ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*ผูกพัน*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ผูกพัน, -ผูกพัน-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Longdo Dictionary ภาษา ไทย (TH) - ไทย (TH) (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ประดิพัทธ์ความรักใคร่ผูกพัน

Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ข้อผูกพัน(n) commitment, See also: obligation, pledge, Syn. ข้อผูกมัด, ข้อสัญญา, พันธะ, สัญญาผูกมัด, Example: ข้อผูกพันเรื่องการส่งออกข้าวระหว่างไทยกับญี่ปุ่นกำลังจะสิ้นสุดลง, Count Unit: ข้อ, ประการ
ความผูกพัน(n) relationship, See also: connection, Syn. ความสัมพันธ์, Example: เพื่อนสองคนนี้มีความผูกพันกันมานาน
ภาระผูกพัน(n) obligation, See also: charge, Example: ในปีนี้ฐานะเงินคงคลังของประเทศเหลือเพียง 103, 635 ล้านบาท และในจำนวนนี้มีภาระผูกพันที่จะต้องใช้อีกประมาณ 6 หมื่นกว่าล้านบาท, Thai Definition: เรื่องที่ต้องรับผิดชอบต่อเนื่องไป

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ [with local updates]
ผูกพันก. มีความเป็นห่วงกังวลเพราะรักใคร่เป็นต้น
ผูกพันก่อให้เกิดพันธะที่จะต้องปฏิบัติตาม
ผูกพันก่อหนี้สินผูกมัดรัฐบาลให้ต้องจ่ายในงบประมาณแผ่นดินต่อ ๆ ไป เช่น หนี้ผูกพัน งบประมาณผูกพัน รายจ่ายผูกพัน.
กระสันก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึงไก่ในไพรพฤกษ์ (ลอ)
กระสันผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสองกระสันเข้าให้มั่นกับมือ (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน
การคลังชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการคํ้าประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ.
เกี่ยวก. อาการที่สิ่งงอเป็นขอเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น ทอดสมอให้เกี่ยวแง่หินไว้, เอาของที่มีลักษณะเช่นนั้นเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น เอาขอเกี่ยว, ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เช่น เรื่องนี้อันตรายมากอย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวเลย, เกี่ยวข้อง ก็ว่า
เกี่ยวข้องก. ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เกี่ยว ก็ว่า.
แขย่ง(ขะแหฺย่ง) ว. แขย็ก ๆ, อาการที่ปีนขยับขึ้นไปทีละน้อย ๆ ขึ้นไปได้ไม่สะดวก, เช่น ผ้าคาดพุงผูกพันขยันตะแบง แขย่งเข่นฆ่าพร้าขัดเอว (ม. ร่ายยาว ชูชก), มักใช้พูดเข้าคู่กับคำ เขย้อ เป็น เขย้อแขย่ง.
คำสนองน. การแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งตกลงรับคำเสนอของบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง อันเป็นผลให้เกิดมีความผูกพันเป็นสัญญาขึ้นตามกฎหมาย. (ดู คำเสนอ ประกอบ).
ค้ำประกันน. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้คํ้าประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น.
คิดถึงก. นึกถึง, นึกถึงด้วยใจผูกพัน.
จดจ่อก. มีใจฝักใฝ่ผูกพันอยู่.
ชาติพันธุ์(ชาดติพัน) น. กลุ่มที่มีพันธะเกี่ยวข้องกัน และที่แสดงเอกลักษณ์ออกมา โดยการผูกพันลักษณาการของเชื้อชาติและสัญชาติเข้าด้วยกัน.
ติด ๑ชอบอย่างขาดไม่ได้ เช่น ติดบุหรี่ ติดฝิ่น ติดละครโทรทัศน์, ผูกพันอยู่อย่างไม่ยอมห่าง เช่น ลูกติดแม่ หมาติดเจ้าของ ติดผู้หญิง
ถลำใจก. ปล่อยใจให้ผูกพันจนยากที่จะถอนออกได้ เช่น ถลำใจไปรักเขาแล้ว.
ทอดอาลัยก. ปล่อยไปตามบุญตามกรรมทั้ง ๆ ที่ยังมีใจผูกพันหรือมีความเสียดายอยู่.
ปฏิพัทธ์ก. ผูกพัน, รักใคร่, เช่น มีจิตปฏิพัทธ์.
ประพัทธ์ก. เนื่อง, ผูกพัน.
ปลดโดยปริยายหมายความว่า ทำให้พ้นจากข้อผูกพันหรือพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ เช่น ปลดหนี้ ปลดออกจากราชการ.
ปล่อยนกปล่อยกาก. ปล่อยให้เป็นอิสระ, ไม่เอาผิด, ปล่อยให้พ้นจากความผูกพัน, ปล่อยลูกนกลูกกา ก็ว่า.
ปล่อยลูกนกลูกกาก. ปล่อยให้เป็นอิสระ, ไม่เอาผิด, ปล่อยให้พ้นจากความผูกพัน, ปล่อยนกปล่อยกา ก็ว่า.
เปล่าไม่มีข้อผูกพัน เช่น ให้เปล่า ได้เปล่า.
