และร่วมมือหามาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขวิกฤตการณ์การเงินในภูมิภาค ผลงานที่สำคัญคือ ข้อตกลงริเริ่มที่เชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) [การทูต] |
African Union | สหภาพแอฟริกา สหภาพแอฟริกาซึ่งเป็นความร่วมมือระดับภูมิภาคที่สำคัญ ของทวีป แอฟริกา ได้ก่อกำเนิดมาจากองค์การเอกภาพแอฟริกา (Organization of African Unity ? OAU) เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยได้ปรับปรุงกฎบัตรเดิมขององค์การเอกภาพแอฟริกา ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการจัดตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพและสามารถแทรกแซงกิจการของประเทศ สมาชิกโดยผ่านกองกำลังรักษาสันติภาพ กลไกที่สำคัญของสหภาพ แอฟริกาที่เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งคือ ธนาคารกลาง นอกจากนี้ นโยบายสำคัญที่สหภาพแอฟริกาเน้น คือ การพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน และได้ใช้โครงการ The New Partnership for Africa?s Development หรือ NEPAD เป็นหลักในการดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งมุ่งเน้นการขจัดความยากจน [การทูต] |
ASEAN Investment Area | เขตการลงทุนอาเซียน จัดตั้งขึ้นตามกรอบความตกลงว่าด้วยเขตลงทุนอาเซียน ที่ลงนามเมื่อ ปี พ.ศ. 2541 เพื่อส่งเสริมให้มีภาวะการลงทุนที่โปร่งใสและเสรีในอาเซียนในอันที่จะดึงดูด การลงทุนจากภายในและภายนอกภูมิภาค โดยให้ประเทศสมาชิกเปิดให้มีการลงทุนทางอุตสาหกรรม และให้มี การประติบัติเยี่ยงคนชาติแก่นักลงทุนอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2553 และแก่นักลงทุนทั่วไปภายในปี พ.ศ. 2563 โดยครอบคลุมการลงทุนโดยตรง ทั้งหมดในสาขาอุตสาหกรรมการผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้ และเหมืองแร่ รวมทั้งการบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาการผลิตดังกล่าว ยกเว้นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ [การทูต] |
Asociaci?n Latinoamericana de Integraci?n | สมาคมเพื่อการบูรณาการแห่งภูมิภาคลาตินอเมริกา ก่อตั้งเมื่อเดือนสิงหาคม 2523 ประเทศสมาชิกประกอบด้วย อาร์เจนตินา บราซิล เม็กซิโก ชิลี โคลัมเบีย เปรู อุรุกวัย เวเนซุเอลา โบลิเวีย เอกวาดอร์ และปารากวัย [การทูต] |
Agency for Coordinating Mekong Tourism Activities | ศูนย์ประสานงานโครงการด้านการท่องเที่ยวของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง [การทูต] |
Asia-Pacific Inter-Governmental Consultations on Refugees Displaced Persons and Migrants | กรอบการหารือระหว่างรัฐบาลในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วย ผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่น และผู้โยกย้ายถิ่น [การทูต] |
ASEAN Regional Centre for Biodiversity Conservation | ศูนย์อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของภูมิภาคอาเซียน จัดตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป มีสำนักงานเลขาธิการตั้งอยู่ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม [การทูต] |
ASEAN Regional Forum | การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก " เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรี ต่างประเทศของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน (Dialogue Partners) ได้แก่ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน รัสเซีย และสหภาพยุโรป ผู้สังเกตการณ์ (Observers) ของอาเซียน ได้แก่ ปาปัวนิวกินี และประเทศอื่น ๆ ที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดย ARF ได้ใช้ ""geographical footprint"" หรือขอบเขตทางภูมิศาสตร์ เป็นปัจจัยสำคัญเพื่อประกอบการพิจารณารับสมาชิกใหม่ ปัจจุบัน ARF มีประเทศสมาชิก 22 ประเทศ กับ 1 กลุ่ม (สหภาพยุโรป) โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting - AMM) เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ระดับพหุภาคีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพัฒนาแนวทางการ ดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) ที่มุ่ง ป้องกันการเกิดและขยายตัวของความขัดแย้ง โดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence Building Measures - CBMs) ระหว่างกัน ทั้งนี้ ARF มีการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 และไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ARF ระดับรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2543 นอกจากการประชุม ARF ประจำปีแล้วยังมีการดำเนินกิจกรรมระหว่างปี (Inter-sessional Activities) ในสองระดับ คือ กิจกรรมที่เป็นทางการ (Track I) และกิจกรรมที่ไม่เป็นทางการ (Track II) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับสถาบันวิชาการของ ประเทศผู้เข้าร่วม ARF ได้แก่ (1) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจของ ARF (ARF Inter-sessional Support Group on Confidence Building Measures - ARF ISG on CBMs) (2) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการบรรเทาภัยพิบัติของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Disaster Relief - ARF ISM on DR) (3) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการรักษาสันติภาพของ ARF (Inter-sessional Meeting on Peace-keeping Operations - ARF ISM on PKO) และ (4) การประชุมระหว่างปีกิจกรรมเรื่องการประสานและร่วมมือด้านการค้นหาและกู้ภัย ของ ARF (ARF Inter-sessional Meeting on Search and Rescue Coordination - ARF ISM on SAR) " [การทูต] |
APEC Study Centers | ศูนย์ศึกษาเอเปค มีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาเอเปคในแต่ละประเทศสมาชิก 15 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคด้วยการ ศึกษา การพัฒนาฝีมือแรงงาน และอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างสมาชิกเอเปคในภูมิภาค ทั้งนี้ ศูนย์ศึกษาเอเปคได้มีบทบาทสำคัญในกิจกรรมต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก เช่น กิจกรรมการประเมินผลการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการของเอเปค เป็นต้น [การทูต] |
Association of South-East Asian Nations | สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน จัดตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 เพื่อร่วมมือและส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์และการบริหารในภูมิภาค โดยมีสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ อินโดนิเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ต่อมาบรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2527 เวียดนามเป็นสมาชิกประเทศที่ 7 ในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับสุดท้ายหรือประเทศที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2542 [การทูต] |
ASEAN Award | รางวัลอาเซียน " แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทบุคคลและประเภทองค์กร เพื่อ ยกย่องและให้การรับรองผลงานที่มีความโดดเด่นในการส่งเสริมและการพัฒนาความ ร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน " [การทูต] |
ARF Security Policy Conference | เวทีการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายทหารในกรอบ การประชุม อาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก [การทูต] |
ASEAN Troika | กลุ่มผู้ประสานงานของอาเซียน " เป็นข้อเสนอของไทยในการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการ ณ กรุงมะนิลา เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก ผู้นำประเทศ/รัฐบาลอาเซียน เป็นกลไกเฉพาะกิจในระดับรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาเซียนสามารถแก้ไขและร่วมมือกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทันท่วงทีและใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพ และในเรื่องที่อาเซียนมีความห่วงกังวลร่วมกันว่ามี แนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนจะปฏิบัติงานโดยยึดหลักการที่สำคัญของอาเซียน คือ หลักฉันทามติ และการไม่แทรกแซงกิจการภายใน กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ประเทศที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำของ อาเซียนในปัจจุบัน อดีต และอนาคต " [การทูต] |
ASEAN Vision 2020 | วิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563 เป็นเอกสารซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ได้ให้ความเห็นชอบ เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นและพันธกรณีของอาเซียนที่จะนำประชาชนในภูมิภาคนี้ ไปสู่ (1) การเป็นภูมิภาคที่มีสันติภาพและเสถียรภาพ (2) ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งด้วยการรวมตัวทางเศรษฐกิจ อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น (3) การเป็นสังคมที่เปิดกว้าง มีความเป็นปึกแผ่นและเอื้ออาทรต่อกัน และ (4) การกระชับความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและโลกภายนอก บนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกันและมีความเคารพซึ่งกันและกัน [การทูต] |
ASEAN - China, Japan and the Republic of Korea Relationship | ความสัมพันธ์อาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธาณรัฐเกาหลี เป็นกลไกความร่วมมือใหม่ที่เริ่มมีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 ซึ่งผู้นำของ อาเซียน จีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ได้พบกันเป็นครั้งแรกที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยในปี พ.ศ. 2542 ผู้นำอาเซียน+3 ได้ออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Joint Statement on East Asia Cooperation) เป็นหลักการพื้นฐานของการเสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง [การทูต] |
