บพิตร | (บอพิด) น. พระองค์ท่าน เช่น บำรุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคำที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย ซึ่งใช้คำเปลี่ยนไปตามพระอิสริยยศของเจ้านาย เช่น สมเด็จพระราชภคินีบพิตร สมเด็จพระบรมวงศบพิตร บรมวงศบพิตร พระเจ้าวรวงศบพิตร พระวรวงศบพิตร. |
บพิตรพระราชสมภาร | ส. คำที่พระสงฆ์เรียกพระมหากษัตริย์ มักใช้ในการถวายพระธรรมเทศนา. |
บรมบพิตร | (-บอพิด) น. คำที่พระภิกษุใช้สำหรับแทนพระองค์พระมหากษัตริย์หรือสมเด็จพระบรมราชินี, ใช้ว่า มหาบพิตร ก็มี. |
พิตร | (พิด) น. ทรัพย์, ของเครื่องปลื้มใจ. |
มหาบพิตร | (-บอพิด) น. คำที่พระภิกษุใช้สำหรับแทนพระองค์พระมหากษัตริย์หรือสมเด็จพระราชินี, ใช้ว่า บรมบพิตร ก็มี. |
กรรแสง ๓ | (กัน-) ก. ร้องไห้ เช่น สมเด็จพระบรม-บพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทราบแล้วทรงพระกรรแสง (ประชุมพงศ. ๖๔). |
กระยา | น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง). |
กษีณาศรพ | (กะสีนาสบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษิณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
กันแสง ๑ | ก. ร้องไห้, ใช้ว่า ทรงพระกันแสง หรือ ทรงกันแสง, โบราณเขียนเป็น กรรแสง ก็มี เช่น สมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวทราบแล้วทรงพระกรรแสง (ประชุมพงศ. ๖๔). |
กัศมล | (กัดสะมน) ว. น่าเกลียด, ไม่งาม, อุจาด, เช่น บพิตรพราหมณ์นี้กาจกัศมลร้ายพ้นคนในโลกย์นี้ (ม. คำหลวง กุมาร). |
จำนอง | ก. ผูก, คล้อง, หมายไว้, กำหนด, จำไว้, (โบ; กลอน) ประพันธ์, แต่ง, เช่น จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง (ลอ). |
ด้าม | ต้น, ทาง, เช่น รยกคันธมาทน์ โดยด้ามอาทิสวคนธ์ (ม. คำหลวง จุลพน), อันว่าพระสรรเพชญ์ ผู้เผด็จด้ามตัณหา ลุปรมาภิสมพุทธ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์), บพิตร ข้าอยู่ศุขเสวอยราช โดยด้ามอาทิทศธรรมสนท้าว (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), ดูกรเจ้าอำเภอใด แลราชผู้มีอยู่ในด้ามมารคธรรม ทำโทษน้นน (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
แถก | เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ (ม. คำหลวง กุมาร) |
บรม, บรม- | (บอรมมะ-) ว. อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นำหน้าคำที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม) |
บรรพชา | (บันพะ-, บับพะ) ก. บวช เช่น พระพุทธเจ้าเสด็จออกบรรพชา วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามจัดบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน. |
ประวิตร | (ปฺระวิด) น. บพิตร. |
ปวิตร | (ปะ-) น. บพิตร. |
ยาดา | น. หญิงที่เป็นสะใภ้ด้วยกัน เช่น หนึ่งคือนางศิริมหามายา ยาดานารถบพิตรก็ดี (ม. คำหลวง ทศพร). |
ราชวรวิหาร | (ราดชะวอระวิหาน) น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชประดิษฐ์, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเทพศิรินทร์ วัดราชสิทธาราม, เรียกพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสูงสุด ว่า ชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดปทุมวนาราม วัดรัชฎาธิษฐาน. |
วรวิหาร | (วอระ-) น. เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดตํ่าสุด ว่า ชั้นโทชนิดวรวิหาร เช่น วัดบพิตรพิมุข วัดอนงคาราม, เรียกพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดหนึ่ง มีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรวิหาร ว่า ชั้นตรีชนิดวรวิหาร เช่น วัดราชนัดดา วัดเทพธิดา. |
สิงคลิ้ง | ว. งามอย่างสง่า เช่น บพิตรพ่องามสิงคลิ้ง (ลอ). |