กระโจม ๓ | เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้วเครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์). |
กระหน่อง ๒ | น. น่อง, อวัยวะส่วนหลังของแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัวหนึ่งกัดเอ็นกระหน่อง (ม. ภาคอีสาน ชูชก), กระน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก, อีสานว่า กะหน่อง หรือ กะน่อง. |
กวน ๓ | น. กวาน, ชื่อตำแหน่งขุนนางในภาคอีสานสมัยโบราณ แต่ชาวอีสานบางถิ่นออกเสียงเป็น กวน เช่น บ้านเมืองข้อนขุนกวน ยาดไพร่. |
กะโซ่, กะโซ้ ๑ | น. เผ่าข่าโซ้ เป็นชาวป่าทางภาคอีสานของไทย มีลักษณะคล้ายเขมร. |
กะทอ | น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ตาโปร่ง ด้านในกรุด้วยใบไม้แห้ง รูปทรงกระบอก สำหรับใส่เกลือ ฝ้าย ยาสูบ เป็นต้น ใช้กันในภาคอีสาน. |
กะน่อง | น. น่อง, อวัยวะส่วนหลังของแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัว ๑ ขบกะน่อง (ม. ภาคอีสาน ชูชก), กะหน่อง ก็เรียก. |
กัลปพฤกษ์ ๒ | (กันละปะพฺรึก) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia bakeriana Craib ในวงศ์ Leguminosae มีมากทางภาคอีสานและภาคเหนือ ดอกสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อในระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ ฝักมีขนนุ่ม. |
กุดจี่ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Scarabaeidae หัวแบน ขาแบน ด้านข้างขามีลักษณะเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย ลำตัวยาว ๐.๕-๖.๐ เซนติเมตร ส่วนใหญ่สีน้ำตาลเข้มหรือดำ อาศัยอยู่ตามมูลสัตว์ ปั้นมูลสัตว์เป็นก้อนเพื่อวางไข่ ตัวเต็มวัยเมื่อถูกตัวมักทำเสียงดังฉู่ฉี่ บางครั้งจึงเรียก ตัวฉู่ฉี่หรือด้วงจู้จี้ ชนิดที่พบบ่อย เช่น Onitis subopacusArrow, Onthophagus seniculus Fabricius พบทุกภาค, กุดจี่ที่มีขนาดใหญ่ เช่น กุดจี่ขี้ช้างหรือด้วงขี้ช้าง ( Heliocopris dominus Bates) พบมากในภาคเหนือและภาคอีสาน, จี่ ก็เรียก. |
แกร็บ | น. เครื่องตีทำด้วยไม้ ใช้ประกอบการแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน เช่นเซิ้ง. |
แคน | น. เครื่องเป่าชนิดหนึ่ง เสียงคล้ายออร์แกน เป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ นิยมเล่นในทุกจังหวัดของภาคอีสานตอนเหนือ ทำด้วยไม้ซาง เรียกว่า ไม้กู่แคนหรือไม้เฮี้ย มีขนาดยาวลดหลั่นกัน เรียงติดเป็นตับในเต้าแคนที่ทำด้วยไม้ ลิ้นแคนทำด้วยโลหะเงินหรือทองเหลือง ทำเสียงสูง-ต่ำ ด้วยการเปิดปิดนิ้วที่รูเล็ก ๆ ซึ่งเจาะไว้ข้างกู่แคน กู่แคนติดแน่นกับเต้าแคนด้วยขี้สูดหรือชันโรง มีหลายขนาด ตั้งแต่ ๓ คู่ จนถึง ๙ คู่ ที่นิยมที่สุดคือคู่ ๘ ใช้บรรเลงเพื่อความบันเทิงทั่วไปและประกอบหมอลำหรือวงพิณ วงโปงลาง ในงานมงคล เป็นมหรสพประจำของชาวอีสาน. |
ซ้ำซาก | ว. ทำแล้วทำอีกหรือเป็นแล้วเป็นอีกอย่างเดียวกันรํ่าไป, จำเจ, เช่น เขาชอบพูดจาซ้ำซาก บางจังหวัดทางภาคอีสานเกิดภัยแล้งซ้ำซาก. |
เดินสาย | ก. ติดสายไฟฟ้าหรือสายโทรเลขโทรศัพท์เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงตระเวนไปแสดงตามที่ต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้ เช่น วงดนตรีลูกทุ่งเดินสายทั่วภาคอีสาน. |
ตีผึ้ง | เรียกการเล่นชนิดหนึ่งทางภาคอีสานเล่นต่อจากตอนหมอลำ. |
ถั่วแปบช้าง | น. ชื่อไม้เถาชนิด Afgekia sericea Craib ในวงศ์ Leguminosae พบทางภาคอีสาน ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยหลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีขาวเป็นมันเลื่อม ดอกเป็นช่อตั้ง สีชมพู ฝักสั้นป้อม แบน ปลูกเป็นไม้ประดับ. |
น้ำซับ | น. เรียกที่ซึ่งมีนํ้าซึมซาบอยู่ใต้ดิน ว่า ที่นํ้าซับ, ทางภาคอีสานเรียกว่า ซำ. |
ฟ้อน | ก. รำของทางภาคเหนือและภาคอีสาน, กราย. |
เรือแฝด | น. เรือชะล่า ๒ ลำที่นำมาผูกติดกันแล้วใช้ไม้กระดานปูเพื่อบรรทุกรถยนต์ข้ามแม่น้ำ นิยมใช้ทางภาคอีสาน. |
ส่วย ๒ | น. ชนชาติพูดภาษาตระกูลมอญ–เขมรพวกหนึ่ง อยู่ทางภาคอีสาน. |
โหวด ๒ | (โหฺวด) น. เครื่องดนตรีประเภทเป่าชนิดหนึ่งของภาคอีสาน. |
อุปฮาด | (อุปะ-, อุบปะ-) น. ตำแหน่งรองจากเจ้าเมืองในภาคอีสานสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น พระยาก่ำได้ตั้งให้ท้าวแก้วผู้น้องชายเป็นอุปฮาดอยู่บ้านหนึ่งต่างหาก (ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ : ว่าด้วยชนชาติภูไทย) |