กฎหมาย | น. กฎเกณฑ์ที่ผู้มีอำนาจตราขึ้นเพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามเป็นการทั่วไป ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับผลร้าย กฎหมายอาจตราขึ้นเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ หรือเพื่อใช้ในการบริหารประเทศ กฎหมายอาจเกิดจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือกันก็ได้. |
กรรโชก | (กัน-) ก. ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว เช่น ผู้ใดกรานกรรโชกราษฎรแลตรัสถามตนฯ อำพรางพระเจ้าอยู่หัว มิได้กราบทูลตามสัจตามจริงก็ดี (สามดวง), โบราณเขียนเป็น กันโชก หรือ กำโชก ก็มี. (แผลงมาจาก กระโชก). |
กระทบกระแทก | ว. อาการที่กล่าวเปรย ๆ ให้กระทบไปถึงผู้ใดผู้หนึ่งอย่างแรง. |
กระทำ ๒ | ก. ใช้เวทมนตร์ทำให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นไปตามต้องการของตน มีให้รักหรือให้ป่วยเจ็บเป็นต้น เช่นว่า กระทำยำเยีย, การถูกเวทมนตร์เช่นนี้ เรียกว่า ถูกกระทำ. |
กฤดา, กฤดาการ | (กฺริดา, กฺริดากาน) น. บารมีอันยิ่งที่ทำไว้ (กร่อนมาจาก กฤดาธิการ) เช่น ทรงพระกฤดาเดชานุภาพยิ่งทวีขึ้น (พงศ. อยุธยา), ผู้ใดมีบุญญากฤดาการ (เสภาสุนทรภู่). |
กาลี ๒ | น. ชื่อหนึ่งของพระอุมา ชายาพระอิศวร เรียกว่า เจ้าแม่กาลี, ปรกติสร้างรูปเป็นหญิงผิวดำ (ส. กาลี ว่า หญิงดำ), และว่ามีอำนาจเสมือน กาล (เวลา) ที่ไม่มีผู้ใดเอาชนะได้. |
แก้วสารพัดนึก | น. แก้วที่เชื่อกันว่า ถ้าผู้ใดมีอยู่แล้ว นึกอะไรได้อย่างใจ. |
ขาดหัวช้าง | ก. ถูกฟันตายบนคอช้างเมื่อเวลาชนช้างกัน เช่น ผู้ใดชนช้างมีชัยและข้าศึกขาดหัวช้าง (กฎมนเทียรบาลในกฎ. ราชบุรี), ขาดคอช้าง ก็เรียก. |
ข้ามหน้า, ข้ามหน้าข้ามตา | ก. ทำโดยไม่ไว้หน้าผู้ใด. |
ขายทอดตลาด | น. การขายทรัพย์สินที่กระทำโดยเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไปด้วยวิธีเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสู้ราคากัน ผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้หรือด้วยกิริยาอย่างอื่นตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด การซื้อขายนั้นย่อมเป็นอันสมบูรณ์. |
คดีอุทลุม | น. คดีที่บุคคลฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่า ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาไม่ได้. |
ค่องอ้อย | น. ชื่อการพนันด้วยการทายความสั้นยาวของท่อนอ้อย โดยเอามีดสับคาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อย แล้วตั้งพิงไว้ให้ผู้เล่นทายว่าส่วนของท่อนอ้อยด้านบนกับด้านล่างของมีดยาวเท่ากันหรือสั้นยาวกว่ากันเท่าใด ผู้ใดทายได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุดเป็นผู้ชนะ. |
ใคร ๑ | (ไคฺร) ส. คนไหน, ผู้ใด, ใช้เป็นคำถาม เช่น ใครมา เขาไปกับใคร. |
ใคร ๒, ใคร ๆ | (ไคฺร) ส. ผู้ใดผู้หนึ่ง, คนใดคนหนึ่ง, (ซึ่งมิได้กำหนดแน่นอนลงไป) เช่น ฉันไม่อยากพึ่งใคร ใคร ๆ ก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้. |
โง่เง่าเต่าตุ่น | ว. โง่ที่สุด เช่น เพราะโง่เง่าเต่าตุ่นพ่อคุณเอ๋ย ผู้ใดเลยจะประสงค์จำนงหมาย (นิ. ทวาราวดี). |
