ปราสาท | (ปฺรา-) น. เรือนยอดซ้อนกันเป็นชั้น ๆ สำหรับเป็นที่ประทับเฉพาะพระมหากษัตริย์หรือเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์. |
โพปราสาท | ดู โพขี้นก ที่ โพ ๑. |
กุฎาคาร | น. เรือนยอดอย่างปราสาท เช่น ธก็แต่งกุฎาคาร ปราสาท (ลอ.). |
เกย ๒ | นอกชานหรือพื้นซึ่งสูงขึ้นที่เรียกว่า เนินปราสาท หรือ โคกปราสาท เพราะการก่อสร้างนิยมสร้างบนพื้นที่ถมสูง มีสภาพเป็นนอกชาน เรียกว่า เกย เกยชาลา หรือ ไพที ก็มี. |
เกียรติมุข | (เกียดมุก) น. อมนุษย์บริวารพระศิวะ ทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ ตากลมถลน ไม่มีคาง ปากแสยะ ไม่มีขากรรไกรล่าง ไม่มีร่างกาย ไม่มีแขนขา เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้ารักษาธรณีประตู เป็นเครื่องป้องกันบ้านเรือน ขับไล่เสนียดจัญไร และคอยคุ้มครอง นับถือพระศิวะ มักทำเป็นลวดลายแกะสลักหรือปูนปั้น เช่นที่ทับหลังปราสาทหินบางแห่ง ตามซุ้มปรางค์หรือเจดีย์ และที่ฐานพระพุทธรูป, กาฬมุข หรือ หน้ากาฬ ก็เรียก. |
ชาลา ๒ | ที่โล่งหน้าสถานที่สำคัญ ๆ บางแห่ง เช่น ชาลาหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เทวสถานนี้สร้างเป็นชาลา ๓ ชั้นซ้อนกัน. |
ถาวรวัตถุ | (ถาวอระวัดถุ, ถาวอนวัดถุ) น. สิ่งที่ก่อสร้างเพื่อให้มั่นคงยั่งยืน เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ปราสาท พระราชวัง. |
โถง | ว. ที่เปิดโล่ง มีฝาเพียงด้านเดียวหรือไม่มีฝา เช่น ศาลาโถง วิหารโถง ปราสาทโถง. |
ทับหลัง | น. ท่อนหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่สลักเป็นลวดลายต่าง ๆ วางพาดอยู่เหนือกรอบประตูทางเข้าปราสาทหิน |
นาคเบือน | น. ตัวไม้ที่สลักเป็นรูปศีรษะนาคหันออกทางด้านหน้า ใช้ปักบนปลายสันหลังคาปราสาทหรือบุษบก หรือปลายนาคสะดุ้งสำหรับปราสาท. |
นาคปัก | (นากปัก) น. รูปหัวนาคที่ปักบนหลังคาปราสาทหรือบุษบก. |
นางแนบ | น. เสาหินคู่หนึ่ง สลักลวดลายตั้งแนบกรอบเช็ดหน้า สำหรับประดับตกแต่ง ๒ ข้างประตูปราสาทหินให้ดูงดงาม และมีส่วนช่วยค้ำจุนทับหลังด้วย, บังอวด ก็ว่า. |
บัญชร | หน้าต่างพระที่นั่ง พระมหาปราสาท ในพระราชวัง. |
บัน ๑ | น. เรียกหน้าจั่วของปราสาท โบสถ์ วิหาร ว่า หน้าบัน. |
บัวกลุ่ม | น. ลายปูนปั้นหรือลายแกะไม้ที่ทำเป็นรูปดอกบัวที่เริ่มแย้มร้อยกันเป็นเถา อยู่ระหว่างบัลลังก์กับปลียอดของเจดีย์บางแบบหรือปลายเครื่องบนของปราสาท. |
บัวคอเสื้อ | ลายบัวแบบหนึ่ง อยู่ตอนบนส่วนองค์ระฆังของเครื่องยอดปราสาท. |
ใบระกา | น. ชื่อตัวไม้หรือปูนปั้นทำเป็นครีบ หรือลวดลายต่าง ๆ ติดกับตัวลำยองระหว่างช่อฟ้ากับหางหงส์ ประกอบ ๒ ข้างหน้าบันโบสถ์ วิหาร และปราสาท เป็นต้น. |
ปรางค์ปรา | (ปฺรางปฺรา) ตัดมาจาก ปรางค์ปราสาท. |
แปหาญ | น. แปที่รับนาคสะดุ้งที่โบสถ์ วิหาร หรือปราสาท. |
พระที่นั่ง | น. อาคารที่ประทับของพระมหากษัตริย์ซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหาสมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาษพิมาน, ที่ประทับซ้อนบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลเศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์, ยานที่ประทับในการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน |
โพขี้นก | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Ficus rumphii Blume ในวงศ์ Moraceae ลักษณะคล้ายโพ แต่ปลายใบที่ยื่นแหลมสั้นกว่า ใช้ทำยาได้, โพปราสาท ก็เรียก. |
โพทะเล | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Thespesia populnea (L.) Sol. ex Corrêa ในวงศ์ Malvaceae ขึ้นริมนํ้า ใบคล้ายใบโพปราสาท ดอกสีเหลือง โคนกลีบดอกด้านในสีม่วงคล้ำ รากใช้ทำยาได้. |
ไพชยนต์ | ปราสาททั่วไปของหลวง |
เม็ดน้ำค้าง | น. ส่วนที่มีลักษณะกลม ๆ คล้ายเม็ดน้ำค้างอยู่ตรงปลายยอดเจดีย์ ยอดปราสาท เป็นต้น, หยาดน้ำค้าง ก็เรียก. |
