กระเจี๊ยบเปรี้ยว | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hibiscus sabdariffa L. ในวงศ์ Malvaceae เปลือกต้นมีปอเหนียวทนทาน ผลสีแดง กลีบเลี้ยงใช้ทำแยม, กระเจี๊ยบแดง ก็เรียก, พายัพเรียก เกงเขง หรือ เกงเคง. |
กระปรี้กระเปร่า | ว. แคล่วคล่องว่องไว เพราะมีกำลังวังชา, กระฉับกระเฉง, ไม่เนิบนาบ. |
ดินเปรี้ยว | น. ดินกรด. |
ตึงเปรี๊ยะ | ว. ตึงมากจนเกือบจะปริหรือขาด. |
ประเปรี้ยง | (-เปฺรี้ยง) ว. เสียงอย่างเสียงฟ้าผ่า. |
ปรี่ | (ปฺรี่) ก. เดินหรือวิ่งตรงเข้าไปอย่างรวดเร็ว เช่น ปรี่เข้าไปต่อย. |
ปรี่ | (ปฺรี่) ว. เกือบล้น ในลักษณะเช่นนํ้าเต็มจนเกือบล้นมิล้นแหล่ เช่น น้ำเต็มปรี่ น้ำล้นปรี่. |
ปรี๊ด | (ปฺรี๊ด) ว. อาการที่นํ้าหรือของเหลวพุ่งออกมาโดยแรงจากช่องแคบ ๆ มีเสียงดังเช่นนั้น เช่น น้ำพุ่งปรี๊ด บ้วนนํ้าลายปรี๊ด |
ปรี๊ด | มาก เช่น สูงปรี๊ด, จัด (ใช้แก่รสเปรี้ยว) |
ปรี๊ด | เสียงอย่างเสียงเป่านกหวีดยาว ๆ. |
ปากหวานก้นเปรี้ยว | ก. พูดจาอ่อนหวานแต่ไม่จริงใจ. |
เปรี้ยง | (เปฺรี้ยง) ว. เสียงดังลั่นอย่างเสียงฟ้าผ่า |
เปรี้ยง | จัด, กล้า, (ใช้แก่แดด) ในคำว่า แดดเปรี้ยง. |
เปรี้ยงปร้าง | (-ปฺร้าง) ว. โผงผาง. |
เปรี่ยม | (เปฺรี่ยม) ว. ปริ่ม. |
เปรี้ยว | (เปฺรี้ยว) ว. มีรสอย่างหนึ่งอย่างรสมะนาวเป็นต้น, มีกลิ่นหรือรสอย่างอาหารบูดหรืออาหารเสีย |
เปรี้ยว | มีลักษณะปราดเปรียว ทันสมัย อิสระ มั่นใจ ชอบการคบหาสมาคม (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น ผู้หญิงคนนี้เปรี้ยว, เรียกลักษณะการแต่งกายของผู้หญิงที่แต่งตัวสีฉูดฉาด รัดรูป เป็นต้น ว่า แต่งตัวเปรี้ยว. |
เปรี้ยวปาก | ก. รู้สึกคล้ายเปรี้ยวในปากเมื่ออยากกินสิ่งที่เคยกินมีหมากเป็นต้น. |
เปรี้ยวหวาน | น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่ง ใช้ผัก เช่น แตงกวา มะเขือเทศ หอมใหญ่ ผัดกับเนื้อสัตว์ ปรุงให้มีรสออกเปรี้ยวและหวาน. |
เปรียะ, เปรี๊ยะ | (เปฺรียะ, เปฺรี๊ยะ) ว. เสียงที่เกิดจากสิ่งของที่แตกหรือขาดเป็นต้นซึ่งมีเสียงดังเช่นนั้นอย่างแก้วแตก |
เปรียะ, เปรี๊ยะ | อาการที่แก้วหูลั่นเพราะขึ้นไปบนที่สูง ๆ เป็นต้น |
เปรียะ, เปรี๊ยะ | โดยปริยายหมายความว่า คล่องไม่ติดขัด เช่น พูดเปรี๊ยะ, มากเกินไป เช่น ตึงเปรี๊ยะ. |
เหม็นเปรี้ยว | ว. มีกลิ่นเหม็นคล้ายอาหารบูด. |
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน | ก. อดใจไว้ก่อนเพราะหวังสิ่งที่ดีกว่าข้างหน้า. |
กรด ๑ | (กฺรด) น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือทำให้สิ่งอื่นแปรไป |
กรด ๑ | มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักกำหนด คือ เป็นสารเคมีที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลายนํ้าเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือบางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเจนไอออน (H+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสีนํ้าเงินเป็นสีแดงได้ |
กระชุ่มกระชวย | ว. มีอาการกระปรี้กระเปร่า. |
กระเดียด ๒ | ว. ค่อนข้าง, คล้าย, หนักไปทาง, เช่น กระเดียดเปรี้ยว หน้าตากระเดียดไปทางแม่. |
