ป่าดงดิบ, ป่าดิบ | น. ป่าไม้ที่มีอยู่ทั่วไปในเขตร้อน ฝนชุก เป็นป่าไม้สีเขียวไม่ผลัดใบ. |
กระชิด ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Blachia siamensis Gagnep. ในวงศ์ Euphorbiaceae พบขึ้นตามป่าดิบแล้งตามชายทะเล. |
กระเช้าผีมด | ชื่อไม้พุ่มอิงอาศัยชนิด Hydnophytum formicarum Jack ในวงศ์ Rubiaceae ชอบเกาะไม้ต้นในป่าดิบชื้นใกล้ฝั่งทะเล ลำต้นทรงกลมอวบนํ้า มีรูพรุนภายในเป็นที่อาศัยของมด ส่วนที่เป็นรูพรุนใช้ทำยาได้, หัวร้อยรู ก็เรียก. |
กระดูกค่าง | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Diospyros undulata Wall. ex G. Don var. cratericalyx (Craib) Bakh. ในวงศ์ Ebenaceae ขึ้นในป่าดิบ มีมากทางภาคใต้ สูงได้ถึง ๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ, จะเพลิง ชะเพลิง คำดีควาย ดูกค่าง ตะโกดำ พลับเขา ไหม้ หม้าย หรือ สะลาง ก็เรียก. |
กระไดลิง ๒ | น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Bauhinia scandens L. var. horsfieldii (Miq.) K. Larson et S.S. Larsen ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นทั่วไป และตามริมแม่นํ้าลำคลอง เถาแบนยาว งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได ดอกเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เปลือกเหนียวใช้แทนเชือก เถาใช้ทำยาได้, กระไดวอก มะลืมดำ บันไดลิง หรือ ลางลิง ก็เรียก. |
กระโถนฤๅษี | น. ชื่อพืชเบียนชนิด Sapria himalayana Griff. ในวงศ์ Rafflesiaceae เกิดตามป่าดิบ เกาะเบียนที่รากเครือเขานํ้า ( Tetrastigma lanceolarium Planch.) ดอกรูปกระโถนปากแตร กลิ่นเหม็น กลีบดอกสีนํ้าตาลแดงประเหลือง ใช้ทำยาได้. |
กระบาก | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Anisoptera วงศ์ Dipterocarpaceae ขึ้นในป่าดิบทั่วไป ลำต้นตรง สูง ๓๐-๔๐ เมตร เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับนํ้าหนัก โดยมากใช้เป็นไม้แบบหล่อคอนกรีต. |
กระวาน ๑ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Amomum testaceum Ridl. ในวงศ์ Zingiberaceae ชอบขึ้นในป่าดิบชื้นตามภูมิประเทศที่เป็นเขาทางจันทบุรีและตราด ผลค่อนข้างกลม สีนวล มี ๓ พู มีกลิ่นหอมฉุน ใช้ปรุงอาหารและทำยา. |
กันเกรา | (-เกฺรา) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตำเสา หรือ มันปลา ก็เรียก. |
กำแพงเจ็ดชั้น ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Litosanthes biflora Blume ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นตามป่าดิบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ดอกสีขาว เนื้อไม้เป็นชั้น ๆ ใช้ทำยาได้. |
กำแพงเจ็ดชั้น ๒ | ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Salacia chinensis L. ในวงศ์ Celastraceae ขึ้นตามป่าดิบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ขอบใบจัก ดอกสีเขียวอมเหลือง ใช้ทำยาได้, ตะลุ่มนก หรือ นํ้านอง ก็เรียก. |
แกแล ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็งชนิด Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner ในวงศ์ Moraceae ขึ้นในป่าดิบ ต้นมีหนาม แก่นเหลืองใช้ย้อมผ้าและทำยา, กะแล หรือ เข ก็เรียก. |
แก้ว ๕ | น. ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดกลางชนิด Murraya paniculata (L.) Jack ในวงศ์ Rutaceae ขึ้นตามป่าดิบ กิ่งก้านสีขาว ใบสีเขียวสดเป็นมัน ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้แข็งใส เหนียว มีลาย ใช้ทำด้ามมีดและไม้ถือ. |
ขนุนป่า | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิด เช่น Artocarpus lanceifolius Roxb. ในวงศ์ Moraceae เกิดในป่าดิบ. |
ข่อยหนาม | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Streblus ilicifolius (Vidal) Corner ในวงศ์ Moraceae มักขึ้นบนเขาหินปูนในป่าดิบ ลำต้นตรง ใบแข็งหนา ด้านบนเขียวแก่เป็นมัน ขอบใบเป็นหนามแหลมคม, ปักษ์ใต้เรียก กระชิด. |
