การเปรียญ | (-ปะเรียน) น. เรียกศาลาวัดสำหรับพระสงฆ์แสดงธรรมว่า ศาลาการเปรียญ. |
กาลิก | น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ตามเวลาที่กำหนดให้ มี ๓ อย่าง คือ ๑. ยาวกาลิก–ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ ข้าวปลาอาหาร ๒. ยามกาลิก–ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่ นํ้าอัฐบาน ๓. สัตตาหกาลิก–ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕. |
เกล้ากระผม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมากหรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
โกน ๒ | น. ชื่อวันที่พระสงฆ์ในเมืองไทยปลงผม ตรงกับวันขึ้น ๑๔ คํ่า หรือแรม ๑๔ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็เป็นแรม ๑๓ คํ่า เรียกว่า วันโกน, คู่กับ วันพระ |
ข้าพระ | น. คนที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่สงฆ์ เพื่อรักษาวัดและปฏิบัติพระสงฆ์, ผู้ที่มูลนายยกให้เพื่อรักษาวัดและปฏิบัติพระสงฆ์. |
เข้าพรรษา | น. เรียกวันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจำพรรษา คือ วันแรม ๑ คํ่า เดือน ๘ ว่า วันเข้าพรรษา. |
เข้าพรรษา | ก. เข้าอยู่ประจำที่ ๓ เดือนในฤดูฝน (ใช้แก่พระสงฆ์). |
คณานุกรม | น. ฐานานุกรมของเจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายพระสงฆ์จีนและพระสงฆ์ญวน. |
คดซ่าง | น. สิ่งปลูกสร้างชั่วคราวขนาดย่อม ยกพื้น และดาดหลังคา สำหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรมในงานออกพระเมรุ ตั้งอยู่ ๔ มุมพระเมรุ, คดสร้าง ซ่าง สร้าง ส้าง สำซ่าง หรือ สำสร้าง ก็เรียก. |
คว่ำบาตร | ก. ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย, เดิมหมายถึงสังฆกรรมที่พระสงฆ์ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้ประทุษร้ายต่อศาสนาด้วยการไม่คบ ไม่รับบิณฑบาต เป็นต้น. |
โคตรภู | (โคดตฺระพู) น. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลำดับอริยมรรค, พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนา มีขนบธรรมเนียมห่างจากธรรมวินัย แต่ยังถือตนว่าเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์. |
จังหัน ๑ | น. ข้าว, อาหาร, (ใช้แก่พระสงฆ์). |
จาตุรงคสันนิบาต | น. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้นดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑, ๒๕๐ รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คำสามัญว่า มาฆบูชา. |
จำพรรษา | ก. อยู่ประจำที่วัด ๓ เดือนในฤดูฝน (ใช้แก่พระสงฆ์). |
จำนำพรรษา | ว. เรียกผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาในวัดนั้น ๆ ว่า ผ้าจำนำพรรษา. |
เจ้าไทย | น. พระสงฆ์ |
เจ้าหัว, เจ้าหัวกู | น. ผู้เป็นเจ้าเหนือหัว (ใช้เรียกพระสงฆ์). |
ชักพระ | น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็นประเพณีสำคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโวของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบกกับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้วช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกันลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วยใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย. |
ชินบุตร | (ชินนะบุด) น. พระสงฆ์. |
ชิโนรส | น. พระสงฆ์. |
ชีต้น | น. พระสงฆ์ที่เป็นอาจารย์. |
ชุบอาบ | น. ผ้าผลัดอาบนํ้าของเจ้านายหรือพระสงฆ์ เรียกว่า ผ้าชุบอาบ. |
ซ่าง ๒ | น. สิ่งปลูกสร้างชั่วคราวขนาดย่อม ยกพื้น และดาดหลังคา สำหรับพระสงฆ์นั่งสวดพระอภิธรรมในงานออกพระเมรุ ตั้งอยู่ ๔ มุมพระเมรุ, คดซ่าง คดสร้าง สร้าง ส้าง สำซ่าง หรือ สำสร้าง ก็เรียก. |
ฎีกา | หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์ |
ฐานานุกรม | น. ลำดับตำแหน่งยศพระสงฆ์ที่พระราชาคณะมีอำนาจตั้งสมณศักดิ์ให้ตามทำเนียบ เช่น พระปลัด พระสมุห์ พระใบฎีกา เป็นฐานานุกรมของพระราชาคณะชั้นสามัญ พระครูปลัด พระครูสมุห์ พระครูใบฎีกา เป็นฐานานุกรมของพระราชาคณะชั้นราชขึ้นไป. |
ดีฉาน | ส. ดิฉัน, ดีฉัน, เป็นคำที่เจ้านายผู้ชายมักใช้กับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