ผู้ค้ำประกันผู้ที่ทำสัญญาผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น.
ผูกมัดก. ผูกพันไว้แน่น.
ฝักใฝ่ก. เอาใจใส่, ผูกพัน.
ใฝ่ก. มุ่ง, หวัง, ใคร่, ผูกพัน.
ใฝ่ใจก. เอาใจผูกพันอยู่.
พลัดพราก(-พฺราก) ก. แยกออกจากบุคคลหรือสถานที่ที่เคยผูกพัน.
พันพัวว. เกี่ยวเนื่องกัน, ผูกพันกัน, เกี่ยวโยงพาดพิงถึงกัน, เช่น พันพัวกับคดีทุจริต, พัวพัน ก็ว่า.
พันธ-, พันธ์, พันธะ(พันทะ-) น. ข้อผูกมัด, ข้อผูกพัน.
พัวพันว. เกี่ยวเนื่องกัน, ผูกพันกัน, เกี่ยวโยงพาดพิงถึงกัน, เช่น พัวพันกับคดีทุจริต, พันพัว ก็ว่า.
ภาระจำยอมน. ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น ทางภาระจำยอม.
ภาระติดพันน. ความผูกพันที่จะต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์น. ข้อผูกพันที่ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับการชำระหนี้เป็นคราว ๆ จากอสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ในภาระติดพัน หรือได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่ระบุไว้.
โมฆ-, โมฆะเสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย.
โมฆกรรมน. นิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย, กฎหมายเขียนเป็น โมฆะกรรม.
เยื่อใยน. ความเกี่ยวพันแม้จะขาดกันไปแล้ว แต่ก็ยังมีอาลัยเหลืออยู่, ความผูกพันที่ยังตัดไม่ขาด, เช่น เขาทิ้งไปอย่างไม่มีเยื่อใย.
รัก ๒ก. มีใจผูกพันด้วยความห่วงใย เช่น พ่อแม่รักลูก รักชาติ รักชื่อเสียง, มีใจผูกพันด้วยความเสน่หา, มีใจผูกพันฉันชู้สาว, เช่น ชายรักหญิง, ชอบ เช่น รักสนุก รักสงบ.
ลอยตัวพ้นข้อผูกพัน เช่น ค่าเงินบาทลอยตัว ราคาน้ำมันลอยตัว.
ว่างไม่มีภาระผูกพัน เช่น วันนี้ว่างทั้งวัน เย็นนี้หมอว่างไม่มีคนไข้.
ไว้อาลัยว. อาการที่แสดงความระลึกถึงเพราะมีใจผูกพันกับผู้ที่จากไป เช่น ยืนไว้อาลัย กล่าวคำไว้อาลัย.
สมาน ๒เชื่อม, ผูกพัน, เช่น สมานไมตรี.
สันทานน. สายป่าน, เชือก, เครื่องผูกพัน.
สัมพันธ-, สัมพันธ์, สัมพันธน์(สำพันทะ-, สำพัน) ก. ผูกพัน, เกี่ยวข้อง, เช่น เขากับฉันสัมพันธ์กันฉันญาติ ข้อความข้างหลังไม่สัมพันธ์กับข้อความข้างหน้า.
สัมพันธภาพน. ความผูกพัน, ความเกี่ยวข้อง, เช่น สัมพันธภาพระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตดีขึ้นตามลำดับ.
สัมพันธไมตรีน. ความเกี่ยวข้องผูกพันกันฉันมิตร เช่น ประเทศไทยมีสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน.
สายใจน. กระแสแห่งความรักและความผูกพัน, เรียกผู้ที่เป็นที่รักดังดวงใจ.
สายใยน. โลหะเส้นเล็ก ๆ ขดเป็นวงในเครื่องนาฬิกาชนิดที่ไม่มีลูกตุ้ม ทำให้เกิดแรงเหวี่ยง บังคับให้นาฬิกาเดินเที่ยงตรง, โดยปริยายหมายถึงความผูกพัน เช่น สายใยแห่งความรักระหว่างแม่กับลูก.
