Computer-Based Training | การนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการฝึกอบรม [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Agricultural training | การฝึกอบรมด้านเกษตร [เศรษฐศาสตร์] |
Farm training | การฝึกอบรมงานไร่นา [เศรษฐศาสตร์] |
Training | การฝึกอบรม [การจัดการความรู้] |
Education and training services industry | อุตสาหกรรมบริการทางการศึกษาและฝึกอบรม [TU Subject Heading] |
Employee training personnel | บุคลากรทางการฝึกอบรมลูกจ้าง [TU Subject Heading] |
In-service training | การฝึกอบรมเพื่อพัฒนา [TU Subject Heading] |
Police training | การฝึกอบรมตำรวจ [TU Subject Heading] |
Training | การฝึกอบรม [TU Subject Heading] |
Training manuals | คู่มือการฝึกอบรม [TU Subject Heading] |
Training needs | ความต้องการในการฝึกอบรม [TU Subject Heading] |
Vocational training centers | สถานฝึกอบรมและฝึกอาชีพ [TU Subject Heading] |
Bureau de Cooperation pour le Francais | สำนักงานความร่วมมือด้านภาษาฝรั่งเศส ปัจจุบันมีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลฝรั่งเศสกับรัฐบาล ไทยเพื่อดำเนินโครงการ BCF โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศส ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และอุดมศึกษา โดยรัฐบาลฝรั่งเศสให้ความร่วมมือด้านผู้เชี่ยวชาญ ทุนการศึกษา ทุนฝึกอบรม เป็นต้น [การทูต] |
Classes of Consuls | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ กงสุลอาชีพ (Consules de Carriere) กับกงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consuls) กงสุลอาชีพเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง และจะประจำทำงานเต็มเวลาในที่ทำการทางกงสุล ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์นั้นไม่มีฐานะเป็นกงสุลอาชีพ โดยมากเป็นนักธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่งจะประจำทำงานเพียงส่วนหนึ่งของวัน (ไม่ใช่เต็มวัน) ในสถานที่ทำการทางกงสุลของตน และอาจจะเป็นคนชาติของรัฐที่เขาเป็นตัวแทนอยู่ หรือไม่เป็นคนชาติของรัฐนั้นก็ได้ ความแตกต่างอื่นๆ ระหว่างกงสุลอาชีพกับกงสุลกิตติมศักดิ์ มีดังนี้1. กงสุลอาชีพจะได้รับเงินเดือนประจำ แต่กงสุลกิตติมศักดิ์ไม่มีเงินเดือน2. กงสุลอาชีพมีตำแหน่งหน้าที่ถาวร ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์มีตำแหน่งว่าจ้างเพียงชั่วคราว 3. ส่วนมากกงสุลอาชีพจะต้องเป็นผู้ได้รับการฝึกอบรมหรือมีประสบการณ์มาก่อน ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์ไม่ต้องเป็นเช่นนั้น4. กงสุลอาชีพมีสิทธิได้รับความคุ้มกัน (immunities) และการยกเว้นต่าง ๆ มากกว่ากงสุลกิตติมศักดิ์สำหรับบุคคลที่เป็นหัวหน้าในที่ทำการทางกงสุลนั้น มีตำแหน่งตามลำดับชั้น คือ1) กงสุลใหญ่ (Consuls-general)2) กงสุล (Consuls)3) รองกงสุล (Vice-consuls) [การทูต] |
International Law Enforcement Academy | สถาบันฝึกอบรมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน 2541 เป็นโครงการ 3 ปี (ระหว่าง 2541-2544) โดยสหรัฐอเมริกาให้เงินสนับสนุน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจัดการฝึกอบรมแก่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินการตามกฎหมายในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ระหว่างประเทศ [การทูต] |
United Nations International Research and Training Institute for the Advancement of Women | สถาบันวิจัยและฝึกอบรมระหว่างประเทศเพื่อความก้าวหน้าของสตรีแห่งสหประชา ชาติ เป็นสถาบันที่ได้รับการสนับสนุนจากเงินบริจาคโดยสมัครใจจากประเทศสมาชิก มีเป้าหมายที่จะเร่งรัดและช่วยเหลือให้สตรีสามารถมีบทบาทอย่างแข็งขันและ อย่างเท่าเทียมกันในกระบวนการพัฒนา [การทูต] |