ตรีรัตน์ | น. แก้วทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์, โดยมากใช้ ไตรรัตน์. |
ตาลปัตรบังเพลิง | (-เพฺลิง) น. ตาลปัตรที่มีลักษณะเช่นเดียวกับพัดยศของพระสงฆ์ชั้นราชาคณะ ตรงกลางเว้นช่องว่างไว้ใส่ตะเกียงหรือโคมไฟ ปักตั้งรายรอบพระเมรุชั้นพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ชั้นสูง มีรูปเทวดานั่งคุกเข่าประคองโคนด้ามตาลปัตร, ตาลิปัตรบังเพลิง ก็เรียก. |
ไตรรัตน์ | น. แก้ว ๓ ประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน หมายถึง พระพุทธเจ้า เรียกว่า พุทธรัตนะ พระธรรม เรียกว่า ธรรมรัตนะ พระสงฆ์ เรียกว่า สังฆรัตนะ, รัตนตรัย ก็เรียก. |
ไตรสรณคมน์, ไตรสรณาคมน์ | (-สะระนะคม, -สะระนาคม) น. การยึดถือพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกโดยการน้อมนำเอาพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ มาเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ. |
ถวาย | (ถะหฺวาย) ก. ให้, มอบให้, เช่น ถวายของ (ใช้แก่พระสงฆ์) |
ถวายพระพร | คำเริ่มและคำรับที่พระสงฆ์พูดกับเจ้านาย. |
ถึง ๑ | รับนับถือ, ยึดถือ, เช่น ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก |
ทอดกฐิน | ก. ทำพิธีถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์. |
ทั้งนั้น | ว. ทั้งหมดโดยไม่ยกเว้น เช่น พระสงฆ์ทั้งนั้นถวายพระพร ผู้เข้าประกวดล้วนแต่สาว ๆ สวย ๆ ทั้งนั้น. |
ทำบุญ | ก. ประกอบกรรมดี มีการเลี้ยงพระ ตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ เป็นต้น, ทำบุญทำกุศล ก็ว่า. |
เทววาจิกสรณคมน์ | (ทะเววาจิกะสะระนะคม) น. การเปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์ เป็นสรณคมน์ที่ตปุสสะและภัลลิกะกล่าวหลังจากที่ได้ถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงแด่พระพุทธเจ้าในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากตรัสรู้. |
ธมกรก | (ทะมะกะหฺรก) น. กระบอกกรองนํ้าของพระสงฆ์ เป็นเครื่องใช้สอย ๑ อย่างในอัฐบริขาร, โบราณเขียนเป็น ธรรมกรก ก็มี เช่น กุณฑีธรรมกรก เครื่องบ่าพกบ่าแล (ม. คำหลวง ชูชก). |
นั่งปรก | (-ปฺรก) ก. นั่งทำใจให้เป็นสมาธิกำกับพระสงฆ์ด้วยกันอีก ๔ รูปซึ่งสวดในพิธีที่มีสวดภาณวาร, นั่งเข้าสมาธิส่งกระแสจิตเข้าไปยังวัตถุมงคลในพิธีต่าง ๆ. |
นานาสังวาส | น. “การอยู่ร่วมต่างกัน”, การที่พระสงฆ์มีศีลไม่เสมอกัน ทำอุโบสถหรือสังฆกรรมร่วมกันไม่ได้. |
นิสีทนสันถัต | น. ผ้าปูสำหรับนั่ง (มักใช้แก่พระสงฆ์). |
เนื้อนาบุญ | น. แหล่งที่ควรแก่การทำบุญ เช่น พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญ. |
บพิตร | (บอพิด) น. พระองค์ท่าน เช่น บำรุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคำที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย ซึ่งใช้คำเปลี่ยนไปตามพระอิสริยยศของเจ้านาย เช่น สมเด็จพระราชภคินีบพิตร สมเด็จพระบรมวงศบพิตร บรมวงศบพิตร พระเจ้าวรวงศบพิตร พระวรวงศบพิตร. |
บพิตรพระราชสมภาร | ส. คำที่พระสงฆ์เรียกพระมหากษัตริย์ มักใช้ในการถวายพระธรรมเทศนา. |
บุญเขต | (บุนยะ-) น. เนื้อนาบุญ, แหล่งที่ควรแก่การทำบุญ เช่น พระสงฆ์. |
เบญจวรรค | น. วรรคทั้ง ๕ ได้แก่ พยัญชนะตั้งแต่วรรค ก ถึงวรรค ป คือพยัญชนะตั้งแต่ ก ถึง ม, พระสงฆ์ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์เบญจวรรคหรือสงฆ์ปัญจวรรค ซึ่งสามารถทำสังฆกรรมบางอย่างได้เช่นรับกฐินหรืออุปสมบทพระภิกษุในถิ่นที่หาภิกษุได้ยาก. |
โบสถ์ | น. สถานที่สำหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมทำสังฆกรรม เช่น สวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต, อนุโลมเรียกสถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาอื่นว่า โบสถ์ เช่น โบสถ์พราหมณ์ โบสถ์คริสต์. (มาจากคำว่า อุโบสถ). |
ปรก ๑ | (ปฺรก) น. ซุ้มเล็ก ๆ ที่พระสงฆ์อาศัยในเวลาอยู่ปริวาส. |
ปัญจวัคคีย์ | น. พวก ๕ คน เป็นคำเรียกพระสงฆ์ ๕ รูป มีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นต้น ที่ตามพระพุทธเจ้าออกบวช และได้เป็นพระอรหันต์ก่อนพวกอื่น. |
ผ้าโยง | น. แถบผ้าที่โยงจากปากโกศหรือหีบศพของสามัญชน ใช้สำหรับคลี่ทอดไปยังพระสงฆ์เมื่อทอดผ้าบังสุกุล. |