ผู้น้อย | น. คนที่มีอายุน้อย, ผู้ที่ถือกันว่ามีสถานภาพด้อยกว่า, คนที่อยู่ใต้บังคับบัญชา. |
กรมการในทำเนียบ | น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งข้าราชการที่มีเงินเดือน ซึ่งจัดเป็น ๒ พวก กรมการชั้นผู้ใหญ่ ประกอบด้วย ปลัด ยกกระบัตร และผู้ช่วยราชการ กับกรมการชั้นผู้น้อย ประกอบด้วย จ่าเมือง สัสดี แพ่ง ศุภมาตรา และสารเลข. |
กัน ๑ | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้เสมอกันหรือผู้น้อยในทำนองกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑, เช่น กันจะไปรอที่สถานีรถไฟ. |
แก ๒ | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วยซึ่งเป็นผู้ที่สนิทสนม หรือผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ |
ของไหว้ | น. ของที่ผู้น้อยนำไปให้ผู้ใหญ่ เพื่อแสดงความคารวะในบางโอกาส |
ขอบคุณ, ขอบพระคุณ | คำกล่าวแสดงความรู้สึกบุญคุณ (เป็นคำที่ใช้แก่บุคคลที่เสมอกัน หรือผู้น้อยใช้แก่ผู้ใหญ่). |
ขอบใจ | คำกล่าวแสดงความรู้สึกพอใจในความดีที่ผู้อื่นได้มีต่อตน (เป็นคำที่ผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อย). |
ข้า ๒ | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันอย่างเป็นกันเองหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น | ก. ทำสิ่งที่ไม่สมควรให้ผู้น้อยเห็น. |
ขุนนาง | น. ลูกขุน, ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน แบ่งเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มีศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ขึ้นไป และข้าราชการชั้นผู้น้อยมีศักดินาต่ำกว่า ๔๐๐. |
ขุนหมื่น | น. ข้าราชการผู้น้อยชั้นประทวนซึ่งเสนาบดีแต่งตั้งให้เป็นขุนบ้างเป็นหมื่นบ้าง มีศักดินาต่ำกว่า ๔๐๐. |
เจ้าข้า | ว. คำของผู้น้อยรับคำของผู้ใหญ่ |
เจ้าหล่อน | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, บางทีผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อยในบุรุษที่ ๓. |
เจ้า ๒ | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย สำหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อยอย่างสุภาพหรือเอ็นดู, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เจ้ามานี่, คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, มักใช้เข้าคู่กับคำ นั่น เป็น เจ้านั่น เช่น เจ้านั่นจะไปด้วยหรือเปล่า. |
เจ้า ๓ | คำนำหน้าที่ผู้ใหญ่เรียกเด็กหรือผู้น้อย เช่น เจ้าหนู เจ้าแดง เจ้านี่. |
ฉัน ๑ | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
ชี้นกเป็นนกชี้ไม้เป็นไม้ | ไม่ว่าผู้มีอำนาจจะว่าอย่างใด ผู้น้อยก็ต้องคล้อยตามไปอย่างนั้นเพราะกลัวหรือประจบ. |
ดูกร , ดูก่อน, ดูรา | (ดูกะระ, ดูกอน) คำกล่าวเรียกผู้ที่จะสนทนาด้วย เป็นคำที่ผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น ดูกรเจ้าชาลีลูกรัก (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
ต่อมือ | ก. ยื่นมือขวาออกไปรับของ โดยมือซ้ายประคองแขนขวา (ใช้แก่กิริยาที่ผู้น้อยทำต่อผู้ใหญ่ หรือฆราวาสชายทำต่อภิกษุเพื่อแสดงความนอบน้อม). |
ตะเบ๊ะ | ก. ทำความเคารพอย่างคนในเครื่องแบบ คือ ทำวันทยหัตถ์. [ เทียบ ม. angkat tabek ว่า วันทยหัตถ์ (angkat ว่า ยกขึ้น tabek เป็นคำทักทายที่ผู้น้อยใช้กับผู้ใหญ่) ] |
ตีเสียง | ก. ขึ้นเสียง, ออกเสียงดังด้วยความโกรธ, (เป็นคำที่ผู้ใหญ่ใช้ว่าผู้น้อย). |
เถรานุเถระ | น. พระเถระผู้ใหญ่ผู้น้อย. |
น้อย ๑ | ว. ตรงข้ามกับ มาก, ไม่มาก เช่น ฝนน้อย น้ำน้อย มีเงินน้อย พูดน้อย, ตรงข้ามกับ ใหญ่, ไม่ใหญ่, เช่น ข้าราชการชั้นผู้น้อย |
น้อย ๑ | โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ด้อยความสำคัญหรือเป็นรอง เช่น ครูน้อย ผู้น้อย, แสดงความรู้สึกว่าน่ารักน่าเอ็นดู เช่น เณรน้อย เด็กน้อย น้องน้อย สาวน้อย หนูน้อย. |
นักการ | น. พนักงานชั้นผู้น้อยตํ่ากว่าเสมียน ทำหน้าที่เดินหนังสือ. |
นายเวร | เจ้าหน้าที่การทูตชั้นผู้น้อยในสถานกงสุล. |
ปฏิสันถาร | น. การทักทายปราศรัยแขกผู้มาหา (มักใช้แก่ผู้น้อย) |
ปราศรัย | (ปฺราไส) น. การพูดด้วยไมตรีจิต, การแสดงอัชฌาสัยในระหว่างผู้ใหญ่ต่อผู้น้อยหรือผู้ที่เสมอกัน |
