บ่าง | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Cynocephalus variegatus (Audebert) ในวงศ์ Cynocephalidae รูปร่างคล้ายกระรอก แต่มีหนังเป็นพังผืด ๒ ข้างของลำตัวตั้งแต่คอไปถึงปลายนิ้วตีนและปลายหางสำหรับใช้กางออกคล้ายปีก ถลาร่อนจากที่สูงมายังที่ตํ่าได้ค่อนข้างไกล ขนนุ่มสีนํ้าตาลคลํ้าหรือนํ้าตาลจางเป็นหย่อม ๆ ทั่วไป เล็บโค้งแหลมใช้ปีนป่ายต้นไม้ หากินในเวลากลางคืน กลางวันมักหลบอยู่ตามโพรงไม้หรือเกาะห้อยอยู่ตามพุ่มทึบ, พุงจง หรือ พะจง ก็เรียก. |
บ่างช่างยุ | น. คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน. |
บ้าง | ว. ใช้ประกอบคำอื่นหมายความว่า บางจำนวนหรือบางส่วนของสิ่งที่กล่าวถึงโดยเฉพาะ เช่น อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ขอบ้าง, บางส่วนของจำนวนรวมที่แบ่งเป็น ๒ เช่น เรื่องที่เล่าจริงบ้าง เท็จบ้าง, มีส่วนร่วม มีความหมายคล้ายคำว่า ด้วย เช่น ขอเล่นบ้าง ขอขี่จักรยานบ้าง, เอาอย่าง เช่น เห็นเขาทำก็ทำบ้าง. |
บ้าง | ส. คำใช้แทนผู้หรือสิ่งที่พูดถึงในกรณีที่แยกกล่าวโดยเฉพาะ เช่น บ้างก็กิน บ้างก็เล่น, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. |
กงเกวียนกำเกวียน | ใช้เป็นคำอุปมาหมายความว่า เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทำแก่เขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกำเกวียน. |
ก้ม ๆ เงย ๆ | ก. ก้มบ้างเงยบ้าง, ทำ ๆ หยุด ๆ ต่อเนื่องกันไป. |
กระจกฝ้า | น. กระจกโปร่งแสงคือแสงลอดผ่านได้บ้าง แต่ตาไม่สามารถมองทะลุผ่านไปเห็นวัตถุอีกข้างหนึ่งได้. |
กระดางลาง | ว. มรรยาทหยาบ, สัปดน, เช่น อ้ายเฒ่าแก่กากกลีกระดางลาง ยังมันนี้ใครเขามีบ้างที่เมืองคน (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กระดิกกระเดี้ย | ก. ไหวน้อย ๆ, พอไหวได้บ้าง. |
กระทุงเหว | น. ชื่อปลาผิวนํ้าทุกชนิด ในวงศ์ Belonidae และ Hemiramphidae ลำตัวกลมยาวคล้ายปลาเข็ม กระดูกปากทั้งตอนบนและล่างหรือเฉพาะตอนล่างยื่นยาวแหลม หางเป็นแฉก บ้างก็ตัดเฉียงลงมากน้อยหรือกลมแล้วแต่ชนิดหรือสกุล ส่วนใหญ่พบในเขตนํ้ากร่อยหรือชายทะเล เช่น ชนิดในสกุล Hemiramphus, Hyporhamphus, Rhynchorhamphus, Tylosurus, Strongyluraและ Zenarchopterusชนิดที่พบในทะเลห่างฝั่งและบริเวณรอบเกาะ คือ กระทุงเหวบั้ง [ Ablennes hians (Valenciennes) ] ซึ่งมีชุกชุมที่สุด บางชนิดพบอาศัยอยู่ในนํ้าจืด เช่น กระทุงเหวเมือง [ Xenentodon cancila (Hamilton) ] ขนาดยาวได้ถึง ๑.๒๕ เมตร, เข็ม ก็เรียก. |
กระบอง | น. ไม้ใช้เป็นอาวุธสำหรับใช้ตี มีรูปกลมบ้าง เหลี่ยมบ้าง, ใช้ว่า ตระบอง ก็มี. |
กระเบน | น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลำตัวกว้างตั้งแต่ ๑๕-๓๐๐ เซนติเมตร ลำตัวแบนลงมาก และต่อเนื่องกับครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้ายเกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้างออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัวเป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับโพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอนใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทงจะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด |
กระเป๋า ๑ | น. เครื่องใช้รูปคล้ายถุงหรือกระเพาะ ทำด้วยหนังบ้าง ผ้าบ้าง สำหรับใส่เงินหรือของต่าง ๆ ใช้คาดเอวก็มี ติดอยู่ในตัวเสื้อหรือกางเกงก็มี ใช้หิ้วก็มี |
กระพัก | น. ตะพัก, โขดหินหรือไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้ เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
กระเพิง | น. เพิง เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
กระสา ๓ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Broussonetia papyrifera (L.) Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่นํ้าลำคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบเป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ทำกระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา. |
กร่ำ ๑ | (กฺรํ่า) น. ที่ล่อปลาให้เข้าไปอยู่ ใช้ไม้ปักตามชายฝั่งลำแม่นํ้า ให้มีลักษณะกลมบ้างรีบ้าง เมื่อเวลาจะจับก็เอาเฝือกหรืออวนล้อม แล้วเอาไม้นั้นออก, เขียนเป็น กลํ่า ก็มี. |
กริวกราว | ว. เสียงโห่, เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง, เช่น บ้างโบกธงธุชพรายพราวโลดเต้นกริวกราว. |
กรุ่น | (กฺรุ่น) ว. อาการของไฟที่ยังไม่ดับแต่ไม่ถึงกับลุกโพลง เช่น ไฟติดกรุ่นอยู่, โดยปริยายหมายความว่า ยังเหลืออยู่บ้าง, มีเรื่อย ๆ อยู่, เช่น ควันกรุ่น หอมกรุ่น |
กรุ่ม | (กฺรุ่ม) ก. ขันบ่อย ๆ (ปรกติใช้แก่นกเขา แต่ใช้แก่นกอื่นก็มีบ้าง) เช่น บางพวกจับเป็นคู่คูขันกันโดยธรรมดา เวลากรุ่มกำลังที่ตั้งขึ้นตามฤดู (ม. ร. ๔ วนปเวสน์) |
กลอน ๒ | (กฺลอน) น. คำประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคำเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่าย ก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตำรากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคำประพันธ์เฉพาะอย่างเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คำประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึงเรียกว่า กลอน เป็นลำนำสำหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสำหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด. |
กลั้วเกลี้ย | ว. มีเล็กน้อย, พอมีอยู่บ้าง, จวนหมด, เช่น นํ้ากลั้วเกลี้ยคลอง แกงมีนํ้ากลั้วเกลี้ย |
กเลวระ | (กะเลวะระ) น. ซากศพ เช่น ถึงกระนั้นก็จะพบพานซึ่งกเลวระร่าง มิเลือดก็เนื้อจะเหลืออยู่บ้างสักสิ่งอัน (ม. ร่ายยาว มัทรี), บางทีใช้ว่า กเฬวราก หรือ กเฬวรากซากศพ ก็มี. |
กะต่อม | น. ชื่อกุ้งขนาดกลางชนิด Macrobrachium equidens (Dana) ในวงศ์ Palaemonidae ก้ามมีปื้นสีเข้ม อาศัยอยู่ในย่านน้ำกร่อย และพบบ้างในน้ำจืดหรือชายทะเล, กุ้งแห ก็เรียก. |
กะทิ ๑ | น. นํ้าที่คั้นออกจากมะพร้าวขูดโดยเจือนํ้าบ้างเล็กน้อย, ถ้าคั้นครั้งแรก เรียกว่า หัวกะทิ, ถ้าคั้นครั้งสุดท้าย เรียกว่า หางกะทิ, ของหวานทำด้วยนํ้าตาลกวนกับมะพร้าวคล้ายหน้ากระฉีก แต่ใช้นํ้าตาลมากกว่า เรียกว่า นํ้าตาลกะทิ, มะพร้าวห้าวที่มีนํ้าข้น เนื้ออ่อน กล้ามหนา เรียกว่า มะพร้าวกะทิ. |
กะปริดกะปรอย | (-ปฺริด-ปฺรอย) ว. มีอาการออกหรือไหลออกน้อย ๆ หยุดบ้าง ออกบ้าง, อาการที่ฝนตกน้อย ๆ ตก ๆ หยุด ๆ, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ทำ ๆ หยุด ๆ ไม่เป็นลํ่าเป็นสัน, กะปริบกะปรอย ก็ว่า. |
