บ้านเมือง | น. ประเทศชาติ. |
บ้านเมืองมีขื่อมีแป | น. บ้านเมืองหรือประเทศย่อมมีกฎหมายคุ้มครอง เช่น ถ้าบ้านเมืองมีขื่อมีแป คงไม่ทำกับอ้ายแก่เช่นนี้ได้ (เสภาพญาราชวังสัน), มักใช้ในเชิงปฏิเสธว่า บ้านเมืองไม่มีขื่อไม่มีแป. |
กฎอัยการศึก | น. กฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารลิดรอนสิทธิเสรีภาพบางประการของประชาชนได้ตามความจำเป็น ทั้งให้มีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปรามหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน การใช้กฎอัยการศึกจะกระทำได้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล โดยจะให้มีผลบังคับทุกท้องที่หรือบางท้องที่ก็ได้ตามความจำเป็น. |
กวน ๓ | น. กวาน, ชื่อตำแหน่งขุนนางในภาคอีสานสมัยโบราณ แต่ชาวอีสานบางถิ่นออกเสียงเป็น กวน เช่น บ้านเมืองข้อนขุนกวน ยาดไพร่. |
การบ้านการเมือง | น. กิจการบ้านเมืองทั่ว ๆ ไป. |
ข้าวเหลือเกลืออิ่ม | น. บ้านเมืองที่บริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร. |
ข้าศึก | น. ศัตรูของบ้านเมือง, คู่สงคราม, โดยปริยายหมายความว่า ผู้ขัดขวางหรือทำลาย. |
แขกเมือง | น. แขกของบ้านเมือง. |
คู่บ้านคู่เมือง | ว. ที่เป็นของประจำบ้านเมืองหรือที่มีมาพร้อมกับบ้านเมือง ถือว่าเป็นของที่มีค่ามาก เช่น พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง. |
เค้าสนามหลวง | น. สำนักผู้ปกครองบ้านเมือง, ที่ว่าราชการเมือง, คณะผู้ว่าการบ้านเมืองซึ่งประกอบด้วยเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมืองข้าหลวงประจำนครหรือเมืองซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของเมือง, เค้าสนาม ก็ว่า. |
จาตุกรณีย์ | น. ราชกิจ ๔ อย่าง คือ ๑. ตัดสินความเมือง ๒. บำรุงราษฎร ๓. บำรุงผลประโยชน์บ้านเมือง ๔. ป้องกันพระนคร, บางทีในบทกลอนใช้ว่า จาตุกรณย์, จาตุรราชการ ก็ว่า. |
ดุษฎีมาลา | น. ชื่อเหรียญที่พระราชทานเฉพาะแก่ผู้ได้ใช้ศิลปวิทยาให้เป็นคุณประโยชน์แก่บ้านเมืองถึงขนาด พระราชทานประกอบกับเข็มศิลปวิทยา. |
ทรราช | น. ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ ทำความเดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน. (อ. tyrant), เรียกลัทธิเช่นนั้น ว่า ทรราชย์ หรือ ระบบทรราชย์. |
ทศพิธราชธรรม | น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน–การให้ ๒. ศีล–การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค–ความเสียสละ ๔. อาชชวะ–ความซื่อตรง ๕. มัททวะ–ความอ่อนโยน ๖. ตบะ–การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ–ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา–ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ–ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ–ความไม่คลาดจากธรรม. |
ทะนุบำรุง | ธำรงรักษาไว้ เช่น ทะนุบำรุงศาสนา ทะนุบำรุงบ้านเมือง |
ทำนุบำรุง | ธำรงรักษาไว้ เช่น ทำนุบำรุงศาสนา ทำนุบำรุงบ้านเมือง |
ทุพภิกขภัย | (ทุบพิกขะไพ) น. ภัยอันเกิดจากข้าวยากหมากแพงหรือการขาดแคลนอาหารในบ้านเมือง. |
เทศาจาร | น. ธรรมเนียมของบ้านเมือง. |
นคราทร | (นะคะราทอน) น. ชื่อกรมมีหน้าที่ทำให้บ้านเมืองสะอาด. |
บังเหียน | น. เครื่องบังคับม้าให้ไปในทางที่ต้องการ ทำด้วยเหล็กหรือไม้ใส่ผ่าปากม้า ปลายทั้ง ๒ ข้าง มีห่วงสำหรับผูกสายบังเหียนโยงไว้ให้ผู้ขี่ถือ, โดยปริยายหมายความว่า อำนาจบังคับบัญชาให้เป็นไปในทางที่ต้องการ เช่น ถือบังเหียนการปกครองบ้านเมือง กุมบังเหียน. |
บ้านแตกสาแหรกขาด | น. สภาพที่ต้องกระจัดกระจายพลัดพรากกันเพราะเกิดเหตุการณ์ที่ร้ายแรงขึ้นในครอบครัวหรือในบ้านเมือง. |
บำรุง | ก. ทำให้งอกงาม, ทำให้เจริญ, เช่น บำรุงต้นไม้ บำรุงบ้านเมือง |
ปฏิรูป, ปฏิรูป- | (-รูปะ-) ก. ปรับปรุงให้สมควร เช่น ปฏิรูปบ้านเมือง. |