แม่กอง | น. ผู้เป็นนายกอง, หัวหน้างาน, เช่น แม่กองทำปราสาทพระเทพบิดร แม่กองทำประตูประดับมุก. |
ไม้สูง | น. งานช่างไม้ที่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูง ทำสิ่งเกี่ยวกับเครื่องยอดเครื่องสูง เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดบุษบก, เรียกช่างที่ทำงานในลักษณะเช่นนี้ ว่า ช่างไม้สูง, เรียกการละเล่นที่ผู้เล่นจะต้องต่อขาให้สูงขึ้นด้วยไม้คู่หนึ่ง ส่วนมากเป็นไม้กระบอก มีลูกทอยสำหรับเหยียบ ว่า เล่นเดินไม้สูง, เรียกการละเล่นไต่ลวดตีลังกา ว่า เล่นไม้สูง |
ยกยอด | ก. ทำพิธีเอายอดเมรุยอดปราสาทขึ้น |
ยอด | น. ส่วนสูงสุด, ส่วนเหนือสุด, เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดเขา, ส่วนปลายสุดของพรรณไม้หรือที่แตกใหม่ เช่น ยอดผัก ยอดตำลึง ยอดกระถิน |
รักแร้ | เรียกส่วนของสิ่งก่อสร้างตอนที่ผนังกับผนังจดกันเป็นมุมฉากทั้งด้านในและด้านนอก เช่น รักแร้ปราสาท รักแร้กำแพงแก้ว รักแร้โบสถ์. |
รุ่งเรือง | ว. สว่างไสว เช่น จุดโคมไฟรุ่งเรืองแสงจับท้องฟ้า, งามสุกใส เช่น ปราสาทราชมนเทียรดูรุ่งเรืองเมื่อต้องแสงจันทร์, เจริญ, อุดมสมบูรณ์, เช่น บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง อนาคตรุ่งเรือง, งอกงาม เช่น ให้มีความรุ่งเรืองในพระศาสนา. |
เรือนยอด | น. อาคารที่มีหลังคาเป็นเครื่องยอดแบบต่าง ๆ เช่น แบบมณฑป แบบยอดปรางค์ แบบยอดปราสาท แบบยอดมงกุฎ แบบยอดเจดีย์ (ใช้แก่อาคารที่ใช้ในกิจเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และศาสนา). |
ลำยอง | น. ส่วนประกอบช่วงบนของปั้นลมปราสาทหรือวิหาร. |
ลิบ, ลิบ ๆ | ว. สุดสายตา (ใช้เฉพาะไกลกับสูง) เช่น ไกลลิบ สูงลิบ ห่างกันลิบ ทิ้งกันลิบ มองเห็นยอดปราสาทลิบ ๆ. |
ลูกมะหวด | น. ลูกตั้งมักทำด้วยหินหรือไม้เป็นต้น เป็นรูปกลม ๆ ป้อม ๆ คล้ายผลมะหวดเรียงกันเป็นลูกกรงใช้แทนหน้าต่าง เช่น ลูกมะหวดที่ปราสาทหิน. |
วิจิตรพิสดาร | (-จิดพิดสะดาน) ว. ลักษณะที่ประดิษฐ์หรือตกแต่งจนบางทีเกินงาม เช่น ปราสาทจำลองในสวนสนุกตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดาร. |
ศาลพระภูมิ | น. ที่สถิตของเทพารักษ์ประจำพื้นที่และสถานที่ ทำด้วยไม้เป็นเรือนหลังคาทรงไทยตั้งอยู่บนเสาเดียว ปัจจุบันทำด้วยปูนเป็นรูปปราสาทก็มี. |
ศิลปะสถาปัตยกรรม | น. ศิลปะลักษณะด้านสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในอาคารที่ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นอย่างวิจิตรงดงาม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม. |
สาหร่าย ๒ | น. ชื่อลายประเภทเครื่องห้อยแบบหนึ่งนิยมประดับริมเสามุขเด็จพระมหาปราสาทหรือพระอุโบสถเป็นต้น. |
สีหบัญชร | น. หน้าต่างที่พระมหากษัตริย์เสด็จออกให้เข้าเฝ้า เช่น สีหบัญชรที่พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต สีหบัญชรที่พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง. |
เสานางแนบ | น. เสาหินคู่หนึ่ง สลักลวดลายตั้งแนบกรอบเช็ดหน้า สำหรับประดับตกแต่ง ๒ ข้างประตูปราสาทหินให้ดูงดงาม และมีส่วนช่วยค้ำจุนทับหลังด้วย, เสาบังอวด ก็ว่า. |
เสาบังอวด | น. เสาหินคู่หนึ่ง สลักลวดลายตั้งแนบกรอบเช็ดหน้า สำหรับประดับตกแต่ง ๒ ข้างประตูปราสาทหินให้ดูงดงาม และมีส่วนช่วยค้ำจุนทับหลังด้วย, เสานางแนบ ก็ว่า. |
หน้าบัน | น. จั่ว (ใช้แก่ปราสาท โบสถ์ วิหาร เป็นต้น). |
หยาดน้ำค้าง | ส่วนที่มีลักษณะกลม ๆ คล้ายเม็ดน้ำค้างอยู่ตรงปลายยอดเจดีย์ ยอดปราสาท เป็นต้น, เม็ดน้ำค้าง ก็เรียก. |
เหม, เหม- | เรียกส่วนยอดปราสาทที่อยู่ระหว่างบัลลังก์กับบัวกลุ่ม. |
อำพน | น่าดู, งาม, งามสล้าง, เช่น ปราสาทอำพน, (โบ) ใช้ว่า อำพล ก็มี เช่น ปราการ สะพาน ถนน อำพลด้วย (ไม้ไหล) ทั้งหลายคำนับ (จารึกสยาม). |