ASEAN Chambers of Commerce and Industry | สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอาเซียน เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างหอการค้าและอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน มีการประชุมประจำปี ๆ ละ 1-2 ครั้ง ในช่วงประมาณเดือนเมษายนและตุลาคมของทุกปี โดยหารือเรื่องความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างภาคเอกชนในอาเซียนและความร่วมมือ กับภาคเอกชนนอกภูมิภาค [การทูต] |
ASEAN Food Security Reserve Board | คณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิภาคอาเซียน เป็นกลไกประสานด้านการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงของภูมิภาค จัดตั้งขึ้นตามหลักการของปฏิญญาความสมานฉันท์แห่งอาเซียน 2514 [การทูต] |
Asia-Africa Cooperation | ความร่วมมือระหว่างเอเชียกับแอฟริกา " เป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียกับ ภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบการประชุมระหว่างประเทศเพื่อ การพัฒนาแอฟริกา ณ กรุงโตเกียว (Tokyo International Conference on African Development - TICAD) " [การทูต] |
Zone of Peace Freedom and Neutrality | เขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [การทูต] |
bold measures | มาตรการเข้มข้น หมายถึง มาตรการพิเศษที่กำหนดโดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 6 เมื่อเดือนธันวาคม 2541 เพื่อส่งเสริมการค้าและการเร่งรัดลงทุนจากต่างประเทศในอาเซียน ในอันที่จะช่วยประเทศในภูมิภาคฟื้นฟูเศรษฐกิจจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ [การทูต] |
Cobra Gold | การฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์ เป็นการฝึกทางทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพไทยและกองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก (USPACOM) ร่วมกันเป็น เจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี การฝึกคอบร้าโกลด์พัฒนามาจากการฝึกผสมยกพลขึ้นบกระหว่างกองทัพเรือไทยกับกอง ทัพเรือสหรัฐอเมริกาและกองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำการฝึกร่วมกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ต่อมาใน พ.ศ. 2525 ได้รวมการฝึกหลายอย่างเข้าด้วยกันแล้วกำหนดชื่อรหัสการฝึกขึ้นใหม่ว่า "การฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์" ปัจจุบัน มีประเทศที่ร่วมฝึกรวม ทั้งร่วมสังเกตการณ์หลายประเทศ รวมทั้งได้ขยายการฝึกครอบคลุมการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การตอบโต้การก่อการร้ายด้วย [การทูต] |
Common Market for Eastern and Southern Africa | ตลาดร่วมแห่งภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ " จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2537 มีประเทศสมาชิกรวม 20 ประเทศ ได้แก่ แองโกลา บุรุนดี คอโมโรส สาธารณรัฐประชาธิปไตย คองโก จิบูตี อียิปต์ เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา มาดากัสการ์ มาลาวี มอริเชียส นามิเบีย รวันดา เซเชลส์ ซูดาน สวาซิแลนด์ แซมเบีย ซิมบับเว และยูกันดา " [การทูต] |
Coordinated Mekong Ministerial Initiative against Trafficking | การประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศไทยในอนุภูมิภาค แม่น้ำโขง เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ [การทูต] |
COlombo Plan Secretariat | สำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบ สำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบ ตั้งอยู่ที่กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา โดยมีเลขาธิการแผนโคลัมโบเป็นผู้บริหารงานภายใต้แผนโคลัมโบ ซึ่งเป็นความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจแงะสังคมในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก [การทูต] |
Council for Security and Cooperation in the Asia-Pacific | ชมรมด้านความมั่นคงและความร่วมมือในเอเชียแปซิฟิก เป็นสถาบันเอกชนก่อตั้งขึ้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2536 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมีสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (Institute of Security and International Studies : ISIS) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันก่อตั้งร่วมกับสถาบันอื่น ๆ จากประเทศอาเซียนและประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก CSCAP เป็นกลไกที่ไม่ใช่เป็นทางการ เพื่อให้นักวิชาการ เจ้าหน้าที่รัฐบาลในฐานะส่วนตัวและบุคคลอื่นได้อภิปรายปัญหาทางการเมืองและ ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก [การทูต] |