ปราศรัย | (ปฺราไส) ก. พูดด้วยไมตรีจิต, พูดแสดงอัชฌาสัยระหว่างผู้ใหญ่ต่อผู้น้อยหรือผู้ที่เสมอกัน |
ปลาใหญ่กินปลาเล็ก | น. ประเทศหรือคนที่มีอำนาจหรือผู้ใหญ่ที่กดขี่ข่มเหงผู้อ่อนแอหรือผู้น้อย. |
ปลายแถว | น. คนที่อยู่ท้ายแถว, โดยปริยายหมายถึง ผู้น้อย, ผู้ที่มีความสำคัญน้อย, หางแถว ก็ว่า. |
ปัจจุคมน์ | น. การลุกขึ้นรับ, การต้อนรับ, (สำหรับผู้น้อยแสดงต่อผู้ใหญ่). |
ปัจฉาสมณะ | (-สะมะ-) น. สมณะผู้ตามหลัง คือ พระผู้น้อยมีหน้าที่เดินตามหลังพระผู้ใหญ่. |
ปากหอยปากปู | ไม่กล้าพูด, พูดไม่ขึ้นหรือพูดไม่มีใครสนใจฟัง (ใช้แก่ผู้น้อย). |
ปีกกล้าขาแข็ง | ก. พึ่งตัวเองได้, เป็นคำที่ผู้ใหญ่มักใช้กล่าวเชิงตำหนิติเตียนผู้น้อย. |
พระอันดับ | น. พระลูกวัด, พระอนุจร ก็เรียก, พระผู้มิได้เป็นประธานหรือคู่สวดในสังฆกรรม เช่น พระอันดับนาค (พระอันดับในพิธีบวชนาค) พระอันดับแจง (พระอันดับในพิธีสวดแจง), โดยปริยายหมายถึงผู้น้อยที่เข้าร่วมพิธีโดยมิได้มีบทบาทสำคัญอะไร. |
มัน ๓ | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง สำหรับผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย มีเด็กเป็นต้นตามสถานะที่ควร สำหรับเรียกผู้อื่นอย่างไม่ยกย่อง และสำหรับเรียกสัตว์หรือสิ่งอื่นทั่ว ๆ ไปตามที่ควร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. |
มือแข็ง | ว. ไม่ค่อยไหว้คนง่าย ๆ (เป็นคำที่ผู้ใหญ่ว่าผู้น้อย) |
มืออ่อน | ว. นอบน้อม, ไหว้คนง่าย (เป็นคำที่ผู้ใหญ่ชมผู้น้อย) |
เรา | ส. สรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม. |
ลง | ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่ |
ลื้อ ๒ | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศชาย ใช้พูดกับผู้ที่เสมอกันหรือผู้น้อยในทำนองเป็นกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
แล ๓ | สัน. และ, กับ, เช่น ให้ประกาศแก่พระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่ายในและราษฎรในกรุงแลหัวเมืองให้ทราบทั่วกัน (ประกาศ ร. ๔), ฝูงเทพยดาถือค้อนแลตระบองเทียรย่อมแก้วมณีรัตนะเป็นบริวาร (ไตรภูมิ). |
สังวร | (-วอน) ก. สำรวม, เหนี่ยวรั้ง, เช่น สังวรศีล สังวรธรรม, ถ้าใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า ความสำรวม, ความระวัง, เช่น อินทรียสังวร จักษุสังวร ญาณสังวร ศีลสังวร, (ปาก) ให้ระวังจงดี (ผู้ใหญ่สั่งสอนเตือนสติผู้น้อย) เช่น เรื่องนี้พึงสังวรไว้ อย่าให้ผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒. |
สามีจิกรรม | น. การแสดงความเคารพตามธรรมเนียมของพระเณรในระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย เช่น ระหว่างพระอุปัชฌาย์กับสัทธิวิหาริก ระหว่างอาจารย์กับอันเตวาสิก หรือระหว่างผู้แก่พรรษากับผู้อ่อนพรรษากว่า. |
หนู ๒ | สรรพนามบุรุษที่ ๑ ผู้น้อยใช้พูดกับผู้ใหญ่, สรรพนามบุรุษที่ ๒ ผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย, คำสำหรับเรียกเด็ก มีความหมายไปในทางเอ็นดู เช่น หนูแดง หนูน้อย. |
หล่อน | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศหญิง สำหรับผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (โบ) สรรพนามบุรุษที่ ๒ และที่ ๓ ใช้เรียกได้ทั้งบุรุษและสตรี เช่น จงทรงพระกรุณาโปรด ขอประทานโทษเจ้าเวสสันดร หล่อนกระทำละเมิดจิตผิดกระทรวง (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). |
หัวหงอก | (-หฺงอก) น. หัวที่มีผมเปลี่ยนจากสีเดิมเป็นสีขาว, โดยปริยายหมายถึงคนแก่, เมื่อใช้เข้าคู่กับคำ หัวดำ เป็น หัวหงอกหัวดำ หมายถึง ทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อย. |
หัวหลักหัวตอ | น. บุคคลที่นึกว่าตนเป็นคนสำคัญแต่คนอื่นมองข้ามไป เวลาทำงานสำคัญก็ไม่ปรึกษา (มักใช้ในลักษณะแสดงความน้อยอกน้อยใจ), ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ถูกผู้น้อยมองข้ามไป เวลาทำงานสำคัญก็ไม่ปรึกษาหารือก่อน (มักใช้ในลักษณะแสดงความน้อยอกน้อยใจ) เช่น เขาเห็นเราเป็นหัวหลักหัวตอไปได้ จะทำอะไรก็ไม่ปรึกษาหารือ. |
หางแถว | น. คนที่อยู่ท้ายแถว, โดยปริยายหมายถึงผู้น้อย, ผู้ที่มีความสำคัญน้อย, ปลายแถว ก็ว่า. |