ไข่เน่า ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Vitex glabrata R. Br. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามป่าดิบและที่ราบลุ่มทั่ว ๆ ไป สูง ๘-๑๒ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕ ใบ ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ผลรูปไข่ขนาดหัวแม่มือ สุกสีดำ กินได้ มีรสหวานเล็กน้อย เปลือกและรากใช้ทำยาได้. |
เครือเขาน้ำ | น. ชื่อไม้เถาชนิด Tetrastigma leucostaphyllum (Dennst.) Mabb. ในวงศ์ Vitaceae ขึ้นในป่าดิบ ลำต้นตอนบนแบนเป็นร่อง ตอนล่างค่อนข้างกลม อุ้มนํ้า นํ้าในลำต้นกินได้. |
เคี่ยม ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Cotylelobium lanceolatumCraib ในวงศ์ Dipterocarpaceae มีมากในป่าดิบทางภาคใต้ ต้นสูงตรง เป็นไม้ที่ทนทาน. |
เคี่ยมคะนอง | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Shorea henryana Pierre ในวงศ์ Dipterocarpaceae ลำต้นสูงตรงมาก มีมากตามป่าดิบทางภาคตะวันออกและภาคใต้. |
จันทน์กะพ้อ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Vatica diospyroides Symington ในวงศ์ Dipterocarpaceae ขึ้นตามป่าดิบทางปักษ์ใต้และปลูกกันตามบ้าน ดอกขาว หอมคล้ายนํ้ามันจันทน์. |
จันทน์ชะมด | ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Mansonia gagei J.R. Drumm. ex Prain ในวงศ์ Sterculiaceae ขึ้นตามป่าดิบบนเขาหินปูน เนื้อไม้หอม, จันทน์หอม ก็เรียก. |
จำปูน | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Anaxagorea javanica Blume ในวงศ์ Annonaceae มีตามป่าดิบทางปักษ์ใต้ กลีบดอกแหลมหนาแข็ง ด้านนอกสีเขียว ด้านในสีขาวนวล กลิ่นหอมมาก. |
ฉก ๒ | น. ชื่อปาล์มชนิด Arenga westerhoutiiGriff. ในวงศ์ Palmae ขึ้นตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ใบด้านล่างเป็นคราบสีเทา ไม่ใคร่หักหรือพับ จั่นเป็นพวงห้อย ออกผลเป็นทะลายใหญ่, รังกับ รังไก่ หรือ หลังกับ ก็เรียก. |
ดีหมี | น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ Euphorbiaceae เช่น ชนิด Cleidion javanicum Blume ขึ้นในป่าดิบ มีรสขม ใบคล้ายมะไฟ ใช้ทำยาได้. |
เต่าเดือย | น. ชื่อเต่าบกชนิด Manouria impressa (Günther) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมข้างละ ๑ เดือย ลักษณะคล้ายหนามยื่นออกมาจากผิวหนัง กระดองสีเหลืองส้มปนน้ำตาล มีแผ่นเกล็ดบางส่วนโปร่งใส ตัวเต็มวัยมีความยาวกระดองหลัง ๒๕-๓๐ เซนติเมตร จัดเป็นเต่าบกที่สวยงามชนิดหนึ่ง กินเห็ดป่านานาชนิด อาศัยอยู่ตามเขาสูงที่เป็นป่าดิบเขา พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันตก และตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ควะ ก็เรียก. |
บัวตูม | น. ชื่อพืชเบียนชนิด Rafflesia kerriiMeijer ในวงศ์ Rafflesiaceae เกิดตามป่าดิบ เกาะเบียนรากไม้เถา ดอกตูมสีนวล ใช้ทำยาได้ เมื่อบานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๐ เซนติเมตร สีนํ้าตาลแดงประเหลือง กลิ่นเหม็น, บัวผุด ก็เรียก. |
รักหมู | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Semecarpus albescens Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ขึ้นตามริมนํ้าในป่าเบญจพรรณและป่าดิบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบด้านล่างขาว, กุกขี้หมู หรือ รักขี้หมู ก็เรียก. |
ลาน ๒ | น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Corypha วงศ์ Palmae คล้ายต้นตาล ออกดอกออกผลครั้งเดียวแล้วตาย ใบใช้จารหนังสือ ทำหมวก เป็นต้น เช่น ชนิด C. umbraculifera L. ปลูกตามวัด, ชนิด C. lecomtei Becc. ex Lecomte, ขึ้นในป่าดิบ. |
สำเภา ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Chaetocarpus castanocarpus (Roxb.) Thwaites ในวงศ์ Euphorbiaceae ขึ้นตามป่าดิบทั่วไป ผลมีหนามละเอียดโดยรอบ, ขี้หนอน ก็เรียก. |
หลุมพอ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Intsia palembanicaMiq. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าดิบทางภาคใต้ เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง, กะลำพอ หรือ ตะลุมพอ ก็เรียก. |