The Netherlands Fellowship Progrmmes | แผนงานด้านทุนของเนเธอร์แลนด์ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้ให้ความร่วมมือด้านทุนการศึกษา และฝึกอบรมในระดับหลังปริญญาตรีแก่ผู้สนใจในประเทศกำลังพัฒนา โดยมีหลักสูตรต่าง ๆ ดังรายละเอียดใน http://www.nuffic.nl โดยผู้สมัครจะต้องเป็นผุ้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีและต้องทำงานไม่ ต่ำกว่า 2 - 3 ปี เพื่อให้มีประสบการณ์ในการทำงานและเพื่อนำสิ่งที่ได้จากการฝึกอบรมมาพัฒนา งานของตน ทั้งนี้เน้นการให้ทุนฝึกอบรมระยะสั้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้มากกว่าการศึกษา [การทูต] |
Social Safety Nets | โครงข่ายรองรับทางสังคม หมายถึง มาตรการในการให้ความช่วยเหลือทางสังคมแก่ประชาชนเพื่อบรรเทาภาวะวิกฤตต่าง ๆ อาทิ ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความยากจน และการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เป็นต้น ด้วยการดำเนินนโยบายระยะสั้นในการสร้างงาน การให้การฝึกอบรมวิชาชีพใหม่ และอื่น ๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องในระยะยาวและการพัฒนา สังคมอย่างรอบด้านในภาพรวม [การทูต] |
South-South Cooperation | ความร่วมมือใต้-ใต้ หรือ ความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา " เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่ประเทศกำลังพัฒนา/ ด้อยพัฒนา ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายหลังจากที่ความ ช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้แก่ประเทศกำลัง พัฒนา/ด้อยพัฒนามีแนวโน้มลดลงและมีการนำเงื่อนไขอื่น ๆ มาผูกกับการให้ความช่วยเหลือมากขึ้น อาทิ ประเด็นสิ่งแวดล้อม โดยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา/ด้อยพัฒนานี้ จะเป็นทั้งในลักษณะของการให้ (อาทิ ทุนการศึกษา/ทุนฝึกอบรม/ทุนดูงาน/ผู้เชี่ยวชาญ/วัสดุอุปกรณ์) ของประเทศใดประเทศหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว อาทิ การให้ความร่วมมือด้านทุนฝึกอบรมระยะสั้นในสาขาการเกษตรของไทยแก่ประเทศใน แอฟริกา และในลักษณะของการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน " [การทูต] |
Technical Cooperation among Developing Countries | ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา " เป็นกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการภายใต้กรอบขององค์การสหประชา ชาติ โดยเป็นการแลกเปลี่ยนคณะเจ้าหน้าที่เพื่อการดูงาน/ฝึกอบรม และแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน โดยประเทศที่ขอหรือส่งเจ้าหน้าที่จะรับผิดชอบ ค่าเดินทางระหว่างประเทศ ในขณะที่ประเทศเจ้าภาพจะรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายภายในประเทศ อาทิ ค่ากินอยู่ ค่าฝึกอบรม/ดูงาน " [การทูต] |
Third Country Training Program | โครงการฝึกอบรมประเทศที่สาม " เป็นรูปแบบการให้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมวิเทศสหการกับองค์การ ระหว่างประเทศและ/หรือรัฐบาลต่างประเทศในการจัด หลักสูตรการศึกษา/ฝึกอบรม/ดูงานให้แก่ผู้รับทุนจากประเทศกำลังพัฒนา โดยองค์การระหว่างประเทศหรือรัฐบาลต่างประเทศเป็น ผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายของผู้รับทุนและค่าใช้จ่ายในการศึกษา/ฝึกอบรม/ ดูงาน " [การทูต] |
The Foreign Office | ในสมัยก่อน เมื่อสังคมนานาชาติมีสมาชิกประเทศอยู่เพียงไม่กี่แห่ง และการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน ดังนั้น ประมุขของรัฐหรือหัวหน้าของรัฐบาลจะเป็นผู้บริหารกิจการต่างประเทศด้วยตนเอง แต่มาในปัจจุบันเป็นไปไม่ได้ที่จะกระทำเช่นนี้ ดังนั้นทุกวันนี้ รัฐบาลของประเทศเกือบจะทุกแห่งจะมีสำนักงานในระดับกระทรวงแยกออกต่างหาก เพื่อดำเนินกิจการต่างประเทศโดยเฉพาะสำนักงานนี้จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันใน แต่ละประเทศ เช่นเรียกว่า The Ministry of (หรือ for) Foreign Affairs, The Ministry of External Affairs, The Department of State หรือ The Department of Foreign Affairs หรือ Gaimusho เป็นต้น ส่วนหัวหน้าสำนักงานหรือเจ้ากระทรวงนั้น จะเป็นบุคคลในคณะรัฐมนตรี และเรียกชื่อตำแหน่งต่างๆ กัน เช่น The Secretary of Foreign Affairs, The Minister of External Affairs, The Secretary of State หรือ Foreign Minister หรือ Foreign Secretary ตัวรัฐมนตรีนี้จะมีผู้ช่วย ซึ่งบางตำแหน่งเรียกว่า ปลัดกระทรวง (Under-Secretaries), ผู้ช่วยปลัดกระทรวง (Assistant Under-Secretaries) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการที่ได้ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วงาน ของกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปมักจะแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเรียกว่าฝ่ายธุรการ (Home Service) ทำหน้าที่บริหารกิจการต่าง ๆ ภายในประเทศ ซึ่งเกี่ยวกันกับกิจการต่างประเทศ รวมทั้งการติดต่อเกี่ยวข้องกับคณะทูตานุทูต และฝ่ายที่สองเรียกว่า Foreign Service เป็นฝ่ายดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในต่างแดน อันมีสถานทูต สถานกงสุล และสำนักงานอื่น ๆ เป็นตัวแทน ประกอบด้วยข้าราชการฝ่ายการทูตและฝ่ายวิชาการ ซึ่งประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลและสำนักงานระหว่างประเทศอื่น ๆ แต่ประเทศไทยเรายังมิได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายดังกล่าวตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศเป็นตัวกลาง ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างประเทศ ส่วนหัวหน้าคณะทูตภายในนครหลวงของแต่ละประเทศจะทำการติดต่อใด ๆ ทั้งหมดกับกระทวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับงานภายในกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็นกรม กอง โดยถือตามเขตภูมิศาสตร์ต่าง ๆ เช่น กรมหรือกองการเอเชีย กรมการแอฟริกา กรมการอเมริกัน กรมการยุโรป และอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีกรมกองอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่ด้านธุรการ และด้านการสื่อสารติดต่อ การประชุม การประสานงานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การคลัง การบริการในต่างประเทศ การสารนิเทศ การกฎหมาย การห้องสมุด การหนังสือเดินทาง การบุคลากร การพิธีการทูต การวิจัย การสนธิสัญญา การตรวจลงตรา (Visa) และการสหประชาชาติในปัจจุบันในหลาย ๆ ประเทศ ผู้ที่สมัครขอรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศจะต้องมีคุณวุฒิตามที่กระทรวง กำหนด เช่น จะต้องผ่านการสอบไล่ ทั้งในภาคปากเปล่า และข้อเขียน ตลอดจนจะต้องปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการสอบไล่ (Board) ซึ่งจะเป็นฝ่ายให้คะแนนบุคลิกและคุณภาพส่วนตัว แล้วนำคะแนนไปบวกกับคะแนนสอบข้อเขียน ในบางแห่งต้องการให้ผู้สมัครสอบเข้ารับการฝึกอบรม และให้อยู่ในระหว่างการทดลองดูความประพฤติ (Probationary period) อีกด้วย [การทูต] |
United Nations Institute for Training and Research | สถาบันเพื่อการฝึกอบรมและการวิจัยแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
Computer-Based Training | การฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ [การจัดการความรู้] |
scientist | นักวิทยาศาสตร์, บุคคลที่ได้รับการศึกษาและฝึกอบรมให้มีความสามารถที่จะทำวิจัยค้นคว้า เสาะแสวงหาความรู้ และหลักการทางวิทยาศาสตร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |