Developing country | ประเทศกำลังพัฒนา [เศรษฐศาสตร์] |
North-South relations | ความสัมพันธ์เหนือ-ใต้ (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศพัฒนากับประเทศกำลังพัฒนา) [เศรษฐศาสตร์] |
BRIC | คำย่อที่ใช้แทน 4 ประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุด, Example: 4 ประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ บราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia) อินเดีย (India) และจีน (China) คำนี้บัญญัติโดย Goldman Sachs ในปี 2003 และบางครั้งได้ถูกนำไปใช้เรียกรวมประเทศ เม็กซิโก (BRIMC) และ เกาหลี (BRICK) [ธุรกิจ] |
Africa, Caribean and Pacific Countries | กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคแอฟริกา หมู่เกาะในแคริบเบียน และแปซิฟิก ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าจากสหภาพยุโรป [การทูต] |
Bangkok Declaration : Global Dialogue and Dynamic Engagement | ปฏิญญากรุงเทพ : การหารือและการมีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตของประชาคมโลก " หนึ่งในสองของเอกสารผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่แสดงฉันทามติของประเทศสมาชิกอังค์ถัด 190 ประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ร่วมทางการเมืองของประเทศสมาชิกอังค์ถัดที่จะร่วมมือ กันดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อทำให้สมาชิกทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ได้รับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ในด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ แม้ปฏิญญากรุงเทพจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมือง เป็นสัญญาประชาคมที่ทุกประเทศสมาชิกอังค์ถัดมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามแนว นโยบายที่ได้ร่วมกันแถลงไว้ในเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเจรจาหารือระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่องของการเงิน การค้า การลงทุน และการพัฒนาได้ " [การทูต] |
Bangkok Plan of Action | แผนปฏิบัติการกรุงเทพ (ในการประชุมอังค์ถัด) เป็นเอกสารที่ระบุรายละเอียดของแนวนโยบาย วิธีการ และมาตรการในการดำเนินนโยบายด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการพัฒนาที่ประเทศสมาชิกอังค์ถัดได้ตกลงโดยฉันทามติเมื่อการประชุมอัง ค์ถัด ครั้งที่ 10 เพื่อให้ประเทศสมาชิกอังค์ถัดและสำนักเลขาธิการอังค์ถัดดำเนินการให้บรรลุ วัตถุประสงค์ตามที่แถลงไว้ในแถลงการณ์กรุงเทพ และเป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมืองเช่นเดียวกัน แผนปฏิบัติการกรุงเทพแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้ (1) การประเมินผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบของโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีต่อการ พัฒนา (2) การประมวลพัฒนาการของข้อริเริ่มระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ (3) มาตรการและข้อริเริ่มต่าง ๆ ที่นำมาใช้โดยประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศกำลังพัฒนารวมตัวเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้ และ (4) บทบาทในอนาคตของอังค์ถัด [การทูต] |
D-8 | กลุ่มความร่วมมือของประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นมุสลิมและเป็นสมาชิก OIC " ซึ่งมีประชากรมากที่สุด ประกอบด้วยสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ปากีสถาน อินโดนีเซีย มาเลเซีย อียิปต์ อิหร่าน ตุรกี และไนจีเรีย จัดการประชุมสุดยอดครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2540 ที่นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี " [การทูต] |
emerging markets | ตลาดเกิดใหม่ มี 2 ความหมาย ความหมายที่ 1 คือ ตลาดที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เริ่มเติบโตขึ้นและซับซ้อน มากขึ้น ส่วนความหมายที่ 2 คือ ตลาดในประเทศกำลังพัฒนาที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาต่อไปได้ [การทูต] |
Generalized System of Preferences | ระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป " มีที่มาจากการประชุมว่าด้วยการค้าและการพัฒนาขององค์การ สหประชาชาติ (UNCTAD) เมื่อปี พ.ศ. 2510 ภายใต้ระบบนี้ประเทศที่พัฒนาแล้วจะเปิดโอกาสให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถส่ง สินค้าไปขายแข่งขันในประเทศพัฒนา โดยการยกเว้นหรือลดหย่อนอัตราภาษีขาเข้าให้แก่สินค้าที่อยู่ในข่ายได้รับ สิทธิพิเศษ โดยไม่เรียกร้อง ผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ " [การทูต] |
Global System of Trade Preferences among Developing Countries | ระบบสากลว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าในระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน [การทูต] |
International Bank for Reconstruction and Development | ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ธนาคารโลก (World Bank) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 เพื่อส่งเสริมให้เงินทุนมีการไหลเวียนระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือในด้านการให้กู้ในโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนา [การทูต] |
International Finance Corporation | บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ มีความเกี่ยวเนื่องกับธนาคารโลก แม้ว่าจะมีสถานะเป็นองค์กรแยก ต่างหาก IFC มีหน้าที่สนับสนุนภาคเอกชนในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ [การทูต] |
International Trade Centre | ศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศ ภายใต้อังค์ถัดและองค์การการค้าโลก เป็นศูนย์กลางของสหประชาชาติ สำหรับการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านการส่งเสริม การค้าและการพัฒนาการส่งออก [การทูต] |