สายสัมพันธ์น. ความผูกพันกันมาช้านาน, ความเกี่ยวข้องเป็นมิตรไมตรีกันมานาน, เช่น ไทยกับจีนมีสายสัมพันธ์อันดีมาหลายร้อยปีแล้ว.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
post-obit bondข้อผูกพันที่จะชำระหนี้เมื่อบุคคลที่ระบุไว้ถึงแก่ความตาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
self-adjointผูกพันในตัว [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
sponsionข้อตกลงที่ยังไม่ผูกพัน (เว้นแต่จะได้รับสัตยาบัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
onerousมีภาระผูกพันเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
onerous contractสัญญาที่มีภาระผูกพันเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
onerous termข้อกำหนดที่มีภาระผูกพันเกินควร [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
obligation๑. พันธกรณี, ข้อผูกพัน๒. หนี้ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
obligationพันธะ, ข้อผูกพัน [ปรัชญา ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
obligation๑. หนี้, ข้อผูกพัน (ก. แพ่ง)๒. พันธกรณี (ก. ระหว่างประเทศ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
obligation of a contractหนี้ตามสัญญา, ข้อผูกพันตามสัญญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
obligatory reinsuranceการประกันภัยต่อโดยผูกพัน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
obligorผู้มีภาระผูกพัน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
adjointผูกพัน [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
adjoint equationสมการผูกพัน [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
adjoint matrixเมทริกซ์ผูกพัน [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
adjoint operatorตัวดำเนินการผูกพัน [คณิตศาสตร์๑๙ ก.ค. ๒๕๔๗]
binding receiptใบรับผูกพัน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
bilateral contractสัญญาผูกพันสองฝ่าย [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
bilateral dischargeการพ้นจากความผูกพันตามสัญญา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
mutualityความผูกพันซึ่งกันและกัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
clean cut basisหลักการตัดภาระผูกพัน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
cease to be bindingสิ้นความผูกพัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
domestic agreementข้อตกลงระหว่างคนในครอบครัว (ที่ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
facultative obligatory treatyสัญญาประกันภัยต่อผูกพันแบบเฉพาะราย [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
engagementข้อผูกพัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
imperfect obligationหนี้ที่ไม่ผูกพัน (ตามกฎหมาย), หนี้ทางศีลธรรม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
non-performance๑. การไม่ชำระหนี้๒. การไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพัน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
unilateral contractสัญญาผูกพันฝ่ายเดียว [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕]
unilateral contractสัญญาผูกพันฝ่ายเดียว [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
wedlockความผูกพันทางสมรส [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Take or Payข้อผูกพันในการซื้อขายก๊าซ, Example: ข้อผูกพันในการซื้อขายก๊าซซึ่งผู้ซื้อได้ตกลงกับผู้ขายที่จะซื้อและรับก๊าซในปริมาณที่ตกลงไว้ ถ้าผู้ซื้อไม่สามารถรับก๊าซในปริมาณและระยะเวลาที่ตกลงไว้ จะต้องจ่ายมูลค่าก๊าซที่ยังไม่ได้รับไปก่อนแล้วไปรับก๊าซคืนในปีถัดไป (Make-up) (ดูคำ Make-up Gas) [ปิโตรเลี่ยม]
Make-up Gasก๊าซส่วนที่รับคืนมาจากการจ่ายเงินค่าก๊าซไปแล้วในปีก่อนตามข้อผูกพัน Take or Pay, ก๊าซส่วนที่รับคืนมาจากการจ่ายเงินค่าก๊าซไปแล้วในปีก่อนตามข้อผูกพัน Take or Pay (ดูคำ Take or Pay) [ปิโตรเลี่ยม]
Investment commitmentภาระผูกพันในการลงทุน [เศรษฐศาสตร์]
Acute intakeการรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเฉียบพลัน, การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายภายในระยะเวลาสั้น ซึ่งสามารถนำไปคำนวณเป็นปริมาณรังสีผูกพันที่ได้รับในคราวเดียว [นิวเคลียร์]
Annual Limit on Intakeเอแอลไอ, ขีดจำกัดการรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีรอบปี, ปริมาณสูงสุดของนิวไคลด์กัมมันตรังสีแต่ละชนิด ที่ร่างกายได้รับโดยการหายใจ การกิน หรือ ผ่านทางผิวหนังในเวลา 1 ปี ได้จากการคำนวณปริมาณรังสีผูกพันโดยใช้แบบจำลองมนุษย์อ้างอิง (Reference Man) จะเท่ากับขีดจำกัดปริมาณรังสี [นิวเคลียร์]