ปฏิวัติ | การเปลี่ยนแปลงระบบ เช่น ปฏิวัติอุตสาหกรรม, การเปลี่ยนแปลงระบอบการบริหารบ้านเมือง เช่น ปฏิวัติการปกครอง. |
ประคอง | โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประคองสถานการณ์บ้านเมืองไว้ให้ดี. |
ประเทศ | น. บ้านเมือง, แว่นแคว้น, ถิ่นที่อยู่ |
ป่วนปั่น | ก. เคลื่อนไหวไปมาอย่างรุนแรงผิดปรกติ เช่น ทะเลป่วนปั่น, สับสนวุ่นวายผิดปรกติ เช่น ใจคอป่วนปั่น ท้องป่วนปั่น บ้านเมืองป่วนปั่น, ปั่นป่วน ก็ว่า. |
ปั่นป่วน | ก. เคลื่อนไหวไปมาอย่างรุนแรงผิดปรกติ เช่น ทะเลปั่นป่วน, สับสนวุ่นวายผิดปรกติ เช่น ใจคอปั่นป่วน ท้องปั่นป่วน บ้านเมืองปั่นป่วน, ป่วนปั่น ก็ว่า. |
ผีเสื้อเมือง | น. เทวดาที่รักษาบ้านเมือง, พระเสื้อเมือง หรือ เสื้อเมือง ก็เรียก, (โบ) พระเชื้อเมือง. |
พระเชื้อเมือง | น. พระเสื้อเมือง, เทวดาที่รักษาบ้านเมือง. |
พระเสื้อเมือง | น. เทวดาที่รักษาบ้านเมือง, ผีเสื้อเมือง หรือ เสื้อเมือง ก็เรียก, (โบ) พระเชื้อเมือง. |
พลัด | แยกจากไปโดยไม่ตั้งใจ เช่น มาด้วยกัน แต่คนแน่นมาก เลยพลัดกันไป, แยกจากไป โดยไม่รู้ว่าไปอยู่ที่ใด เช่น พลัดพ่อ พลัดแม่ พลัดลูก พลัดเมีย, จากที่ที่เคยอยู่ เช่น พลัดถิ่นฐานบ้านเมือง พลัดบ้าน พลัดเมือง. |
พุทธจักร | น. อำนาจปกครองคณะสงฆ์ทางพระพุทธศาสนา, คู่กับ อาณาจักร ซึ่งหมายความว่า อำนาจปกครองทางบ้านเมือง. |
ไฟ | ไฟฟ้า เช่น ไฟสว่าง, โดยปริยายหมายถึง ความเดือดร้อน เช่น ตอนนี้บ้านเมืองกำลังเป็นไฟ. |
มหาวงศ์ | น. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีโดยพระมหานาม เพื่อเรียบเรียงตำนานพระพุทธ-ศาสนาและเหตุการณ์บ้านเมืองของลังกาทวีปตั้งแต่สมัยแรกเริ่มจนถึงรัชสมัยพระเจ้าคชพาหุ. |
ยึดอำนาจ | ก. ใช้กำลังเข้าแย่งอำนาจในการบริหารบ้านเมือง, โดยปริยายใช้ในความคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตอนนี้ลูกยึดอำนาจในบ้านหมดแล้ว. |
ยุ่งเหยิง | ว. ยุ่งกันใหญ่, วุ่นวายไม่มีระเบียบ, เช่น การจลาจลทำให้บ้านเมืองยุ่งเหยิง. |
ระบิลเมือง | น. กฎหมายและประเพณีของบ้านเมือง. |
ระส่ำระสาย | วุ่นวาย, เกิดความไม่สงบ, เช่น บ้านเมืองระส่ำระสาย. |
รักษ์, รักษา | ก. ระวัง เช่น รักษาสุขภาพ, ดูแล เช่น รักษาทรัพย์สมบัติ, ป้องกัน เช่น รักษาบ้านเมือง, สงวนไว้ เช่น รักษาความสะอาด รักษาไมตรี |
รัฏฐาภิปาลโนบาย | น. วิธีการปกครองบ้านเมือง. |
รัฐ, รัฐ- | (รัด, รัดถะ-) น. แคว้น เช่น รัฐปาหัง, บ้านเมือง เช่น กฎหมายสูงสุดของรัฐ, ประเทศ เช่น รัฐวาติกัน. |
รัฐบุรุษ | (รัดถะบุหฺรุด) น. ผู้ที่ได้รับยกย่องอย่างสูงว่ามีความรู้ความสามารถในการบริหารบ้านเมือง. |
รัฐประศาสน์ | (รัดถะปฺระสาด) น. การปกครองบ้านเมือง. |
รัฐประศาสนนัย, รัฐ-ประศาสโนบาย | (รัดถะปฺระสาสะนะไน, รัดถะปฺระสาสะโนบาย) น. วิธีการปกครองบ้านเมือง. |
รัฐมนตรี | ที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์. |
รับใช้ชาติ, รับใช้ประเทศชาติ | ก. ทำหน้าที่สนองคุณบ้านเมืองในฐานะเป็นพลเมืองของประเทศ. |
ราชธรรม | น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง เรียกว่า ทศพิธราชธรรม มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน–การให้ ๒. ศีล–การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค–ความเสียสละ ๔. อาชชวะ–ความซื่อตรง ๕. มัททวะ–ความอ่อนโยน ๖. ตบะ–การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ–ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา–ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ–ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ–ความไม่คลาดจากธรรม. |
ราชนีติ | น. หลักการปกครองของพระราชา, หลักการปกครองบ้านเมือง. |
ราบคาบ | เรียบร้อยปราศจากเสี้ยนหนามหรือความกระด้างกระเดื่อง เช่น บ้านเมืองสงบราบคาบ ตำรวจปราบโจรผู้ร้ายเสียราบคาบ. |