กระทำ ๑ | ทำการใด ๆ ที่เกิดผลในทางกฎหมาย แต่การงดเว้นการกระทำใด ๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องกระทำ ก็ถือว่าเป็นการกระทำด้วย เช่น บิดามารดามีหน้าที่ดูแลบุตรซึ่งยังเล็กอยู่ การที่บิดามารดาอยู่เฉยไม่หาอาหารให้ ก็อาจถือว่าเป็นการกระทำได้. |
กลางเมือง | เรียกหญิงที่บิดามารดายินยอมยกให้เป็นภรรยาชาย ว่า เมียกลางเมือง. (สามดวง) |
กำเนิด | (กำเหฺนิด) น. การเกิด เช่น บิดามารดาเป็นผู้ให้กำเนิดแก่บุตร, มูลเหตุดั้งเดิม เช่น ตัวหนังสือไทยมีกำเนิดมาอย่างไร. |
ค่าน้ำนม | น. เงินที่ฝ่ายชายต้องจ่ายให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิงในการสู่ขอเพื่อตอบแทนเป็นค่าที่ได้เลี้ยงดูมา, (โบ) นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ข้าวป้อน เป็น ค่าน้ำนมข้าวป้อน เช่น ให้คิดเอาค่าน้ำนมเข้าป้อนค่าเลี้ยงรักษาแก่มันแลชายซึ่งภาเอาหญิงไปเลี้ยงนั้นให้มันช่วยหญิงเสียกึ่งหนึ่ง (สามดวง) |
ทะนุบำรุง | ก. เอาใจใส่ดูแลเลี้ยงดู เช่น ทะนุบำรุงบิดามารดา ทะนุบำรุงบุตรธิดา |
ทายาทโดยธรรม | น. ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายในมรดกของผู้ตาย ได้แก่ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ตามลำดับและส่วนแบ่งที่กฎหมายกำหนดไว้. |
ทำนุบำรุง | ก. เอาใจใส่ดูแลเลี้ยงดู เช่น ทำนุบำรุงบิดามารดา ทำนุบำรุงบุตรธิดา |
ทิศ ๖ | น. ทิศที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคล มี ทิศเบื้องหน้าหรือบูรพทิศ ได้แก่ บิดามารดากับบุตร ทิศเบื้องขวาหรือทักษิณทิศ ได้แก่ ครูอาจารย์กับศิษย์ ทิศเบื้องหลังหรือปัจฉิมทิศ ได้แก่ สามีกับภรรยา ทิศเบื้องซ้ายหรืออุตรทิศ ได้แก่ มิตร ทิศเบื้องบนหรือปุริมทิศ ได้แก่ สมณพราหมณ์กับศาสนิกชน และทิศเบื้องล่างหรือเหฏฐิมทิศ ได้แก่ นายกับบ่าวหรือผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา. |
บุตรบุญธรรม | (บุดบุนทำ) น. บุคคลหนึ่งซึ่งบุคคลอื่นที่มิใช่บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายได้จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุตรโดยสายโลหิตของผู้รับบุตรบุญธรรม. |
บุพการี | น. ผู้ที่ทำอุปการะมาก่อน เช่น บิดามารดาเป็นบุพการีของบุตรธิดา. (ป. ปุพฺพการี) |
บุพการี | ญาติทางสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป เช่น บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด. |
บุพพาจารย์ | น. อาจารย์ในเบื้องต้น คือ บิดามารดา, อาจารย์คนก่อน ๆ ของสถาบันการศึกษา. |
บุรพาจารย์, บูรพาจารย์ | (บุระ-, บูระ-) น. อาจารย์ในเบื้องต้น คือ บิดามารดา, อาจารย์คนก่อน ๆ ของสถาบันการศึกษา. |
ปฏิบัติ | ปรนนิบัติรับใช้ เช่น ปฏิบัติบิดามารดา ปฏิบัติครูบาอาจารย์. |
แปดสาแหรก | (-แหฺรก) น. คำเรียกต้นวงศ์สกุล คือ บิดามารดาของปู่และย่า ๔ ของตาและยาย ๔ รวมเป็น ๘ ที่เป็นผู้ดีทั้งฝ่ายบิดาและมารดา เรียกว่า ผู้ดีแปดสาแหรก (เทียบสาแหรกที่มีข้างละ ๔ ขา ๒ ข้างเป็น ๘ ขา). (ดู ผู้ดีแปดสาแหรก ที่ ผู้ ประกอบ). |