Chronic intakeการรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีต่อเนื่อง, การรับนิวไคลด์กัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ การกิน หรือ การซึมผ่านผิวหนังหรือบาดแผล อย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลานาน ดังนั้น ปริมาณรังสีผูกพันจึงเป็นผลรวมของปริมาณรังสีผูกพันที่ได้รับในคราวเดียวของแต่ละช่วง [นิวเคลียร์]
Committed doseปริมาณ (รังสี) ผูกพัน, ปริมาณรังสียังผลจากสารกัมมันตรังสีที่เข้าสู่ร่างกาย บางชนิดจะกระจายไปทั่วร่างกาย บางชนิดจะไปสะสมอยู่ในอวัยวะเฉพาะที่ เรียกว่า อวัยวะวิกฤติ (critical organ) เช่น ไอโอดีนจะสะสมอยู่ที่ต่อมไทรอยด์ รังสีจะมีผลต่อร่างกายจนกว่าสารกัมมันตรังสีนั้นสลายหมดไปหรือถูกขับถ่ายออกจนหมด ปกติจะคำนวณระยะเวลาการรับรังสี 50 ปีสำหรับผู้ใหญ่ และ 70 ปีสำหรับเด็ก มีหน่วยเป็น ซีเวิร์ต [นิวเคลียร์]
ผูกพันExample: คำที่มักเขียนผิด คือ ผูกพันธ์ [คำที่มักเขียนผิด]
Organizational commitmentความผูกพันต่อองค์การ [TU Subject Heading]
accessionภาคยานุวัติ หมายถึง การให้ความยินยอมที่จะผูกพันตามสนธิสัญญาภายหลังจากที่มีการลงนามในสนธิ สัญญาไปแล้ว [การทูต]
agreement (accord)ความตกลง ความตกลงระหว่างประเทศมี 2 ลักษณะ คือ ความตกลงที่มีลักษณะเป็นข้อผูกพันตามกฎหมาย และความตกลงที่ไม่มีลักษณะเป็นข้อผูกพันตามกฎหมาย [การทูต]
aide-mémoireบันทึกช่วยจำ " 1. เป็นเอกสารที่สร้างข้อผูกพัน ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของสัญญา 2. ในทางการเมืองระหว่างประเทศ เป็นเอกสารที่ช่วยย้ำประเด็นที่ได้มาพบและพูดไว้ " [การทูต]
Bangkok Declaration : Global Dialogue and Dynamic Engagementปฏิญญากรุงเทพ : การหารือและการมีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตของประชาคมโลก " หนึ่งในสองของเอกสารผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่แสดงฉันทามติของประเทศสมาชิกอังค์ถัด 190 ประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ร่วมทางการเมืองของประเทศสมาชิกอังค์ถัดที่จะร่วมมือ กันดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อทำให้สมาชิกทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ได้รับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ในด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ แม้ปฏิญญากรุงเทพจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมือง เป็นสัญญาประชาคมที่ทุกประเทศสมาชิกอังค์ถัดมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามแนว นโยบายที่ได้ร่วมกันแถลงไว้ในเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเจรจาหารือระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่องของการเงิน การค้า การลงทุน และการพัฒนาได้ " [การทูต]
Bangkok Plan of Actionแผนปฏิบัติการกรุงเทพ (ในการประชุมอังค์ถัด) เป็นเอกสารที่ระบุรายละเอียดของแนวนโยบาย วิธีการ และมาตรการในการดำเนินนโยบายด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการพัฒนาที่ประเทศสมาชิกอังค์ถัดได้ตกลงโดยฉันทามติเมื่อการประชุมอัง ค์ถัด ครั้งที่ 10 เพื่อให้ประเทศสมาชิกอังค์ถัดและสำนักเลขาธิการอังค์ถัดดำเนินการให้บรรลุ วัตถุประสงค์ตามที่แถลงไว้ในแถลงการณ์กรุงเทพ และเป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมืองเช่นเดียวกัน แผนปฏิบัติการกรุงเทพแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้ (1) การประเมินผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบของโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีต่อการ พัฒนา (2) การประมวลพัฒนาการของข้อริเริ่มระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ (3) มาตรการและข้อริเริ่มต่าง ๆ ที่นำมาใช้โดยประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศกำลังพัฒนารวมตัวเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้ และ (4) บทบาทในอนาคตของอังค์ถัด [การทูต]
charterกฎบัตร หนังสือสัญญาก่อตั้ง เป็นหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ มีข้อผูกพันแน่นอน เช่น กฎบัตร สหประชาชาติ [การทูต]
Commonwealth of Nationsการรวมตัวของชาติต่าง ๆ เข้าเป็นสมาคมทางการเมือง ประกอบด้วยประเทศสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ลังกา ไซปรัส แกมเบีย กาน่า อินเดีย จาไมก้า คีเนีย มาเลเซีย มาลาวี มอลต้า นิวซีเแลนด์ ไนจีเรีย ปากีสถาน ซิเอร่าเลโอน แทนเซียเนีย ทรินิแดด-โทเบโก ยูแกนดา และแซมเบียตามทรรศนะของ Oppenheim ศาสตราจารย์นักกฎหมายระหว่างประเทศในระดับโลก สมาคมทางการเมืองแห่งนี้ก็คือกลุ่มของรัฐที่รวมกันโดยไม่มีพื้นฐานการรวมตัว ทางกฎหมายที่เคร่งครัดแต่อย่างใด หากแต่มีความผูกพันร่วมกันในด้านประวัติศาสตร์ จารีตประเพณี กฎหมาย และมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างแน่นแฟ้นมากกว่า [การทูต]
declarationปฏิญญา มีความหมาย 3 อย่าง คือ (1) ความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะผูกพัน (2) ปฏิญญาฝ่ายเดียว ซึ่งก่อสิทธิและหน้าที่ให้แก่ประเทศอื่น และ (3) ปฏิญญาซึ่งรัฐหนึ่งแถลงให้รัฐอื่นทราบความเห็นและเจตนาของตนในเรื่องบาง เรื่อง [การทูต]
Exemption from Taxation of Diplomatic Agentการยกเว้นภาษีอากรให้แก่ตัวแทนทางการทูต ในเรื่องนี้ข้อ 34 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ให้ตัวแทนทางการทูตได้รับยกเว้นจากภาระผูกพันและภาษีทั้ง ปวงของชาติท้องถิ่นหรือเทศบาล ในส่วนบุคคลหรือในทรัพย์สิน เว้นแต่ก. ภาษีทางอ้อม ชนิดที่ตามปกติรวมอยู่ในราคาของสินค้าหรือบริการแล้วข. ภาระผูกพันและภาษีจากอสังหาริมทรัพย์ส่วนตัว ซึ่งตั้งอยู่ในอาณาเขตของรัฐผู้รับ นอกจากว่า ตัวแทนทางการทูตครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นไว้ในนามของรัฐผู้ส่ง เพื่อความมุ่งประสงค์ของคณะผู้แทนค. อากรกองมรดก การสืบมรดก หรือการรับมรดก ซึ่งรัฐผู้รับเรียกเก็บภายในบังคับแห่งบทของวรรค 4 ข้อ 39 ง. ภาระผูกพันและภาษีจากเงินได้ส่วนตัว ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในรัฐผู้รับ และภาษีเก็บจากเงินทุนซึ่งได้ลงทุนในการประกอบการพาณิชย์ในรัฐผู้รับจ. ค่าภาระซึ่งเรียกเก็บสำหรับบริการจำเพาะที่ได้ให้ฉ. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ค่าธรรมเนียมศาล หรือสำนวนความ ภาระผูกพันในการจำนอง และอากรแสตมป์ในส่วนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ภายในบังคับแห่งบทของข้อ 23?นอกจากนี้ ข้อ 35 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติไว้ด้วยว่า ?ให้รัฐผู้รับให้ตัวแทนทางการทูตได้รับการยกเว้นจากการบริการส่วนบุคคลทั้ง มวล จากบริการส่วนสาธารณะทั้งมวล และจากข้อผูกพันทางทหาร เช่น ส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกเกณฑ์ ส่วนบำรุง หรือเรียกคืนที่พักอาศัยเพื่อปฏิบัติการทางทหาร? [การทูต]
Gorbachev doctrineนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต]
International Covenant on Civil and Political Rightsกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน 1 ใน 2 ฉบับ ซึ่งแปรข้อบทในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2519 ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540 [การทูต]
International Covenant on Economic, Social and Cultural Rightsกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม " เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน 1 ใน 2 ฉบับ ซึ่งแปรข้อบทในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2519 ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2542 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 " [การทูต]
instrument of acceptanceตราสารรับรอง " เป็นหนังสือรับรองว่ายินยอมที่จะผูกพันทางสนธิสัญญาหลังจาก ลงนามในสนธิสัญญาแล้ว " [การทูต]
instrument of ratificationสัตยาบันสาร " เป็นหนังสือแสดงความยินยอมที่จะผูกพันทางสนธิสัญญาหลังจาก ลงนามในสนธิสัญญาแล้ว " [การทูต]
International Court of Justiceศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต]
obligationพันธภาพ ข้อผูกพัน พันธกรณี [การทูต]
Parliamentary Diplomacyการทูตแบบรัฐสภา หรือบางครั้งเรียกว่า Organization Diplomacy เช่น การทูตในองค์การสหประชาชาติ การทูตแบบนี้ต่างกับการทูตตามปกติที่ดำเนินกันในนครหลวงของประเทศ กล่าวคือ1. นักการทูตมีโอกาสติดต่อโดยใกล้ชิดกับสื่อมวลชนและกับนัการทูตด้วยกันจาก ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจากประเทศที่ไม่เป็นมิตรภายในองค์การสหประชาติ มากกว่าในนครหลวงของประเทศ แต่มีโอกาสน้อยกว่าที่จะติดต่อกับคนชาติของตนอย่างใกล้ชิด2. การพบปะติดต่อกับบรรดานักการทูตด้วยกันในองค์การสหประชาชาติ จะเป็นไปอย่างเป็นกันเองมากกว่าในนครหลวงของประเทศ3. ในองค์การสหประชาติ ประเทศเล็ก ๆ สามารถมีอิทธิพลในการเจรจากับประเทศใหญ่ ๆ ได้มากกว่าในนครของตน เพราะตามปกติ นักการทูตในนครหลวงมักจะติดต่ออย่างเป็นทางการกับนักการทูตในระดับเดียวกัน เท่านั้น แต่ข้อนี้มิได้ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดนักในสหประชาชาติ ในแง่การปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่ม ในสมัยก่อนที่สงครามเย็นจะสิ้นสุดในสหประชาชาติได้แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม (Blocs) ด้วยกัน คือกลุ่มเอเชียอัฟริกา กลุ่มเครือจักรภพ (Commonwealth) กลุ่มคอมมิวนิสต์ กลุ่มละตินอเมริกัน กลุ่มยุโรปตะวันตก กลุ่มสแกนดิเนเวีย และกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ ประเทศที่มิได้ผูกพันเป็นทางการกับกลุ่มใด ๆ ที่กล่าวมา อนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเย็น สมาชิกประเทศในสหประชาชาติจะรวมกลุ่มกันตามแนวนี้ คือ ประเทศนิยมฝักใฝ่กับประเทศฝ่ายตะวันตก (Pro-West members) ประเทศที่นิยมค่ายประเทศคอมมิวนิสต์ (Pro-Communist members) และประเทศที่ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายใด (Non-aligned members)เกี่ยวกับเรื่องการทูตในการประชุมสหประชาชาติ ในสมัยสงครามเย็น นักการทูตชั้นนำของอินเดียผู้หนึ่งให้ข้อวิจารณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นการประชุมพิจารณากัน การทะเลาะเบาะแว้งด้วยคำผรุสวาทหรือการแถลงโผงผางต่อกันนั้น ล้วนเป็นลักษณะที่ตรงกันข้ามกับลักษณะวิสัยของการทูตทั้งสิ้น ดังนั้น สิ่งที่เป็นไปในการประชุมสหประชาชาติ จึงแทบจะเรียกไม่ได้เลยว่าเป็นการทูต เพราะการทูตที่แท้จริงจะกระทำกันด้วยอารมณ์สงบ ใช้ความสุขุมคัมภีรภาพ ปราศจากกามุ่งโฆษณาตนแต่อย่างใด การแสดงต่าง ๆ เช่น สุนทรพจน์และภาพยนตร์นั้นจะต้องมีผู้ฟังหรือผู้ชม แต่สำหรับการทูตจะไม่มีผู้ฟังหรือผู้ชม (Audience) หากกล่าวเพียงสั้น ๆ ก็คือ ผู้พูดในสหประชาชาติมุ่งโฆษณาหาเสียง หรือคะแนนนิยมจากโลกภายนอก แต่ในการทูตนั้น ผู้พูดมุ่งจะให้มีการตกลงกันให้ได้ในเรื่องที่เจรจากันเป็นจุดประสงค์สำคัญ [การทูต]
Persona non grataเป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต]
Persons Entitled to Diplomatic Privileges and Immunitiesบุคคลทีมีสิทธิที่จะได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้ม ครองกันทางการทูต มาตรา 37 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ว่า ?1. คนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ระบุไวในข้อ 29 ถึง 36 2. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการของคณะผู้แทน รวมทั้งคนในครอบครัวของตน ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของตน ตามลำดับ ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ ให้ได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ระบุไว้ในข้อ 29 ถึง 35 เว้นแต่ว่าความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่งและทางปกครองของรัฐผู้รับ ที่ได้ระบุไว้ในวรรค 1 ของข้อ 31 นั้น ไม่ให้ขยายไปถึงการกระทำที่ได้ปฏิบัติไปเกินภารกิจหน้าที่ของตน ให้บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและฝ่ายวิชาการได้อุปโภคเอกสิทธิ์ ที่ได้ระบุไว้ในข้อ 36 วรรค 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งของที่ได้นำเข้าเมื่อเข้ารับหน้าที่ครั้งแรกด้วย 3. บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการของคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้ รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับให้ได้อุปโภคความคุ้มกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ปฏิบัติตามภารกิจหน้าที่ตน การยกเว้นจากค่าภาระผูกพันรวมทั้งภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่ตนได้รับโดยเหตุผล จากการรับจ้างของตน และการยกเว้นที่ได้บรรจุไว้ในข้อ 33 4. คนรับใช้ส่วนตัวของบุคคลในคณะผู้แทน ถ้าไม่ใช่คนในชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ประจำในรัฐผู้รับ ให้ได้รับการยกเว้นจากค่าภาระผูกพัน หรือภาษีสำหรับค่าบำเหน็จที่เขาได้รับโดยเหตุผลจากการรับจ้างของตนในส่วน อื่น คนรับใช้ส่วนตัวเช่นว่านี้ อาจได้อุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเท่าที่รัฐผู้รับยอมให้เท่านั้น อย่างไรก็ดี รัฐผู้รับต้องใช้อำนาจของตนเหนือบุคคลเช่นว่านี้ ในการที่จะไม่แทรกสอดโดยไม่สมควรในการปฏิบัติการหน้าที่ของคณะผู้แทน [การทูต]
ratificationการให้สัตยาบันของรัฐซึ่งเป็นการให้ความยินยอมของรัฐ เพื่อผูกพันตามสนธิสัญญา [การทูต]
World Food Summitการประชุมสุดยอดอาหารโลก " จัดโดย FAO ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 13-17 พฤศจิกายน 2539 เป็นการประชุมระดับผู้นำรัฐบาล เพื่อสร้างเจตนารมณ์ด้าน การเมือง และข้อผูกพันระหว่างประเทศให้เกิดความมั่นคงด้านอาหาร และการขจัดปัญหาความหิวโหยสำหรับประชากรโลก " [การทูต]
Affiliationความต้องการผูกพันกับคนอื่น [การแพทย์]
Attachmentการเกาะ, ความผูกพัน, การติดผิว, ประกบติด [การแพทย์]
Concept, Attachmentความรู้รวบยอดของความผูกพันใกล้ชิด [การแพทย์]
Emotionally Dependentความผูกพันยึดถือทางอารมณ์ [การแพทย์]
Linkageความผูกพัน, การเชื่อมต่อ [การแพทย์]
Linkage Disequilibriumความผูกพัน [การแพทย์]
Maternal Attachment Bondการสร้างความผูกพันของแม่ต่อลูก [การแพทย์]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
อำนาจผูกพัน[amnāt phūkphan] (n, exp) FR: compétence liée [ f ]
การไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพัน[kān mai patibattām khøphūkphan] (n, exp) EN: non-performance
ข้อผูกพัน[khøphūkphan] (n) EN: commitment ; obligation ; pledge  FR: obligation [ f ] ; engagement [ m ]
ความผูกพัน[khwām phūkphan] (n) EN: relationship ; connection ; ties
มีผลผูกพัน[mī phon phūkphan] (adj) EN: conditional
ภาระผูกพัน[phāra phūkphan] (n, exp) EN: obligation
ผูกพัน[phūkphan] (v) EN: commit ; be bound
ผูกพัน[phūkphan] (adj) EN: bound  FR: attaché à ; engagé ; lié

English-Thai: Longdo Dictionary
collectivism(n) ความรู้สึกผูกพันกับกลุ่ม เช่น Collectivism is an answer to the first question. It says value to the collective, whether that's society, your tribe, your family, your nation and your race.

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
acquit(vt) ทำให้ปราศจากข้อผูกพัน, See also: ทำให้ปราศจากภาระ
attach(vt) มีความสัมพันธ์กับ, See also: มีความผูกพันกับ
attachment(n) ความผูกพันทางอารมณ์, Syn. affection, fondness
band(n) พันธะ, See also: ข้อผูกพัน, ข้อผูกมัด, Syn. bond
bound(adj) ผูกพัน, See also: สนิทสนม
bind up with(phrv) ผูกมัดกับ, See also: ผูกพันกับ, เกี่ยวข้องกับ, Syn. tie in with, tie up with
cement(n) สิ่งทำให้ผูกพันกัน
undertaking(n) ข้อผูกพัน, See also: สัญญา, Syn. promise, pledge

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
affiliate(อะฟิล' ลิเอท) vt., vi. ผูกพัน, เข้าร่วม, รับเป็นสมาชิก, สืบสาวเรื่องราว, เป็นพี่น้องกัน, ยกให้เป็นพี่น้อง, รับเป็นบุตร. -n. สาขา (กิจการธุรกิจ) , ผู้ที่เป็นสมาชิกหรือผูกพัน. -affiliable adj. -affiliation n., Syn. branch, associate
ally(vt, vi. อะไล', -n. แอล' ไล, อะไล') ผูกพัน, เข้าข้าง, เป็นพันธมิตร, พันธมิตร, ประเทศพันธมิตร, พรรคพวก, ผู้ช่วย, สิ่งที่เกี่ยวดองกัน. -alliable adj., Syn. confederate, partner-A. enemy
astrict(แอสทริคท') vt. ผูกมัด, จำกัด, ผูกพัน (ทางใจหรือนิตินัย) . -astriction n.
attachment(อะแทช'เมินทฺ) n. การติด, การผูกติด, ภาวะที่ผูกติด, ความรู้สึกผูกพัน, การอุทิศ, สิ่งยึดติด, สิ่งที่ผูกพัน, อุปกรณ์ติดตั้ง, การยึดทรัพย์, Syn. connection, device, affinity
band(แบนดฺ) { banded, banding, bands } n. สายคาด, สายรัด, แถบ, ปลอก, หมู่, พวก, คณะ, วงดนตรี, คณะตนตรี, ช่วงความถี่ของคลื่นวิทยุ, สิ่งผูกมัดคน, โซ่ตรวน, ปลอกรัด, พันธะ, ข้อผูกพัน vt., vi. ใช้สายผูกรัด, รวมกลุ่ม, ประดับด้วยสายหรือแถบ, See also: bander n.
bind(ไบดฺ) { bound, bound, binding, binds } vt., vi., n. (การ) ผูก, มัด, พัน, เข้าปก, เย็บเล่ม, เชื่อมผนึก, ทำให้ท้องผูก, ผูกพัน, ยับยั้ง, ยึดแน่น, แข็งตัว, See also: bindable adj. ดูbind, Syn. tie
binding(ไบน์'ดิง) n. การผูก, การมัด, สิ่งผูกมัด, การเข้าปกหนังสือ, การเย็บเล่มหนังสือ, การทำให้ท้องผูก, สายมัด, สายพัน, ยาเชื่อมติด adj. จำเป็น, ผูกพัน, Syn. compelling
contractualadj. ซึ่งเกี่ยวกับสัญญา, ซึ่งผูกพันโดยสัญญา
knot(นอท) n. ปม, เงื่อน, โบว์, ปัญหา, เงื่อนงำ, ความผูกพัน, กลุ่มเล็ก, กระจุก, ตาไม้, หน่วยความเร็วหนึ่งไมล์ทะเลหรือ6080ฟุตต่อชั่วโมง, ไมล์ทะเล (6080ฟุต) vt., vi. ผูกปม, ผูกเงื่อน, ทำให้เกี่ยวดองกัน, ทำให้เป็นทองแผ่น, เดียวกัน, Syn. tie, bond, tangle
object linking and embeddการเชื่อมโยงและการฝังตัวของวัตถุใช้ตัวย่อว่า OLE (อ่านว่า โอเล) เท่ากับการแทรกเอกสาร หรือ ภาพ หรือบางส่วนของเอกสาร ที่ได้สร้างขึ้นไว้ในโปรแกรมหนึ่ง (เรียกว่า วัตถุ) เข้าไปในแฟ้มเอกสาร หรือส่วนของเอกสารที่สร้างขึ้นมาจากอีกโปรแกรมหนึ่ง แถมด้วยการที่สามารถยึดโยงหรือเชื่อมโยงความผูกพันระหว่างเอกสารทั้งสองไว้ให้อีกด้วย การยึดโยงดังกล่าวมีความหมายว่า การแก้ใขแฟ้มหนึ่งจะทำให้อีกแฟ้มหนึ่งถูกแก้ไปด้วยโดยอัตโนมัติ วิธีการนี้นิยมใช้มากในระบบวินโดว์
obligation(ออบละเก'เชิน) n. พันธะ, ความจำเป็น, ภาวะหน้าที่, หน้าที่, ข้อผูกพัน, เกณฑ์, หนี้, การบังคับ, บุญคุณ, ความรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ, สัญญา, พันธบัตร, ตั๋วเงิน, เงินชำระหนี้., See also: obligative adj., Syn. duty, debt
obligatory(อะบลิก'กะโทรี, -ทอ'รี, ออบ'ละกะโทรี) adj. เป็นพันธะ, เป็นภาระหน้าที่, จำเป็น, จำต้อง, เป็นข้อผูกพัน., See also: obligatorily adv.
