Electric power | พลังงานไฟฟ้า [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Electric power consumption | การใช้พลังงานไฟฟ้า [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Advanced Gas-cooled Reactor | เครื่องปฏิกรณ์ขั้นสูงระบายความร้อนด้วยแก๊ส, เอจีอาร์, <em>เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์</em>ผลิตไฟฟ้าแบบหนึ่ง ใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ระบายความร้อน โดยพัฒนามาจากแบบที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ ตัวอย่างของเครื่องปฏิกรณ์ชนิดนี้คือเครื่องปฏิกรณ์ Hinkley Point B อยู่ทางตะวันตกของประเทศอังกฤษ ใช้ยูเรเนียมไดออกไซด์ (มียูเรเนียม-235 ร้อยละ 1.4 ถึง 2.6) เป็นเชื้อเพลิง และใช้แกรไฟต์เป็น<strong>สารลดความเร็วนิวตรอน</strong> เครื่องปฏิกรณ์นี้ สามารถผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส และความดัน 16 เมกะพาสคัล ทำให้มีประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึงร้อยละ 40 ซึ่งสูงเท่ากับโรงไฟฟ้าพลังเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน [นิวเคลียร์] |
Anticipated operational occurrence | อุบัติการณ์ที่อยู่ในความคาดหมาย, เหตุการณ์ที่เบี่ยงเบนไปจากการทำงานตามปกติของโรงงานนิวเคลียร์ ซึ่งคาดว่าตลอดอายุการใช้งานจะเกิดขึ้นได้อย่างน้อยหนึ่งครั้ง แต่ได้มีการออกแบบรองรับเหตุการณ์นี้ไว้แล้วเพื่อความปลอดภัย และป้องกันมิให้ลุกลามเป็นอุบัติเหตุ เช่น หากพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายให้แก่เครื่องสูบน้ำของระบบระบายความร้อนเกิดขัดข้อง ระบบไฟฟ้าสำรองก็จะทำงานทันที, Example: [นิวเคลียร์] |
Distributed generation of electric power | การกระจายการผลิตพลังงานไฟฟ้า [TU Subject Heading] |
Electric power | พลังงานไฟฟ้า [TU Subject Heading] |
Electric power consumption | การใช้พลังงานไฟฟ้า [TU Subject Heading] |
Electric power distribution | การจ่ายพลังงานไฟฟ้า [TU Subject Heading] |
Electric power production | การผลิตพลังงานไฟฟ้า [TU Subject Heading] |
Electric power transmission | การส่งพลังงานไฟฟ้า [TU Subject Heading] |
Electrical Energy | พลังงานไฟฟ้า, พลังงานไฟฟ้า [การแพทย์] |
fuel cell | เซลล์เชื้อเพลิง, อุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนพลังงานเคมีให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยใส่สารเคมีเข้าไปทำปฏิกิริยากันแล้วได้กระแสไฟฟ้าออกมา เซลล์เชื้อเพลิงแบบง่ายได้จากปฏิกิริยาเคมีระหว่าง แก๊สไฮโดรเจนกับออกซิเจนโดยมีแผ่นนิกเกิลเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี และมีสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electrochemical cell [ cell ] | เซลล์ไฟฟ้าเคมี, ระบบที่ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 2 ขั้วจุ่มอยู่ในอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งเมื่อเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์จะให้พลังงานไฟฟ้าออกมา เซลล์ไฟฟ้าเคมีแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เซลล์ไฟฟ้าปฐมภูมิและเซลล์ไฟฟ้าทุติยภูมิ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
primary cell | เซลล์ปฐมภูมิ, เซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดหนึ่งซึ่งปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าโดยตรง เมื่อความต่างศักย์ของเซลล์ลดลงหรือหมดไป ไม่สามารถประจุไฟฟ้าใหม่ได้ เช่น ถ่านไฟฉายที่ใช้กันอยู่ทั่ว ๆ ไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electrolytic cell | เซลล์อิเล็กโทรไลต์, อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 2 ขั้วจุ่มอยู่ในสารละลายอิเล็กโทรไลต์ จะเกิดปฏิกิริยาเคมีได้ก็ต่อเมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้าจากภายนอกเท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คืออุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการอิเล็กโทรลิซิสนั่นเอง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electrochemical reaction | ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี, ปฏิกิริยารีดอกซ์ซึ่งมีการให้และรับอิเล็กตรอนโดยผ่านตัวนำ ปฏิกิริยานี้จะทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