กะปริบกะปรอย | (-ปฺริบ-ปฺรอย) ว. มีอาการออกหรือไหลออกน้อย ๆ หยุดบ้าง ออกบ้าง, อาการที่ฝนตกน้อย ๆ ตก ๆ หยุด ๆ, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ทำ ๆ หยุด ๆ ไม่เป็นล่ำเป็นสัน, กะปริดกะปรอย ก็ว่า. |
กะผลุบกะโผล่ | (-ผฺลุบ-โผฺล่) ก. อาการที่ผลุบลงแล้วโผล่ขึ้น เช่น ปลากะผลุบกะโผล่ขึ้นมาหายใจ, อาการที่ผลุบเข้าไปแล้วโผล่ออกมา เช่น มากะผลุบกะโผล่อยู่หลังเวทีทำไม, จม ๆ ลอย ๆ เช่น ขอนลอยน้ำกะผลุบกะโผล่, โดยปริยายหมายความว่า ไปหรือมาไม่สม่ำเสมอ เช่น ถ้าจะมาช่วยงานก็ขอให้มาสม่ำเสมอ อย่ากะผลุบกะโผล่ มาบ้างไม่มาบ้าง, ผลุบโผล่ ๆ หรือ ผลุบ ๆ โผล่ ๆ ก็ว่า. |
กะพร่องกะแพร่ง | (-พฺร่อง-แพฺร่ง) ว. มีบ้างขาดบ้าง, ไม่สมํ่าเสมอ |
การ์ตูน ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Amphiprion วงศ์ Pomacentridae ลำตัวสั้นและแบนข้าง สีเหลือง แสด หรือแดง บางชนิดมีส่วนบนรวมทั้งครีบหลังดำคลํ้า มักมีแถบสีขาวเด่นพาดขวางบนหัวและลำตัว ๑-๒ แนว แล้วแต่ชนิดหรือขนาดบ้างมีสีส้ม พบอาศัยตามแนวปะการัง โดยเฉพาะอยู่กับดอกไม้ทะเลซึ่งเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังประเภทหนึ่งในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ขนาดยาวได้ถึง ๑๖ เซนติเมตร. |
กำขี้ดีกว่ากำตด | ก. ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย. |
กุ๊น | ก. ขลิบเย็บหุ้มริมผ้าหรือของอื่น ๆ ใช้แถบผ้าย้วยหรือเฉลียงเย็บหุ้ม ๒ ข้างเม้มเข้าเป็นตะเข็บกลมบ้างแบนบ้าง มักใช้ที่คอเสื้อหรือชายเสื้อเป็นต้น. |
เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน | ก. เก็บเล็กผสมน้อย, ทำอะไรที่ประกอบด้วยส่วนเล็กส่วนน้อย โน่นบ้างนี่บ้าง จนสำเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา. |
เก๋า ๑ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Serranidae (Epinephelidae) ปลาเหล่านี้เมื่อมีขนาดเล็กมักเรียก เก๋า เมื่อมีขนาดกลางและขนาดโตมักเรียก กะรัง หรือหมอทะเล ส่วนขนาดโตมากเรียก หมอทะเล ส่วนใหญ่ลำตัวยาว ป้อม ล่ำสั้น แบนข้างเล็กน้อย ปลายครีบต่าง ๆ มนกลม เฉพาะปลายครีบหางของบางชนิดเว้า บ้างก็ตัดตรง เกล็ดเล็กคลุมทั่วตัวรวมทั้งหัวและล้ำไปบนครีบเดี่ยว ลำตัวรวมทั้งครีบมักมีสีต่าง ๆ โดยเปลี่ยนไปตามขนาด เป็นแต้ม ด่าง ดวง ลาย หรือจุดประคล้ำทึบ แต่บางชนิดก็มีสีแดงหรือเทาโดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลและชายฝั่งที่มีที่หลบซ่อน แต่ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้หรือในเขตปะการัง ชนิด Epinephelus merra Bloch, E. sexfasiatus (Valenciennes), Cephalopholis boenak (Bloch) ยาวเพียงไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร ส่วนชนิด Promicrops lanceolatus (Bloch) ขนาดยาวไม่ถึง ๒.๗ เซนติเมตร และเป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก ชื่อ เก๋า ตุ๊กแก กะรัง เป็นชื่อทั่วไปที่มักใช้เรียกปลาเกือบทุกชนิดในวงศ์นี้ที่มีขนาดไม่โตนัก สำหรับชื่อ กะรัง และหมอทะเล มักพบเรียกปลาพวกนี้ที่มีขนาดโตจนถึงยาว ๐.๕-๑.๕ เมตร ส่วน หมอทะเล ใช้เรียกชนิด P. l. (Bloch) . |
ขยัก | (ขะหฺยัก) ก. กักหรือเก็บไว้บ้างไม่ปล่อยไปจนหมดหรือไม่ทำให้หมด. |
