กฐิน, กฐิน- | คำ <b><i>กฐิน </i></b> นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า <b><i>ผ้ากฐิน </i></b> ในฤดูกาลเรียกว่า <b><i>กฐินกาล </i></b> [ กะถินนะกาน ] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า<b><i>เทศกาลกฐิน </i></b>[ เทดสะกานกะถิน ] <b><i>ฤดูกฐิน </i></b> หรือ <b><i>หน้ากฐิน </i></b> ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า <b><i>จองกฐิน </i></b> การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า <b><i>ทอดกฐิน </i></b>พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า <b><i>ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน </i></b> หรือ <b><i>องค์ครองกฐิน </i></b>เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า <b><i>องค์กฐิน </i></b>ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า <b><i>เครื่องกฐิน </i></b>หรือ <b><i>บริวารกฐิน </i></b>[ บอริวานกะถิน ] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า <b><i>แห่กฐิน </i></b>ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า <b><i>ฉลองกฐิน </i></b> การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า <b><i>อนุโมทนากฐิน </i></b>[ อะนุโมทะนากะถิน ] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น <b><i>ผู้กรานกฐิน </i></b> ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า <b><i>อานิสงส์กฐิน </i></b>, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า <b><i>อานิสงส์กฐิน </i></b>เช่นกัน. <i> (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน)</i>. |
กระฎี | น. เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่. |
กะดี | น. ที่อยู่ของนักบวชเช่นพระภิกษุ, เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่ เช่น วัดกะดีทอง (สามดวง) |
กัณฑ์เทศน์ | น. สิ่งของหรือไทยธรรมสำหรับถวายพระภิกษุสามเณรผู้แสดงพระธรรมเทศนา, เครื่องกัณฑ์ ก็ว่า |
กุฎี | น. ที่อยู่ของนักบวชเช่นพระภิกษุ, เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่, โบราณเรียกว่า กะดี |
กุฏิ ๑ | (กุด, กุดติ, กุติ) น. เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่. |
เกาะชายผ้าเหลือง | ก. พึ่งพาผลบุญจากผู้ที่บวชเป็นพระภิกษุสามเณร เช่น ถ้ามีลูกชายก็จะได้บวชให้พ่อแม่ได้เกาะชายผ้าเหลือง. |
คนดิบ | น. ชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุ. |
คนสุก | น. ชายที่บวชเป็นพระภิกษุและสึกแล้ว. |
คำขึ้นต้น | น. คำใช้เขียนขึ้นต้นจดหมายถึงผู้รับตามฐานะของผู้รับแต่ละคน เช่น นมัสการ ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงพระภิกษุ เรียน ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงบุคคลธรรมดา |
เครื่องกัณฑ์ | น. สิ่งของหรือไทยธรรมสำหรับถวายพระภิกษุสามเณรผู้แสดงพระธรรมเทศนา, กัณฑ์เทศน์ ก็ว่า. |
เจ้าคุณ | คำเรียกพระภิกษุที่เป็นพระราชาคณะ. |
เจ้าอาวาส | น. พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ปกครองวัด. |
ดิบ | โดยปริยายเรียกชายที่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุ ว่า คนดิบ, (โบ) เรียกศพที่ฝังไว้ไม่นิยมเผาเช่นผีตายโหง ว่า ผีดิบ, เรียกผีชนิดหนึ่งเป็นศพเดินได้ ว่า ผีดิบ, เรียกดงที่มีต้นไม้หนาแน่นเขียวชอุ่มอยู่ทั้งปี ว่า ดงดิบ. |
ต้น ๔ | ส. สรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้เรียกพระภิกษุสามัญ เช่น ต้นอยู่วัดไหน. |
ตาลปัตร | (ตาละปัด) น. พัดทำด้วยใบตาล มีด้ามยาว สำหรับพระภิกษุถือบังหน้าในพิธีกรรมเช่นในเวลาให้ศีล ต่อมาอนุโลมเรียกพัดที่ทำด้วยผ้าหรือไหมซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า ตาลปัตร ด้วย, ตาลิปัตร ก็ว่า. |
ตาลยอดด้วน | พระภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิกไม่อาจกลับมาบวชใหม่ได้. |
ตุ๊ ๒ | น. พระภิกษุ. |
ถึงแก่มรณภาพ | ก. ตาย (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร หรือนักบวชในลัทธิศาสนาอื่น), ที่ใช้สั้น ๆ ว่า ถึงมรณภาพ หรือ มรณภาพ ก็มี. |
ถึงมรณภาพ | ก. ตาย (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร หรือนักบวชในลัทธิศาสนาอื่น), มรณภาพ ก็ว่า, ใช้เต็มว่า ถึงแก่มรณภาพ. |