ผ้าไหว้ | น. ผ้าที่ฝ่ายชายนำไปให้แก่ญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิง เพื่อเป็นการเคารพในเวลาแต่งงาน, ปัจจุบันหมายถึง ผ้าที่บ่าวสาวนำไปแสดงความเคารพแก่บิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ของทั้ง ๒ ฝ่าย. |
ผู้ใช้อำนาจปกครอง | น. บิดามารดาที่มีอำนาจปกครองบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ. |
ผู้ดีแปดสาแหรก | น. ผู้ดีที่สืบทอดกันลงมาตั้งแต่ต้นวงศ์สกุลคือบิดามารดาของปู่และย่า ๔ บิดามารดาของตาและยาย ๔ รวมเป็น ๘ |
ผู้ปกครอง | บุคคลซึ่งศาลตั้งให้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง. |
พรหม, พรหม- | ผู้มีพรหมวิหารทั้ง ๔ (เช่น บิดามารดามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ต่อบุตร ได้ชื่อว่า เป็นพรหมของบุตร). |
พรหมไทย | ของที่บิดามารดาให้. |
พรากเด็ก | น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำพาเอาเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยปราศจากเหตุอันสมควร. |
พรากผู้เยาว์ | น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำพาเอาผู้เยาว์ที่มีอายุเกิน ๑๕ ปี แต่ยังไม่เกิน ๑๘ ปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย. |
พี่น้อง | น. ผู้เกิดร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือร่วมบิดาเดียวกัน หรือร่วมมารดาเดียวกัน |
โยม | น. คำที่พระสงฆ์ใช้เรียกบิดามารดาของตนหรือเรียกผู้ใหญ่รุ่นราวคราวเดียวกับบิดามารดา เช่น โยมพ่อ โยมแม่ โยมย่า โยมยาย โยมน้า |
โยม | เป็นคำใช้แทนชื่อบิดามารดาของพระภิกษุสามเณร |
โยม | เรียกผู้ที่เป็นบิดามารดาของพระ ว่า โยมพระ |
ล้างบาป | น. พิธีทางศาสนาคริสต์ซึ่งทำแก่ทารกที่บิดามารดานับถือศาสนาคริสต์ หรือแก่บุคคลที่เดิมนับถือศาสนาอื่น แล้วหันมานับถือศาสนาคริสต์ โดยจุ่มหัวหรือตัวลงในน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๓ ครั้งหรือเทน้ำศักดิ์สิทธิ์ลงบนหน้าผาก ซึ่งถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการล้างบาปเพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน เรียกว่า พิธีศีลล้างบาปหรือพิธีศีลจุ่ม. |
ลูกหมู่ | น. ลูกหลานที่ต้องถูกเกณฑ์รับราชการตามสังกัดของบิดามารดาในครั้งโบราณ. |
สัตตาหกรณียะ | (-กะระนียะ, -กอระนียะ) น. กิจที่พึงทำเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดไปพักแรมในที่อื่นในระหว่างพรรษาได้ไม่เกิน ๗ วัน เช่นเพื่อไปพยาบาลภิกษุสามเณรหรือบิดามารดาที่ป่วยไข้หรือเพื่อบำรุงศรัทธาของทายก. |
สินสอด | น. เงินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหญิงที่จะแต่งงานเป็นค่านํ้านม ข้าวป้อน |
สินสอด | ทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส |
สิ้นชีวิต | ก. ตาย เช่น บิดามารดาเขาสิ้นชีวิตไปนานแล้ว. |
สูติบัตร | น. เอกสารที่แสดงถึงสัญชาติ วัน เดือน ปี เวลา สถานที่เกิด และชื่อบิดามารดาของบุคคล โดยนายทะเบียนเป็นผู้ออกให้. |
อติชาตบุตร | น. บุตรที่มีคุณสมบัติสูงกว่าบิดามารดา, อภิชาตบุตร ก็ว่า. |
อนุชาต-บุตร | น. บุตรที่มีคุณสมบัติเสมอด้วยบิดามารดา. |
อภิชาตบุตร | น. บุตรที่มีคุณสมบัติสูงกว่าบิดามารดา, อติชาตบุตร ก็ว่า. |
อวชาตบุตร | น. บุตรที่มีคุณสมบัติตํ่ากว่าบิดามารดา. |