ขว้างข้าวเม่า | น. ประเพณีอย่างหนึ่ง เอามะพร้าวทั้งผลโยนไปยังที่เขากำลังทำข้าวเม่ากันอยู่ เพื่อแสดงว่าเอามะพร้าวมาขอแลกข้าวเม่าไปกินบ้าง. |
ข้าวบาร์เลย์ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hordeum vulgareL. ในวงศ์ Gramineae เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกกันบ้างในภาคเหนือ เมล็ดใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ และเป็นอาหารสัตว์. |
ขุนหมื่น | น. ข้าราชการผู้น้อยชั้นประทวนซึ่งเสนาบดีแต่งตั้งให้เป็นขุนบ้างเป็นหมื่นบ้าง มีศักดินาต่ำกว่า ๔๐๐. |
เข้าพกเข้าห่อ | ก. เอาไว้เป็นส่วนของตัว, รู้จักเก็บไว้บ้าง, รู้จักเก็บไม่ใช้สุรุ่ยสุร่าย. |
เขียว ๆ แดง ๆ | น. กลุ่มผู้หญิงที่แต่งตัวหลากสี เช่น ไปดูเขียว ๆ แดง ๆ นอกบ้านเสียบ้าง. |
โขด | น. ดินหรือหินที่สูงขึ้นเป็นโคกเป็นเนิน, ดิน หิน หรือทรายที่เป็นจอมสูงขึ้นพ้นนํ้าบ้าง อยู่ใต้นํ้าบ้าง. |
ค่อย ๓ | ว. คำนำหน้าความข้างท้ายให้ติดต่อกับความข้างหน้า แสดงกิริยาที่กระทำภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วค่อยไป, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ค่อย หมายความว่า น้อย, บ้าง, (ตามส่วนของสิ่งที่พูดถึง) เช่น ไม่ค่อยมี ไม่ค่อยพูด, ไม่ใคร่ ก็ว่า. |
คาร์บอลิก | น. สารฟีนอล (phenol) มีสูตรเคมี C6H5OH ลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่น ละลายนํ้าได้บ้าง มีฤทธิ์กัด เป็นพิษ ใช้ประโยชน์เป็นยาล้างเชื้อโรค ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก และสีย้อมผ้า มักเรียกคลาดเคลื่อนว่า กรดคาร์บอลิก. |
คุ้มดีคุ้มร้าย | ว. มีสติไม่ปรกติ, บางคราวดีบางคราวร้าย, ดีบ้างร้ายบ้าง. |
โคราช | น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวโคราชที่ว่าแก้กันเป็นทำนองตีฝีปากโต้คารมกันบ้าง เกี้ยวพาราสีกันบ้าง คล้ายเพลงฉ่อย วรรคหนึ่งใช้คำตั้งแต่ ๔ ถึง ๗ คำ ๓ คำกลอนเป็นบทหนึ่ง ความไพเราะอยู่ที่สัมผัสในการเล่นคำเล่นความให้สละสลวย บาทสุดท้ายจะเอื้อนเสียงในเวลาร้อง. |
เงา | อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุนั้นแล้วแสงเคลื่อนที่ไปไม่ถึงทั้งหมดหรือไปถึงได้บ้าง. |
เงามัว | น. อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุนั้นแล้วแสงเคลื่อนที่ไปถึงได้บ้าง |
จงกลนี | (-กนละนี) น. บัว, บัวดอกคล้ายบัวขม มีเกสรซ้อนหลายชั้น แตกก้านต่อดอกแล้วมีดอกต่อกัน ๓ ดอกบ้าง ๔ ดอกบ้าง. (ทมิฬ เจ็ง ว่า แดง กาฬนีร ว่า บัว หมายความว่า บัวแดง). |
จรอก ๑ | (จะหฺรอก) น. ทาง, ทางแคบ, ทางเล็ก, ตรอก, ซอก, เช่น มาคะคล้ายโดยทาง ถับถึงกลางจรอกปู่ (ลอ), บ้างก็นั่งในท่าน้ำบ้างก็ค้ำกันไปนั่งในจรอก (ม. คำหลวง ชูชก). |
จวด | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Sciaenidae มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ปลายหัวอาจทู่หรือแหลม ปากเชิดมากน้อยหรืองุ้มตํ่า บ้างมีฟันแหลมคมหรือละเอียด หางเป็นรูปตัด มน หรือ กลม จนแม้กระทั่งแหลม โดยทั้งหมดขึ้นอยู่กับชนิดหรือขนาด ลำตัวมักมีสีเงินหรือเทา บ้างมีจุดประบนลำตัวและครีบ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ฝั่ง หรือบริเวณนํ้ากร่อยปากแม่นํ้า ทำเสียงได้. |