ชู้ | น. คู่รัก เช่น ข้าสมจรด้วยกันพ่อแม่และเจ้าข้ามิให้ และมันภากันหนีไปไกล หญิงนั้นยังมิเปนเมียชายเปนแต่ชู้กัน (สามดวง ลักษณผัวเมีย), ถ้าชายผู้ใดเอาหญิงเปนชู้เปนเมีย แต่ในกำหนดนั้นคือเมียท่านแลให้ไหมโดยขนาด (สามดวง ลักษณผัวเมีย), บุคคลที่เป็นที่รัก เช่น ร้อยชู้ฤๅเท่าเนื้อ เมียตน (ลอ) |
เดินเหิน | ก. วิ่งเต้นเพื่อขอความช่วยเหลือ เช่น ผู้ใดรับสินบนเดินเหินช่วยแก้ไขให้คนเช่นนั้นได้ไปเป็นผู้สำเร็จราชการหัวเมือง จะได้บาปกรรมมากนัก (ประกาศ ร. ๔) |
เน่ง | ก. นิ่ง เช่น ท้าวนี้ผู้ใดหนอ มานอนเดียวสมบูรณ์เฉลา เอองคเน่งเนา ณ ในรถมลังเมลือง (อนิรุทธ์), แน่ เช่น ทางนี้ปัดไปเน่ง ครองคลายเคล่งอาศรมบทน้นน (ม. คำหลวง กุมาร). |
บังกัด | ก. ปิดบัง, อำพราง, เช่น มาตราหนึ่ง ผู้ใดบังกัดพี่น้องลูกหลานเผ่าพันธุ์แห่งงานท่านก็ดี ส่งเสียไปอยู่ประเทษเมืองอื่นดั่งนั้น ท่านว่าเสมอพวกศึก ให้มีโทษ ๖ สถาน, บังกัดข้าคนท่านไว้เรือนตนก็ดี ฃ้าคนท่านหนีมาสู้หาตน ๆ เล้าโลมเอาข้าคนท่านไว้ก็ดี (สามดวง). |
บุญคุณ | น. ความดีที่ทำไว้ต่อผู้ใดผู้หนึ่งและสมควรจะได้รับการตอบแทน เช่น พ่อแม่มีบุญคุณต่อเรา. |
โป๊กเกอร์ | น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง ใช้ไพ่ป๊อก มักเล่นเป็นกลุ่ม ๔ คน เจ้ามือแจกไพ่ควํ่าคนละ ๕ ใบ ทุกคนมีสิทธิ์ขอเปลี่ยนไพ่ครั้งเดียว ผู้ใดถือไพ่รวมได้แต้มหรือศักดิ์สูงกว่าตามกติกา ผู้นั้นชนะ. |
เผ | น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง ใช้ไพ่ป๊อก มักเล่นกัน ๔ คน เจ้ามือแจกไพ่ควํ่า ๑ ใบแรก แล้วแจกไพ่หงายอีก ๔ ใบ ก็มี แจกไพ่หงายใบที่ ๒ และที่ ๓ เหลือนอกนั้นแจกควํ่า ก็มี ผู้ใดถือไพ่รวมได้แต้มหรือศักดิ์สูงกว่าตามกติกา ผู้นั้นชนะ. |
มอญซ่อนผ้า | น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง โดยผู้เล่นนั่งล้อมวง ผู้ซ่อนผ้าจะถือผ้าซึ่งมักฟั่นให้เป็นเกลียวเดินวนอยู่นอกวง เมื่อเห็นผู้ใดเผลอก็ทิ้งผ้านั้นไว้ข้างหลังและทำเสมือนว่ายังไม่ได้ทิ้งผ้า แล้วเดินวนอีก ๑ รอบ ถ้าผู้ที่มีผ้าวางอยู่ข้างหลังยังไม่รู้สึกตัว ก็หยิบผ้านั้นขึ้นมาตี ผู้ถูกตีจะต้องลุกขึ้นวิ่งหนีไป ๑ รอบ แล้วกลับไปนั่งที่เดิม ผู้ซ่อนผ้าก็จะเดินวนต่อไปหาทางทิ้งผ้าให้ผู้อื่นใหม่ แต่ถ้าผู้นั้นรู้ตัวก่อน ก็จะหยิบผ้าลุกขึ้นไล่ตีผู้ซ่อนผ้าให้วิ่งไป ๑ รอบ ผู้ซ่อนผ้าก็จะมานั่งแทนที่ ผู้ที่ไล่ตีนั้นก็จะเป็นผู้ซ่อนผ้าต่อไป. |
ยัดปาก | ก. อ้างว่าเป็นคำพูดของผู้ใดผู้หนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่. |
ยาสั่ง | น. ยาพิษจำพวกหนึ่งที่เชื่อกันว่า ถ้าผู้ใดกินเข้าไปแล้วจะต้องตาย เมื่อไปกินอาหารที่กำหนดหรือตามเวลาที่กำหนดไว้. |
รู้กันอยู่ในที | ก. รู้เรื่องดีอยู่แล้วระหว่างกันโดยไม่ต้องพูดออกมา เช่น เขารู้กันอยู่ในทีแล้วว่าจะยกมรดกให้แก่ผู้ใด. |
ลอย ๆ | ว. ไม่เจาะจงผู้ใดโดยเฉพาะ เช่น ด่าลอย ๆ |
ละเว้น | ก. งดเว้น, ยกเว้น, เช่น ลงโทษทุกคนไม่ละเว้นผู้ใด ทุกคนถูกบังคับให้ทำงานไม่มีละเว้น. |