เถรภูมิ | (เถระพูม) น. ระดับชั้นของพระภิกษุที่มีพรรษาระดับสูง คือตั้งแต่ ๑๐ พรรษาขึ้นไป อยู่ต่อจาก นวกภูมิ กับ มัชฌิมภูมิ. |
ทอดผ้า | ก. วางผ้าไตร สบง หรือจีวรไว้บนด้ายสายสิญจน์หรือภูษาโยง เพื่อให้พระภิกษุชักบังสุกุล. |
ทอดผ้าป่า | ก. เอาผ้าถวายพระภิกษุโดยวางไว้บนกิ่งไม้เพื่อให้พระภิกษุชักเอาเอง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่วางไว้อย่างนั้น เช่น ทอดผ้าป่าเรียงวางไว้กลางสนาม (อภัย). |
ทัฬหีกรรม | (ทันฮีกำ) น. การกระทำให้มั่นคงขึ้น ได้แก่การที่ทำซํ้าลงไปเพื่อให้มั่นคงในกรณีที่การกระทำครั้งแรกไม่สมบูรณ์ มักใช้ในพิธีสงฆ์ เช่น พระภิกษุที่บวชในฝ่ายมหานิกาย เมื่อไปอยู่ในวัดที่เป็นธรรมยุติกนิกายบางวัดก็ต้องให้ทำทัฬหีกรรม. |
ทำวัตร | ทำสามีจิกรรมตามธรรมเนียมของพระภิกษุ เช่น ก่อนเข้าพรรษาพระภิกษุต้องไปทำวัตรพระอุปัชฌาย์ที่อยู่ต่างจังหวัด. |
ทิมสงฆ์ | น. ที่พักชั่วคราวสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในพระราชวัง. |
ที่ปรก | น. บริเวณสำหรับพระภิกษุอยู่ปริวาสกรรม. |
ธรรมาสน์ | (ทำมาด) น. ที่สำหรับพระภิกษุสามเณรนั่งแสดงธรรม. |
นมักการ, นมัสการ | คำที่ใช้ขึ้นต้นและลงท้ายจดหมายที่มีไปถึงพระภิกษุสามเณร. |
นวกภูมิ | (นะวะกะพูม) น. ระดับชั้นของพระภิกษุที่มีพรรษาระดับต้น คือต่ำกว่า ๕ พรรษา อยู่ก่อน มัชฌิมภูมิ กับ เถรภูมิ. |
นิตยภัต | น. อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายภิกษุสามเณรเป็นนิตย์, เงินงบประมาณแผ่นดินที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลเป็นประจำทุกปี เพื่อเบิกจ่ายถวายอุดหนุนอุปถัมภ์แก่พระภิกษุผู้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระสังฆาธิการ พระเลขานุการ พระเปรียญธรรม ๙ ประโยค เป็นต้น. |
นิมนต์ | ก. เชิญ, เชื้อเชิญ, (ใช้แก่พระภิกษุและสามเณร). |
บงสุกุล | น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักออกจากศพ ว่า ผ้าบงสุกุล, โดยปรกติใช้ว่า บังสุกุล. <i>(ดู บังสุกุล)</i>. |
บรมบพิตร | (-บอพิด) น. คำที่พระภิกษุใช้สำหรับแทนพระองค์พระมหากษัตริย์หรือสมเด็จพระบรมราชินี, ใช้ว่า มหาบพิตร ก็มี. |
บริขาร | (บอริขาน) น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอกกรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร, สมณบริขาร ก็เรียก. |
บังสุกุล | น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบนด้ายสายสิญจน์หรือผ้าโยงที่ต่อจากศพด้วยการปลงกรรมฐาน ว่า ผ้าบังสุกุล, เรียกกิริยาที่พระภิกษุชักผ้าเช่นนั้น ว่า ชักบังสุกุล. |
บิณฑบาต | น. อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต. |
บิณฑบาต | ก. กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานำมาใส่บาตร, โดยปริยายหมายถึง กิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน. |
เบญจวรรค | น. วรรคทั้ง ๕ ได้แก่ พยัญชนะตั้งแต่วรรค ก ถึงวรรค ป คือพยัญชนะตั้งแต่ ก ถึง ม, พระสงฆ์ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์เบญจวรรคหรือสงฆ์ปัญจวรรค ซึ่งสามารถทำสังฆกรรมบางอย่างได้เช่นรับกฐินหรืออุปสมบทพระภิกษุในถิ่นที่หาภิกษุได้ยาก. |
ปฏิปทา | ความประพฤติ เช่น พระภิกษุรูปนี้มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส. |
ประคด | น. เครื่องคาดเอวหรืออกของพระภิกษุสามเณร, ถ้าเป็นสายถักเป็นแผ่นสำหรับคาดเอว เรียกว่า ประคดเอว, ถ้าเป็นผืนผ้าสำหรับคาดอก เรียกว่า ประคดอก, รัดประคด ก็เรียก |
ปรับอาบัติ | ก. เอาโทษเป็นผิดตามพระวินัย (ใช้แก่พระภิกษุ). |
ปลงอาบัติ | ก. แสดงความผิดของตนเพื่อเปลื้องโทษทางวินัย (ใช้แก่พระภิกษุ). |
ผ้าสันถัต | น. ผ้าที่พระภิกษุรองนั่ง. |
ผ้าเหลืองร้อน | ก. อยากสึก (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร). |
ผ้าอาบ, ผ้าอาบน้ำ | น. ผ้าที่พระภิกษุสามเณรใช้ผลัดอาบนํ้า. |
พระครู | น. ฐานันดรประเภทหนึ่งแห่งพระภิกษุ ตํ่ากว่าพระราชาคณะ เช่น พระครูสรวุฒิพิศาล พระครูสรภาณพิสุทธิ |
พระคุณเจ้า | ส. คำเรียกพระภิกษุที่นับถือ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
พระเดชพระคุณ | ส. คำเรียกผู้มียศบรรดาศักดิ์หรือพระภิกษุสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์สูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
พระผู้เป็นเจ้า | พระภิกษุที่นับถือ. |