Geothermal energy | พลังงานความร้อนใต้พิภพ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Geothermal Energy | พลังงานความร้อนใต้พิภพ, Example: ป็นพลังงานความร้อนที่สะสมและถูกกักเก็บอยู่ใต้ผิวโลกและสามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นพลังงานที่ได้มาจากการปลดปล่อยไอน้ำและน้ำร้อนจากพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงในธรรมชาติโดยผ่านหลุมเจาะ จากการวัดอุณหภูมิที่ความลึกต่างๆจากผิวโลก พบว่าอัตราการเพิ่มอุณหภูมิใต้พิภพมีค่าเฉลี่ยประมาณ 30 องศาเซลเซียสต่อกิโลเมตร ที่ความลึกประมาณ 25 - 30 กิโลเมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 250 - 1, 000 องศาเซลเซียส [ปิโตรเลี่ยม] |
Nuclear reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, อุปกรณ์สำหรับให้ปฏิกิริยาลูกโซ่การแบ่งแยกนิวเคลียสเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและสามารถควบคุมได้ ใช้สำหรับผลิตนิวตรอน หรือพลังงานความร้อน มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ แกนปฏิกรณ์ ซึ่งบรรจุเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ สารหน่วงความเร็วนิวตรอน สารสะท้อนนิวตรอน สารหล่อเย็น วัสดุกำบังรังสี และระบบควบคุม <br>บางครั้งเรียกว่า เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู (atomic reactor)</br> [นิวเคลียร์] |
Thematic Mapper | ระบบแยกข้อมูลภาพจากดาวเทียมเป็นภาพหลายช่วงคลื่น, ระบบแยกข้อมูลภาพจากดาวเทียมเป็นภาพหลายช่วงคลื่น เพื่อแยกแยะลักษณะต่างๆบนพื้นดิน โดยทั่วไปจะใช้ ๗ ช่วงคลื่น และทำให้สามารถจำแนกชนิดของวัตถุบนพื้นดินได้งาน เช่น ดิน พืชพรรณ ความแข็งแรงของพืช ชนิดของพืชพรรณ ปริมาณของมวลชีวภาพ (biomass) จำแนกแหล่งน้ำ บอกความชื้นของดิน แยกระหว่างเมฆกับหิมะ แสดงแหล่งพลังงานความร้อน และจำแนกชนิดของหิน [Assistive Technology] |
Geothermal resources | แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ [TU Subject Heading] |
Ocean thermal power plants | โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากมหาสมุทร [TU Subject Heading] |
Geothermal Energy | พลังงานความร้อนใต้พิภพ, Example: พลังงานความร้อนที่สะสมและถูกกักเก็บอยู่ใต้ ผิวโลกและสามารถพัฒนา ขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นพลังงานที่ได้มาจากการปลดปล่อยไอน้ำและน้ำร้อน จากพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงในธรรมชาติโดยผ่านหลุมเจาะ จากการวัดอุณหภูมิ ที่ความลึกต่าง ๆ จากผิวโลก พบว่าอัตราการเพิ่มอุณหภูมิใต้พิภพมีค่าเฉลี่ยประมาณ 30 องศาเซลเซียสต่อกิโลเมตร ที่ความลึกประมาณ 25 - 30 กิโลเมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 250 - 1, 000 องศาเซลเซียล [สิ่งแวดล้อม] |
Glass transition temperature: Tg | อุณหภูมิที่พอลิเมอร์เปลี่ยนจากสภาพนุ่มคล้ายยางไปเป็นของแข็งเปราะ คล้ายแก้ว หรือกลับกัน ซึ่งสามารถหาได้จากการวัดการเปลี่ยนพลังงานความร้อนจำเพาะโดยใช้เทคนิค DSC (Differential Scanning Calorimetry) หรือ DTA (Differential Thermal Analysis) [เทคโนโลยียาง] |
endothermic change | การเปลี่ยนแปลงประเภทดูดความร้อน, การเปลี่ยนแปลงของระบบที่มีพลังงานต่ำกว่าสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ระบบมีพลังงานเท่าเดิม จึงต้องดูดพลังงานความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเข้าไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fuel | เชื้อเพลิง, สารที่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วให้พลังงานความร้อนสูง เช่น ถ่านหิน น้ำมัน เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
exothermic reaction | ปฏิกิริยาคายความร้อน, ปฏิกิริยาที่ผลิตภัณฑ์มีพลังงานสูงกว่าสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีพลังงานเท่าเดิมระบบจึงคายพลังงานความร้อนส่วนเกินออกสู่สิ่งแวดล้อม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
endothermic reaction | ปฏิกิริยาดูดความร้อน, ปฏิกิริยาที่ผลิตภัณฑ์มีพลังงานต่ำกว่าสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีพลังงานเท่าเดิมจึงต้องดูดพลังงานความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเข้าไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
luminescence | การเปล่งแสง, การเกิดแสงของสารบางชนิดโดยไม่ใช้พลังงานความร้อน แต่ใช้พลังงานรูปอื่นได้แก่ การเรืองแสง เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
heat capacity | ความจุความร้อน, อัตราส่วนของพลังงานความร้อนที่ให้แก่สารต่ออุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ความจุความร้อนมีหน่วนเป็น JK-1 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
heat | ความร้อน, พลังงานรูปหนึ่งซึ่งเกิดจากกระบวนการถ่ายโอนพลังงานจากวัตถุหนึ่งไปยังอีกวัตถุหนึ่ง หรือจากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่ง อันเนื่องมาจากความแตกต่างของอุณหภูมิ พลังงานในวัตถุหรือระบบก่อนถ่ายโอนหรือภายหลังการถ่ายโอน เรียกว่า พลังงานความร้อน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
thermoelectric effect | ปรากฏการณ์เทอร์มออิเล็กตริก, ปรากฏการณ์ที่พลังงานความร้อนเปลี่ยนไปเป็นพลังงานไฟฟ้า เช่น ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากคู่ควบความร้อน เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
thermal power plant | โรงไฟฟ้าระบบกำลังความร้อน, โรงผลิตพลังไฟฟ้าโดยเปลี่ยนพลังงานความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ น้ำมัน เป็นต้น เป็นพลังงานไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
thermal equilibrium | สภาพสมดุลทางความร้อน, สภาวะที่วัตถุหรือระบบไม่มีการถ่ายโอนพลังงานความร้อนภายในวัตถุหรือระบบ หรือไม่มีการถ่ายโอนพลังงานความร้อนระหว่างวัตถุหรือระบบกับสิ่งแวดล้อม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
thermodynamics | อุณหพลศาสตร์, วิชาฟิสิกส์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับสมบัติของสารซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปพลังงานความร้อนไปเป็นพลังงานรูปอื่น ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
geothermal energy | พลังงานความร้อนใต้ธรณี, พลังงานความร้อนที่สะสมอยู่ใต้เปลือกโลกทำให้เกิดภูเขาไฟ น้ำพุร้อน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |