ก้นขบ | น. ชื่องูขนาดเล็กชนิด Cylindrophis ruffus (Laurenti) ในวงศ์ Aniliidae หรือ Uropeltidae สีดำแกมม่วง มีลายประตามลำตัวสีขาวเห็นได้ชัดเมื่อยังมีขนาดเล็ก ท้องมีลายดำขาวสลับกัน พื้นท้องของหางเกือบปลายสุดมีสีแดงอมส้ม ไม่มีพิษ แต่เข้าใจกันว่ามีพิษข้างหางเพราะชูและแผ่หางแบนม้วนให้เห็นเมื่อพบศัตรู. |
เกล็ดถี่ | น ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด Thynnichthys thynnoides (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็กมาก พื้นลำตัวสีเงินเป็นประกาย พบทั่วไป แต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, นางเกล็ด พรม หรือ ลิง ก็เรียก. |
ขั้วท้องฟ้า, ขั้วฟ้า | น. จุดปลายสุดของแกนท้องฟ้า ปลายที่อยู่ทางซีกโลกเหนือเรียกว่า ขั้วฟ้าเหนือ และปลายที่อยู่ทางซีกโลกใต้เรียกว่า ขั้วฟ้าใต้. |
ขั้วโลก | น. เรียกบริเวณปลายสุดของแกนโลกเหนือและใต้ที่มีละติจูด ๙๐ องศาเหนือ ว่า ขั้วโลกเหนือ และที่มีละติจูด ๙๐ องศาใต้ ว่า ขั้วโลกใต้. |
โขน ๒ | ไม้ประกับหัวท้ายส่วนสุดโค้งของรางระนาด ฆ้องวง หรือส่วนปลายสุดของซอด้วง. |
ฉนาก | (ฉะหฺนาก) น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่ในสกุล Anoxypristis และ Pristis วงศ์ Pristidae เป็นปลากระดูกอ่อนอยู่ในกลุ่มปลากระเบน ขนาดยาวได้ถึง ๒ เมตร มีเหงือก ๕ คู่อยู่ใต้ส่วนหัว บริเวณปลายสุดของหัวมีแผ่นกระดูกยื่นยาวมาก ขอบทั้ง ๒ ข้างมีซี่กระดูกแข็งคล้ายฟันเลื่อยเรียงห่างกันอย่างสมํ่าเสมอข้างละ ๑ แถวโดยตลอด ชนิด A. Cuspidata Latham หรือ P. cuspidatus Latham มี ๑๖-๒๙ คู่, ชนิด P. microdon Latham มี ๑๔-๒๓ คู่. |
เฉาฮื้อ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Ctenopharyngodon idellus (Valenciennes) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ที่สำคัญคือ ลำตัวยาว ท้องกลม เกล็ดใหญ่เรียบ ลำตัวสีเงิน อาศัยหากินพืชนํ้าอยู่ใกล้ผิวนํ้า มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร. |
ช่อฟ้า | น. ชื่อตัวไม้เครื่องประกอบกรอบหน้าบัน รูปอย่างครุฑ มีอกใหญ่ คอเรียว ศีรษะเล็ก ปากเป็นจะงอย หงอนยาวเรียว ติดตั้งอยู่ตอนปลายสุดหน้าบัน. |
ชะโอน | และชนิด Phalacronotus apogon (Bleeker) ไม่มีครีบหลัง ปากอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีจุดสีดำเหนือครีบอกบนลำตัว, เนื้ออ่อน แดง หรือ นาง ก็เรียก. |
ชิงฮื้อ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Mylopharyngodon aethiops (Basilewski) ในวงศ์ Cyprinidae ปากอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลำตัวยาว ท้องกลม เกล็ดใหญ่ รูปร่างคล้ายปลาเฉาฮื้อ เว้นแต่มีแผงฟันในบริเวณลำคอเพียงแถวเดียว ทั้งลำตัวและครีบสีคล้ำ มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร. |
ซ่งฮื้อ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Hypophthalmichthys nobilis (Richardson) ในวงศ์ Cyprinidae ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด หัวโต เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงิน ยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย ท้องกลม หากินอยู่ตามพื้นท้องน้ำ มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร. |
ติด ๓ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Echeneidae เช่น สกุล Echeneis และ Remora มีลักษณะเฉพาะเด่นกว่าปลาอื่น ๆ ทั้งหมด คือ ที่ด้านบนของส่วนหัวมีแผ่นเกาะติดรูปวงรีลักษณะเป็นซี่เรียงตัวในแนวขวางคล้ายบานเกล็ด ใช้เป็นส่วนยึดเกาะแน่นกับปลาหรือสัตว์อื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าหรือวัตถุลอยนํ้า ปากเชิดขึ้นอยู่ปลายสุดของหัว ที่พบเสมอได้แก่ ชนิด E. naucrates (Linn.) ขนาดยาวได้ถึง ๖๐ เซนติเมตร, เหา เหาทะเล หรือ เหาฉลาม ก็เรียก. |
ที่สุด | น. ปลายสุด เช่น ที่สุดของชีวิตคือความตาย. |
ธงบรมราชวงศ์น้อย | น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับตอนต้นของธงบรมราชวงศ์ใหญ่แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีแดงแปลงเป็นรูปธงยาวเรียว โดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของธงตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงบรมราชวงศ์ใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
ธงมหาราชน้อย | น. ธงสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชใหญ่ แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงมหาราชใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
ธงเยาวราชน้อย | น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระยุพราช แบ่งความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงเยาวราชใหญ่ แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงเยาวราชใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
นกกระจอก ๒ | น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Parexocoetus และ Cypselurus วงศ์ Exocoetidae ปากอยู่ปลายสุดของหัว เชิดขึ้นเล็กน้อย ตาโต หัวและด้านหลังแบนลงเล็กน้อยเป็นเหลี่ยมด้านท้องเกือบกลม ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหางซึ่งเป็นแฉกลึกโดยแฉกล่างยาวกว่าแฉกบน ครีบอกใหญ่ใช้ร่อนถลาไปเหนือผิวนํ้าคล้ายปีก ลำตัวยาวเพรียว ส่วนบนลำตัวสีเขียวหรือนํ้าเงิน ข้างท้องสีขาวเงิน อาศัยอยู่บริเวณผิวนํ้า ขนาดยาว ๑๐-๓๐ เซนติเมตร, ปลาบิน ก็เรียก. |
โนรี ๓ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Heniochus วงศ์ Chaetodontidae ลำตัวสั้นแต่กว้างมาก หัวแหลม ปากเล็กอยู่ที่ปลายสุด ก้านครีบหลังตอนหน้ายื่นยาวเป็นเส้น ตัวมีสีสันสดสวย หัวและลำตัวมีพื้นสีขาวเงิน มีแถบสีดำเข้มพาดขวางรวม ๓ แถบ ที่พบเสมอได้แก่ชนิด H. acuminatus (Linn.) ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร อาศัยตามแนวหินปะการัง. |
ใบโพ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Drepane วงศ์ Drepanidae ลำตัวสีเงิน สั้น กว้าง และแบนข้างมาก ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ครีบสีเหลืองอ่อน ครีบอกยาวเรียว ครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบอก ครีบหางมีปลายเป็นเหลี่ยมมุมป้าน ชนิด D. punctata (Linn.) มีจุดดำที่ข้างตัวเรียงในแนวตั้งหลายแนว แต่ชนิด D. longimana (Bloch & Schneider) มีแถบสีเทาเรียงในลักษณะเดียวกัน, ทั้ง ๒ ชนิดอาศัยอยู่ตามพื้นท้องนํ้าที่เป็นกรวดทรายใกล้แนวปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, แมลงปอ ก็เรียก. |