International Telecommunication Union | สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคม ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านโทรคมนาคม สนับสนุนการพัฒนาในด้านดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชาติทั้งปวง [การทูต] |
marginalisation (marginalization) | การถูกเบียดตกขอบ สภาวการณ์ด้านเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่ออนาคตการพัฒนาและเศรษฐกิจของประเทศใด ประเทศหนึ่ง ทำให้ไม่สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์จากเศรษฐกิจโลกที่มีบูรณาการ (integration) เพิ่มขึ้น สภาพการณ์ดังกล่าวมักถูกมองว่าเกิดขึ้นควบคู่ไปกับโลกาภิวัตน์ และประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดมีโอกาสเสี่ยงที่จะตกอยู่ใน สภาวการณ์นี้ เนื่องจากประสบความยากลำบากในการปฏิบัติตามพันธกรณีการเปิดเสรีทางการค้า กอปรกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ประเทศเหล่านี้พึ่งพาตกต่ำลง [การทูต] |
The Netherlands Fellowship Progrmmes | แผนงานด้านทุนของเนเธอร์แลนด์ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้ให้ความร่วมมือด้านทุนการศึกษา และฝึกอบรมในระดับหลังปริญญาตรีแก่ผู้สนใจในประเทศกำลังพัฒนา โดยมีหลักสูตรต่าง ๆ ดังรายละเอียดใน http://www.nuffic.nl โดยผู้สมัครจะต้องเป็นผุ้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีและต้องทำงานไม่ ต่ำกว่า 2 - 3 ปี เพื่อให้มีประสบการณ์ในการทำงานและเพื่อนำสิ่งที่ได้จากการฝึกอบรมมาพัฒนา งานของตน ทั้งนี้เน้นการให้ทุนฝึกอบรมระยะสั้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้มากกว่าการศึกษา [การทูต] |
New Zealand's International Aid & Development Agencies | หน่วยงานความช่วยเหลือด้านการพัฒนาของนิวซีแลนด์ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่แทน NZODA (New Zealand?s Official Development Assistance Program) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2545 โดยเป็นหน่วยงานด้านนโนยายและปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือด้าน การพัฒนา ลักษณะการดำเนินงานเป็นอิสระ แต่ยังขึ้นตรงต่อกระทรวงการต่างประเทศและการค้า นิวซีแลนด์ มีวัตถุประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา โดยมีเป้าหมายหลัก เพื่อขจัดความยากจน การพัฒนาการศึกษาขั้นมูลฐาน และเน้นการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในภูมิภาคแปซิฟิกเป็นลำดับแรก [การทูต] |
Official Development Assistance | ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ " เป็นความช่วยเหลือของภาครัฐบาลที่ประเทศพัฒนาแล้วให้กับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ มาตรฐานความ เป็นอยู่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสถาบันต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาประกอบด้วยความช่วยเหลือ 3 ด้านหลัก คือ ความช่วยเหลือให้เปล่า ความร่วมมือทางวิชาการ และเงินกู้ " [การทูต] |
South-South Cooperation | ความร่วมมือใต้-ใต้ หรือ ความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา " เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่ประเทศกำลังพัฒนา/ ด้อยพัฒนา ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายหลังจากที่ความ ช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้แก่ประเทศกำลัง พัฒนา/ด้อยพัฒนามีแนวโน้มลดลงและมีการนำเงื่อนไขอื่น ๆ มาผูกกับการให้ความช่วยเหลือมากขึ้น อาทิ ประเด็นสิ่งแวดล้อม โดยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา/ด้อยพัฒนานี้ จะเป็นทั้งในลักษณะของการให้ (อาทิ ทุนการศึกษา/ทุนฝึกอบรม/ทุนดูงาน/ผู้เชี่ยวชาญ/วัสดุอุปกรณ์) ของประเทศใดประเทศหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว อาทิ การให้ความร่วมมือด้านทุนฝึกอบรมระยะสั้นในสาขาการเกษตรของไทยแก่ประเทศใน แอฟริกา และในลักษณะของการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน " [การทูต] |
Special and Differential Treatment (S and D) | การประติบัติแบบพิเศษและแตกต่าง " ในความตกลงต่าง ๆ ของ WTO จะมีข้อบทเกี่ยวกับการให้การปฏิบัติเป็นพิเศษและแตกต่างแก่สมาชิกที่เป็น ประเทศกำลังพัฒนา ข้อบท ดังกล่าวอาจแบ่งกว้าง ๆ ได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (1) ข้อบทที่กำหนดให้ประเทศพัฒนาแล้วต้องดำเนินมาตรการเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ทางการค้าแก่ประเทศเหล่านี้ (2) ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติตามพันธะกรณีในความตกลงต่าง ๆ อาทิ ระยะเวลาปรับตัวที่นานกว่าหรือระดับการเปิดตลาดที่น้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว (3) การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะแก่ประเทศเหล่านี้ " [การทูต] |
Technical Cooperation among Developing Countries | ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา " เป็นกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการภายใต้กรอบขององค์การสหประชา ชาติ โดยเป็นการแลกเปลี่ยนคณะเจ้าหน้าที่เพื่อการดูงาน/ฝึกอบรม และแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน โดยประเทศที่ขอหรือส่งเจ้าหน้าที่จะรับผิดชอบ ค่าเดินทางระหว่างประเทศ ในขณะที่ประเทศเจ้าภาพจะรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายภายในประเทศ อาทิ ค่ากินอยู่ ค่าฝึกอบรม/ดูงาน " [การทูต] |
Third Country Training Program | โครงการฝึกอบรมประเทศที่สาม " เป็นรูปแบบการให้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมวิเทศสหการกับองค์การ ระหว่างประเทศและ/หรือรัฐบาลต่างประเทศในการจัด หลักสูตรการศึกษา/ฝึกอบรม/ดูงานให้แก่ผู้รับทุนจากประเทศกำลังพัฒนา โดยองค์การระหว่างประเทศหรือรัฐบาลต่างประเทศเป็น ผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายของผู้รับทุนและค่าใช้จ่ายในการศึกษา/ฝึกอบรม/ ดูงาน " [การทูต] |
Developing Countries | ประเทศกำลังพัฒนา, ประเทศที่กำลังพัฒนา [การแพทย์] |