กล่อมหงส์ | พิธีขับกล่อมหงส์ ทำต่อเนื่องจากพิธีตรียัมปวาย เป็นการส่งเสด็จพระอิศวร พระอุมา และพระมหาพิฆเนศวรกลับสู่สวรรค์ตามคติความเชื่อของพราหมณ์ |
กัลป-, กัลป์ | (กันละปะ-, กัน) น. กัป, อายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จจนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก ซึ่งได้แก่ช่วงเวลากลางวัน วันหนึ่งของพระพรหม คือ ๑, ๐๐๐ มหายุค (เท่ากับ ๔, ๓๒๐, ๐๐๐, ๐๐๐ ปีมนุษย์) เมื่อสิ้นกัลป์ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ โลกจะไร้สิ่งมีชีวิตและอยู่ในความมืดมนจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ แล้วพระพรหมก็จะสร้างโลกเป็นการขึ้นต้นกัลป์ใหม่ โลกจะถูกสร้างและถูกทำลายเช่นนี้สลับกันตลอดอายุของพระพรหม ทั้งนี้ตามคติของพราหมณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ กัป เช่น ชั่วกัปชั่วกัลป์ นานนับกัปกัลป์พุทธันดร. |
กาลี ๒ | น. ชื่อหนึ่งของพระอุมา ชายาพระอิศวร เรียกว่า เจ้าแม่กาลี, ปรกติสร้างรูปเป็นหญิงผิวดำ (ส. กาลี ว่า หญิงดำ), และว่ามีอำนาจเสมือน กาล (เวลา) ที่ไม่มีผู้ใดเอาชนะได้. |
ไกรลาส, ไกลาส | (ไกฺรลาด, ไกลาด) น. ชื่อภูเขาในเทือกเขาหิมาลัย เชื่อว่าเป็นที่สถิตของพระอิศวรในศาสนาพราหมณ์. |
จอมไตร | น. ผู้เป็นใหญ่ในโลกสาม, โดยมากหมายถึงพระพุทธเจ้า หรือ พระอิศวร (ตัดมาจาก จอมไตรโลก หรือ จอมไตรภพ). |
จันทรเศขร | น. ผู้มีพระจันทร์เป็นปิ่น คือ พระอิศวร. |
ช้าหงส์, ช้าเจ้าหงส์ | พิธีขับกล่อมหงส์ ทำต่อเนื่องจากพิธีตรียัมปวาย เป็นการส่งเสด็จพระอิศวร พระอุมาและพระมหาพิฆเนศวร กลับสู่สวรรค์ตามคติความเชื่อของพราหมณ์ |
ตรีเนตร | น. ชื่อหนึ่งของพระอิศวร แปลว่า ผู้มีนัยน์ตา ๓ ตา โบราณมักเรียกว่า พระอินสวน และเขียนเป็น พระอินศวร. |
ตรีมูรติ | น. ชื่อเรียกเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ มี ๓ องค์ คือ พระพรหม (พระผู้สร้าง) พระวิษณุหรือพระนารายณ์ (พระผู้รักษา) และพระศิวะหรือพระอิศวร (พระผู้ทำลาย). |
ตรีศูล | น. ศัสตราประจำหัตถ์พระอิศวร มีลักษณะคล้ายใบหอกสั้นหรือพระขรรค์ ๓ เล่ม โคนร่วมอยู่ในด้ามเดียวกัน. |
ตรียัมปวาย | (ตฺรียำปะ-) น. พิธีพราหมณ์กระทำรับพระอิศวร ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งกระทำในวันขึ้น ๗ คํ่าตอนเช้า ขึ้น ๙ คํ่าตอนเย็น เดือนยี่. |
ทรง | ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม |
เทพาธิบดี | น. เจ้าแห่งเทวดา, พระอิศวร. |
เบิกหน้าพระ | ก. ทำพิธีบูชาเทพยดา ได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ พระครูฤๅษีก่อนแสดงหนังใหญ่. |
ปรเมศวร์ | (ปะระเมด, ปอระเมด) น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง คือ พระอิศวร. |
พระ | ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. ภิกษุ เช่น พระสมศักดิ์ ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ |
พระเป็นเจ้า | น. เทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร, พระผู้สร้างโลก. |
พระผู้เป็นเจ้า | น. เทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร |
มหาเทพ | น. เทวดาผู้เป็นใหญ่ (โดยมากใช้เรียกพระอิศวร). |
มหาเทพี, มหาเทวี | น. พระอุมา ชายาพระอิศวร เรียกว่า พระมหาเทพี หรือ พระมหาเทวี. |
มหายุค | ๑, ๐๐๐ มหายุค หรือ ๔, ๓๒๐, ๐๐๐, ๐๐๐ ปีมนุษย์ เป็น ๑ กัลป์ เท่ากับช่วงกลางวันของพระพรหมเมื่อถึงเวลาค่ำ พระอิศวรจะล้างโลกด้วยเพลิง และปล่อยให้โลกอยู่ในความมืด จนกว่าพระพรหมจะสร้างโลกขึ้นใหม่ในเช้าวันรุ่งขึ้น. |
มเหศ, มเหศวร | (มะเหด, มะเหสวน) น. พระอิศวร, พระเจ้าแผ่นดิน. |
รำเขนง | (-ขะเหฺนง) น. พิธีพราหมณ์มีการถือเขนงนํ้ามนตร์รำถวายพระอิศวรแล้วประนํ้ามนตร์. |
ศังกร | (สังกอน) น. นามพระอิศวรผู้ประสาทความสุขเกษม. |
ศิว-, ศิวะ | (สิวะ-) น. พระอิศวร |
ศิวลึงค์ | น. รูปนิมิตแทนองค์พระศิวะหรือพระอิศวร ทำเป็นรูปอวัยวะเพศชาย ถือว่าเป็นวัตถุบูชาอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกไศวะ. |
ศิวเวท | น. มนตร์สรรเสริญพระศิวะหรือพระอิศวร, ไสยศาสตร์. |
ศุลี | น. พระอิศวร, ศูลิน ก็เรียก. |
ศูลิน | น. พระอิศวร, ศุลี ก็เรียก. |
สยมภู | (สะหฺยมพู) น. พระผู้เป็นเอง, พระอิศวร, สวยมภู ก็ใช้. |
สิว- ๒, สิวะ | พระศิวะ, พระอิศวร. |
หระ | (หะระ) น. ชื่อพระอิศวร. |