ลายมือ | ตัวหนังสือเขียน มักมีลักษณะแสดงว่าเป็นของผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เขียนด้วยลายมือตนเอง ลายมือดี, ราชาศัพท์ใช้ว่า ลายพระหัตถ์ ซึ่งหมายถึงจดหมายของเจ้านายด้วย. |
ลูกหลง | ลูกปืนที่ค้างอยู่ในกระบอกปืนโดยหลงลืม, ลูกปืนหรือสิ่งอื่นที่พลาดไปถูกผู้อื่นซึ่งมิได้หมายไว้, โดยปริยายหมายถึงการที่ผู้ใดผู้หนึ่งพลอยได้รับเคราะห์หรืออันตรายจากการกระทำของผู้อื่นโดยผู้กระทำมิได้มีเจตนาเช่นนั้น เช่น กรรมการห้ามมวยถูกลูกหลงของนักมวยลงไปหมอบกับพื้นเวที. |
แล้วแต่ | ว. ตามแต่, สุดแต่, สุดแท้แต่, (ใช้ในลักษณะที่ยกอำนาจการตัดสินขั้นสุดท้ายให้แก่ผู้ใดหรือสิ่งใดเป็นต้น) เช่น แล้วแต่บุญกรรม แล้วแต่สถานการณ์ แล้วแต่กรณี แล้วแต่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติหรือไม่. |
วัวใครเข้าคอกคนนั้น | น. กรรมที่มีผู้ใดทำไว้ย่อมส่งผลให้แก่ผู้นั้น ดุจวัวที่กลับเข้าคอกของมันเอง. |
ว่าไม่ไว้หน้า | ก. ดุด่าว่ากล่าวผู้ใดผู้หนึ่งต่อหน้าให้ได้รับความอับอายโดยไม่เกรงใจ. |
ศิษย-, ศิษย์ | (สิดสะยะ-, สิด) น. ผู้ศึกษาวิชาความรู้จากครูหรืออาจารย์, คู่กับ ครู หรืออาจารย์, ผู้อยู่ในความคุ้มครองดูแลของอาจารย์ เช่น ศิษย์วัด, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ศึกษาหาความรู้จากตำราของผู้ใดผู้หนึ่งแล้วนับถือผู้นั้นเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ของตน. |
สด ๆ, สด ๆ ร้อน ๆ | ซึ่ง ๆ หน้า เช่น เจ้าข้าเอ่ยบุคคลผู้ใดเลย ในโลกนี้ที่น่าจะเจรจาตลบเลี้ยวลดสด ๆ ร้อน ๆ เหมือนเจ้าพระยาเวสสันดรชีไพรเป็นว่าหามิได้นี้แล้วแล (เวสสันดร), โกหกสด ๆ ร้อน ๆ. |
แส่ | แหย่ เช่น ผู้ใดเอาหอกดาบแหลนหลาวสาระพะสิ่งใดแส่เรือนแทงเรือนท่าน (สามดวง), เอาหอกทวนทิ่มแส่แหย่เรือนท่าน (สามดวง). |
อัฐยายซื้อขนมยาย | ก. เอาทรัพย์จากผู้ปกครองหญิงที่จะขอแต่งงานด้วย มอบให้เป็นสินสอดทองหมั้นแก่ผู้ปกครองหญิงนั้นโดยสมรู้กัน, โดยปริยายหมายถึงการกระทำอย่างอื่นในทำนองเดียวกันนี้ เช่น เอาทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่งซื้อหรือแลกสิ่งของอื่นของผู้นั้น. |
อุทลุม | (อุดทะ-) ว. ผิดประเพณี, ผิดธรรมะ, นอกแบบ, นอกทาง, เช่น คดีอุทลุม คือคดีที่ลูกหลานฟ้องบุพการีของตนต่อศาล, เรียกลูกหลานที่ฟ้องบุพการีของตนต่อศาล ว่า คนอุทลุม เช่น ผู้ใดเปนคนอุทลุมหมีได้รู้คุณบิดามานดาปู่หญ้าตายาย แลมันมาฟ้องร้องให้เรียกบิดามานดาปู่ญ่าตายายมัน ท่านให้มีโทษทวนมันด้วยลวดหนังโดยฉกัน (สามดวง). |
อุปนิสัย | (อุปะนิไส, อุบปะนิไส) น. ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเทศน์โปรดผู้ใดจะต้องทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้นั้นก่อน, ความประพฤติที่เคยชินจนเกือบเป็นนิสัย เช่น นักเรียนคนนี้มีอุปนิสัยดี. |
เอาเถิด ๒, เอาเถิดเจ้าล่อ ๑ | น. ชื่อการเล่นของเด็กชนิดหนึ่งไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น โดยจะต้องมีคนหนึ่งอยู่โยง ณ หลักที่กำหนดไว้ มีหน้าที่ไล่จับผู้อื่นให้ได้ ถ้าจับใครไม่ได้เลยก็ต้องอยู่โยงต่อ ถ้าจับผู้ใดได้ผู้นั้นต้องอยู่โยงแทน มีบทร้องประกอบว่า “เอาเถิดเจ้าล่อ ข้าวเหนียวสองห่อ ไม่พอกันกิน”. |