Antioxidant | สารเคมีที่เติมลงไปในยางเพื่อจับอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยา ของออกซิเจนในอากาศกับยาง (ที่มีพันธะคู่) หรือทำให้ไฮโดรเพอร์ออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาแตกตัวต่อไปเป็นส่วนที่ ไม่เป็นอันตรายต่อการเสื่อมสภาพของยาง ทำให้ยางมีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น [เทคโนโลยียาง] |
Epoxidised or Epoxidized natural rubber | ยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์เป็นยางที่ได้จากการเติมออกซิเจนเข้าไปใน โมเลกุลของยางตรงบริเวณพันธะคู่เกิดเป็นวงแหวนอิพ็อกไซด์โดยผ่านปฏิกิริยาอิ พ็อกซิเดชัน (Epoxidation) โดยมีระดับของการเกิดอิพ็อกซิเดชันตั้งแต่ร้อยละ 10-50 ยาง ENR ที่ได้จึงมีความเป็นขั้วสูงกว่ายางธรรมชาติทั่วไป ทำให้ทนต่อความร้อนและน้ำมันได้ดีขึ้น โดยยาง ENR เกรดที่มีระดับอิพ็อกซิเดชันสูงถึงร้อยละ 50 จะมีความเป็นขั้วสูงเทียบเท่ากับยาง NBR ที่มีปริมาณอะไครโลไนไทรล์ปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่ายาง ENR ที่เสริมแรงด้วยซิลิกาจะมีสมบัติคล้ายกับยางธรรมชาติที่เสริมแรงด้วยเขม่าดำ อีกด้วย การเตรียมยาง ENR นี้สามารถเตรียมได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง [เทคโนโลยียาง] |
Ethylene propylene diene rubber | ยาง EPDM เป็นยางสังเคราะห์ที่พัฒนามาจากยาง EPM โดยเติมมอนอเมอร์ตัวที่สาม คือ ไดอีน ลงไปเล็กน้อยในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน ทำให้ยางที่ได้มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (พันธะคู่) อยู่ในสายโซ่โมเลกุล ยางชนิดนี้จึงสามารถคงรูปได้ด้วยกำมะถัน แต่ไดอีนที่เติมลงไปไม่ได้ไปแทรกอยู่ที่สายโซ่หลักของโมเลกุล ดังนั้นสายโซ่หลักก็ยังคงเหมือนเดิมหรือไม่มีผลต่อสายโซ่หลักมากนัก จึงทำให้ยาง EPDM ยังคงมีสมบัติเด่นในเรื่องการทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อน แสงแดด ออกซิเจน โอโซน สารเคมี กรด ด่างได้ดีมาก และมีความยืดหยุ่นตัวได้ดีที่อุณหภูมิต่ำเมื่อเทียบกับ ยางธรรมชาติ มักใช้ทำผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ภายนอกเนื่องจากทนต่อสภาพอากาศได้ดีและใช้ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ยางขอบกระจก ยางปัดน้ำฝน ท่อยางของหม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นฉนวนหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง แผ่นยางกันน้ำ แผ่นยางมุงหลังคา [เทคโนโลยียาง] |
Ethylene propylene rubber | ยาง EPM เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากการทำปฏิกิริยาโคพอลิเมอไรเซชันระหว่างมอนอเมอร์ ของเอทิลีน (ethylene) กับโพรพิลีน (propylene) มีลักษณะการจัดเรียงตัวของโมเลกุลแบบอสัณฐานและมีสมบัติเป็นยาง แต่ไม่มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (ไม่มีพันธะคู่) จึงทำให้มีสมบัติเด่นในเรื่องความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากแสง แดด ออกซิเจน ความร้อน โอโซน และสารเคมี แต่ยางชนิดนี้มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถใช้กำมะถันในการคงรูปได้ (เนื่องจากไม่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล) ดังนั้นการทำให้ยางคงรูปจึงต้องใช้เพอร์ออกไซด์เท่านั้น การใช้งานนิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานภายนอก เช่น ยางขอบประตู ยางขอบหน้าต่าง โอริง ฉนวนหุ้มสายเคเบิล เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Liquid natural rubber | ยางธรรมชาติเหลวได้จากการนำยางธรรมชาติมาทำให้โมเลกุลของยางเกิดการ สลายตัวตรงตำแหน่งพันธะคู่หรือเป็นกระบวนการตัดสายโซ่โมเลกุลของพอลิไอโซพรี นที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงให้มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำลง จนกระทั่งยางมีความหนืดต่ำ สามารถไหลได้ที่อุณหภูมิห้องหรือที่อุณหภูมิต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส สามารถเตรียมได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง [เทคโนโลยียาง] |
Peroxide | สารเคมีที่มี –O-O- ในโมเลกุล เช่น H2O2, Na2O2, benzoyl peroxide [ (C6H5CO)2O2 ] ออกซิเจนในเพอร์ออกไซด์มีเลขออกซิเดชัน -1 ทำให้เพอร์ออกไซด์โดยทั่วไปไม่เสถียร เมื่อให้ความร้อนจะสลายตัวให้อนุมูลอิสระ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงของโมเลกุลขึ้นได้ด้วยพันธะคาร์บอน-คาร์บอน นิยมใช้เพอร์ออกไซด์เป็นสารทำให้ยางคงรูปในยางที่ไม่มีพันธะคู่ เช่น EPM, EVA, CPE, Q หรือยางที่มีปริมาณพันธะคู่ในโมเลกุลต่ำมากเท่านั้น เช่น HNBR, EPDM [เทคโนโลยียาง] |
Bond, Double | พันธะคู่, พันธะทวีคูณ, พันธะบอนด์คู่, แขนคู่, ดับเบิลบอน, พันธะคู่, บอนด์คู่ [การแพทย์] |
Desaturation | ปฏิกิริยาการเติมพันธะคู่ [การแพทย์] |
fatty acid | กรดไขมัน, กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในอาหารพวกน้ำมันหรือ ไขมัน ถ้ามีพันธะระหว่างอะตอมของคาร์บอนในโมเลกุลเป็นพันธะเดี่ยวทั้งหมดจะเรียกว่า กรดไขมันอิ่มตัว ถ้ามีพันธะคู่หรือพันธะสามระหว่างอะตอมของคาร์บอนจะเรียกว่า กรดไขมันไม่อิ่มตัว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
unsaturated fatty acid | กรดไขมันไม่อิ่มตัว, กรดไขมันชนิดที่มีพันธะระหว่างคาร์บอนกับคาร์บอนในโมเลกุลเป็นพันธะคู่อย่างน้อยหนึ่งพันธะ เช่น กรดโอลิอิก(C17H33COOH) เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
addition reaction | ปฏิกิริยาการเติม, 1. ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปรวมเป็นสารใหม่เพียงชนิดเดียว 2. ปฎิกิริยาเคมีที่เกิดจากโมเลกุลหรืออะตอมรวมเป็นโมเลกุลเดียวกับสารอินทรีย์ประเภทไม่อิ่มตัวตรงตำแหน่งพันธะคู่หรือพันธะสาม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
unsaturated hydrocarbon | ไฮโดรคาร์บอนประเภทไม่อิ่มตัว, สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีพันธะระหว่างอะตอมของคาร์บอนกับคาร์บอนในโมเลกุลเป็นพันธะคู่หรือพันธะสาม เช่น แอลคีน แอลไคน์ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alkene | แอลคีน, สารอินทรีย์ประเภทไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุลอย่างน้อย 1 ตำแหน่ง สูตรเคมีทั่วไป คือ CnH2n [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
double bond | พันธะคู่, พันธะระหว่างอะตอมคู่หนึ่งในสารโคเวเลนต์ ซึ่งคู่อะตอมนั้นใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |