กระแตไต่ไม้ ๒ | น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด <i> Drynaria quercifolia</i> (L.) J. Sm. ในวงศ์ Polypodiaceae ขึ้นเกาะตามต้นไม้ใหญ่ในป่าที่ชุ่มชื้น เหง้ามีขนเป็นปุยสีนํ้าตาลแก่คล้ายกระแต ใบมี ๒ ชนิด คือ ใบสร้างอับสปอร์ ยาวประมาณ ๑ เมตร เว้าเป็นแฉกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ และมีอับสปอร์เป็นจุด ๆ สีนํ้าตาลเข้มใต้ใบ ใบไม่สร้างอับสปอร์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ขอบจักหยาบ ๆ สีนํ้าตาล แข็งติดอยู่กับเหง้าจนผุ ไม่หล่นเหมือนใบสร้างอับสปอร์ ทำหน้าที่กักปุ๋ย, กระปรอกว่าว ใบหูช้าง สไบนาง สะโมง หรือ หัวว่าว ก็เรียก. |
กระสา ๓ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด <i> Broussonetia papyrifera</i> (L.) Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่นํ้าลำคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบเป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ทำกระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา. |
กรับพวง | น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แผ่นบาง ๆ หรือแผ่นทองเหลืองหรือแผ่นงาช้างหลาย ๆ อัน ด้ามจิ้ว ตอนหัวข้างหนึ่งเจาะรูร้อยเชือก เวลาตีใช้มือข้างหนึ่งจับตรงหัวทางเชือกร้อย แล้วฟาดข้างหนึ่งลงบนฝ่ามืออีกข้างหนึ่ง สำหรับตีเป็นจังหวะประกอบการฟ้อนรำและขับร้อง หรือใช้ตีรัวเป็นอาณัติสัญญาณ. |
กลอง | (กฺลอง) น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ขึงด้วยหนัง ใช้ตีบอกสัญญาณ กำกับจังหวะ หรือใช้ตีร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ตัวกลองเรียกว่า “หุ่น” ลักษณะกลมกลวงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะริด ไม้มะม่วง มีทั้งหน้าเดียวและ ๒ หน้า ที่ขึ้นหนังหน้าเดียว เช่น โทน กลองยาว รำมะนา ที่ขึ้นหนัง ๒ หน้า เช่น กลองทัด ตะโพน เปิงมาง กลองแขก กลองมลายู กลองชนะ การขึ้นหนังมีทั้งที่ใช้หมุดตรึงให้แน่น และใช้โยงเร่งเสียงด้วยสายหนัง เรียกว่า หนังเรียด หรือใช้หวายหรือลวด ยังมีกลองที่หล่อด้วยโลหะทั้งลูก แต่มิได้ขึงด้วยหนัง ก็มี เช่น มโหระทึก และกลองที่ทำด้วยดินเผา การตีกลองอาจใช้ไม้ตี มือ (ฝ่ามือ) หรือนิ้ว เพื่อให้เกิดเสียงดังก้อง, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก. |
กล่อมท้อง | ก. ใช้ฝ่ามือคลึงบริเวณท้องเบา ๆ เพื่อให้คลอดง่าย. |
กลางใจมือ | น. กลางฝ่ามือ. |
คลึง | (คฺลึง) ก. ใช้ฝ่ามือกดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเบา ๆ แล้วเคลื่อนมือหมุนไปมา เพื่อให้กลมหรือให้เรียบเป็นต้น, อาการที่ทำเช่นนั้นด้วยสิ่งอื่น เช่น คลึงด้วยลูกประคบ. |
ไคล ๓ | (ไคฺล) ก. ทำให้คลาย ให้อ่อน หรือให้หย่อน โดยใช้นิ้วมือหรือฝ่ามือเป็นต้นคลึงไปมา. |
ใจมือ | กลางฝ่ามือ. |
ชิมแปนซี | น. ชื่อลิงไม่มีหางในวงศ์ Pongidae ขนสีดำหรือน้ำตาลดำ บริเวณใกล้ก้นมีขนสีขาว หน้า ใบ หู ก้น ฝ่ามือ และฝ่าตีนไม่มีขน แขนและขายาวเกือบเท่ากัน มี ๒ ชนิด คือ ชนิด <i> Pan troglodytes</i> (Blumenbach) และชิมแปนซีแคระ [ <i> P. paniscus</i> (Schwarz) ] ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา อยู่รวมกันเป็นฝูง สามารถนำมาฝึกหัดให้เลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ได้. |