กลาย | (กฺลาย) ก. เปลี่ยนไป, แปรปรวนไป, เช่น หน้าหนาวกลายเป็นหน้าร้อน, เป็นอื่นไป, แปลงไป, เช่น ศรกลายเป็นทิพย์กระยาหาร เปรี้ยวหวานตกลงตรงหน้า (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ; กลอน) ใช้ในความว่า กราย ก็มี เช่น ไปกลายบ๋านชองตนกดี (จารึกสยาม), จักเจริญสวัสดิภาพศักดิศรี ศัตรูไพรี บห่อนจะใกล้กลายตน (โชค–โบราณ). |
กวางโจน | (กฺวาง-) น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาวคล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. |
กะลุมพี | น. ชื่อปาล์มชนิด Eleiodoxa conferta (Griff.) Burret. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอในป่าพรุและที่ชื้นแฉะทางภาคใต้ ผลเป็นช่อใหญ่และแน่น ปลายผลตัด ผิวเหลืองเกลี้ยงเป็นมัน ไม่มีหนาม เยื่อหุ้มเมล็ดขาว รสเปรี้ยว ๆ ฝาด ๆ กินได้ ยางในลำต้นเหนียวใช้ติดกระดาษแทนกาวได้, ลุมพี ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก หลุมพี. |
กาวาง | น. ชื่อมะปรางพันธุ์หนึ่ง รสเปรี้ยวจัด. |
เกงเขง, เกงเคง | น. ต้นกระเจี๊ยบเปรี้ยว. (ดู กระเจี๊ยบเปรี้ยว ที่ กระเจี๊ยบ). |
แก่ ๑ | ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น, อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน |
แกงคั่ว | น. แกงกะทิชนิดหนึ่ง คล้ายแกงเผ็ดแต่มีรสออกเปรี้ยว เช่น แกงคั่วผักบุ้ง แกงคั่วมะระ. |
แกงส้ม | น. แกงพวกหนึ่ง มีลักษณะคล้ายแกงเผ็ด แต่ไม่ใส่เครื่องเทศ กะทิ หรือ นํ้ามัน มีรสเปรี้ยวด้วยนํ้าส้มมะขาม ใช้ผัก ผลไม้ หรือ ดอกไม้บางอย่าง เป็นต้น แกงกับกุ้งหรือปลา เรียกชื่อตามสิ่งนั้น ๆ เช่น แกงส้มผักกาดขาว แกงส้มมะละกอ แกงส้มดอกแค. |
แกล้งดิน | ก. กระบวนการแก้ปัญหาสภาพดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้กรรมวิธีเร่งปฏิกิริยาเคมีในดิน ทำให้ดินเปรี้ยวอย่างรุนแรงแล้วใช้ระบบชลประทานนำน้ำมาเจือจางดินเปรี้ยวทำสลับไปมา จนเปลี่ยนสภาพดินให้สามารถเพาะปลูกได้. |
เข็ดฟัน | ก. เสียวฟันเพราะกินของเปรี้ยว. |
คะนอง | เรียกอาการของฟ้าที่มีเสียงลั่นเปรี้ยง ๆ ว่า ฟ้าคะนอง. |
คั่ว ๑ | เรียกแกงกะทิชนิดหนึ่งคล้ายแกงเผ็ด แต่มีรสออกเปรี้ยว ว่า แกงคั่ว เช่น แกงคั่วผักบุ้ง แกงคั่วมะระ. |
คึกคัก | ว. แข็งแรง, กระปรี้กระเปร่า, มีชีวิตชีวา, เช่น ดูท่าทางคึกคัก |
ง่วงเหงา | (-เหฺงา) ว. มีลักษณะง่วงซึมไม่กระปรี้กระเปร่า. |
จี๊ด ๒ | ว. จัด, ยิ่ง, (ใช้แก่รสเปรี้ยวหรืออาการปวดอย่างเสียดแทงคล้ายมีอะไรมาจี้อยู่). |
จืด | ว. มีรสไม่เค็มไม่เปรี้ยวเป็นต้น เช่น นํ้าจืด ไข่จืด |
ชะมวง | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garcinia cowaRoxb . Ex DC. ในวงศ์ Guttiferae ใบมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผัก. |
ซึมเซา | ว. มีลักษณะเหงาหงอยง่วงซึมไม่กระปรี้กระเปร่า เช่น วันนี้รู้สึกซึมเซาไม่อยากทำงานเลย. |
ดินกรด | น. ดินที่มีปฏิกิริยาเป็นกรด, ดินเปรี้ยว ก็เรียก. |
ดินเค็ม | น. ดินที่มีปฏิกิริยาเป็นด่าง, ตรงข้ามกับ ดินกรดหรือดินเปรี้ยว. |
เดาะ ๓ | ว. อาการเดินอย่างกระปรี้กระเปร่า เช่น เดินเดาะเลาะทางมา. |
ต้มกะทิ | น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อเค็ม หรือปลาแห้ง หรือปลาสลิด เป็นต้น ต้มในนํ้ากะทิ ใส่หัวหอมกับส้มมะขาม มี ๓ รส เปรี้ยว เค็ม หวาน |