charge | การประจุไฟ, การผ่านไฟฟ้ากระแสตรงเข้าไปในเซลล์ไฟฟ้าแบบทุติยภูมิเพื่อทำให้แผ่นโลหะที่ใช้เป็นขั้วไฟฟ้าอยู่ในสภาพที่จะสามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีได้เองและให้พลังงานไฟฟ้าออกมาได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
eddy current | กระแสวน, กระแสไฟฟ้าที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดขึ้นในตัวนำซึ่งอยู่ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลง กระแสวนจะเกิดขึ้นในแกนเหล็กของหม้อแปลงหรือในเครื่องกลไฟฟ้าอื่น ๆ เป็นเหตุให้เกิดความร้อน ซึ่งเป็นการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
kilowatt-hour | กิโลวัตต์-ชั่วโมง, หน่วยวัดความสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า เรียกโดยทั่วไปว่าหน่วย(unit) ใช้สัญลักษณ์ kW-hr 1 kW-hr คือกำลังไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ที่ใช้ในเวลา 1 ชั่วโมง เช่น เตารีดไฟฟ้า ขนาด 2 กิโลวัตต์ใช้เวลา 3 ชั่วโมง จะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 6 กิโลวัตต์-ชั่วโมง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
generator | เครื่องกำเนิดไฟฟ้า, เครื่องกลที่ใช้เปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ในโรงไฟฟ้าใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ผลิตไฟฟ้ากระแสสลับ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
lead storage cell | เซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่ว, เซลล์ไฟฟ้าทุติยภูมิชนิดหนึ่ง ใช้แผ่นตะกั่วไดออกไซด์เป็นขั้วบวก แผ่นตะกั่วเป็นขั้วลบ และสารละลายกรดซัลฟิวริกเป็นอิเล็กโทรไลต์ เมื่อประกอบเข้าเป็นเซลล์ไฟฟ้าแล้ว ต้องนำไปประจุไฟฟ้าก่อนจึงจะมีพลังงานไฟฟ้าจ่ายออกมาจากเซลล์ไฟฟ้า และเมื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าหมดแล้วก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
dynamo | ไดนาโม, เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งอาศัยหลักการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า โดยการทำให้ขดลวดเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็ก เป็นการเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
thermoelectric effect | ปรากฏการณ์เทอร์มออิเล็กตริก, ปรากฏการณ์ที่พลังงานความร้อนเปลี่ยนไปเป็นพลังงานไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากคู่ควบความร้อน เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
energy | พลังงาน, ความสามารถในการทำงานของระบบ มีหน่วยเป็นจูล พลังงานมีหลายรูป เช่น พลังงานกล พลังงานไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Electrical energy | พลังงานไฟฟ้า, พลังงานรูปหนึ่งที่สัมพันธ์กับตำแหน่งของประจุไฟฟ้าที่อยู่ในสนามไฟฟ้า มีหน่วยเป็นจูล วัตถุที่มีประจุไฟฟ้า Q วางอยู่ ณ จุดหนึ่ง มีศักย์ไฟฟ้า V จะมีพลังงานไฟฟ้า QV [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
electric motor [ motor ] | มอเตอร์ไฟฟ้า, อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
kilowatt-hour meter | มาตรไฟฟ้า, มาตรวัดพลังงานไฟฟ้าในหน่วยกิโลวัตต์-ชั่วโมง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
thermal power plant | โรงไฟฟ้าระบบกำลังความร้อน, โรงผลิตพลังไฟฟ้าโดยเปลี่ยนพลังงานความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ น้ำมัน เป็นต้น เป็นพลังงานไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Generator Current | พลังงานไฟฟ้า [การแพทย์] |
Mechano-Electrical Transducer | เปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า [การแพทย์] |