กษีณาศรพ | (กะสีนาสบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษิณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้ (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). |
ขษีณาศรพ | (ขะสีนาสบ) น. พระขีณาสพ, พระอรหันต์, เช่น ดูกรขษีณาศรพทั้งหลาย (ม. คำหลวง สักบรรพ). |
ขีณาสพ | (ขีนาสบ) น. พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์. |
จาตุรงคสันนิบาต | น. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้นดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑, ๒๕๐ รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คำสามัญว่า มาฆบูชา. |
ดับขันธ์ | ก. ตาย (ใช้แก่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์). |
ธรรมสังเวช | น. ความสังเวชโดยธรรม เมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์). |
ธาตุ ๒ | (ทาด, ทาตุ-) น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคำนั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันต-ธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ |
นหาดก | (นะหาดก) น. ผู้อาบน้ำแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง ผู้ที่ชำระกิเลสหมดแล้ว คือพระอรหันต์. |
นิพพาน | (นิบพาน) ก. ดับกิเลสและกองทุกข์, ตาย (ใช้แก่พระอรหันต์). (ป.; ส. นิรฺวาณ), โบราณใช้ว่า นิรพาณ ก็มี. |
นิราศรพ | (-สบ) ว. ไม่มีเครื่องหมักหมมในสันดาน, หมดมลทิน, หมายถึง พระอรหันต์. |
นิรินธนพินาศ | (-รินทะนะ-) น. ความหมดสิ้นอย่างไฟขาดเชื้อ คือ ไม่ลุกลามได้อีก (มักใช้เปรียบถึงความดับกิเลสของพระอรหันต์). |
นิโรธสมาบัติ | (นิโรดทะสะมาบัด, นิโรดสะมาบัด) น. การเข้าสู่นิโรธ เป็นวิธีพักผ่อนของพระอรหันต์. |
ปรินิพพาน | เรียกอาการตายของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์. |
ปัญจวัคคีย์ | น. พวก ๕ คน เป็นคำเรียกพระสงฆ์ ๕ รูป มีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นต้น ที่ตามพระพุทธเจ้าออกบวช และได้เป็นพระอรหันต์ก่อนพวกอื่น. |
มาฆบูชา | น. การทำบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญเดือน ๓ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) ๒. พระสงฆ์ ๑, ๒๕๐ รูปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก. |
วันมาฆบูชา | น. วันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันทำบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาเพื่อระลึกถึงความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ ส่วนในปีที่มีอธิกมาสจะตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔) ๒. พระสงฆ์ ๑, ๒๕๐ รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมกันในวันนั้นล้วนเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งเรียกการบวชแบบนี้ว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก. |
เวทคู | (เวทะคู) น. ผู้บรรลุถึงซึ่งความรู้ คือ พระอรหันต์. |
สกทาคามี, สกิทาคามี | (สะกะ-, สะกิ-) น. “ผู้มาสู่กามภพอีกครั้งหนึ่ง” เป็นชื่อพระอริยบุคคลชั้นที่ ๒ ใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์, บางทีก็เรียกสั้น ๆ ว่า พระสกทาคา หรือ พระสกิทาคา. |
สดูป | (สะดูบ) น. สถูป, สิ่งก่อสร้างที่มีรูปโอคว่ำซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชามีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าและพระธาตุของพระอรหันต์เป็นต้น, สตูป ก็ว่า. |
สตูป | (สะตูบ) น. สถูป, สิ่งก่อสร้างที่มีรูปโอคว่ำซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชามีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าและพระธาตุของพระอรหันต์เป็นต้น, สดูป ก็ว่า. |
สถูป | (สะถูบ) น. สิ่งก่อสร้างที่มีรูปโอคว่ำซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชามีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าและพระธาตุของพระอรหันต์เป็นต้น, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ เจดีย์ เป็น สถูปเจดีย์ เช่น เดินเวียนเทียนรอบพระสถูปเจดีย์, (แบบ) สดูป, สตูป. |
สมุจเฉทปหาน | (-ปะหาน) น. การละกิเลสได้ขาดอย่างพระอรหันต์. |
สังโยชน์ | น. เครื่องพัวพัน, เครื่องผูกรัด, หมายเอากิเลสที่ผูกคนไว้กับวัฏสงสาร มี ๑๐ อย่าง มีสักกายทิฐิเป็นต้น พระอริยบุคคลเมื่อละสังโยชน์เป็นลำดับจนหมดก็เป็นพระอรหันต์. |
โสดา ๒, โสดาบัน | น. “ผู้แรกถึงกระแสธรรม (พระนิพพาน)” เป็นชื่อพระอริยบุคคลชั้นต้นใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์, บางทีก็เรียกสั้น ๆ ว่า พระโสดา. |
อนันตริยกรรม | (-ตะริยะกำ) น. กรรมที่ให้ผลไม่เว้นระยะ คือ กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด มี ๕ อย่าง คือ ๑. ฆ่าบิดา ๒. ฆ่ามารดา ๓. ฆ่าพระอรหันต์ ๔. ทำให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน. |
อนาคามี | น. “ผู้ไม่มาสู่กามภพอีก” เป็นชื่อพระอริยบุคคลชั้นที่ ๓ ใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์, บางทีเรียกสั้น ๆ ว่า พระอนาคา. |
อรหัง | พระอรหันต์. |
อรหัต, อรหัต- | (อะระหัด, ออระหัด, อะระหัดตะ-, ออระหัดตะ-) น. ความเป็นพระอรหันต์. |
อรหัตผล | น. ธรรมที่พระอรหันต์ได้บรรลุ. (ป. อรหตฺตผล; ส. อรฺหตฺตฺว + ผล). (ดู ผล). |
อรหัตมรรค | น. ทางปฏิบัติที่ให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์. (ส. อรฺหตฺตฺว + มารฺค; ป. อรหตฺตมคฺค). (ดู มรรค). |
อรหันต-, อรหันต์ | (อะระหันตะ-, ออระหันตะ-, อะระหัน, ออระหัน) น. ชื่อพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เรียกว่า พระอรหันต์. (ศัพท์นี้ใช้ อรหา หรือ อรหัง ก็มี แต่ถ้าใช้เป็นคำวิเศษณ์หรืออยู่หน้าสมาสต้องใช้ อรหันต). |
อรหันตฆาต | น. การฆ่าพระอรหันต์, นับว่าเป็นบาปหนักที่สุดอย่าง ๑ ในอนันตริยกรรม ๕ อันได้แก่ ๑. ปิตุฆาต คือ ฆ่าบิดา ๒. มาตุฆาต คือ ฆ่ามารดา ๓. อรหันตฆาต คือ ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท คือ ทำให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. สังฆเภท คือ ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน. |
อเสกข-, อเสกขะ | (อะเสกขะ-) น. ผู้ที่ไม่ต้องศึกษาอีก หมายถึง พระอรหันต์. |
อเสกขบุคคล, อเสข-บุคคล | (อะเสกขะ-, อะเสขะ-) น. ผู้ที่ไม่ต้องศึกษาอีก หมายถึง พระอรหันต์. |
อเสขบุคคล, อเสกขบุคคล | (อะเสขะ-, อะเสกขะ-) น. ผู้ที่ไม่ต้องศึกษาอีก หมายถึง พระอรหันต์. |