ปิดทองหลังพระ | ก. ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า. |
กระโจมทอง | น. เครื่องกันแดดและฝนเปิดโล่ง ๔ ด้าน อยู่บนสัปคับหลังช้างพระที่นั่ง เขียนลายปิดทองรดน้ำ. |
กระหนก ๑ | น. ชื่อลายไทยประเภทหนึ่ง ใช้ผูกเขียนเป็นลวดลาย มีทั้งระบายสี ปิดทองรดนํ้า ปั้น หรือแกะสลักเป็นต้น มีหลายแบบ เช่น กระหนกเปลว กระหนกก้านขด กระหนกเครือ, เขียนเป็น กนก ก็มี. |
กระแหนะ | (-แหฺนะ) น. ลายปูนปิดทอง |
กลองชนะ | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง มีรูปร่างลักษณะเหมือนกลองแขกแต่สั้นกว่า ใช้ในพิธีกรรม ใช้ตีด้วยไม้งอ ๆ หรือหวายทางด้านหน้าใหญ่ ตัวกลองทาสีเขียวหรือแดงปิดทองเขียนลาย หน้ากลองเขียนหรือปิดด้วยทองหรือเงิน ทำเป็นลวดลายเช่นกัน. |
กุดั่น | น. ทองแกมแก้ว คือ เครื่องประดับเพชรพลอยหรือกระจก เช่น ลายปั้นกุดั่น คือ ลายปั้นปิดทองประดับกระจก, โกศกุดั่น คือ โกศทำด้วยไม้จำหลักปิดทองประดับกระจก |
ทองจังโก | น. ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง ลงรักแล้วปิดทองคำเปลว นิยมใช้หุ้มองค์พระเจดีย์ ป้องกันการผุกร่อน, ทองสักโก ก็ว่า. |
ทองทึบ | ว. มีพื้นปิดทองทึบทั้งหมด. |
น้ำรัก | น. ยางที่ได้จากไม้ต้นในสกุล Glutaและสกุล Rhus วงศ์ Anacardiaceae ทำให้มีสีดำแล้วใช้ทาลงพื้นให้เหนียวเพื่อปิดทอง. |
ใบลวด | น. กระดาษสาหรือกระดาษข่อยที่ลงรักปิดทอง ใช้สำหรับสลักลวดลายติดประดับตกแต่งเครื่องสูงต่าง ๆ เป็นต้น. |
ปิด | ติด เช่น ปิดประกาศ ปิดทอง |
ไม้ประกับคัมภีร์ | น. ไม้แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างยาวเท่าใบลาน ริมลอกบัว ข้างหน้ามักเขียนลายปิดทองรดน้ำหรือประดับมุก ชุดหนึ่งมี ๒ แผ่น สำหรับประกับด้านหน้าด้านหลังคัมภีร์ใบลาน. |
รดน้ำ | น. วิธีการเขียนจิตรกรรมเป็นลวดลายสีทองบนพื้นลงรักหรือทาชาด เรียกว่า ลายปิดทองรดนํ้า, ต่อมาเรียกสั้นลงเป็น ลายรดนํ้า. |
รักเช็ด | น. น้ำรักที่เคี่ยวให้งวดและเหนียว ใช้ทาสำหรับปิดทองคำเปลว. |
เรือรูปสัตว์ | น. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือเสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูปสัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีป เรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง. |
ลงทอง | ก. ปิดทองตามลวดลาย เช่น ลวดลายแกะไม้ลงทอง. |
ลงนะหน้าทอง | ก. ลงอักขระ นะ เป็นอักษรขอมที่หน้าผากและปิดทอง แล้วเอานิ้วหัวแม่มือคลึงให้ทองหายไปในเนื้อ เพื่อให้เกิดเสน่ห์เมตตามหานิยม. |
ล่องชาด | ก. ลงชาด, ทาชาดลงในระหว่างสิ่งที่ทาทองหรือปิดทองแล้ว. |
ลาย ๑ | น. รูปแบบทางทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยเส้นเป็นสำคัญ ลักษณะเป็นแบบซํ้า ๆ เป็นหมู่ ๆ หรือต่อเนื่องกันไปก็มี มีทั้งลายแบบธรรมชาติและลายแบบประดิษฐ์ ใช้เขียน ปั้น หรือแกะสลัก เป็นต้น เพื่อตกแต่งให้สวยงาม เช่น ลายกระหนก ลายเทพนม ลายก้านขด, กรรมวิธีประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ให้เป็นลวดลาย เช่น ลายกำมะลอ ลายปิดทองรดนํ้า ลายแทงหยวก |
แว่นฟ้า | เรียกพานย่อมุมไม้สิบสอง ๒ ลูก ลูกล่างใหญ่ เตี้ย ลูกบนเล็กทรงสูง ทำด้วยทองคำจำหลักลายประดับอัญมณี ที่ประดับมุกหรือกระจกก็มี มีทวยเป็นรูปนาครับ ๔ มุม ของลูกบน สำหรับใช้ตามวัดเขียนลายปิดทองรดน้ำ ว่า พานแว่นฟ้า. |
แวว | กระจกเงาที่ตัดเป็นวงกลม ๆ เล็ก ๆ ใช้ติดตกแต่งเป็นไส้ลวดลายปูนปั้นหรืองานไม้แกะสลักปิดทอง. |
สมุก ๑ | (สะหฺมุก) น. ถ่านทำจากใบตองแห้งใบหญ้าคาเป็นต้นป่นให้เป็นผงประสมกับรักนํ้าเกลี้ยง สำหรับทารองพื้นบนสิ่งต่าง ๆ เช่นบานประตูหน้าต่างโบสถ์วิหารก่อนที่จะเขียนลายรดนํ้าปิดทอง. |
หีบเชิงชาย | น. หีบเกียรติยศประกอบศพที่พระราชทานพระครูสัญญาบัตร ภิกษุสามเณรเปรียญธรรม ๙ ประโยค ข้าราชการชั้นสัญญาบัตรขั้นต้น ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เบญจมาภรณ์ช้างเผือก เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย เบญจมดิเรกคุณาภรณ์เป็นต้น เชิงชายทั้ง ๔ ด้านแกะสลักเป็นลายปิดทองประดับกระจก. |
เหม, เหม- | เรียกฝาหีบหรือภาชนะบางอย่างซึ่งมียอดแหลมปิดทอง |