ปากแตร ๒ | น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Fistularia วงศ์ Fistulariidae หัวและลำตัวแบนลงแต่แคบและยาวมาก ตาโต ปากเป็นท่อยาวคล้ายแตร มีช่องปากขนาดเล็กอยู่ปลายสุด ลำตัวไม่มีเกล็ดยกเว้นเฉพาะที่แนวสันหลัง ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง ครีบหางเป็นแฉกมีเส้นยาวคล้ายแส้ยื่นออกจากกึ่งกลางครีบ ลำตัวทั่วไปรวมทั้งหัวและครีบสีนํ้าตาลแดง ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร เช่น ชนิด F. villosa Klunzinger, สามรส ก็เรียก. |
ผีเสื้อ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Chaetodontidae ยกเว้นปลาโนรี ( Heniochusspp.) ลำตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก ปากเล็ก บางชนิดปากยื่นยาวเป็นท่ออยู่ปลายสุดของหัว มีเกล็ดหนามคลุมถึงบนครีบหลัง ครีบก้น และครีบหาง สีสวยสด แตกต่างกันตามชนิด มักเป็นบั้ง แถบ หรือจุดคละกันหลายสี อาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง กินสัตว์น้ำขนาดเล็กหรือสาหร่าย ขนาดยาวตั้งแต่ ๑๐-๓๐ เซนติเมตร มีการนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม. |
พีระมิด | น. สิ่งก่อสร้างที่มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านข้างทั้ง ๔ เป็นรูปสามเหลี่ยม มีปลายสุดไปบรรจบกันที่ยอด, ในอียิปต์เดิมใช้เป็นที่ฝังพระศพ ต่อมาบางทีก็ใช้เป็นเทวสถาน, ส่วนพีระมิดที่เม็กซิโกใช้เป็นเทวสถานอย่างเดียว, เรียกสิ่งหรือรูปที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า รูปพีระมิด |
ยอด | น. ส่วนสูงสุด, ส่วนเหนือสุด, เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดเขา, ส่วนปลายสุดของพรรณไม้หรือที่แตกใหม่ เช่น ยอดผัก ยอดตำลึง ยอดกระถิน |
ราหู ๒ | น. ชื่อปลากระเบนทะเลในสกุล Mantaและ Mobula วงศ์ Mobulidae ลักษณะทั่วไปคล้ายปลากระเบนนก มีเนื้อยื่นเป็นแผ่นคล้ายใบหูอยู่ที่มุมขอบนอกปลายสุดของหัวข้างละอันใช้ตะล่อมอาหารเข้าปาก ด้านบนลำตัวสีดำ เช่น ชนิด Mobula japonica (Müller & Henle), ชนิด Manta birostris (Donndorff) เฉพาะชนิดแรก มีแถบสีขาวพาดโค้งอยู่ด้านท้ายของส่วนหัว. |
ลิ่นฮื้อ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Labeo jordani Oshima ในวงศ์ Cyprinidae เดิมรู้จักกันในชื่อ Cirrhinus molitorella (Valenciennes) ตัวยาว ท้องกลม ปากเล็กหนา อยู่ตํ่าที่ปลายสุดของหัว มีหนวดเล็ก ๒ คู่ ตาเล็ก เกล็ดเล็กเรียบ ตัวสีเทาเงิน ถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร, ตูลิ่นฮื้อ ก็เรียก. |
ลุ่นตุ้น, ลุ่นโตง | ว. มีตอนปลายสุดหายเหี้ยนไปหมด เช่น นิ้วลุ่นตุ้น หางลุ่นโตง. |
ศอก | ช่วงของแขนตั้งแต่ปลายสุดของข้อพับไปถึงปลายนิ้วกลาง |
หัวแจว | น. ปลายสุดของด้ามแจวตรงที่สวมหมวกแจว. |
หัวตะกั่ว ๑ | น. ชื่อปลาขนาดเล็กชนิด Aplocheilus panchax (Hamilton) ในวงศ์ Aplocheilidae พบทั้งในนํ้าจืดและนํ้ากร่อย ลำตัวกลมยาว หัวโตกว้าง มองด้านข้างเห็นปลายแหลม สันหัวแบน ปากซึ่งอยู่ปลายสุดเชิดขึ้น ตาโตและอยู่ชิดแนวสันหัว เกล็ดใหญ่ ครีบต่าง ๆ มีขอบกลม ครีบหลังมีขนาดเล็กอยู่ใกล้ครีบหาง พื้นลำตัวสีเทาอมเหลือง ครีบต่าง ๆ สีออกเหลือง โคนครีบหลังสีดำ ที่สำคัญคือมีจุดสีตะกั่วขนาดใหญ่โดดเด่นอยู่บนสันหัวระหว่างนัยน์ตา ขนาดยาวได้ถึง ๘ เซนติเมตร, หัวเงิน หรือ หัวงอน ก็เรียก. |