ตบ ๒ | ก. เอาฝ่ามือหรือของแบน ๆ เป็นต้นตีอย่างแรง เช่น ตบหน้า ตบลูกเทนนิส, เอาฝ่ามือแตะเบา ๆ ด้วยความเอ็นดู เช่น ตบหัวเด็ก. |
ตบมือ | ก. เอาฝ่ามือตีกันให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความยินดีเป็นต้น, ปรบมือ ก็ว่า, เอาฝ่ามือตีกันให้เกิดเสียงเพื่อทำให้เกิดจังหวะหรือขับไล่เป็นต้น. |
ตั้งวง | ก. กิริยาที่ผู้รำหักนิ้วหัวแม่มือเข้าหาฝ่ามือ นิ้วที่เหลือทั้ง ๔ เรียงชิดติดกัน หักข้อมือขึ้น. |
ท้องมือ | น. ส่วนข้างของฝ่ามือด้านนิ้วก้อย ตั้งแต่โคนนิ้วก้อยถึงข้อมือ. |
เนิน | เรียกเนื้อรอบฝ่ามือที่มีลักษณะนูนกว่าบริเวณอุ้งมือ ว่า เนิน เช่น เนินพระศุกร์ เนินพระพุธ. |
เนียน ๑ | น. กาบหมากที่เจียนให้มนขนาดเล็กกว่าฝ่ามือสำหรับตักนํ้าพริกจากครก, เปลือกจั่นมะพร้าวสำหรับแซะนํ้าตาลเมื่อเวลาเคี่ยว, โดยปริยายใช้เรียกที่สำหรับแซะหรือตัดขนม. |
ปรบ | (ปฺรบ) ก. เอาฝ่ามือตบกันหลาย ๆ ครั้งให้เกิดเสียงเพื่อแสดงความยินดีเป็นต้น ในคำว่า ปรบมือ, ตบมือ ก็ว่า |
ปั่นแปะ | น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง เดิมใช้อีแปะ ปัจจุบันใช้สตางค์หรือเงินเหรียญปั่นให้หมุน แล้วใช้ฝ่ามือปิดไว้ ให้ทายว่าจะออกหัวหรือก้อย, อีกอย่างหนึ่งใช้อีแปะ สตางค์ หรือเงินเหรียญ ๒ อัน อันหนึ่งใส่ไว้ในอุ้งมือ แล้วปั่นอีกอันหนึ่งให้หมุน แล้วเอาฝ่ามือที่มีอีแปะ สตางค์ หรือเงินเหรียญตบลงไปบนอันที่กำลังหมุน ให้ทายว่า ออกหัว ก้อย หรือกลาง ถ้าออกหัว ๒ อัน เรียกว่า ออกหัว ถ้าออกก้อย ๒ อัน เรียกว่า ออกก้อย ถ้าออกหัวอันหนึ่งก้อยอันหนึ่ง เรียกว่า ออกกลาง. |
ปาณิ, ปาณี ๑ | น. มือ, ฝ่ามือ. |
ปาณิดล | น. ฝ่ามือ. |
ฝาสำหรวด | น. ฝาเรือนเครื่องสับแบบหนึ่ง มีโครงไม้คร่าวยืนเป็นหลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ระหว่างไม้คร่าวแต่ละช่อง ขัดไม้แผ่นเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นแล้วขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง. |
ฝาหอยโข่ง | น. ฝาเรือนเครื่องผูกแบบหนึ่ง มีโครงไม้ไผ่ยืนเป็นหลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ด้านในของโครงยืนจะมีไม้ไผ่ผ่าซีกหรือแผ่นไม้เล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือ ลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นแล้วขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง. |
ฝ่า ๑ | น. พื้นของมือและเท้า, มักพูดเข้าคู่กันว่า ฝ่ามือฝ่าเท้า. |
พิมพ์ลายมือ | ก. กดปลายนิ้วมือหรือฝ่ามือที่ทาหมึกให้เป็นลายลักษณ์ติดอยู่เป็นหลักฐาน. |
ฟายมือ | ว. เต็มอุ้งมือ, เรียกของที่เต็มฝ่ามือที่ห่อเข้า ว่า ฟายมือหนึ่ง. |
มีดพก | น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดหนายาวเรียว ปลายแหลม มีคมด้านหนึ่งหรือทั้ง ๒ ด้าน ยาวประมาณ ๑ ฝ่ามือ ด้ามสั้นทำด้วยไม้ เขาสัตว์ หรืองา ใช้พกเป็นอาวุธ. |
มีดเสือซ่อนเล็บ | น. มีดขนาดเล็ก ใบมีดแบนเรียวปลายแหลม ยาวประมาณครึ่งฝ่ามือ ชุดหนึ่งมี ๒ เล่ม ด้ามมีดทำเป็นท่อนสี่เหลี่ยมยาว มีช่องสำหรับสอดใบมีดอีกเล่มหนึ่งสวนเข้าไปเก็บไว้ได้มิดชิด มีดทั้ง ๒ เล่มเมื่อสอดใบมีดเข้าไปในด้ามของกันและกันแล้ว แลดูเหมือนไม้สี่เหลี่ยมท่อนสั้น ๆ ใช้พกเป็นอาวุธ. |
มือ ๑ | น. อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อจากปลายแขนประกอบด้วยฝ่ามือและนิ้วมือ สำหรับจับเป็นต้น, เรียกสิ่งหรืออุปกรณ์บางชนิดที่มีรูปร่างอย่างมือและใช้จับแทนมือได้ เช่น มือกล มือหุ่นยนต์ |
รองช้ำ | น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งเป็นตามฝ่ามือหรือฝ่าเท้า มีนํ้าใส ๆ อยู่ระหว่างหนังชั้นนอกกับเนื้อ. |
รำยั่ว | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือข้างหนึ่งตะแคงตั้งฝ่ามือระดับชายพก มืออีกข้างหนึ่งจีบส่งหลัง เอียงศีรษะข้างเดียวกับมือที่ตะแคง. |
ลายมือ | น. รอยเส้นที่ฝ่ามือและนิ้ว เช่น หมอดูลายมือ, เส้นลายมือ ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เส้นลายพระหัตถ์ |
ลูบ | ก. เอาฝ่ามือทาบลงแล้วเลื่อนไปหรือมาเป็นต้น. |
ส้นมือ | น. ส่วนท้ายของฝ่ามือ. |
สันมือ | น. ส่วนข้างฝ่ามือด้านนิ้วก้อย เช่น สับด้วยสันมือ. |
สำหรวด | น. ฝาเรือนเครื่องสับแบบหนึ่ง มีโครงไม้คร่าวยืนเป็นหลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ระหว่างไม้คร่าวแต่ละช่อง ขัดไม้แผ่นเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือ ลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นแล้วขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า ฝาสำหรวด. |
เส้นลายมือ | น. รอยเส้นที่ฝ่ามือและนิ้ว, ลายมือ ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เส้นลายพระหัตถ์. |
หยาบ, หยาบ ๆ | ไม่สุภาพ เช่น กิริยาหยาบ พูดหยาบ, ไม่เรียบร้อย เช่น เก็บข้าวของสุมไว้หยาบ ๆ, สาก ๆ เช่น ฝ่ามือฝ่าเท้าหยาบ. |
หอยโข่ง | น. ฝาเรือนเครื่องผูกแบบหนึ่ง มีโครงไม้ไผ่ยืนเป็นหลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ด้านในของโครงยืนจะมีไม้ไผ่ผ่าซีกหรือแผ่นไม้เล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือ ลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า ฝาหอยโข่ง. |
หัฏฐะ ๒, หัสตะ | (หัดถะ, หัดสะตะ) น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๓ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปฝ่ามือหรือเหนียงสัตว์, ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง ก็เรียก. |
หัวดาวหัวเดือน | น. เม็ดตุ่มที่ผุดขึ้นตามตัว มีพิษมาก โดยมากขึ้นที่ฝ่ามือฝ่าเท้าและนิ้วมือนิ้วเท้า. |
หัสตะ, หัฏฐะ ๒ | (หัดสะตะ, หัดถะ) น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๓ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปฝ่ามือหรือเหนียงสัตว์, ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง ก็เรียก. |
อุ้ง | น. ส่วนกลางของฝ่ามือหรือฝ่าเท้า เช่น อุ้งมือ อุ้งเท้า. |