ole(โอเล') n. การตะโกน, เปล่งเสียงที่แสดงถึงการเห็นด้วย โอเล <คำอ่าน>ย่อมาจาก object linking and embedding (แปลว่า การเชื่อมโยงและการฝังตัวของวัตถุ) เท่ากับการแทรกเอกสาร หรือภาพหรือบางส่วนของเอกสาร ที่ได้สร้างขึ้นไว้ในโปรแกรมหนึ่ง (เรียกว่า วัตถุ) เข้าไปในแฟ้มเอกสาร หรือส่วนของเอกสาร ที่สร้างขึ้นมาจากอีกโปรแกรมหนึ่ง แถมด้วยการที่สามารถเชื่อมโยงหรือยึดโยงความผูกพันระหว่างเอกสารทั้งสองไว้ให้อีกด้วย การยึดโยงดังกล่าวมีความหมายว่า การแก้ใขแฟ้มหนึ่งจะทำให้อีกแฟ้มหนึ่งถูกแก้ไปด้วยโดยอัตโนมัติ วิธีการนี้นิยมใช้มากในระบบวินโดว์
tie(ไท) vt. (ใช้เชือกหรือสายอื่น ๆ) ผูก, มัด, ต่อ, รัด, โยง, จำกัด, ทำคะแนนเท่ากัน, ผูกพันเป็นสามีภรรยา vi. ผูก, มัด, ต่อ, รัด, โยง, ทำคะแนนเท่ากัน, -Phr. (tie down ทำให้ลดน้อยลง, จำกัด) , -Phr. (tie up มัดแน่น ผูกแน่น ขัดขวาง สกัด หยุดยั้ง จอดเรือ ยุ่งมาก) n. สิ่งที่ใช้ผูก
unencumbered(อัน'เอนคัม'เบิด) adj. ไม่มีภาระผูกพัน, ไม่มีภาระ, ไม่มีหนี้สิน, ไม่มีบุตร

English-Thai: Nontri Dictionary
affiliate(vt) ติดต่อ, ผูกพัน, เข้าร่วม, เกี่ยวข้อง
affiliation(n) การติดต่อ, การเข้าร่วม, การผูกพัน, การเกี่ยวเนื่อง
affined(adj) ที่เกี่ยวข้องกัน, ที่เกี่ยวดองกัน, ที่ผูกพันกัน
alliance(n) พันธมิตร, การเกี่ยวดอง, การผูกพัน, การเกี่ยวพัน
ally(vt) ผูกพัน, เกี่ยวเนื่องกัน, เกี่ยวดอง
attach(vt) ติด, ผูกติด, เกี่ยวพัน, ผูกพัน
attachment(n) การผูกติด, สิ่งที่แนบมาด้วย, ความรักใคร่, ความผูกพัน
binding(adj) ผูกพัน, จำเป็น
bond(vt) ผูกมัด, ผูกพัน, เชื่อมติด
boundary(adj) ซึ่งเกี่ยวพันกัน, ซึ่งผูกพันกัน, มีพันธะ, พร้อมที่จะ, ไปทาง, กำลังจะ
chain(vt) ตีตรวน, ล่ามโซ่, ผูกมัด, ผูกพัน

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
community enterpriseกิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน
encumbranceภาระผูกพัน
Engagement Orderใบสั่งที่เป็นข้อผูกพัน
financial distress(n) (การเงิน) ภาวะที่ประสบความยากลำบาก, หรือไม่สามารถทำตามภาระผูกพันได้ เช่น ไม่สามารถชำระหนี้ที่กู้ไปได้, ความตกต่ำทางการเงิน (จากการมีเงินไม่เพียงพอ), ปัญหาทางการเงิน, ปัญหาที่อาจนำไปสู่การล้มละลาย (กรณีบริษัท) e.g. Member countries face acute financial distress., See also: bankruptcy, recession, depression
material obligationข้อผูกพันเป็นสำคัญ
organizational commitment(n) ความผูกพันต่อองค์กร

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top